สื่อต่างประเทศตีแผ่วัดพระบาทน้ำพุ
ตะลึงจัดทัวร์พิศดารโชว์ชะตา
กรรมคนตาย-ผู้ป่วยเอดส์ใกล้สิ้นลม งงระดมทุนจากการบอก
บุญนักท่องเที่ยวได้เงินมากมาย ทั้งวัดและเจ้าอาวาส สร้าง
เป็นอาณาจักร แต่เมินซื้อยาประทังชีพเอดส์ให้ผู้ป่วย
แถมระบบบริหารจัดการแย่ ปล่อยคนป่วยอยู่ใน
สภาพแสนอนาถา เผยแม้แต่อาสาสมัครต่าง
ชาติรายสำคัญยังสูญเสียศรัทธา จนต้องโบกมือลา
บทความของ 'Timesonline' จาก The Sunday
Times ที่เขียนโดยนายแอนดรูว์ มาร์เชลล์
ได้ตีแผ่ประสบการณ์ในการร่วมเดินทางทัวร์วัด
พระบาทน้ำพุ บทความดังกล่าวซึ่งใช้ชื่อว่า
ฤาวัดพระพุทธจะเดินซ้ำรอยวัดแห่งความวิบัติ
ระบุว่า ปัจจุบันวัดพระบาทน้ำพุ เป็นที่รู้กันในฐานะ
สถานดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และยังเป็นสถานรับ
เลี้ยงเด็กพิเศษ สถานที่แห่งนี้ถือเป็นอาณาจักร
ที่มั่งคั่งจากเงินบริจาค สร้างโดยพระอลงกต วัย 54
พรรษา ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไทยชื่อดัง โดยเริ่มโครง
การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ตั้งแต่ปี 1992 โดยอาณา
จักรสงฆ์แห่งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน มีขนาดพื้นที่ครอบคลุม
1,200 เอเคอร์ เป็นสถานที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้านับพัน
ชีวิต รวมทั้งเด็กกำพร้าที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนมาก
โดยวัดพระบาทน้ำพุ มีความหมายถึงการย่ำรอยเท้า
ของพระพุทธเจ้า แต่ชื่อวัดก็ได้กลายเป็นภาพ
ลักษณ์ที่ทำให้พระสงฆ์ในอาณาจักรสงฆ์แห่งนี้สามารถ
เรียกเงินเรี่ยไรได้หลายล้านปอนด์ จากการณรรงค์โฆษณา
กิจกรรมช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ของวัด ที่มีการติดโปสเตอร์และ
ตั้งกล่องรับบริจาคเงินทั่วประเทศ
นายแอนดรูว์ยังบรรยายต่อไปว่า ในการบริจาคเงินให้แก่อาณา
จักรสงฆ์แห่งนี้ ส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย
และชาวตะวันตกที่ศรัทธาต่อกิจกรรมของวัด ขณะที่วัด
ยังได้เปิดกิจกรรมทัวร์ท่องเที่ยววัดด้วยการให้ชมสภาพ
กิจกรรมและชะตากรรมของผู้ป่วยเอดส์ใกล้ตาย
จุดหนึ่งรวมทั้งสิ่งที่เรียกว่า'พิพิธคนเป็น'ซึ่งจะมีทั้งศพ
ของผู้เสียชีวิตในสภาพที่ถูกสตาฟฟ์ร่างเป็นมัมมี่ โดย
ป้ายโฆษณาชวนเชื่อระบุข้อความที่เป็นสัจจธรรมแห่งชีวิต
พร้อมทั้งป้ายบอกอาชีพของผู้ป่วยที่มีหลากหลายเช่น
นักร้อง,หญิงโสเภณี และชายโสเภณีด้วย
สิ่งที่สร้างความตะลึงในการทัวร์ดังกล่าวคือ วัดแห่งนี้
มีเตาเผาศพ 8 เตา และสวนแกะสลักงานศิลปะหยาบ ๆ
ของผู้ป่วยเอดส์ที่ทำจากกระดูกของคนตาย โดยระหว่าง
การทัวร์จะมีหลายขึ้นตอน จุดสุดท้ายจะเป็นการเยือนชม
พระพุทธรูปที่ล้อมรอบด้วยกำแพงถุงทรายที่บรรจุด้วยอัฐ
ของผู้ตายจำนวนหลายพันคน ที่คอยให้ญาติของพวก
เขามารับ จากนั้นสิ่งที่จะตามมาก็คือ นักท่องเที่ยวจะถูก
เรี่ยไรเงินเพื่อขอเงินบริจาคช่วยเหลือวัด
นายแอนดรูว์ระบุว่า สภาพความเป็นอยู่ในอาณาจักรช่วย
