โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม เรื่องที่ผมนำเสนอหรือรวบรวมมาและผิดพลาดบ้างก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ Trust in dream,Trust in what seek, And you shall discovers.
Can't find it? here! find it
Wednesday, February 27, 2008
combattler V
Monday, February 25, 2008
ทำไมต้องตั้งชื่อลูกเป็นภาษาฝรั่ง
Thursday, February 21, 2008
Ikkyusan-existed
หากย้อนไปเมื่อ 20 ปีก่อน ในไทยมีการ์ตูนญี่ปุ่นที่เข้ามาฉายในไทยอยู่ไม่กี่เรื่อง ที่คนในสมัยนั้นรู้จักกันดี
If pass through 1980-1995 years ago in Thailand. Are not view on air that much. Mostly are known
เช่น โดราเอม่อน อาราเร่ ผีน้อยคิวทาโร่ และอิคคิวซังซึ่งหลาย ๆ คนคงจะจำกันได้ดี แม้เด็กรุ่นใหม่ก็ยังรู้จัก
The Doraemon, Arare, Kyutaro, And The Ikkyusan are well known. Even today they also known this
"เณรน้อยเจ้าปัญญา อิคคิว ซัง" ความน่ารักของตัวการ์ตูน และเนื้อหาที่สนุกสนาน ยังคงมาสร้างความบันเทิง ในบ้านเราไม่มีวันจบสิ้น อิคคิว ซัง จึงเป็นการ์ตูนอมตะอีกเรื่องหนึ่ง
"Intelligent kid Ikkyusan" are cute, And Funny story event. This story(Fiction) are entertained in Thailand ethernities.
แต่จะมีใครรู้บ้างว่าที่ญี่ปุ่น พระอิคคิว มีอยู่จริงรวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ที่ยืนยันว่า "อิคคิว ซัง" ไม่ได้เป็นแค่การ์ตูน แต่กลับเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เลยทีเดียว
But does anyone known that "Ikkyu monk are exist" We have the evident that prove that. This is not just a cartoon, Or anime. It's exist and influenzed into the Japan history pages.
เมื่อ 600 ปีที่ผ่านมาเป็นยุค Muromachi (ประมาณพศ.1338-1573) ช่วงที่ญี่ปุ่น ยังยึดติดเรื่องศักดินา อิคคิวซัง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเณรน้อย ผู้ฉลาดหลักแหลม หลังจากโชกุน Yoshimitsu Ashikaga ต้องการจะรวมประเทศญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 15 มีพระในนิกายเซน ถือกำเนิดขึ้น ที่ใคร ๆ รู้จักในนาม "Ikkyu San (อิคคิว ซัง)" พ่อของเขาคือจักรพรรดิ Gokomatsu ซึ่งมีชายาสองฝ่าย คือ Nantyo (ชายาฝ่ายใต้) และ Hokutyo (ชายาฝ่ายเหนือ)
แม่ของอิคคิวคือ Nantyo ภรรยาลับ ๆ ของจักรพรรดิ Gokomatsu พระองค์เกรงอำนาจของชายาฝ่ายเหนือ Hokutyo แม่ของอิคคิว จึงต้องออกจากราชวัง ตั้งแต่ Ikkyu ยังไม่เกิด พระจักรพรรดิส่งเจ้าชายและชายาฝ่ายใต้ (แม่ของอิคคิว) มาจากพระราชวังโชกุน Ahikaga จึงเปลี่ยนชื่อให้เจ้าชายน้อยว่า Ikkyo พระนางนันอีโย พาอิคคิวมาบวชเรียนที่วัดอังโกะกุจิตอนอายุได้ 6 ขวบ เพื่อหนีภัยการเมือง และหลายครั้งเธอไม่ยอมพบกับอิคคิว เพราะต้องการให้อิคคิวเป็นคนเข้มแข็ง ไม่ติดแม่
อิคคิวตั้งอกตั้งใจศึกษาพระธรรม ความเจ้าปัญญาฉายแววขึ้นตามอายุในวัยประมาณ 10 ขวบ อิ๊กคิวซังแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมะสมของพระภิกษุนิกายหนึ่งที่กอบโกยทรัพย์สินยศฐาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน
พออายุ 13 ปี มีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ชื่อ "อาซิคะงะโยชิมิสึ" หรือ "ท่านโชกุน" ในการ์ตูน
