คำว่าเล่นแร่แปรธาตุนั้นภาษาอังกฤษใช้คำว่า Alchemy นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับซึ่งประกอบด้วยคำว่า AL ที่เป็นคุณสรรพของภาษาอาหรับ(ประมาณ the ของภาษาอังกฤษครับ)ผสมกับCHEMYที่มีความหมายว่าธาตุ หรือ โลหะ ทว่าก็มีบางคนแย้งว่าน่าจะมาจากคำว่า KHEM ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่านักวิทยาศาสตร์ในภาษาอาหรับซึ่งมีความหมายโดยนัยถึงอียิปต์นั่นเอง(KHEMแปลว่าแผ่นดินดำซึ่งเป็นคำที่ชาวอาหรับเรียกอียิปต์ ครับ) ทำให้ปัจจุบันก็ยังสรุปไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วมาจากทางไหนกันแน่
จุดเริ่มต้น ถ้าใครสักคนเดินดุ่ยๆมาถามผมว่า “เอ้ยนี่รู้ป่าววิชาเล่นแร่แปรธาตุมีมานานแค่ไหนแล้ว” ผมก็คงบอกกับเขาไปว่า “นานเท่าที่มีการบันทึกนั่นล่ะ” ซึ่งผมไม่ได้เล่นลิ้นแต่อย่างใดเพราะนี่เป็นเรื่องจริงครับ เท่าที่รู้มาวิชานี้มีมาตั้งแต่2000ปีก่อน คริสต์-กาล หรือราว 4000 ปีก่อนในดินแดนแถบอารยธรรมอียิปต์และบาบิโลเนีย ซึ่งแน่นอนคนใช้ไม่ใช่ใครอื่นนักบวชนั่นเอง นักบวชนั้นเป็นชนชั้นสูงที่สุดในสังคมเพราะเค้าคือคนที่สนทนากับเทพพระเจ้า ได้จึงต้องคัดคนที่เก่งจริงขึ้นมาและศึกษาความเป็นไปของโลกไปควบคู่กันวัน ทั้งวันจึงเอาแต่ศึกษาธรรมชาติจนเกิดความรู้แจ้งว่า ธรรมชาตินั้นสามารถเปลี่ยนแปลง- ได้ ตามแต่ประสงค์ของเทพซึ่งเค้ารู้ว่าประสงค์ของเทพคืออะไรและนั่นก็คือต้น กำเนิดวิชาเล่นแร่แปรธาตุนั้นเอง ความสำเร็จของชาวอียิปต์นั้นน่าทึ่งมากเพราะพวกเค้าเป็นชนชาติแรกที่คิดค้น mortar หรือ ปูนฉาบได้ตั้งแต่4000ปีก่อนประวัติศาสตร์ และ คิดค้นแก้วได้ตั้งแต่1500ปีก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญพวกเราเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปฏิกริยาเคมี ด้วยการเผาหินปูน(CaCO3 )ได้ผลิตภัณฑ์เป็น CaO (แคลเซียมออกไซด์) และ CO2. (คาร์บอนไดออกไซด์) นับ เป็นความก้าวหน้าที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับยุคที่ยังไม่รู้จักแม่แต่คำว่า ออกซิเจน หลังจากเป็นที่ประจักแก่โลกจึงได้มีการถ่ายทอดสู่อารยธรรมอื่นในปีค. ศ.332เมื่อชนชาติกรี-กและอียิปต์มีความสัมพันธ์ต่อกันจนในแพร่เข้ามาในยุโรป แปรเปลี่ยนเป็นวิชาเล่นแร่แปรธาตุในที่สุด ส่วนนี่คือภาพสลักลึกลับที่นักประวัติศาสตร์คิดไม่ออกว่าเป็นอะไรเพราะภาพฝาพนังในวิหารHathor แห่ง Dendera มันช่างคล้ายกับหลอดรังสีคาโทดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จากศตวรรษที่19เหลือเกิน โลกแห่งการแปรธาตุ ถึง ตอนนี้คงไม่มีใครกล้าเถียงว่าอารยธรรมแรกๆที่ใช้วิชานี้คือชนชาติอียิปต์ โบราณ แต่ก็ใช่ว่าวิชานี้จะสืบสานมาจากอียิปต์โดยตรงทั้งหมด บางที่ก็มีการคิดเองแม้จะหลังอียิปต์ หรือบางที่ก็สืบทอดมาจากที่อื่นอีกทีเรามาดูกันดีกว่าครับว่ามีที่ไหนกัน บ้างครับ กรีก-โรมัน อารยธรรม แรกที่ได้รับวิชานี้ต่อมาจากอียิปต์ซึ่งแน่นอนไม่ได้มาแค่วิชา แม้แต่ความเชื่อก็รับมาเต็มๆไม่ว่าจะเป็นการใช้ดาราศาสตร์ควบคู่กับการแปร ธาตุ หรือเทวตำนานต่างๆแม้แต่สัญลักษณ์เองก็ยังใช้ตามอียิปต์ซะส่วนมาก ซึ่งหลักการก็ยังเหมือนเดิมแต่มีการเสริมสร้างด้านเทวตำนานเข้าไปบ้างเช่น พระเจ้าสร้างโลก สร้างมนุษย์ แต่ก็ยังมีส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์แทรกเข้ามาด้วยเช่นกันแม้บางหลักจะเลิกใช้ ไปแล้ว
บางหลักก็ยังเป็นที่เชื่อถือในหมู่ผู้ชื่นชอบวิชานี้เช่น สรรพสิ่งเกิดจากธาตุ4 ดิน น้ำ อากาศ ไฟ เป็นต้น แต่ เมื่อศาสนาคริสต์เข้ามาให้ยุคของอาณาจักรโรมัน แนวทางของความเชื่อก็เปลี่ยนเป็น พระเจ้าและปีศาจ โดยยกให้พระเจ้าสร้างปีศาจทำลาย และปฏิเสธความเชื่ออื่นในฐานะความคิดนอกรีต เหล่านักแปรธาตุจึงไม่ค่อยกล้าแสดงตัวจนค่อยเสื่อมความนิยมศาสตร์นี้ลงไป
อาหรับ ในขณะที่อาณาจักรโรมันเป็นยุคเสื่อมของวิชาแปรธาตุในแถบนี้กลับเฟื่องฟุอย่างน่ากลัวจนมีสารประกอบแปลกๆเกิดขึ้นมากมายเช่น Alcohol(โปรดสังเกตุสารที่ขึ้นด้วยAlนั้นคิดโดยชาวอาหรับแทบทั้งสิ้น)กรดไนตริก โซดา(al-natrun) potash (alkali) แต่ที่ถือว่าสุดยอดจริงๆก็คือAqua regia หรือกรดกัดทอง ไม่ทราบว่าทุกท่านรู้หรือไม่ว่า ในโลกนี้มีกรดเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ละลายทองได้นั่นก็คือ Aqua regia (ราชาน้ำ) ซึ่งยังใช้อยู่จนทุกวันนี้ ทว่าสิ่งสุดยอดที่แท้จริงกลับไม่ใช่เจ้า Aqua regia เพราะ มีบันทึกไว้ว่า Jabir ibn Hayyan(คนนี้นี่ล่ะที่คิดAqua regiaได้) นักแปรธาตุอิสลามสามารถสร้างชีวิตประดิษฐ์ขึ้นมาได้ ซึ่งเค้าขนานนามมันว่า Takwin ซึ่ง น่าจะเป็นต้นแบบของโฮมูนครูส แต่แน่นอนครับไม่มีหลักฐานว่าเรื่องนี้เป็นความจริงจึงยกให้เป็นเรื่องเล่า ไป แต่ก็มีบางตำนานที่เชื่อว่าพลังแห่งวิชาแปรธาตุนี้โลกอิสลามได้รับมาจาก อาณาจักรบาบิโลเนียโดยตรงเพราะพบหลักฐานว่าใน อารยธรรมลุ่มน้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส นั้นมีการใช้ แบทเตอรี่ มานานกว่า2000ปีแล้วโดยสัญนิษฐานว่าจะใช้ในการทำเหมืองทอง(ตรงตามหลักวิชา เล่นแร่แปรธาตุเป๊ะ) จีน ว่า กันว่าวิชาแปรธาตุของจีนนั้นมาจากเปอเซียร์ซึ่งเป็นสายที่ใกล้เคียงกับยุโรป