เหลือผู้โรคเอดส์นี้ ให้บรรยากาศสุดสลดหดหู่ พร้อมคำ
ถามหลายอย่างในใจ รวมทั้งอาสาสมัครของวัดพระบาท
น้ำพุ ซึ่งต้องช่วยเหลือผู้ป่วยในสภาพตามยถากรรม
จำนวนนี้รวมทั้งนายไมเคิล บาสสาโน่ บาทหลวงจาก
นิวยอร์ก ที่ถือเป็นอาสาสมัครยาวนานที่สุดของวัดแห่งนี้
นายบาสสาโน่เล่าว่า ผู้ป่วยบางคนบ้างเดินทางมายังวัด
แห่งนี้ด้วยความสมัครใจ บ้างก็ถูกทอดทิ้งเหมือนขยะ
ขณะที่เจ้าหน้าที่รายอื่น ๆ ก็ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยแต่ใน
สภาพไม่เต็มไม้เต็มมือ โดยวัดต้องปล่อยให้ผู้ป่วยตาย
อย่างอนาถา ซึ่งอาจเป็นคำสอนของวัดนี้ที่อ้างว่า ชีวิต
ในโลกหน้าจะดีกว่าโลกนี้ จำนวนนี้รายหนึ่งยังรวมทั้งชะตากรรม
ของชายป่วยเอดส์ใกล้ตายรายหนึ่งที่กรีดร้องเหมือนสัตว์
โดยเจ้าหน้าที่ต่างมองว่า เขากำลังถูกลงโทษจากบาปในอดีต
ที่เคยเป็นคนเชือดสัตว์มาก่อน เช่นเดียวกับผู้ป่วยเองก็เชื่อ
ว่าการติดเชื้อเอดส์ เป็นคำพิพากษาของกรรม เช่น อดีตวิศวกร
รายหนึ่ง ที่ติดเอดส์โดยบังเอิญจากภรรยา ซี่งเขาเชื่อว่าสา
เหตุที่ตัวเองต้องทำเอดส์ ก็เพราะเคยทำเลวกับภรรยามาเยอะ
นายแอนดรูว์ระบุต่อไปว่า สำหรับสภาพวิถีชีวิตของวัดพระบาท
น้ำพุถือว่าค่อนข้างอัตคัต แต่ละรายจะได้รับเงินเดือนเฉลี่ย
3,500-7,500 บาท ขณะที่เจ้าหน้าที่บางคนซึ่งเคยเป็นอดีต
พยาบาลเปิดเผยว่า เขาทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน สภาพการ
ทำงานไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยอะไรได้มาก จนหลาย
ครั้งรู้สึกท้อแท้ แต่ก็ไม่อยากทิ้งที่นี่ไป เพราะห่วงว่าจะ
ไม่มีใครมาทำงานเช่นนี้แทน
นายแอนดรูว์ระบุว่า วัดแห่งนี้เคยมีแพทย์และพยาบาลอาชีพ
5 คน โดยอาสาสมัครคนสุดท้ายที่ทำงานที่นี่เป็นชาวเบลเยี่ยม
ออกไปเมื่อปี 2004 และเคยเขียนบทความวิจารณ์สภาพการ
บริหารจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างแย่ ขาดอุปกรณ์ และเป็นอัน
ตรายต่อสุขภาพ และระบุว่า เจ้าหน้าที่จะมีสภาพเป็นทาส
ส่วนนักท่องเที่ยวก็จะเหมือนกับพวกมนุษย์กินคน ขณะที่พระ
สงฆ์เจ้าของวัดนี้ก็บริหารวัดเหมือนโรงงานแห่งความตาย
เหมือนกิจการของครอบครัว
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากหนังสือดังกล่าวถูกตีพิมพ์
ปรากฎว่าทางวัดได้ขอให้อาสาสมัครชาวต่างชาติทุกคน
ยกเว้นนายบาสซาโน่ออกไป
รายงานยังระบุว่า สำหรับสภาพของผู้ป่วยนั้น จะได้รับการ
ดูแลอาการจากแพทย์แค่เดือนละครั้ง โดยจะถูกนำร่างไป
ตรวจสภาพในวัดใกล้เคียงในจังหวัดลพบุรี และเมื่อกลับ
หน้าที่ดูแลก็จะตกเป็นของพยาบาลดังกล่าว โดยบางครั้ง
ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ หากเกิดกรณีฉุกเฉินกับผู้ป่วยหลายอื่น ๆ โดยหลายครั้งที่ผู้ป่วยต้องไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากยังมีอาการสูญเสีย
ความทรงจำ และต้องอาศัยอยู่ในกรงเหล็กในห้องน้ำ
เพื่อป้องกันอาการคลุ้มคลั่งของพวกเขา โดยรายหนึ่งยัง
ถูกผู้ป่วยรุมทุบตีและปิดปากด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย
บางคนเผยด้วยว่า เขาไม่ชอบการทัวร์ลักษณะนี้
เพราะไม่ต้องการเห็นคนอื่นเห็นคนเป็นเอดส์
นายแอนดรูว์บรรยายว่า ในสังคมไทย พระรูปดังๆ
จะมีชื่อเสียงโด่งดังราวนักร้องเพลงร็อค จะได้รับการ
นับหน้าถือตาจากนักการเมืองและคนดังและ
ร่ำรวยด้วยเงินบริจาค
สำหรับพระอลงกต เคยมีประวีติจบการศึกษา
ในออสเตรเลีย และมีแผนจะตั้งโรงงานรีไซเคิลหญ้า
แต่กลับมาเป็นบวชเป็นพระแทน ก่อนจะได้แรงบันดาล
ใจตั้งวัดพระบาทน้ำพุ เพราะครั้งหนึ่งได้สัมผัสกับผู้ป่วย
เอดส์ที่ตายต่อหน้า อย่างไรก็ตาม กิจกรรมปัจจุบันของ
พระอลงกรณ์ยังรวมทั้งการนั่งสนทนากับนักท่องเที่ยว
โดยบางรายยังได้ฉวยเก็บภาพของท่านและพระเครื่อง
เพื่อให้ท่านแจกลายเซ็นและภาวนา แต่บรรยกาศเหล่านี้หลาย
ครั้งถูกทำลายด้วยเสียงเงินบริจาคในกล่องที่มัก
จะว่างเปล่าอยู่เสมอ
รายงานระบุว่า พระอลงกตยังได้ปกป้องกิจกรรม
การทัวร์พิสดารของวัดว่า เพื่อเพิ่มการตระหนักของ
สังคมต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ และเพิ่มคุณ
ค่าทางจิตใจของผู้ป่วยเอง โดยผู้ป่วยเหล่านี้จะได้มีโอ
กาสได้พูดคุยกับนักท่องเที่ยว เหมือนมีญาติมาเยี่ยม
ซึ่งนายบาสซาโน่กล่าวว่า ผู้ป่วยมักจะมีจิตใจชีวาเมื่อ
ได้เห็นพระอลงกรณ์มาเยี่ยมพวกเขา แต่ก็นานๆครั้งมาก
ขณะที่พยาบาลรายเดิมเล่าว่า ท่านถึงกับลืมชื่อของเธอ
แม้ว่าเธอจะทำงานที่มาแล้ว 8 ปีก็ตาม อย่างไรก็ตาม
พระอลงกรณ์อ้างด้วยว่า วัดล้มเหลวที่จ้างบุคลากร
เพราะหมอส่วนใหญ่อยากทำงานให้กับโรงพยาบาล
เอกชนที่ให้รายได้ดีกว่าเยอะ และว่าสถานที่แห่งนี้เหมือน
ได้นำความหวังใหม่และการต่อสู้อุปสรรคมาให้ โดย
คนมาตายที่นี่ ก็จะได้รับการเผา คนจิตใจแตกสลาย
หรือถูกปฎิเสธจากครอบครัวมาที่นี่ก็จะได้รับการเลี้ยงดู
ได้ที่พักและเสื้อผ้า พร้อมทั้งบอกว่า สถานที่ทุกแห่งใน
วัดพระบาทน้ำพุกำลังเผชิญกับภาวะด้านการเงิน และ
สงสัยว่าวัดจะอยู่รอดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม นายแอนดรูว์ตั้งคำถามว่า เป็นเรื่อง
ยากที่วัดจะอยู่ในสภาพขัดสนเงินทอง เพราะจาก
การเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของวัด
บอกว่า พระอลงกตมีแผนที่จะสร้างศูนย์กีฬา มูลค่า
1.6 ล้านบาท และสลักทางปฎิบัติธรรมขึ้นเขาเป็น
เงินจำนวน 8 ล้านบาท
ขณะที่นายบาสซาโนได้ตั้งคำถามว่า เขาสงสัยว่า
ในเมื่อมีเงินมากมายขนาดนี้ ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์
และวัดทำอย่างไรกับการบริหารเงินบริจาคเหล่านี้
แทนที่จะนำเงินมาช่วยเหลือผู้ป่วย ด้วยการซื้อยา
บำบัดรักษาโรคเอดส์ หรือช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ยาก
ไร้ในวัด รวมทั้งรถโรงพยาบาลที่แม้แต่วัดแห่งนี้ยัง
ไม่มี และนี่ยังไม่นับรวมการซื้อเครื่องเล่นยิงลูกฟุต
บอลจากยุโรป มาประดับในวัด ซึ่งหลายคนไม่เข้าใจ
ว่า เพราะเหตุใดมันจึงจำเป็นสำหรับวัดแห่งนี้!
รายงานระบุว่า เป็นเรื่องยากที่จะถามพระเจ้าอาวาสทั่วไป
เรื่องเงินบริจาคโดยไม่มีความรู้สึกเคลือบแคลงในศรัทธา
ซึ่งประเด็นการนำเงินไปใช้จ่ายอย่างไม่เหมาะสม ได้กลาย
เป็นคำขวัญล้อเลียนประเภทว่า'วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่ง
หนึ่ง'แล้วในสังคมไทย ขณะที่วัดพระบาทน้ำพุมีรายได้เฉลี่ย
4-5 ล้านบาทต่อเดือน ไม่รวมโครงการบ้านเด็กกำพร้า
นอกจากนี้ พระอลงกตยังได้รับเงินบริจาคโดยตรงเช่นกัน
แต่ไม่มีการเปิดเผยตัวเลข โดยท่านอ้างว่าไม่ใช่เรื่องที่จะ
ต้องมาเปิดเผยตัวเลขต่อสาธารณชน แต่อ้างว่าทางวัดมีระ
บบทำบัญชีที่ดี โดยพระอลงกตยังได้ขอให้นายแอนดรูว์ไป
หาสำนักงานเลขาฯของวัดเรื่องการใช้จ่ายของวัด ซึ่งเมื่อ
เขาได้ตรวจสอบแล้ว ปรากฎว่าแต่ละคนกลับให้ตัวเลข
ค่าใช้จ่ายที่ไม่ตรงกัน และไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่า
โครงการบ้านเด็กกำพร้าได้รับเงินทุนสนับสนุนอย่างไร
รายงานระบุว่า ครั้งแรกที่พระอลงกตช่วยเหลือผู้ป่วยรายแรก
นั่นเป็นเรื่องของความเห็นอกเห็นใจ แต่จนถึงปัจจุบัน หรือ
16 ปีจากนั้น วัดพระบาทน้ำพุมีนักเที่ยวมาเยี่ยมเยือนกว่า
หลายแสนคน และเงินทุนก็หลั่งไหลเข้ามา จนเหมือนผู้ป่วย
ของวัดจะถูกมองข้าม ขณะที่นายบาสซาโน่ชี้ว่า การเลี้ยง
ไข้ผู้ป่วยดูเหมือนจะเป็นจุดขายของวัดนี้ เพราะหากผู้ป่วย
เข้มแข็งด้วยยารักษาโรคเอดส์แล้ว วัดก็คงจะได้รับเงิน
สนับสนุนน้อยลง ดังนั้น ยารักษาเอดส์สูตร ARV ที่ยัง
คงมีราคาสูง อาจถูกซื้อมาที่นี่ แต่มันก็จะไม่ได้ใช้กับคนไข้
รายงานระบุว่า ปัจจุบันนายบาสซาโน่ได้ลาออกจาก
การเป็นอาสาสมัครของวัดพระบาทน้ำพุแล้ว
เพราะที่ผ่านมาเขาต้องทำงานด้านการแพทย์ที่ไม่มีการ
รับรองอย่างถูกกฎหมาย โดยไม่มีใบรับรองให้ผลิตยา
ในเมืองไทย อย่างไรก็๋ตาม เขายังคงวิจารณ์วัดพระบาท
น้ำพุว่าขาดพื้นยารักษาโรคพื้นฐาน และอุปกรณ์การแพทย์
แม้ว่าวัดจะมีเงินจำนวนไม่น้อยก็ตาม
No comments:
Post a Comment