อายุได้ 17 ปี อิ๊กคิวซังได้ออกจากวัดอังโกะกุจิฝากตัวเป็นศิษย์ของ "หลวงพ่อเคนโอ" ที่วัดไซกอนจิ ได้ฉายาว่า "โชจุน" ที่วัดแห่งนี้หลวงพ่อเคนโอเน้นการปฏิบัติโดยต้องทำงานอย่างหนัก และต้องอยู่กับสิ่งสกปรกเสียเป็นส่วนใหญ่
ต่อมาหลวงพ่อมรณภาพอิ๊กคิวซังจึงเดินทางไปวัด "อิชิยามา" อดอาหาร 7 วัน 7 คืน สวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์ด้วยความเสียใจนี้เอง จึงคิดฆ่าตัวตาย ระหว่างที่เดินลงไปแม่น้ำเซตะ อิ๊กคิวซังจึงอธิษฐานจิตว่า "ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ" ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิ๊กคิวซังก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด "เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ" อิ๊กคิวซังจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง
หลังจากนั้นท่านอายุได้ 23 ปี ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ "คะโซ" แห่งวัดโคอัน ซึ่งเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและหนักหน่วงอิ๊กคิวซังต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้นซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ แต่อิ๊กคิวซังก็อดทนในที่สุดความพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมก็สำเร็จ
เมื่ออิ๊กคิวซังสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้สำเร็จ ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น และที่นี่เองที่ "พระโชจุน"ได้รับฉายาใหม่ว่า "อิ๊กคิว โซจุน" หมายความว่า "รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน" อิ๊กคิวซังน่าจะเป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรม เมื่ออายุยังน้อยที่สุดรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนาเพราะว่าท่านสามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ "เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา" คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ
เมื่อทราบว่าอิ๊กคิวซังสามารถบรรลุแก่นธรรม หลวงพ่อคะโซมีความประสงค์ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรม และตำแหน่งเจ้าอาวาสให้อิ๊กคิวซังสืบทอด แต่อิ๊กคิวซังปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ" ท่านจึงออกธุดงค์
กระทั่งอายุ 34 ปี อิ๊กคิวซังมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านพ่อ ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิ ชีวิตช่วงนี้เองที่เป็นที่กล่าวขวัญถึง และขยาดหวาดกลัวและเกลียดชังจากภิกษุด้วยกัน อิ๊กคิวซังเคยไปร่วมงานครบรอบวันมณภาพของพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งด้วยสภาพมอมแมมสกปรกจีวรหลุดลุ่ย พร้อมทั้งด่าทอพระที่มือถือสากปากถือศีล เพราะในสมัยนั้นมีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากที่ทำตัวเคร่งพระวินัย ถึงขนาดบอกว่าผู้หญิงเป็นมารศาสนา แต่ว่ากลับลักลอบให้แม่เล้า-แมงดานำโสเภณีมาบำเรอถึงในกุฏิ
วัดคิมิโอชิ
