มาอัพเกรดฮาร์ดไดรฟ์ให้แล็ปท็อปของเรากันเถอะ!
เคยพบว่าฮาร์ดไดรฟ์ของแล็ปท็อปตัวเก่าของคุณมีหน่วยความจำไม่พอกับความต้องการบ้างหรือเปล่า? หากเป็นอย่างนั้น วันนี้เรามีวิธีในการอัพเกรดฮาร์ดไดรฟ์เพิ่มหน่วยความจำให้กับแล็ปท็อปของคุณแล้ว...
ตัวอย่างเช่นหากต้องการอัพเกรดฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 30GB ให้เพิ่มเป็น 100GB คือคุณจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์บางตัวที่จะทำการก็อปไดรฟ์ตัวเก่าไว้ก่อน ทำเป็นสำเนาเพื่อจะเอาใส่เข้าไปในไดรฟ์ตัวใหม่อีกทีนึง และจากนั้นก็ต้องรู้วิธีที่จะนำฮาร์ดไดรฟ์ตัวใหม่ใส่เข้าไปในแล็ปท็อป
หากมีชุดอุปกรณ์ในการอัพเกรดอย่าง EZ upgrade ที่มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ในการโอนถ่ายข้อมูล ก็จะทำให้ขั้นตอนง่ายขึ้น มันจะทำการโอนถ่ายข้อมูลจากไดรฟ์ตัวเก่าไปยังไดรฟ์อีกตัวหลังจากทำการอัพเกรด
ก่อนทำการอัพเกรดก่อนที่เราจะเริ่มโอนถ่ายข้อมูลนั้น เราจะต้องทำความสะอาดไดรฟ์ตัวเก่าเสียก่อน โดยการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น และถอนการติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ทิ้งไปซะอย่าเสียดาย ซึ่งจะทำให้คุณไม่ต้องมาเสียเวลากับการโอนถ่ายข้อมูลที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ด้วย จากนั้นก็ต้องเรียบเรียง (defragment) ข้อมูลในไดรฟ์ซะใหม่
โอนถ่ายข้อมูล
ใส่ไดรฟ์ตัวใหม่ (100GB) เข้าไปในเคส (อุปกรณ์การอัพเกรดฮาร์ดไดรฟ์) อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะฮาร์ดไดรฟต้องระวังให้มาก อย่าให้เกิดการกระแทกหรือแรงกดใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากภายในนั้นมีอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะบอบบางอาจเกิดการเสียหายได้
จากนั้นต่อสาย USB และไดรฟ์จากเคสไปยังแล็ปท็อป ใส่ซอฟต์แวร์ EZ Gig ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการก็อปปี้ข้อมูลจากดิสก์ และทำการบูทเครื่องจากแผ่นซีดีได้โดยตรง ในการบูทเครื่อง ให้เลือก Automatic เพื่อที่ซอฟต์แวร์จะได้เซ็ทอัพวิธีการก็อปปี้ข้อมูล มันจะขึ้นคำถามถามคุณว่าจะลงไดรฟ์ตัวใหม่หรือตัวเก่า เลือกให้ถูกต้องแล้วตอบเพื่อเริ่มการทำงาน การโอนถ่ายข้อมูลใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลที่ก็อปปี้
เปลี่ยนฮาร์ดไดรฟ์เมื่อโอนถ่ายข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ให้ปิดเครื่อง ถอดปลั๊กและแบตเตอรี่ออกเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการทำงานของระบบไฟฟ้าอยู่ จากนั้นก็เปิดหนังสือคู่มือเพื่อหาวิธีการเอาฮาร์ดไดรฟ์ตัวเก่าออกจากแล็ปท็อป เมื่อพบแล้วให้ทำตามขั้นตอนด้วยความระมัดระวัง
เมื่อเอาฮาร์ดไดรฟ์ตัวเก่าออกจากแล็ปท็อปแล้วให้ดูว่ามีฐานรองฮาร์ดไดรฟ์ตัวเก่าอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้เปลี่ยนเอาตัวใหม่ใส่เข้าไปแทน
จากนั้นให้นำฮาร์ดไดรฟ์ตัวใหม่ออกจากเคสแล้วนำมาใส่แล็ปท็อป ใส่แบตเตอรี่เข้าไปอีกครั้ง และรีสตาร์ทเครื่อง หากแล็ปท็อปไม่ทำงาน ให้ใส่ไดรฟ์ตัวเก่ากลับเข้าไปอีกทีนึง และตรวจสอบไดรฟ์ตัวใหม่ให้ดี
หากแก้ไขเรียบร้อยแล้ว แล็ปท็อปของคุณจะมีหน่วยความจำเพิ่มเป็นสองหรือสามเท่าของฮาร์ดไดรฟ์ตัวเก่า
ภาพเคสที่ใช้ในการแบ็คอัพไดรฟ์
No comments:
Post a Comment