ถ้าเรามีความคิดใหม่ๆ แปลกๆที่จะจัดการกับเรื่องของข้าว สร้างกระแสในเรื่องของข้าวให้เกิดขึ้นระดับโลกเหมือนกลุ่มโอเปคเป็นมหาอำนาจน้ำมันของโลกได้ ประเทศไทยก็เป็นมหาอำนาจทางข้าวของโลกได้ วิธีการก็ คือเมื่อน้ำมันแพง กลุ่มโอเปคกลับไม่ผลิตน้ำมันเพิ่ม ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าถ้าผลิตเพิ่มก็จะขายเพิ่มได้ พวกเขารู้ว่าถ้าผลิตน้ำมันเพิ่มราคาน้ำมันจะไม่เพิ่มขึ้นหรืออาจจะลดลงด้วยซ้ำ การผลิตน้ำมันให้น้อยกว่าความต้องการจริงๆของตลาดโลกทำให้เกิด Demand มากขึ้นนั่นเอง ตามหลักของ Demand และ Supply นั่นเอง และทำให้เกิดการเก็งกำไรตามมา การเก็งกำไรทำให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นไปเป็นทอดๆ ตามการถือครอง Order ล่วงหน้า หรือ การเปลี่ยนมือไปของสินค้าล่วงหน้า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเราสามารถใช้กลไกของ Demand และ Supply แบบเดีวยกับที่กลุ่มโอเปคใช้กับน้ำมันได้คือ เมื่อข้าวในตลาดโลกแพงประเทศไทยเราก็ขายข้าวในตลาดโลกให้น้อยลงทั้งๆที่ขายได้แต่ก็ไม่ทำ เมื่อประเทศไทยลดการขายข้าวลง 10-20% จากที่เคยขายไปทั้งหมด 50% ของตลาดโลก อะไรจะเกิดขึ้น ราคาข้าวในตลาดโลกก็จะแพงขึ้นกว่านี้ทันที ถามว่า : ถ้าเราไม่ขายข้าวแล้วจะเอาข้าวไปทำอะไร ? เราก็เอาข้าวที่ไม่ขายนั้นโดยฉพาะข้าวที่เกรดต่ำๆหรือพวกปลายข้าวไปผลิตเป็นแอลกฮอล์ก สมมุติว่าต้นทุนของข้าวเกรดต่ำนั้น เช่น ปลายข้าว กิโลละ 12 บาท 2 กิโลไปผลิตเป็นแอลกฮอล์กได้ 1 กิโล แอลกฮอล์กลิตรละ 20 บาท เอาแอลกฮอล์กไปผสมเป็นน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 ราคาขายลิตรละประมาณ 30 บาท แอลกฮอล์กลิตรละ 20 บาทนั้นก็จะมีมูลค่ากลายเป็น ลิตรละ 30 บาทขึ้นมา ก็จะทำให้ต้นทุน 24 บาทนั้นไม่ขาดทุน หรือขาดทุนนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร เพราะเราจะไปได้กำไรจากราคาข้าวในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และไปลดการนำเข้าของน้ำมัน คิดถัวเฉลี่ยแล้วก็ยังน่าจะได้มากกว่าเสียอีก นอกจากนี้เรายังชวนประเทศอื่นที่ผลิตข้าวรายใหญ่ๆมาทำแบบเราด้วย เช่น เวียดนาม อินเดีย เหมือนกลุ่มโอเปคที่รวมตัวกันใช้ราคาน้ำมันเป็นอาวุธในทางเศรษฐกิจ เราก็ใช้ข้าวในทางเศรษฐกิจเป็นอาวุธ และตั้งกลุ่มโอเปคข้าวขึ้นมาแบบเดียวกัน เพราะประเทศเหล่านี้ก็เจอปัญหาเรื่องราคาน้ำมันเช่นเดียวกับเรา และต้องการลดต้นทุนในด้านราคาน้ำมันเหมือนกับเรา ถ้าทำได้เช่นนี้ก็จะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกขยับตาม จี้ราคาน้ำมันไปเรื่อยๆ เช่นอาจถึงกิโลละ 100 บาทก็ได้ ซึ่งขณะนี้น้ำมันได้ขึ้นไปถึงบาเรลล์ละ 112 ดอลลาร์แล้ว มันน่าจะเป็นการลงตัวของเศรษฐกิจโลกไม่ใช่หรือ ที่ประเทศเกษตรกรรมขายผลิตผลทางการเกษตร (ข้าว) ได้แพง และเอาไปซื้อสินค้าอุตสาหกรรม (น้ำมัน) ที่แพงเช่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าเหมือนถูกชกอยู่ข้างเดียว คือขายของที่ผลิตขึ้นมาถูกๆแล้วไปซื้อของแพงๆมาใช้ ถามว่า : เป็นการทำร้ายประชาคมโลกเรื่องอาหารหรือไม่ ? คำตอบ : ไม่ มันเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ชนบท สู่ผู้ยากไร้ สู่เกษตรกรมากกว่า และเกษตรกร และชาวโลกผู้ยากจนก็จะหันมาผลิตข้าวออกมาสู้กับน้ำมัน และทุกอย่างจะปรับตัวไปตามธรรมชาติ เกิดความสมดุลขึ้นเอง “ คนไทย” ร่วมภาคภูมิใจกับความสำร็จระดับโลกของคนไทยที่...
No comments:
Post a Comment