Can't find it? here! find it

Friday, April 10, 2009

Japanese samurai armor:Yoroi

เกราะญี่ปุ่น หรือ โยะโรอิ (yoroi (鎧)) สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 5 และ 6 เพื่อใช้ในการศึกสงครามของเหล่าไดเมียว ซามูไร และกองกำลังทหาร นำวิธีการสร้างมาจาก ประเทศจีน โดยนำแผ่น เหล็ก กล้าขนาดบาง เป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น ต่อร้อยเชื่อมติดเข้าด้วยกันด้วยเส้น ไหม หรือเส้นหรือเชือกหนังให้เป็นแผ่นใหญ่ ก่อนจะเคลือบอีกชั้นด้วย แลคเกอร์ เพื่อป้องกัน น้ำ หลังจากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชุด โดยให้เส้นไหมที่ใช้เชื่อมยืดติดกันนั้นเกยกันระหว่างแผ่นเหล็ก ชุดเกราะไสตล์ ญี่ปุ่น โบราณมีชื่อเรียกว่า "โยะโรย" ในสมัยโบราณชุดเกราะโยะโรย ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการขี่ม้าเวลาซามูไรออกศึก สงคราม เนื่องจากชุดเกราะโยะโรย ถูกสร้างจากแผ่นเหล็กจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณน้ำหนักค่อนมากและเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วน้ำหนักของชุดเกราะประมาณ 30 - 40 กิโลกรัม ซึ่งสร้างประสิทธิภาพในการต่อสู้แก่ซามูไรเป็นอย่างมาก ในการสวมใส่ชุดเกราะโยะโรอิ
ผู้สวมจะต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะในบริเวณส่วนไหล่ ซึ่งเป็นข้อเสียของชุดเกราะชนิดนี้ เพราจะะทำให้การเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด เมื่อยามที่ต้องต่อสู้หรือกวัดแกว่งดาบ คะตะนะ เข้าใส่ศัตรู ในระหว่างยุคสมัยสงครามโอนิน ชุดเกราะโยะโรยสำหรับนักรบซามูไรขี่ม้า เริ่มที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำหนักของชุดเกราะถ่ายเทไปยังส่วนร่างกายของผู้สวมใส่มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยในการให้นักรบซามูไรใช้ดาบ คะตะนะ เพราะการเคลื่อนไหวในบริเวณช่วงไหล่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทนฝืนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะที่สวมใส่ และน้ำหนักของดาบคู่สองเล่ม คือดาบยาว คะตะนะ และ ดาบสั้น วาคิซาชิ แต่การที่ใช้เส้นไหมหรือเชือกเชื่อมร้อยชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดเกราะชนิดนี้ยังคงอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการผลิตและในการดูแลชุดเกราะชนิดวันต่อวัน เพื่อให้ชุดเกราะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณที่พื้นที่ที่เต็มไปด้วยทุ่งนา การใช้ชุดเกราะโยะโรยที่ยึดด้วยเส้นไหมหรือเชือกร้อยดูจะเป็นเรื่องแปลก สำหรับบุคคลทั่วไป เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กนั้นสามารถดูดซับน้ำได้ง่าย จึงทำให้ชุดเกราะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และในสภาวะที่มีอากาศหนาวเย็น เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยจะแข็งตัวได้ง่าย อย่างไรก็ดี เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ เข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ชุดเกราะมีความยืดหยุ่นในตัว สามารถสวมใส่ได้ง่ายและเมื่อเกราะเกิดชำรุดก็สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วย การใช้สีของเส้นไหมหรือเชือกร้อยเช่นสีแดง สีดำ สีเหลือง เป็นการบ่งบอกสถานะของแม่ทัพในศึกสงคราม ทำให้สามารถระบุสถานะของกองทัพ แม่ทัพ และขุนพลทหารแต่ละคนว่า สังกัดตระกูลไหน ยามอยู่ในสนามรบ ในการต่อสู้ที่แสนสับสนวุ่นวาย การที่จะทุกคนในสนามรบจะสามารถแยกแยะว่าใครคือมิตรหรือศัตรู สามารถที่จะรู้ได้โดยสีของเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยชุดเกราะอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญของชุดเกราะ และเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กจำนวนมากเข้าด้วยกันนี้เอง ทำให้เกราะโยะโรยของญี่ปุ่น สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ ดูมีสีสันฉูดฉาด สะดุดตาและดึงดูดสายตาจากคนยุคใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซามูไรผู้สวมเกราะโยะโรยนั้น ค่อนข้างจะพิถีพิถันและช่างเลือกเกราะของพวกเขา และไม่ได้ยอมรับชุดเกราะที่มีสีสันสดใสแต่เพียงเพราะมันแลดูงดงามเสมอไป ที่สำคัญที่สุดก็คือ สีย้อมเส้นไหมหรือเชือกบางสี จะทำให้เส้นไหมมีความเปราะมากขึ้น และอาจทำให้เชือกร้อยยุ่ยหลุดหลุ่ยออกจากกัน ซึ่งจะทำให้มันไม่สามารถเชื่อมยึดแผ่นเกราะเข้าด้วยกันได้ และเป็นอุปสรรคสำคัญในระหว่างการทำศึกสงคราม อย่างไรก็ดี ในภายหลัง แฟชั่น ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากปี ค.ศ. 1570 สีย้อมเส้นไหมสีดำเป็นเงาเริ่มมีให้ใช้และเข้ามามีบทบาทกับชุดเกราะ ชุดเกราะที่มีเส้นไหมหรือเชือกร้อยสีดำก็ได้รับความนิยมในหมู่ซามูไร อย่างกว้างขวาง สิ่งสำคัญที่สุดคือชุดเกราะนั้นเปรียบเสมือน “เครื่องมือทำมาหากิน” สำหรับซามูไร ที่สามารถช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ อันตรายอย่างยิ่งยวดของสนามรบ เกราะโยะโรย สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ จะมีหมวกเกราะที่มีขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ หมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย อาจจะติดเขากวาง เขาสัตว์ ขนนกขนาดใหญ่หรือหงอนขนาดใหญ่ รูปแฉกแสงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ ที่ทำให้ผู้ที่สวมเกราะโยะโรยนั้นดูน่าเกรงขามและประทับใจในคราวเดียวกัน มอน หรือ ตราประจำตระกูล ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหมวกเกราะที่นิยมประดับลงบนหมวกเกราะ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะและตระกูลของผู้สวมใส่เกราะญี่ปุ่น หรือ โยะโรย (yoroi (鎧)) สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 5 และ 6 เพื่อใช้ในการศึกสงครามของเหล่าไดเมียว ซามูไร และกองกำลังทหาร นำวิธีการสร้างมาจาก ประเทศจีน โดยนำแผ่น เหล็ก กล้าขนาดบาง เป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น ต่อร้อยเชื่อมติดเข้าด้วยกันด้วยเส้น ไหม หรือเส้นหรือเชือกหนังให้เป็นแผ่นใหญ่ ก่อนจะเคลือบอีกชั้นด้วย แลคเกอร์ เพื่อป้องกัน น้ำ หลังจากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชุด โดยให้เส้นไหมที่ใช้เชื่อมยืดติดกันนั้นเกยกันระหว่างแผ่นเหล็ก
ชุดเกราะไสตล์ ญี่ปุ่น โบราณมีชื่อเรียกว่า "โยะโรย" ในสมัยโบราณชุดเกราะโยะโรยอิ ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการขี่ม้าเวลาซามูไรออกศึก สงคราม เนื่องจากชุดเกราะโยะโรย ถูกสร้างจากแผ่นเหล็กจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณน้ำหนักค่อนมากและเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วน้ำหนักของชุดเกราะประมาณ 30 - 40 กิโลกรัม ซึ่งสร้างประสิทธิภาพในการต่อสู้แก่ซามูไรเป็นอย่างมาก ในการสวมใส่ชุดเกราะโยะโรย ผู้สวมจะต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะในบริเวณส่วนไหล่ ซึ่งเป็นข้อเสียของชุดเกราะชนิดนี้ เพราจะะทำให้การเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด เมื่อยามที่ต้องต่อสู้หรือกวัดแกว่งดาบ คะตะนะ เข้าใส่ศัตรู ในระหว่างยุคสมัยสงครามโอนิน ชุดเกราะโยะโรยสำหรับนักรบซามูไรขี่ม้า เริ่มที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำหนักของชุดเกราะถ่ายเทไปยังส่วนร่างกายของผู้สวมใส่มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยในการให้นักรบซามูไรใช้ดาบ คะตะนะ เพราะการเคลื่อนไหวในบริเวณช่วงไหล่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทนฝืนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะที่สวมใส่ และน้ำหนักของดาบคู่สองเล่ม คือดาบยาว คะตะนะ และ ดาบสั้น วาคิซาชิ แต่การที่ใช้เส้นไหมหรือเชือกเชื่อมร้อยชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดเกราะชนิดนี้ยังคงอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการผลิตและในการดูแลชุดเกราะชนิดวันต่อวัน เพื่อให้ชุดเกราะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณที่พื้นที่ที่เต็มไปด้วยทุ่งนา การใช้ชุดเกราะโยะโรยที่ยึดด้วยเส้นไหมหรือเชือกร้อยดูจะเป็นเรื่องแปลก สำหรับบุคคลทั่วไป เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กนั้นสามารถดูดซับน้ำได้ง่าย จึงทำให้ชุดเกราะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และในสภาวะที่มีอากาศหนาวเย็น เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยจะแข็งตัวได้ง่าย อย่างไรก็ดี เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ เข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ชุดเกราะมีความยืดหยุ่นในตัว สามารถสวมใส่ได้ง่ายและเมื่อเกราะเกิดชำรุดก็สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วย การใช้สีของเส้นไหมหรือเชือกร้อยเช่นสีแดง สีดำ สีเหลือง เป็นการบ่งบอกสถานะของแม่ทัพในศึกสงคราม ทำให้สามารถระบุสถานะของกองทัพ แม่ทัพ และขุนพลทหารแต่ละคนว่า สังกัดตระกูลไหน ยามอยู่ในสนามรบ ในการต่อสู้ที่แสนสับสนวุ่นวาย การที่จะทุกคนในสนามรบจะสามารถแยกแยะว่าใครคือมิตรหรือศัตรู สามารถที่จะรู้ได้โดยสีของเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยชุดเกราะอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญของชุดเกราะ และเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กจำนวนมากเข้าด้วยกันนี้เอง ทำให้เกราะโยะโรยของญี่ปุ่น สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ ดูมีสีสันฉูดฉาด สะดุดตาและดึงดูดสายตาจากคนยุคใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซามูไรผู้สวมเกราะโยะโรยนั้น ค่อนข้างจะพิถีพิถันและช่างเลือกเกราะของพวกเขา และไม่ได้ยอมรับชุดเกราะที่มีสีสันสดใสแต่เพียงเพราะมันแลดูงดงามเสมอไป ที่สำคัญที่สุดก็คือ สีย้อมเส้นไหมหรือเชือกบางสี จะทำให้เส้นไหมมีความเปราะมากขึ้น และอาจทำให้เชือกร้อยยุ่ยหลุดหลุ่ยออกจากกัน ซึ่งจะทำให้มันไม่สามารถเชื่อมยึดแผ่นเกราะเข้าด้วยกันได้ และเป็นอุปสรรคสำคัญในระหว่างการทำศึกสงคราม อย่างไรก็ดี ในภายหลัง แฟชั่น ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากปี ค.ศ. 1570 สีย้อมเส้นไหมสีดำเป็นเงาเริ่มมีให้ใช้และเข้ามามีบทบาทกับชุดเกราะ ชุดเกราะที่มีเส้นไหมหรือเชือกร้อยสีดำก็ได้รับความนิยมในหมู่ซามูไร อย่างกว้างขวาง สิ่งสำคัญที่สุดคือชุดเกราะนั้นเปรียบเสมือน “เครื่องมือทำมาหากิน” สำหรับซามูไร ที่สามารถช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ อันตรายอย่างยิ่งยวดของสนามรบ เกราะโยะโรย สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ จะมีหมวกเกราะที่มีขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ หมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย อาจจะติดเขากวาง เขาสัตว์ ขนนกขนาดใหญ่หรือหงอนขนาดใหญ่ รูปแฉกแสงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ ที่ทำให้ผู้ที่สวมเกราะโยะโรยนั้นดูน่าเกรงขามและประทับใจในคราวเดียวกัน มอน หรือ ตราประจำตระกูล ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหมวกเกราะที่นิยมประดับลงบนหมวกเกราะ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะและตระกูลของผู้สวมใส่

No comments: