ประวัติวันที่ 31 ต.ค.
เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยว! หาร่างของค นเป็นเพื่อสิง สู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงทุกบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อใ! ;ห้ผีตัวจริ ;งตกใจหนีหายสาบสูญไปบางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา “คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง” เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์กาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสต์กาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผี สิงออก & เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า! หลอกหรือเลี่ี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน ‘All Souls’ พวกเขาจะเดินร้องขอ ‘ขนมสำหรับวิญญาณ’ (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้นการเล่น trick or treat ตามบ้านคนส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้น$! แม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ ‘ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก’ แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้น! ไม้ เมื่อแจ ;็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และ! 649;จ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป! ็นอีกสัญลั กษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง ‘การหยุดยั้งความชั่ว’ Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโ! 621;วีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็! ;น ส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียว กัน เรียกว่า Corn Candyและขนมอื่น
ไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนũ! 9;ับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า “Trick or treat?” เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick ! 648;พื่อท้าทา 618;ให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่ี่สุด
วันฮัลโลวีน ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของ ทุกปี วันนี้ ถ้าให้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทย น่าจะเป็น “วันปล่อยผี” หรือไม่ก็ “วันป่าช้าแตก” คงจะเหมาะ วันนี้ ในสหรัฐอเมริกา เราจะเห็นแต่ผี (คนแต่งตัวเป็นผี) มากมายหลายร้อยจำพวก เดินอาละวาดกันเต็มเมืองไปหมด ผีเหล่านี้มักไม่มาเดี่ยว จะมาเป็นกลุ่ม มากบ้าง น้อยบ้าง แต่ไม่น่ากลัว พอตกตอนเย็นๆ พวกผีตัวเล็กๆ ก็มักจะเที่ยวเคาะประตูชาวบ้าน ร้องแต่ว่า “ทริก ออร์ ทรีตๆๆ (trick or treat)” หรือ “หลอกแหลกแล้วแจกขนม” เจ้าของบ้านแต่ละบ้านก็เหมือน จะรู้ใจผีอยู่แล้ว เตรียมขนมจำพวกคุกกี้ ทอฟฟี่ ช็อกโกแลต หรือเศษเงินไว้ให้ พอผีมาเคาะประตู ก็จะได้รับแจกขนมหรือสิ่งของ แล้วผีก็จะยอมจากไปด้วยดี ว่ากันว่าเจ้าของบ้านหลังใดขี้เหนียว ไม่ยอมทำบุญกับผี อาจถูกผีแกล้งเอาได้ตอนกลางคืนผีจะมาชุมนุมกันจัดปาร์ตี้ผี จะได้ยินเสียงผีร้องวี้ด...วี้ด และสรวลเสเฮฮาเป็นที่น่าสนุกสนานกันจนค่อนคืน วันนี้ ถือเป็นวันที่สนุกสนานมากวันหนึ่ง บางเมืองอาจจัดงานฉลองใหญ่โต บางทีมีขบวนพาเหรด ตามโรงเรียน สถานที่ราชการ ห้างร้าน บริษัท นิยมจัดงานรื่นเริงกันตอนกลางวัน มีการ ร่วมรับประทานอาหาร เล่นเกมและประกวดการแต่งกายแฟนซี บางทีนิยมเล่นกันตอนเย็นๆ กับเพื่อนบ้าน งานรื่นเริงวันนี้ทุกคนนิยมแต่งกายให้เป็นผีประหลาดน่าเกลียดน่ากลัว มีการเขียนหน้าตา ใส่หน้ากากที่แต่งเป็นประเภทอื่นๆ ไม่ใช่ผีก็มีบ้าง แต่เป็นจำนวนน้อย ท่านที่เคยชมภาพยนตร์ เรื่อง อีที (ET) คงจะจำกันได้ถึงฉากวันฮัลโลวีน ที่อีทีออกเที่ยวตระเวนกับเด็ก เทศกาลฮัลโลวีนมีความเป็นมาอย่างไร ทำไมจึงต้องแต่งตัวเป็นผี วันฮัลโลวีนเป็นเทศกาลที่เก่าแก่มากที่สุดวันหนึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากงานเทศกาล แซมเฮน (Samhain) ของชาวเซลท์ (Celts)ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองไอร์แลนด์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ชาวเซลท์จะฉลองวันปีใหม่ในวันที่ 1 พฤศจิกายนถือว่าเป็นวันสิ้นสุดของฤดูเก็บเกี่ยว พืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ และจะเริ่มต้นฤดูหนาวและกลางคืนที่ยาวนาน เซลท์เชื่อว่าก่อนวันขึ้ ปีใหม่หนึ่งวัน คือวันที่ 31 ตุลาคมนี้ โลกของคนเป็นกับโลกของคนตายจะมาซ้อนกันบางส่วน ดังนั้น วันนี้ คนที่ตายแล้วอาจจะเดินมาปะปนกับคนที่ยังมีชีวิต หรือวิญญาณของคนที่ตายแล้วอาจจะ กลับไปบ้าน ไปหาครอบครัว หรือไปในที่ต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาแก่คนเป็น คือก่อความตระหนกตกใจหรืออาจทำลายชีวิตทรัพย์สิน เขาจึงต้องประกอบพิธีแซมเฮนนี้ขึ้น เพื่อคุ้มครองพวกเขาให้รอดพ้นจากภูตผีปิศาจทั้งหลายดังกล่าว ตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 43 โรมันได้เข้าครอบครองดินแดนของชาวเซลท์อยู่ประมาณกว่า 400 ปี ชาวโรมันเองก็เลยร่วมฉลองเทศกาลแซมเฮนของชาวเซลท์ไปด้วยและได้ผสมผสานประเพณีต่างๆ ของตนเข้าด้วยกัน ต่อมา ในสมัยที่คริสเตียนเรืองอำนาจ สันตะปาปา โบนิเฟซ ที่ 4 ได้ถือเอาวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันฉลองนักบุญ (All Saint's Day) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ออล ฮัลโลเมสส์ All Hallowmesse (แปลว่าฉลอง นักบุญเหมือนกัน) ดังนั้น ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน คือวันที่ 31 ตุลาคม จึงถือเป็นวัน All Hallow Eve ซึ่งถ้าออกเสียงเร็วๆ จะเป็น ฮัลโลวีน (Halloween) ก็เลยเรียกวันที่ 31 ตุลาคมว่า วันฮัลโลวีนตั้งแต่นั้นมา ส่วนประเพณีการแต่งกายเลียนแบบผี มีพื้นฐานมาจากความเชื่อเดิมของชาวเซลท์ที่ว่า ในวันนี้เวลาที่คนออกจากบ้านอาจต้องเจอะเจอ กับผี ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นคนจึงแต่งตัวให้เหมือนผี เพื่อผีจะได้ไม่ทำร้ายเพราะคิดว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่ปัจจุบันการแต่งกาย ในเทศกาลนี้ก็มีผิดเพี้ยนไปบ้างคือ ไม่แต่งเป็นผีอย่างเดียว อาจแต่งเป็นแม่มด สัตว์ประหลาด นางฟ้า นักบุญ หรืออื่นๆ ด้วยสัญลักษณ์ของฮัลโลวีนมีมากมายหลายแบบ ส่วนใหญ่ออกแนวความคิดเป็นพวกผีต่างๆเป็นแม่มดขี่ไม้กวาด ปัจจุบัน เพิ่มเติมเป็นตัวการ์ตูนผีน้อยแคสเปอร์ เข้าไปด้วย นอกจากประเภท ผี 500 จำพวกแล้ว สัญ-ลักษณ์ที่นิยมแพร่หลายมากในอเมริกาคือ ฟักทอง ที่แกะเป็นหน้าคน (หรือหน้าผี) ยิ้มเห็นฟันหักๆ ที่ชาวอเมริกันนิยมตั้งประดับหน้าบ้านช่วงเทศกาลนี้ พอตกคํ่าก็จุดเทียน ข้างใน เห็นวอบๆ แวบๆ ดูน่ารักมากกว่าน่ากลัว ชาวยุโรปเองก็ใช้สัญลักษณ์นี้กับงานฮัลโลวีนมานานแล้ว แต่ใช้พวกมันฝรั่ง หัวบีท หรือหัวผักกาดเรียกกันว่า ตะเกียงของแจ๊ค (Jack O'Lantern) แต่เมื่อพวกนี้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอเมริกา ได้ใช้ผลฟักทองแทนเพราะฟักทองเป็นผลไม้ประจำถิ่น หาได้ง่าย ผลใหญ่ และสีสวยกว่าขนมประจำเทศกาลคือ เค้กผลไม้ ซึ่งภายในจะซุกซ่อนของบางอย่างไว้ ของเหล่านี้เป็นการเสี่ยงโชค หรือเป็นเครื่องทำนายทายทักของผู้ที่กินขนมชิ้นนั้น เช่น ใครได้ขนมชิ้นที่มีแหวน หมายถึงจะได้แต่งงาน ในไม่ช้า ใครได้ขนมชิ้นที่มีเศษฟาง หมายถึงจะรํ่ารวย ใครได้ขนมชิ้นที่มีสัญลักษณ์รูปเกือกม้าเล็กๆ หมายถึงโชคดี เป็นต้น วันฮัลโลวีน แม้จะมีถิ่นกำเนิดในไอร์แลนด์ อังกฤษก็ตาม แต่การเฉลิมฉลองกลับไปแพร่หลายใน สหรัฐอเมริกา นิยมเล่นกันมาก จัดงานกันสนุกสนาน เอิกเกริก นับว่าเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญ ของปีเลยทีเดียว ว่ากันว่า สหรัฐอเมริกามีการใช้จ่ายเงินกันในเทศกาลนี้ (วันเดียว) ถึงประมาณปีละ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯทีเดียว
2 comments:
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล
ขอบคุณนะค่ะ
Post a Comment