แต่ในความเป็นจริงกลับต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งหลักการที่ใช้ธาตุทั้ง5 (น้ำ-โลหะ-ไม้-ไฟ-ดิน)และแนวคิดอื่นๆ ด้านยุโรปนั้นเน้นการแปลงโลหะเป็นทอง แต่ของจีนจะเน้นด้านการแพทย์ ทว่ากลับมีแนวคิดหนึ่งที่เหมือนกันอย่างน่าแปลกนั่นก็คือ การสร้างน้ำอมฤต ส่วน ความสัมฤทธิ์สูงสุดของวิชาแปรธาตุจีนคือการสร้าง ดินปืน ที่เรายังใช้มาจนปัจจุบัน ซึ่งนี่อาจจะเรียกได้ว่างานประดิษฐ์ที่ทรงคุณค่าที่สุดของชนชาติจีนเลยก็ว่า ได้
อินเดีย อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุนั้นถูกกล่าวขวัญมานานแล้วว่ามีแนวคิดด้านวิชาแปรธาตุที่ล้ำลึกถึงขั้นSub-Atomicเลยทีเดียว โดยจากบันทึกของ นักแปรธาตุชาวเปอเซียร์ยุคศตวรรษที่11ได้กล่าวไว้ใน The Vaishashik Darshana of Kanad ว่า”ที่นี่มีศาสตร์ประหลาดที่ชื่อว่า Rasavýtam (ขออภัยอ่านไม่ออกจริงๆ) ที่กล่าวถึงการแปลความสัมพันธ์ของสสารให้กลายเป็นสิ่งต่างๆไม่ว่าจะยาที่ ย้อนอายุได้ หรืออาหารทิพย์ที่เกิดจากความว่างเปล่า” โดยตำนานนี้สามารถย้อนกลับไปได้ถึง 600 ปีก่อนคริสตกาล(2600ปีก่อน) แถมที่อินเดียนี้ยังมี คัมภีร์อายุระเวท คัมภีร์การแพทย์เก่าแก่ที่บอกสูตรยารักษาโรคไว้มากมายมีแม้กระทั่งการผ่าตด ที่ซับซ้อนตั้งแต่ยุคก่อน ค.ศ. เสียอีก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในดินแดนแห่งศาสตร์แปรธาตุเลยทีเดียว
ยุโรป บอก ตามตรงก่อนเขียนบทความนี้ผมคิดเสมอว่ายุโรปคือที่กำเนิดของวิชานี้แต่ที่ จริงแล้วไม่ใช่เลยแท้จริงแล้วเกือบทั้งหมดของวิชาแปรธาตุในยุโรปนั้น ได้รับมาจากอิสลามอีกทีหนึ่ง ในความเป็นจริงแล้วยุโรปนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับทางกรีก-โรมัน บอกตามตรงก่อนเขียนบทความนี้ผมคิดเสมอว่ายุโรปคือที่กำเนิดของวิชานี้แต่ที่ จริงแล้วไม่ใช่เลยแท้จริงแล้วเกือบทั้งหมดของวิชาแปรธาตุในยุโรปนั้นได้รับ มาจากโลกอิสลาม อีก ทีหนึ่ง ในความเป็นจริงแล้วยุโรปนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับทางกรีก-โรมันมากจึงไม่ แปลกที่จะมีความรู้พื้นฐานการแปรธาตุจากที่นั่นตกทอดมาถึงแต่ทว่าด้วยความ ที่ร้างราขาดช่วงไปนานองค์ความรู้ของวิชานี้จึงหายสิ้นไปจากแผ่นดิน จวบจนกระทั่ง Gerbert of Aurillac (ซึ่งก็คือพระสังฆราช Silvester ที่II,นั่น เองครับ) ได้นำองค์ความรู้จากโลกอิสลามที่สั่งสมไว้ในเสปนเข้ามาสู่ยุโรปในปี ค.ศ.1003จนแพร่หลายไปทั่ว ทว่ากว่าจะมีผู้ทำการทดลองอย่างจริงจังก็ปาไปกว่า200ปีให้หลัง นามของคนแรกที่จัดได้ว่าเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุอย่างแท้จริงก็คือ Roger Bacon.พระแห่งลัทธิ St. Francis ทว่าแม้ Bacon นั้น จะถูกเรียกว่าเป็นนักแปรธาตุคนแรกของยุโรป แต่จริงๆแล้วเค้านั้นมีชื่อเสียงโด่งดังฐานะปรัชญากรตัวยงมากกว่า แถมเค้านี่ล่ะที่เป็นผู้คิดค้นพบ “กระบวนการทางวิทยาศาสตร์”
(หมาย ถึงแนวคิดในการได้มาซึ่งความรู้อันประกอบด้วย ถามผู้รู้ คิดตรึกตรอง และ ทดลอง)อันเลื่องชื่อ และก็เป็นเค้าอีกนั่นเองที่เป็นคนริเริ่มแนวคิดในการตามหา ศิลานักปราชญ์ที่ใช้สร้างน้ำอมฤทธิ์(Elixir) เพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาวอีกด้วย ซึ่งแนวคิดทั้ง2ของเค้าก็ถูกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะแนวคิดเชิงวิทยา ศาสตร์ที่เราทุกคนเคยเรียนผ่านมาแล้วครับ
ทว่ายุครุ่งเรืองของวิชาแปรธาตุนั้นคงอยู่ได้ไม่นานเพราะมันทีที่ พระสังฆราชJohn XXII ขึ้นครองตำแหน่งพระองค์ได้ประกาศให้วิชาแปรธาตุเป็นสิ่งนอกรีต ผู้ใช้วิชานี้จะมีความผิดนักแปรธาตุจึงแทบจะสูญสิ้นไปในบัดดล แต่ แต่ แต่ ก็ไม่ทุกคนนะครับ เพราะหลังจากนั้นคนที่เป็นตำนานจริงๆก็ได้ถือกำเนิดเกิดขึ้นหลังจากยุคของ Bacon ราว200ปี นามนั้นคือ
Nicolas Flamel,(1330 to 1417) ถ้าจะถามว่าทำไมเค้าคือตำนานก็คงต้องบอกว่าเค้าเป็นหนึ่งในนักแปรธาตุจำนวนน้อยนิดที่ผู้คนเชื่อว่ามี ศิลานักปราชญ์ อยู่ในครอบครอง Nicolas Flamel นั้น ความจริงแล้วเป็นนักศึกษาทุนศาสนา แต่ด้วยความหลงใหลในวิชาแปรธาตุจึงทำให้เค้า ค้นหาศิลานักปราชญ์และเหลือเชื่อเค้าเจอมันครับ ออกจะเหลื่อเชื่อปนเว่อร์ซักนิดและก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเค้ามีมันจริงหรือไม่ แต่2สิ่งที่น่าสนใจคือ จู่ๆเค้าก็ร่ำรวยขึ้นผิดหูผิดตา และในหลุมศพของเค้านั้น ว่างเปล่า ทั้งๆที่มันน่าจะมีศพของ นิโคลัสและภรรยาอยู่ ผู้คนจึงลือกันหนักข้อขึ้นว่าทั้ง2คนดื่ม Elixir ยาอมตะจนไม่แก่ไม่ตาย แต่แกล้งตายเพื่อที่จะหนีจากสังคมไป คุณเชื่อมั้ยล่ะ
ซึ่ง หลังจากนั้นเป็นต้นมาวิชาแปรธาตุก็ยังมีผู้สืบทอดต่อมาจนมีตำนานมากมายกล่าว ถึงวิชานี้ หรือมีแม้กระทั่งองค์ความรู้ใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากวิชาแปรธาตุ จนในที่สุดเหล่านักแปรธาตุก็กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิชาแปรธาตุก็ได้แปร ตนเองเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ไปในที่สุด ดังนั้นหากเราจะกล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ เป็นผู้สืบทอดวิชาเล่นแร่แปรธาตุก็คงไม่น่าจะผิดนักหรอกนะครับ
|
No comments:
Post a Comment