นอกจากนี้อิ๊กคิวซังยังต่อต้านพระผู้มีอิทธิพลมีหลายรูปที่หลอกชาวบ้านว่าจะสามารถบรรลุธรรมได้หากบริจาคปัจจัยให้พระมากๆ อิ๊กคิวซังปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแรงและทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็นอาบัติ เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์ ไม่โกนผมและหนวดเครา เดินเข้าออกซ่องโสเภณีอย่างเปิดเผยเป็นว่าเล่น
การกระทำแบบนี้อิ๊กคิวซังต้องการต่อต้านและเสียดสีรวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้นให้ละอาย กับการลวงโลก อิ๊กคิวซังคบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผยสุภาพและให้เกียรติ ทั้งยังเคยแบ่งส้มจากบาตรให้เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณีที่ป่วยหนักแม้ว่าต่อมาจะเสียชีวิตก็ตาม
เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ ท่านได้พบกับ "โมริ" ศิลปินขอทานตาบอด ซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยาทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว โมริก็หนีไปเพราะเกิดความอับอายและเกรงว่าตนเองจะทำให้อิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิวอีกหน เพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงครามได้
เมื่ออายุได้ 85 พระจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิ๊กคิวซังเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิ๊กคิวซังจึงยอมรับตำแหน่งแต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออกกลับมาอยู่วัด เมียวโชจิ ที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย หลังจากกลับมาอยู่วัดนี้ ได้เพียง 2 ปีท่านเป็นมาเลเรีย ท่านละสังขารในท่านั่งสมาธิในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาสุดที่รัก ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481 หรือ พ.ศ.2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี
10 เรื่องเกี่ยวกับอิ๊คคิวที่คุณอาจไม่เคยรู้
1. พระอิ๊คคิวเคยหาเลี้ยงชีพโดยการรับจ้างเย็บตุ๊กตาเด็กผู้หญิงและเย็บรองเท้าฟาง
2. "ฮารุยาชะ" เด็กสาวในคณะละครเร่คือรักแรกที่ไม่สมหวังของพระอิคคิวในวัยแตกเนื้อหนุ่ม ทั้ง
สองเจอกันครั้งแรกตอนที่อิคคิวถูกซ้อมแล้วฮารุยะชะเข้าไปช่วย
3. สมัยเป็นเณร เคยได้รับรางวัลความฉลาดเป็นดาบจากโชกุนโยชิมิทสุ
4. พระอิคคิวเป็นเจ้าของสูตรการทำนัตโตหรือถั่วหมักอิคคิวที่มีชื่อเสียง เป็นของฝากของโตเกียว
5. พระอิคคิวสวมจีวรสีดำที่พระมารดาเย็บถวายอยู่ชุดเดียวตั้งแต่อายุ 33 ปี จนกระทั่งมรณภาพ
6. คนปะรุ เซ็งระกุ ผู้ปฏิวัติละครโนะ มุระตะ ชูโค ผู้ให้กำเนิดพิธีชงชา ล้วนเคยเป็นลูกศิษย์ของพระ
อิคคิว
7. พระอิคคิวปลูกหนวดตัวเองไว้ที่รูปปั้นไม้จำลองที่ให้ลูกศิษย์แกะสลักขึ้น
8. ครั้งหนึ่งพระอิคคิวเคยอาพาธด้วยโรคท้องร่วงอย่างรุนแรงจนเกือบมรณภาพ
9. ในปีหนึ่งที่อากาศหนาวมาก พระอิคคิวเอาพระพุทธรูปไม่เล็กๆ มาจุดไฟเผาให้ความอบอุ่น
10. พระอิคคิวเคยถูกชาวบ้านไล่ตี เพราะไปยืนปัสสาวะรดพระพุทธรูปริมทาง
เรื่องจริง ชินเนม่อนรู้จักกับอิคคิวตอนอายุ 30 ปี จากการถามตอบ ปุจฉา-วิสัจฉนา ชินเนม่อนเป็นทหารรับใช้ท่านโชกุนอาชิคางะ โยชิโนริ (โชกุนลำดับที่ 6 ในรัฐบาลมุโรมะจิ) ทำหน้าที่ดูแลการเงินของรัฐบาล มีพรสวรรค์ในการแต่งโครงกลอนเป็นเลิศ ออกติดตามเป็นลูกศิษย์อิคคิวในช่วงบั้นปลายชีวิตเพื่อศึกษาพระธรรม