Can't find it? here! find it

Thursday, May 21, 2009

German tank: Pzkw VI Tiger


Pzkw VI Tiger แพนเซอร์ 6 ไทเกอร์
               สุดยอดแห่งตำนานรถถังของนาซีเยอรมันและของโลก ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรถถังที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก ถ้าเทียบเรื่องจำนวนในการสังหารรถถังด้วยกัน
          คำสั่งการออกแบบไทเกอร์ เริ่มในวันที่26พฤษภาคา ปี1941 1เดือนก่อนบุกรัสเซีย โดยมีบริษัทเอกชนสองบริษัทคือ ปอร์เช่ และเฮนเซล เข้าร่วมการแข่งขันออกแบบรถถังไทเกอร์ แต่ว่าป้อมปืนนั้น ถูกแยกไปผลิตและพัฒนาโดยบริษัทกรุ๊ปป์
เมื่อสงครามในรัสเซียอุบัติขึ้น เยอรมันต้องการรถถังหนัก ที่มีความแข็งแกร่งสูง ติดอาวุธทรงอานุภาพเพื่อรับมือกับรถถังรัสเซีย ไทเกอร์ จึงเป็นอาวุธที่มีความจำเป็นยิ่งยวด ทั้งสองบริษัทจึงรีบออกแบบเพื่อให้ชนะการแข่งขันโดยเร็ว
             แต่การออกแบบของสองบริษัทก็ค่อนข้างต่างกัน เช่น รถของเฮนเซล(VK3601) จะออกแบบให้ปืนประจำรถสามารถใช้กระสุนเจาะเกราะทังสเตนได้ แต่ก็จะเลือกว่าจะติดตั้งปืนใดดีระหว่าง ปืน75มม. L70 แบบรถถังแพนเธอร์ และ 88มม. L56 ส่วนรถทดสอบของปอร์เช่(VK3001) จะใช้เครื่องยนต์เบนซิน และติดปืน88มม. L 56 เท่านั้น
            และการทดสอบในปี1942 วันเกิดของฮิตเลอร์ รถทดสอบของเฮนเซลนั้น ประสบปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ ทำความเร็วได้เพียง45กม./ชม. ช้ากว่าปอร์เช่ถึง5กม. แถมเครื่องยนต์ของเฮนเซลก็ยู่ในสภาพร้อนจัดแทบจะระเบิด แต่รถทดสอบของปอร์เช่นั้นก็มีปัญหาเรื่องช่วงล่าง ระบบเกียร์ และระบบบังคับเลี้ยว ถึงแม้จะเร็วกว่ารถของเฮนเซลถึง5กิโลเมตรก็ตามโชคยังเข้าข้างเฮนเซล ที่การทดสอบเน้นที่การขับเคลื่อนในทางวิบากผ่านภูมิประเทศ ซึ่งรถของเฮนเซลนั้นคล่องแคล่วกว่า รถของปอร์เช่วึ่งระบบเลี้ยวมีปัญหาจึงช้าเป็นเต่าคลาน ทำให้รถทดสอบVK3601ของเฮนเซลได้ชัยชนะ และนำไปสร้างเป็นรถถังรุ่นที่6 หรือ ไทเกอร์ ของเยอรมัน และเริ่มผลิตในปลายปี1942
                การออกแบบไทเกอร์นั้น ช่วงล่างและตัวถังผลิตจากเหล็กกล้าแผ่นเรียบขนาดใหญ่ นำมาเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า และยังมีระบบสลักคล้องเหล็กแต่ละชิ้นทำให้มีความคงทนกว่าเดิม และเหล็กชิ้นใหญ่ ทำให้ไทเกอร์ทนต่อการยิงของปืนแทบทุกชนิด
ป้อมปืนนั้นออกแบบเป็นทรงเกือกม้า มีความแข็งแกร่งคงทนสูง ป้อมผ.บ.รถอยู่ทางซ้ายของตัวรถ แต่ป้อมผ.บ.แบบเก่าอยุ่ในวิถียิงของพลปืนรัสเซีย จึงปรับให้เตี้ยลง ตัวถังรถด้านหน้าเป็นที่นั่งของพลวิทยุ ติดปืนกลแบบ เอ็มจี34 ซึ่งเป็นที่หวาดกลัวของทหารพันธมิตรและโซเวียตมาก ปืน88มม. L56 มีระยะยิงต่อสู้รถถังไกลกว่า3,000เมตร โดยจะยิงแม่นยำ100%ที่ระยะ1,500เมตร แม่นยำ80%ที่ระยะ2,000เมตร และ50%(ยิง2นัดถูก1นัด)ที่ระยะ3,000เมตร และระบบกล้องเล็งวัดระยะแบบ3ตา ทำให้ไทเกอร์ ได้เปรียบรถถังข้าศึกตรงจุดนี้ เพราะปืนของไทเกอร์ยิงได้เร็วและแม่นมาก และไทเกอร์ยังมีกระสุนเจาะเกราะแบบพิเศษ นอกเหนือจากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถังและกระสุนเจาะเกราะธรรมดา นั่นคือกระสุนเจาะเกราะหัวรบทังสเตน แบบPzgr 40 ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมากนัก กระสุนรุ่นนี้ผลิตมาจากโลหะผสมทังสเตน มีความเร็วปากลำกล้องสูงและยิงได้ไกลมาก สามารถเจาะเกราะได้ทุกชนิด100% เน้นการใช้งานในการทำลายเป้าหมายที่มีเกราะหนัก เมื่อรวมกับปืน88มม.แล้ว ไทเกอร์จึงยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น แต่กระสุนรุ่นนี้ก็ผลิตออกมาน้อย เพราะช่วงสงครามเยอรมันขาดแคลนแร่ทังสเตนมาก จึงให้เบิกใช้ไม่มากนัก
