Can't find it? here! find it

Monday, January 28, 2008

japanese village(Thailand)

สถานที่น่าสนใจอื่นๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา Ayutthaya's interesting tourism

สถานที่น่าสนใจอื่นๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา Ayutthaya's interesting



tourism

ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายใน กรุงศรีอยุธยามี

Koa.rean location. At the end of the 16th century. A lot of foreigner are coming to Ayutthaya

จำนวนมากขึ้น ทางการญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นเดินเรือออกไปค้าขายกับชาวต่างชาติในบรรดาพวก

even more. Japan admit the Japanese to get economics by everyways. some of Them are coming to Ayutthaya

ที่ไปค้าขายมีพวกหนึ่งเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไทยมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวญี่ปุ่น

King of Thailand Allows the Japanese to set the settlements like the Portuguese. Since

มาตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยารอบนอกเกาะเมืองเหมือนชาติอื่น ๆ นับตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามา

That time Japanese are keep on coming. They have their own leader Nagamasa Yamada

อาศัยอยู่ในอยุธยามากขึ้น โดยมีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน หัวหน้าชาวญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นากามาซา

He was the king throngtham's favor. He has got hired to be the cohort.

ยามาดา เป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเส

He became the Srithamaracha city 's prime minister and dead right there

นาภิมุขรับราชการต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่น

Today they have his model. At their villages.

ได้สร้างหุ่นจำลอง นากามาซา ยามาดา และจารึกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรีอยุธยามาตั้งไว้ภายในหมู่บ้าน

the Japanese patrolling with Siamese army

Protugaese village-Thailand















สถานที่น่าสนใจอื่นๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา Interesting city of Ayutthaya"Old capital city of Siamese empire"



ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่ทางใต้ของตัวเมือง ชาว



located at Tambol Sampao lom(sampun sunk) Near the Chaopraya river to the east. Near the โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2054 southern of the downtown. Protugal were 1st European that came to Ayutthaya. Since 1455A.D. By Mr.



โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นทูตเข้า



Alfonso de Elbukerk the successor of the Protugal government of Asian. He sent Mr. Arte Fenandes the embasseror.



มาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่ง



To fulfill the relationship, And the king of Thailand. Lord Ramathiberdhi the 2nd. Protugese are set thier settlement to



ค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลาง



Take marchant business and be the marcenaries of the army of Ayutthaya. Build the Church to preach and become the center of the villages.



ของชุมชน ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยซากสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็น คือ โบราณสถานซานเปโตร หรือ



today We still can see the church named St. Peter, or at that time they called St. Dominic church



เรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์ในคณะโดมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นใน


It had built my the group of Misssionary named Dominican. This is the 1st church in Thailand


แผ่นดินไทยเมื่อปี พ.ศ. 2083 ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ 2,400

Since 1030. It located at the middle of Protugal village. 12*12 kilometer's length.

ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสาม

From the east to the west. face to Chaopraya river. The hall are cut into 3 part

ส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นสุสาน ของชาวคาทอลิคคณะโดมินิกัน ส่วนกลางใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝัง

In front are grveyard of the Dominican. The middle are worships, Beside, and the behind are

ศพบาทหลวง ส่วนในด้านหลังเและด้านข้างเป็นที่พักอาศัยและมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่

the dormitories. We have discovered the main history things like Bones, pipes, coins, jewery

โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้วและเครื่อง

,and the worship gears like Crusifiy, Jesus coins, neckless

ประกอบพิธีทางศาสนาเช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำ

In the part of the graveyard we've found about 254 parts of bones. Buried into the rows, and colums.
ในส่วนของสุสาน พบโครงกระดูกจำนวนมากมายถึง 254 โครง ฝังเรียงรายอย่างเป็นระเบียบและทับซ้อน

And so many of them too. Counting the bones. They must be classes. Inside the base. They

กันหนาแน่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร จากแนวโครงกระดูกที่พบแบ่งขอบเขตสุสานออกเป็น 3 ส่วน

must be the Father, and prayer.

ส่วนในสุดกลางตัวอาคารที่เป็นฐานโบสถ์ อาจเป็นโครงกระดูกของบาทหลวงหรือนักบวช ถัดมาส่วนที่

Next are the Hi-so one. And next are much and still working on it and doesn't know what class either.

สองส่วนนี้อาจเป็นผู้มีฐานะทางสังคมในค่ายโปรตุเกสสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป ส่วนที่สามนอกแนวฐาน

Some of them are perfect are perfect, and some are damages

โบสถ์มีการฝังซ้อนกันมากถึง 3-4 โครง โครงกระดูกเหล่านี้มีทั้งที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และบางส่วนชำรุด

In the History proflie said that. They were dangerous diseases hazard there. At the king Petaracha's Periode

king Petaracha

จากหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์ กล่าวถึงการเกิดโรคระบาดร้ายแรงในปลายแผ่นดินพระเพทราชาเมื่อ

(1229) lots of people died, In 1264 It was repeated. That's why the geaveyard are expand bigger

ปีพ.ศ. 2239 มีผู้คนล้มตายมาก และในปีพ.ศ. 2255 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระก็เกิดโรคระบาดอีกครั้งมีผู้คนล้มตายมาก อาจเป็นเหตุให้มีการขยายสุสานออกมาจากเดิม
Than the beginning.

ประวัติการแพทย์ไทย

การแพทย์แผนไทย

วิวัฒนาการการแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย : ยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย
ศิลาจารึกของอาณาจักรขอม ได้จารึกไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1725 – 1729 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ โดยสร้างสถานพยาบาลเรียกว่า “ อโรคยศาล “ ขึ้น 102 แห่งในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและบริเวณใกล้เคียง และกำหนดผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ หมอ , พยาบาล , เภสัช , ผู้จดสถิติ , ผู้ปรุงอาหารและยา รวม 92 คน รวมทั้งมีพิธีกรรมบวงสรวง พระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ประภา ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ด้วยการบูชา ด้วยยาและอาหาร ก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย ปัจจุบันมีอโรคยศาลที่ยังเหลือประสาทที่สมบูรณ์ที่สุดคือกู่บ้านเขว้าจังหวัดมหาสารคาม

การแพทย์แผนไทย:สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสุโขทัย และจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ได้บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยา เพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วยปัจจุบันภูเขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในยุคนี้ศาสนาพุทธลัทธิหินยานมีบทบาทอย่างมาก พระภิกษุนิยมธุดงค์ ศูนย์รวมของวัฒนธรรมและการศึกษาอยู่ที่วัด เชื่อว่าพระภิกษุยุคนี้มีความรู้ในการรักษาตนเองด้วยสมุนไพรและช่วยเหลือแนะนำประชาชนด้วย

การแพทย์แผนไทย:สมัยอยุธยา
การแพทย์สมัยอยุธยามีลักษณะผสมผสาน ปรับประยุกต์องค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านทั่วราชอาณาจักร ผสมกับความเชื่อตามแนวปรัชญาแนวพุทธ รวมทั้งความเชื่อ ทางไสยศาสตร์และโหราศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่ามีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับประชาชนมีแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรหลายแห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง มีการรวบรวมตำรับยาต่าง ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์ การแพทย์แผนไทยสมัยนี้รุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทย การแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสได้จัดตั้งโรงพยาบาลรักษาโรคแต่ก็ขาดความนิยมและล้มเลิกไป
การแพทย์สมัยรัชกาลที่1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสงขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวง ให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดเกล้าฯให้รวบรวมและจารึกตำรายา ท่าฤๅษีดัดตน และตำราการนวดไทยไว้ตามศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถคล้ายกับในสมัยอยุธยา ผู้ที่รับราชการเรียกว่าหมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่าหมอราษฎรหรือหมอเชลยศักดิ์

การแพทย์สมัยรัชกาลที่2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้เหล่าผู้ชำนาญลักษณะโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้ที่มีตำรายาดี ๆ นำเข้ามาทูลเกล้าฯถวาย และให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ พ.ศ.2395 โปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย

การแพทย์สมัยรัชกาลที่3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ อีกครั้งและโปรดเกล้าฯ ให้จารึกตำรายาบอกสมุฏฐานของโรคและวิธีรักษาไว้บนแผ่นหินอ่อน ประดับตามผนังโบสถ์และศาลาราย และทรงให้ปลูกต้นสมุนไพร ที่หายากไว้ในวัดเป็นจำนวนมากนับเป็นการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมิได้จำกัดอยู่เพียงในวงศ์ตระกูลเหมือนแต่ก่อน นอกจากนี้ยังทรงปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสารามและได้จารึกตำราไว้ในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระวิหาร
รัชสมัยนี้มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ โดยคณะมิชชันารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดนบีช บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่า หมอปรัดเลย์ ซึ่งนำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาใช้ เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น เป็นต้น นับเป็นวิวัฒนาการการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตก

การแพทย์สมัยรัชกาลที่4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความนิยมของชาวไทยได้ เพราะการแพทย์แผนไทยเป็นวิถีชีวิตของคนไทยเป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องกันมา

การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่5
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งศิริราชพยาบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2431 ซึ่งมีการเรียนการสอนและให้การรักษาทั้งการแพทย์ แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน มีการพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2438 ชื่อ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 – 4 ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช ( หมอคง ) เห็นว่าตำรายาเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่มและตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป3เล่มซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยังคงใช้มาจนทุกวันนี้

การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่6
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย และมีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อป้องกันอันตรายอันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัด ด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน การสอบ และการประชาสัมพันธ์ ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้ บ้างก็เผาตำราทิ้ง จะมีหมอแผนโบราณเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนับเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรคำนึงถึง

การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่7
กฎหมายเสนาบดี ได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2485 – 2486 ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ลุกลามเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยา ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาวิจัยสมุนไพรที่ใช้รักษาไข้มาลาเรียที่โรงพยาบาลสัตหีบ หลังจากสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหาขาดแคลนยาแผนปัจจุบัน รัฐบาลจึงมีนโยบายให้องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ผลิตยาสมุนไพรเป็นยารักษาโรค
องค์กรเอกชนด้านการแพทย์แผนไทย
ปี พ.ศ. 2500 มีการก่อตั้งสมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นที่วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ นับแต่นั้นมาสมาคมต่าง ๆ ก็ได้แตกสาขาออกไป ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
ปี พ.ศ. 2526 ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ แพทย์แผนปัจจุบันผู้ซึ่งเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างดี ได้ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิมขึ้น ทำให้เกิดอายุรเวทวิทยาลัย ( ชีวกโกมารภัจจ์ ) ผลิตแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์ หลักสูตร 3 ปี ในโอกาสต่อมา นับได้ว่า ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ เป็นบิดาของการแพทย์แผนไทยแบบประยุกต์ ที่เปิดโอกาสให้แพทย์แผนไทยฟื้นตัวอีกครั้ง

http://benkyoshin-herbal.blogspot.com