Faylicity.com
อี นิกมาเป็นเครื่องเข้ารหัสข้อมูลที่เยอรมันใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันสื่อสารข้อมูลทางวิทยุเป็นหลัก เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ข้อมูลที่ส่งทางวิทยุนั้นเป็นสื่อสาธารณะที่ใครๆ ก็ได้ยินได้ เยอรมันจึงจำเป็นจะต้องแปลงข้อมูลเหล่านั้นด้วยอีนิกมาให้อยู่ในรูปที่อ่าน ไม่รู้เรื่องก่อน อีนิกมาเป็นรหัสลึกลับน่าสนเท่ห์อย่างชื่อ และเป็นเครื่องมือที่เยอรมันมั่นใจอย่างเหลือเกินว่าจะไม่มีใครทำลายได้ สำเร็จ เรามารู้จักว่าอีนิกมาทำงานอย่างไร และทำไมเยอรมันจึงได้เชื่อมั่นในเครื่องมือนี้ถึงขนาดนี้
อีนิกมาปรากฎโฉมครั้งแรกในปี 1918 โดยเป็นสินค้าชิ้นหนึ่งของบริษัทรักษาความปลอดภัยที่วางขายในท้องตลาด ผู้คิดค้นอีนิกมาคือ Arthur Scherbius ซึ่งได้ออกแบบให้อีนิกมาใช้งานง่าย มีหน้าตาคล้ายเครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นตัวอักษรให้กด เวลากดตัวอักษร เช่น Q ตัวอักษรจะผ่านการแปลงรูปเป็นตัวอื่นเช่น U เป็นต้น ในเครื่องมีแผงไฟที่แสดงตัวอักษรที่ถูกแปลงแล้ว (ในที่นี้คือ U) ที่จะสว่างวาบขึ้น ผู้ใช้เครื่องนี้จะต้องจดตัว U เพื่อเอาไปใช้ส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้น HELLO อาจกลายเป็น BXCYR เป็นต้น
สังเกต ว่าตัว L สองตัวนั้นแปลงได้ต่างกันไปในการกดแต่ละครั้ง (ในแป้นพิมพ์นั้นไม่มีตัวเลข การส่งตัวเลขจึงต้องใช้การสะกดเอา เช่น 3321 เป็น DREI DREI ZWO EINS)
แป้นพิมพ์
|
อี นิกมาไม่ประสบความสำเร็จในการขาย แต่กองทัพเยอรมันให้ความสนใจ และตั้งแต่ปี 1923 อีนิกมาก็ไม่มีวางขายอีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมือใช้ในหน่วยทหารแทน
ข้อดีของอีนิกมา คือใช้งานง่าย เข้าใจง่าย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้างในเครื่องอีนิกมาทำงานอย่างไร ก็รู้ว่าพิมพ์อะไรเข้าไป ก็จะออกมาเป็นอีกอย่างให้เราเอาไปใช้ได้ คนใช้อีนิกมาไม่ต้องผ่านการฝึนฝนอะไรมาก เพียงอ่านหนังสือออกและเรียนรู้การปรับค่าเริ่มต้นของล้อหมุน (ที่ทำง่ายๆ ด้วยมือ) ก็ใช้ได้แล้ว
Arthur Scherbius
|
และยังเป็นทั้งเครื่องเข้ารหัสและถอดรหัสในตัวเดียวกัน อีนิกมามีขนาดเล็ก พกพาไปไหนสะดวก จึงสะดวกกับการใช้งานทางทหารอย่างยิ่ง นอกจากนั้น หน่วยทหารแต่ละกองยังสามารถตั้งรหัสให้เข้าใจได้แต่ในพวกเดียวกัน (เช่นเฉพาะกองทัพเรือ เฉพาะกองทัพอากาศ) ซึ่งทำได้ด้วยการตั้งค่าลูกล้อให้ต่างกันไป ตอนที่สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มระอุนั้น กองทัพเยอรมันก็ใช้งานอีนิกมาอย่างกว้างขวางแล้ว
ตลอดช่วงสงครามโลก ครั้งที่สอง เยอรมันได้พัฒนาอีนิกมาอยู่เสมอ เช่นเพิ่มล้อหมุนจาก 3 เป็น 5 และทำให้ล้อหมุนนี้วิ่งไปลำดับใดก็ได้ คือจะตั้งค่าให้ล้อไหนจะเป็นล้อชั่วโมง ล้อนาที ก็ได้ ซึ่งทำให้การถอดรหัสยากขึ้นไปอีก ไม่เพียงเท่านั้น เยอรมันจะเลือกใช้ล้อหมุนเพียงสามตัวจากห้าตัวที่มีอยู่ การจะแกะรหัสด้วยการเดาจึงต้องเดาทั้งลูกล้อไหนที่จะใช้ และใช้ในลำดับใด ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ เยอรมันจึงเชื่อมั่นว่าไม่มีใครจะแกะรหัสอีนิกมาออกได้เลย
Alan Turing
|
เยอรมัน ใช้อีนิกมาในการสื่อสารของเรือดำน้ำ U-Boat ที่น่าครั่นคร้ามของเยอรมันด้วย U-Boat จมเรือของฝ่ายพันธมิตรไปมากมาย ดังนั้นการถอดรหัสของอีนิกมาให้ออก จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง อังกฤษพยายามรวบรวมนักอักษรศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์ และใครก็ตามที่พอจะมีหวังว่าจะแกะรหัสอีนิกมาออก มาช่วยกันทำงานแกะรหัสซึ่งเป็นงานลับสุดยอดนี้ ผู้คนถึง 10,000 คนรวมถึง อลัน ทัวริง (Alan Turing) นักคณิตศาสตร์ชื่อดัง
ได้มารวมตัวกันที่ ศูนย์เฉพาะกิจ โดยทำงานกันเป็นผลัดทั้งวันทั้งคืน เพื่อพยายามหาทางทำลายอีนิกมา ทัวริงมีส่วนช่วยให้แกะรหัสนี้สำเร็จ แต่ความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากประเทศโปแลนด์ และชาวโปแลนด์สามคนต่อไปนี้ที่สมควรได้รับเครดิตในการแกะอีนิกมามากกว่าใคร Marian Rejewski, Jerry Rozycki และ Henryk Zygalski
ความ ผิดพลาดข้อสำคัญที่สุดของเยอรมันก็คือความเชื่ออย่างสุดจิตสุดใจในตัวอีนิ กมานี่เอง ซึ่งเป็นเหตุของความผิดพลาดและเลินเล่อในการใช้งาน
ทหารเยอรมันกำลังส่งรหัสด้วยอินิกม่า
|
|
|
No comments:
Post a Comment