2. พระราเมศวร เป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงสละราชสมบัติ
เมื่อ พ.ศ.1912
สละราชสมบัติให้พระเจ้าลุงคือพระบรมราชาธิราชที่ 1
3. โปรตุเกส เป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับไทย เมื่อ พ.ศ. 2060 ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 หรือพระไชยราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา
เป็น โปรตุเกส จากมะละกาในแหลมมลายู เข้ามาค้าขายและอาสาเป็นทหารร่วมรบที่เชียงกราน หลังสงครามได้ความชอบ ได้รับอนุญาตให้ตั้งโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นแห่งแรกในไทย
โปรตุเกสทำมาหากินกับไทยเกือบร้อยปี ฮอลันดาจึงแกะรอยตามมา เมื่อปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แล้วอังกฤษก็มาเป็นชาติที่สาม เมื่อต้นสมัยพระเอกาทศรถ
ฮอลันดากับอังกฤษนับถือคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ แต่โปรตุเกสนับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
4. หนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย แต่งขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยพระโหราธิบดี ชาวเมืองโอฆบุรี (พิจิตร) กวีและผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ในสมัยนั้น เป็นผู้แต่ง
5. สมัยพระนารายณ์มหาราช ไทยได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้ง
6. สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2325 สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2337
ดำรงตำแหน่ง อยู่ 12 พรรษา
7. โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2378 บริเวณสำเหร่ ธนบุรี ของหมอบรัดเลย์ โดยซื้อตัวพิมพ์ของ ร.อ.เจมส์ โลว์ จากสิงคโปร์
ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3
และบทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในประเทศไทย คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย ขายให้กับหมอบรัดเลย์
8. หนังสือพิมพ์อังกฤษ ฉบับแรกของไทย คือ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3
9. ตำรวจนครบาล มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4
10. นายจอห์น ลอฟตัส ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้นำรถรางมาใช้เป็นครั้งแรก เปิดใช้บริการเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2404 ในสมัยรัชกาลที่ 4
11. นายตัน เล่งซือ ชาวจีน เป็นคนแรกที่ตั้งโรงรับจำนำขึ้น ชื่อโรงรับจำนำไท้หยู และไท้เซ่งเฮง เมื่อ พ.ศ.2416 ในสมัยรัชกาลที่ 5
12. รถลาก นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2417 โดยนายฮองเซียง แซ่โง้ว เป็นผู้สั่งเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 5
13. โทรศัพท์ เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2419
14. การไฟฟ้า เริ่มมีครั้งแรกเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2430 โดยใช้ในกิจการของรถราง และจ่ายให้ประชาชนใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5
15. โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2430 ตั้งขึ้นที่ตำบลวังหลัง คือโรงพยาบาลวังหลัง ปีต่อมาพระราชทานชื่อว่า โรงศิริราชพยาบาล
16. โรงแรมโอเรียนเต็ล เป็นโรงแรมแห่งแรก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5
17. เงินบาท สตางค์ และการพิมพ์ธนบัตร เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5
18. ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 โดย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ทรงตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อทดลอง ดำเนินงานเป็นบางอย่าง ณ ตึกแถวสองชั้นสามคูหา ของกรมพระคลังข้างที่ บริเวณย่านบ้านหม้อ ตั้งชื่อในยุคนั้นว่า "บุคคลัภย์" (Book Club)
การ ทดลองดำเนินกิจการไปได้ผลดี จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งเป็น บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราอาร์มแผ่นดินเป็นตราประจำบริษัท แล้วต่อมาพัฒนาเป็น
ธนาคารไทยพาณิชย์
19. รถไฟไทย มีใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่5 โดยสายแรกเดินระหว่าง กรุงเทพฯ ถึง ปากน้ำ สมุทรปราการ
20. โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรก
ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
21. โรงเรียนวัดมหรรณพ เป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรก ที่เปิดให้สามัญชนได้เรียนหนังสือ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
22. เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ต่อเรือกลไฟขึ้นลำแรก ในสมัยรัชกาลที่5
23. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเป็นพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมารองค์แรก ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5
24. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์แรกที่เสด็จออกผนวช ในระหว่างขึ้นครองราชย์
25. นิสิตนักศึกษาคนแรก คือ พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2443
(เมื่อ 106 ปีที่แล้ว)
เมื่อรับประกาศนียบัตร ต่อมาท่านได้เป็นข้าราชการ พ่อเมือง(ผู้ว่าราชการจังหวัด) อุปทูต และปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย
26. สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์แห่งแรก ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 ในสมัยรัชกาลที่ 6
27. วิทยุโทรเลข เปิดให้ประชาชนชาวไทยใช้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ในสมัยรัชกาลที่ 6
28. ธนาคารออมสิน ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปีพ.ศ. 2456 ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัดเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย
จึงได้ทรงจัดตั้ง คลังออมสิน ขึ้น โดยสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ ดำเนินธุรกิจภายใต้ พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456
29. คำว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง นำหน้าชื่อ และการใช้นามสกุล มีใช้เป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6
30. พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฏร์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6
31. ธงชาติไทย มีใช้เป็นครั้งแรกเรียกว่า "ธงช้าง" ในสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเป็นใช้ ธงไตรรงค์ ดังเช่นทุกวันนี้
32. คำว่าพุทธศักราช (พ.ศ.) ใช้แทนคำว่า รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6
อนึ่ง ผู้ที่ริเริ่มใช้ ร.ศ. คือรัชกาลที่ 5 (โดยร.ศ. 1 ตรงกับปี พ.ศ. 2331)
33. สะพานลอยแห่งแรกของประเทศไทย คือ สะพานกษัตริย์ศึก ที่ยศเส ลอยข้ามทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และความสะดวกของการจราจร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471
อำนวยการสร้างโดย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิมพระองค์เจ้าชาย"บุรฉัตรไชยากร"
พระองค์เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
34. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7
ดำรงตำแหน่งระหว่าง 28 มิถุนายน-10 ธันวาคม 2475 แล้วถูกเนรเทศไปอยู่ที่ ปีนัง มาเลเซีย จนถึงแก่อสัญกรรม
35. รถเมล์ขาว เป็นรถโดยสารประจำทางคันแรกของไทย เป็นของนายเลิด หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ์
แรกทีเดียวในปี พ.ศ. 2450 เป็นรถเทียมม้า ต่อมาเป็นรถยนต์สามล้อ
ยี่ห้อฟอร์ด มีที่นั่งยาวเป็นสองแถว กิจการรถเมล์เจริญขึ้นเป็นลำดับ
จึงกลายเป็นรถโดยสารและขยายเส้นทางออกไปทั่วกรุงเทพ
ในปี พ.ศ. 2476
36. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7
37. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7
38. นางสาวกันยา เทียนสว่าง เป็นนางสาวไทยคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477 สมัยนั้นใช้ชื่อว่า นางสาวสยาม จัดประกวดในงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัชกาลที่ 8
และเปลี่ยนไปใช้ชื่อนางสาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2482
(อ้างอิงจากข้อ19) ภาพรถไฟไทยในอดีต และ
นางสาวสยาม ปี พ.ศ.2480
นางสาวมยุรี วิชัยวัฒนะ(มยุรี เจริญศิลป์) นางสาวสยาม ปี พ.ศ.2480 ถ่ายโดยช่างภาพกรมรถไฟ เมื่อ 13 ธันวาคม 2480
รถไฟ ขบวนนี้เป็นรถจากกรุงเทพ - อยุธยา ภาพนี้ปรากฏในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันที่ 13 ธันวาคม 2480 เนื่องจากคุณมยุรี วิชัยวัฒนะ ประกวดในนามตัวแทนจากกรุงเก่า (อยุธยา) ตามที่ท่านข้าหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่งเข้าประกวด พอได้รับการประกาศผลเป็นนางสาวสยามในคืนวันที่ 12 ต่อคืนวันที่ 13 ธันวาคม ก็รีบเดินทางไปอยุธยาตอนตี 3 ที่ต้องเสียเวลาก็เพราะต้องฝ่าฝูงมหาชนที่ยืนรอชมเธอ ตั้งแต่วังสราญรมย์ ถึงสถานีหัวลำโพง พอถึงสถานีรถไฟอยุธยา มีขบวนแห่นางสาวสยามล่องเรือไปรอบเกาะเมือง และจัดแพรับรองหน้าจวนข้าหลวงจังหวัด แล้วมีการสัมภาษณ์บริเวณแพรับรอง
39. พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เป็นผู้ตั้งโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทย คือ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ ผลิตเบียร์ตราสิงห์ออกสู่ตลาดครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2477
ในสมัยรัชกาลที่ 8
40. โรงเรียนสอนคนตาบอด ตั้งขึ้นโดย มิสเจนีวิฟ คอลฟิลด์ ชาวอเมริกัน เมื่อ พ.ศ. 2482 ในสมัยรัชกาลที่ 8
41. ประเทศไทยมีการพิมพ์แสตมป์ ใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐนมตรี ในสมัยรัชกาลที่ 8
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
42. โรงเรียนสอนคนหูหนวก เปิดสอนครั้งแรกที่โรงเรียนเทศบาลโสมนัส เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ในสมัยรัชกาลที่ 9
43. นางอรพินท์ ไชยกาล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย จากจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2494
44. สถานีไทยโทรทัศน์ หรือทีวีช่อง 4 เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
45. โผน กิ่งเพชร หรือนายมานะ ศรีดอกบวบ เป็นแชมป์โลกคนแรกของไทย ด้านมวยสากล เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503
เป็นการชกชิงตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท จาก ปาสคาล เปเรซ นักชกชาวอาเยนตินา ณ เวทีลุมพินี ต่อหน้าพระที่นั่งด้วย
นับเป็นเกียรติประวัติแก่ชาติไทย ด้วยเหตุนี้สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย จึงกำหนดให้วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี
เป็นวันนักกีฬายอดเยี่ยม
แม้ว่าต่อมาโผน กิ่งเพชรจะเสียตำแหน่งไป แต่ก็สามารถชิงกลับมาได้อีกถึงสามครั้ง จนประกาศแขวนนวมเมื่อปี พ.ศ.2509
46. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรก ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2504-2509 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐนมตรี
47. นางสาวอาภัสรา หงสกุล เป็นมิสยูนิเวอร์สคนแรกของไทย จากการตัดสิน ณ ไมอามี บีช ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2508
48. คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง เป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ ในปี พ.ศ. 2514 สาขาบริการชุมชน
คุณ นิลวรรณเป็นบรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร นานถึง 48 ปี เป็นกำลังสำคัญก่อตั้งสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และมีผลงานเขียนร้อยแก้ว ทั้งบทความ และสารคดีจำนวนมากมาย
49. นางสมทรง สุวพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านหญิงคนแรกของไทย ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2525
50. นายสมรักษ์ คำสิงห์ เป็นคนไทยคนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิคเหรียญแรกให้ไทย โดยชนะการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท ณ เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2539.
No comments:
Post a Comment