               ไทเกอร์ ได้ออกรบในสมรภูมิสำคัญทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก แอฟริกาเหนือ และอิตาลี โดยในแอฟริกาเหนือ กองทัพน้อยแอฟริกา ครอล์ฟ ของนายพลรอมเมล ได้ใช้รถถังไทเกอร์จำนวนน้อย เข้าต่อสู้กับกองทัพรถถังจำนวนมหาศาลของกองทัพพันธมิตรอังกฤษ-อเมริกา และทำลายรถถังพันธมิตรได้เป็นจำนวนมาก ในแนวรบด้านตะวันออก ไทเกอร์ก็ได้แสดงพลังฝังรถถังโซเวียตจมดินเป็นจำนวนมาก โดยที่รถถังหนักของโซเวียตแบบKV-1 และ KV-2 ไม่อาจต้านทานได้ แม้ช่วงปี1944 โซเวียตจะผลิตรถถังหนักรุ่นใหม่แบบ โจเซฟ สตาลิน-2 (JS-2) ติดปืนขนาด122มม. ซึ่งใหญ่กว่าไทเกอร์ได้ก็ตาม แต่ก็หาต้านทานไทเกอร์ได้ไม่ โดยข้อมูลการรบในวันที่2มกราคม 1945 กองพันรถถังหนักที่507ของเยอรมันที่มีรถถังไทเกอร์เป็นกำลังหลัก ได้ปะทะกับกองพลยานเกราะของโซเวียตที่มี JS-2 จำนวนมาก ผลคือ รถถังไทเกอร์1 คัน สามารถทำลายรถถังJS-2ได้ถึง22คัน ด้วยปืน88มม. ที่ยิงได้ไกล แม่นยำ และรวดเร็วกว่าโดยที่รถถังของโซเวียตไม่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่รถถัง ไทเกอร์ได้เลย ทำให้กำลังพลโซเวียตต้องถอยกลับไปตั้งหลักใหม่
ในแนวรบตะวันตก นอร์มังดี ปี1944 ร้อยเอก มิคาเอล วิทมานน์ แห่งกองพลยานเกราะ เอส.เอส. ที่1 ลิปสแตนดาร์ต ได้นำรถถังไทเกอร์6คันเข้าทำการต่อสู้กับรถถังพันธมิตร และสามารถสังหารรถถังพันธมิตรได้มหาศาล
                 เนื่องจากประสิทธภาพของไทเกอร์เป็นที่หวาดหวั่น แก่ทหารพันธมิตร ทำให้เกิดอาการทางจิตในช่วงสงครามที่เรียกว่า ไทเกอร์ โฟเบีย หรืออาการหวาดกลัวรถถังไทเกอร์ นั่นคือเมื่อมีคนพูดถึงรถถังไทเกอร์ ผู้มีอาการดังกล่าวจะเกิดอาการสั่นกลัว และเมื่อได้ยินเสียงรถถังไทเกอร์หรือเห็นตัวรถถัง ก็แทบจะเป็นประสาทไปเลย
                  จุดอ่อนอันน่ากลัว ของ ไทเกอร์คือ เครื่องยนต์ที่มีปัญหา(เป็นความผิดพลาดในการออกแบบรถต้นแบบของเฮนเซล) ความเชื่องช้า เพราะน้ำหนักที่มาก โดยในการรบที่เมืองคาห์คอฟ และเคียฟ สภาพถนนเป็นโคลนตม รถถังไทเกอร์ที่มีน้ำหนักมาก ได้ติดหล่ม และเร่งเครื่องจนเครื่องยนต์พังเสียหาย จึงตกเป็นเป้าของปืนรถถังโซเวียต ทำให้เยอรมันต้องเสียไทเกอร์จำนวนมากในการรบครั้งนั้น
ไทเกอร์ ถูกผลิตตั้งแต่ปี 1942-1944 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,350คัน แม้จะมีน้อย แต่ก็สำแดงพลังการรบให้ทหารพันธมิตรเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับการยกย่องจากนักการทหารในรุ่นหลังว่า มันคือสุดยอดเครื่องจักรสังหารอย่างแท้จริง
ข้อมูล
หนัก--57 ตัน (บางรุ่นหนักถึง62ตัน)
ยาว---8.45เมตร
กว้าง---3.8เมตร
สูง--- 3เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--25-120มิลลิเมตร
อาวุธ---ปืนใหญ่ 88มม. L56 1กระบอก อาวุธรอง ปืนกล7.92มม. 2-3กระบอก เครื่องยิงระเบิดควัน90มม. 6ท่อยิง
ความเร็ว---38-45กม./ชม.
พิสัยทำการ---195ก.ม.

No comments: