โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม เรื่องที่ผมนำเสนอหรือรวบรวมมาและผิดพลาดบ้างก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ Trust in dream,Trust in what seek, And you shall discovers.
Can't find it? here! find it
Wednesday, April 29, 2009
เรือรบยามาโตะ:Yamato battleship(大和)
7 เมษายน พ.ศ. 2488 เรือรบ ยามาโตะ (Yamato) ของญี่ปุ่นจมลงบริเวณทางเหนือของเกาะโอกินาวา เรือยามาโตะเป็นเรือประจัญบานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมาจน ถึงปัจจุบัน มีขนาดยาว 250 เมตร มีปืนขนาด 460 มม. ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยบรรจุไว้ในเรือ ตั้งเรียงรายอยู่รอบลำซึ่งมีเกราะป้องกันตอปิโดหนาถึง 8 นิ้ว มีระวางขับน้ำถึง 69,100 ตัน จนใคร ๆ ต่างก็เชื่อว่าเรือลำนี้ไม่มีทางจมเด็จขาด ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐอเมริกาบุกยึดเกาะโอกินาวาเพื่อเข้ายึดกรุงโตเกียว นักรบญี่ปุ่นได้ยืนหยัดสู้อย่างทรหด เรือยามาโตะก็ได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติการ KIKUSUI 1 ซึ่งแปลว่า ดอกเบญจมาศลอยน้ำ โดยมีภารกิจล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกไปจากน่านน้ำเกาะโอกินาวา เช้าวันที่ 6 เมษายน 2488 เมื่อเรือยามาโตะเดินทางยังไม่ถึงน่านน้ำโอกินาวา ฝ่ายนาวิกโยธินสหรัฐฯ จับสัญญาณได้จึงส่งฝูงบินโจมตี 380 ลำ รุมทิ้งระเบิดเรือยามาโตะเป็นเวลาเกือบ 2 วัน จนในที่สุดเรือยามาโตะได้จมสู่ก้นทะเลพร้อมลูกเรือเกือบ 2,500 คน มีผู้รอดชีวิตเพียง 269 คนเท่านั้น
ประวัติการสร้าง
ยามาโตะ ในระหว่างการก่อสร้าง
เรือรบชั้นยามาโตะถูกสร้างขึ้นหลังจากจักรวรรดิญี่ปุ่นถอนตัวจากสนธิสัญญานาวีวอชิงตันใน การประชุมที่ลอนดอนครั้งที่สองใน พ.ศ. 2479 (3 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) สาระสำคัญของสนธิสัญญานี้นั้น เกี่ยวกับเรื่องการจำกัดขนาดการขยายนาวิกานุภาพของแต่ละชาติอันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, จักรวรรดิอังกฤษ, จักรวรรดิญี่ปุ่นและ ราชอาณาจักรอิตาลี
ขั้นตอนการออกแบบเรือรบชั้นยามาโตะนี้ เริ่มมาแต่ พ.ศ. 2477 หรือ 2 ปีก่อนการถอนตัวออกจากสนธิสัญญานาวีวอชิงตันแล้ว และหลังจากได้รับการปรับปรุงการออกแบบหลายต่อหลายครั้ง ระวางขับน้ำขนาด 68,000 ตันก็ได้รับการยอมรับในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2480 (ระวางขับน้ำ คือหน่วยในการวัดขนาดของเรือ โดยใช้หลักว่า เมื่อนำเรือลงน้ำแล้ว ปริมาตราน้ำที่ถูกเรือเข้าไปแทนที่นั้น มีน้ำหนักกี่ตัน) การสร้างเรือรบชั้นยามาโตะนี้ ถูกเก็บเป็นความลับอย่างยิ่งยวด โดยสร้างขึ้นที่อู่ต่อเรือจักรวรรดินาวีคุเระ เริ่มโครงการวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 พิธีปล่อยเรือลงน้ำกระทำในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2483 และเข้าประจำการในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484
ในเบื้องต้น มีการวางแผนว่าจะสร้างเรือรบในชั้นนี้อยู่ 5 ลำ เรือหลวงยามาโตะและเรือหลวงมุซาชิ ถูกสร้างตามที่ได้ออกแบบไว้ แต่ทว่าเรือหลวงชินาโนะ ซึ่งเป็นลำที่สามได้ถูกดัดแปลงให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน หลังความปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ ลำที่สี่ ยังไม่เคยมีการตั้งชื่อและถูกเรียกว่า "Hull Number 111" ถูกแยกชิ้นส่วนในปี พ.ศ. 2486 โดยแล้วเสร็จไปเพียง 30%เท่านั้น และ"Hull Number 797" ลำสุดท้ายนั้น ไม่เคยมีการก่อสร้าง (Hull Number หมายถึง หมายเลขทะเบียนเรือรบ)
แผนสำหรับการสร้างเรือรบชั้น "ซูเปอร์ ยามาโตะ" อันมีปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้องขนาด 508 มิลลิเมตร (20 นิ้ว) นั้น ถูกเรียกว่า "Hull Number 798" และ "Hull Number 799" แต่โครงการถูกปฏิเสธไปในปี พ.ศ. 2485
เรือในชั้นนี้ถูกออกแบบมาให้เหนือกว่าเรืบรบของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในทุก ๆ ด้าน ปืนหลักขนาด 460 มม ถูกสร้างขึ้นแทนที่ขนาด 406 มม เพราะว่าความกว้างของคลองปานามานั้น ทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างปืนที่มีขนาดเดียวกันได้โดยปราศจากข้อจำกัดในการออกแบบ หลายอย่าง หรือมีการวางระบบการป้องกันตัวไม่เพียงพอ เพื่อสร้างความสับสนในหมู่จารชนต่าง ชาติ ปืนหลักนี้ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "40.6 มม พิเศษ" และพลเรือนก็ไม่เคยเข้าใจถึงสมรรถนะจริงของปืนนี้ และวิธีนี้ก็ได้ผลเป็นอย่างดี เพราะแม้แต่จนถึงปีสุดท้ายของสงคราม (พ.ศ. 2488) กองทัพเรือสหรัฐก็ยังเข้าใจผิดว่าเรือหลวงยามาโตมีปืนขนาดเพียง 406 มม และมีระวางขับน้ำเพียง 40,823 ตัน ไล่ ๆ กับเรือรบชั้นไอโอวา การลงทุนในเรือรบชั้นยามาโตะ เกี่ยวพันกับโครงการอีกหลายต่อหลายโครงการ ดังนั้น เงินลงทุนก้อนมหาศาลจึงไม่ได้รับการสังเกตเห็นในทันที
การก่อสร้างในสถานีคุเระนั้น อู่ก่อสร้างได้ถูกวางไว้ในส่วนที่ลึก ๆ ของฐานทัพ ใช้เครนยกที่รับน้ำหนักยกได้ 100 ตัน และมีหลังคาคลุม ป้องกันการสังเกตการณ์ทางอากาศ นักออกแบบชั้นล่างๆ หรือแม้แต่นายทหารอาวุโสหลายนาย ไม่เคยทราบขนาดที่แท้จริงของเรือจนกระทั่งหลังสงครามจบ ในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ไม่มีการกระทำพิธีฉลองใดๆ และไม่มีแม้แต่แตรประโคม
การค้นพบ
ปี ค.ศ.1985 หลังจากล่มไปนานกว่า 40ปี กรรมมาธิการดูแลสุสานสงครามญี่ปุ่น ได้ประกาศการค้นพบสุสานใต้น้ำของเรือยามาโตะ
ปี ค.ศ.1999 ได้มีการดำเนินการออกสำรวจสุสานเรือยามาโตะ อีกครั้ง
น้ำหนักเรือโดยประมาณ 19,453ตัน
ความยาวเรือ 263เมตร
ยามาโตะ ยังเป็นเรือรบลำใหญ่ที่สุดในโลก
ความสูง 28เมตร วัดจากกระดูกงูถึงยอดเสา ซึ่งเทียบความสูงเท่ากับความสูงของตึก18ชั้น
ประวัติ
แผนการติดตั้งปืนใหญ่ขนาดนี้บนเรือรบเป็นแผนที่ครุ่นคิดมานานจากนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หลังสงครามระหว่างญี่ปุ่น - รัสเซีย ในปี ค.ศ. 1904 - 5 ได้ผลลัพธ์ออกมาว่า ปืนเรือขนาดใหญ่ที่มีรัศมีการยิงที่สูงกว่านั้น สามารถกุมชัยชนะในยุทธนาวีได้นั่นเอง ระยะเวลาผ่านมาถึง 17 ปี หลังสงครามครั้งนั้นจักรพรรดินาวี ซึ่งมีแผนที่จะสร้างกองเรือที่ 88 ขึ้นโดยมีเรือประจัญบาน จำนวน 8 ลำ เรือลาดตระเวนหนักอีก จำนวน 8 ลำ เป็นกำลังหลักในการป้องกันประเทศญี่ปุ่นที่มีทะเลล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ในการรักษาอธิปไตยของประเทศไว้ ซึ่งจะเป็นกองเรือด้วยกัน จำนวนถึง 13 - 16 กองเรือ จึงจะเป็นการเพียงพอในการรักษาน่านน้ำของตนไว้ได้
สำหรับกองเรือที่ 16 นั้น จะนำการติดตั้งปืนเรือขนาดใหญ่ ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวนหลายกระบอก โดยให้ชื่อว่า เรือลาดตระเวนประจัญบาน ซึ่งแต่ละลำมีระวางลำละ 47,000 ตัน ซึ่งการออกแบบนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่หลังจากสัญญาลดอาวุธที่กรุงวอชิงตัน ญี่ปุ่นได้สัดส่วนของเรือสงคราม 5 : 5 : 3 หรือ 10 : 10 : 6 นั้น คือ อังกฤษ กับสหรัฐ ฯ ได้ประเทศละ 10 ส่วนญี่ปุ่นนั้นได้เพียง 6 เท่านั้น
ในการนี้ผู้แทนของญี่ปุ่นที่ไปร่วมประชุมนั้นกลับมารายงานจอมพลเรือโตโง เฮฮัจจิโร่ว ว่า เราแพ้เขาเสียแล้ว ท่านจอมพลเรือพูดเรียบ ๆ ว่า "สำหรับการฝึกนั้นไม่มีการจำกัดด้วยใช่ไหม" ดังนั้นที่มีมติของจักรพรรดินาวี มีการฝึกใน 1 สัปดาห์นั้น ถึง 7 วัน ไม่มีวันเสาร์ อาทิตย์ คือ เง็ด, เง็ด, คะ, ซุย, มก, คิน, คิน (จันทร์ - จันทร์ - อังคาร - พุธ - พฤหัสบดี - ศุกร์ - ศุกร์) ตัดวันเสาร์อาทิตย์ออกไป ทั้งลดความสบายสำหรับทหารประจำเรือไปเพิ่มอาวุธทุกชนิดให้มากกว่าเรือของคู่ ต่อสู้ ทั้งมีเพลงร้องเพื่อปลุกใจเหล่าทหารของราชนาวีอีกด้วย ดังนั้นแผนที่จะสร้างกองเรือที่ 88 นั้น ก็กลายเป็นอากาศธาตุไปอย่างไม่มีทางเลือก ในการออกแบบสร้างเรือประจัญบานมาได้นั้น ได้ข้อมูลในการออกแบบไว้ก่อนหน้านี้เป็นรากฐาน มีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นใน เวลาที่ผ่านมาร่วม 20 ปี
การก่อสร้าง
ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2478 กองบัญชาการกองทัพเรือได้ส่งใบสั่งมายังกระทรวงทหารเรือ เพื่อให้ออกแบบในครั้งนี้ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2479 มีการกำหนดเครื่องจักรใหญ่ของเรือเป็นเทอร์ไบน์จำนวน 4 เพลาใบจักร วันที่ 27 ปีเดียวกันนั้น กรมต่อเรือก็ได้ประเมินราคาในการต่อเรือลำนี้ เป็นจำนวนเงิน 137,780,200 เยน (ในตอนนั้นเงิน 1 บาท แลก ได้ 1.50 เยน) ทั้งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2484 นั้นมีงบประมาณใช้จ่ายทั้งปีเพียง 108,000,000 บาท วันที่ 20 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ได้มีการประชุมสำหรับนายทหารช่างต่อเรือชั้นสูง ได้ให้ชื่อหรือรหัสสำหรับเรือลำแรกนี้ว่า 10 - 140 เอฟ และในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2480 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือก็อนุมัติแบบ 10 - 140 เอฟ อย่างเป็นทางการ ซึ่งทางกรมต่อเรือ ได้เริ่มทำการวางกระดูกงูที่อู่แห้งของฐานทัพคุเระ จังหวัดฮิโรชิมาทันที
ความต้องการของกองบัญชาการทหารเรือต่อเรือลำใหญ่ มีดังนี้
* ปืนใหญ่เรือ ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวน 3 กระบอก/ป้อม จำนวน 3 ป้อม ปืนใหญ่เรือ ขนาด 20 เซนติเมตร จำนวน 2 กระบอก/ป้อม จำนวน 5 ป้อม รวม 10 กระบอก
* ความเร็ว 30 นอตขึ้นไป
* เกราะป้องกันเรือ ให้สามารถทนทานอำนาจการยิงของศัตรู จากระยะ 20,000 - 35,000 เมตร ได้เป็นอย่างดี
* รัศมีทำการ ด้วยความเร็ว 18 นอต 8,000 ไมล์
ทางกรมต่อเรือได้ออกแบบกับสมรรถนะของเรือยามาโตะ ไว้ดังนี้
* ปืนใหญ่เรือ ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวน 3 กระบอก/ป้อม จำนวน 3 ป้อม รวม 9 กระบอก
* ปืนกราบขนาด 15.5 เซนติเมตร จำนวน 3 กระบอก/ป้อม จำนวน 4 ป้อม รวม 12 กระบอก
* ความเร็วสูงสุด 27 นอต
* รัศมีทำการ ด้วยอัตราความเร็ว 16 นอต ระยะ 7,200 ไมล์
การที่กรมต่อเรือไม่สามารถออกแบบตามใบสั่งของกองบัญชาการกองทัพเรือได้ เนื่องจากการที่จะออกแบบด้วยความเร็ว 30 นอต นั้น จะทำให้เรือมีขนาดมหึมาไม่คล่องตัวในการรบ ทั้งจะเกิดการไม่สมดุลขึ้น ดังนั้นจึงทำการออกแบบเรือให้มีขนาดเล็กลงมา เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการรบมากยิ่งขึ้น
ด้านหน้าของป้อมปืนอื่นนั้นหุ้มด้วยแผ่นเหล็กที่เป็นเกราะหนาถึงขนาด 650 มิลลิเมตร เพดานป้อมมีเกราะเหล็กหนา ขนาด 270 มิลลิเมตร ด้านหลังป้อมเป็นเกราะเหล็กหนา ขนาด 250 มิลลิเมตร สำหรับคลังกระสุนมีเกราะเหล็กหนา ขนาด 50 มิลลิเมตร ทางด้านหน้าของป้อมหุ้มด้วยเกราะเหล็กหนาถึงขนาด 200 มิลลิเมตร
จุดอ่อนของเรือยามาโตะ คือ กราบที่ติดตั้งอาวุธปืนใหญ่สำหรับต่อสู้อากาศยาน จำนวน 3 กระบอกแฝด ซึ่งปืนใหญ่แบบนี้ย้ายขึ้นมาจากเรือลาดตระเวนหนักโมคามิ ในกรณีที่เครื่องบินทิ้งระเบิดของข้าศึกดำดิ่งลงมาแล้วปล่อยลูกระเบิดถูกฐาน ปืนเหล่านี้เข้า มันจะทะลุลงไปถึงคลังดินดำและจะระเบิดขึ้นมาทำความเสียหายต่อเรืออย่างมาก อาจถึงจมลงได้ จึงได้มีการเสริมความแข็งแรงที่จุดนี้ด้วยการเสริมแท่นเกราะหนา เพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้อุบัติขึ้น แต่ก็ไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้นเลยจนเรือจมในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2488
งบประมาณ
งบประมาณที่ตั้งเป็นราคากลางไว้สมัยนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 ตกลำละ 137,800,000 เยน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยเฮเซอิ ในปี พ.ศ. 2479 จะเป็นจำนวนมากกว่าถึง 1,794 เท่า หรือ 1,262,000,000 เยนทีเดียว สำหรับในตอนนั้นที่สงครามสงบใหม่ ๆ เงิน 1 ดอล ลาร์แลกเงินเยนได้ 365 เยน หรือ 100 เยน เท่ากับเงินไทย 61 บาท แต่ถ้าเงินไทยลดลง เรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันเงิน 1 บาทแลกเงินเยนได้เพียง 2.50 เยนเท่านั้น
เงินงบประมาณที่ขอไป จำนวน 137,802,000 เยน นั้น เมื่อคิดเป็นรายการปลีกย่อยแล้วจะเป็นราคา ดังนี้
* ค่าตัวเรือ เครื่องจักรใหญ่ร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับเรือประจัญบาน ยามาโตะ 121,560,000 เยน
* ป้อมปืนใหญ่ จำนวน 3 ป้อม ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวน 9 กระบอก กับเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าเกี่ยวกับเครื่องบินตรวจการณ์ ราคา 932,900 เยน
* ค่าควบคุมต่อเรือ กับการขนส่ง จำนวน 3,470,000 เยน
รูปแบบพิเศษเฉพาะของเรือชั้นยามาโตะ
ตึกเพนตากอน, 431 เมตร (น้ำเงินอ่อน)
เรือสำราญ ควีน แมรี 2, 345 เมตร (ชมพู)
เรือบรรทุกเครื่องบิน เอนเตอร์ไพรซ์ (CVN-65) กองทัพเรือสหรัฐ, 342 เมตร (เหลือง)
เรือเหาะ LZ 129 ฮิดเดนเบร์ก, 245 เมตร (เขียว)
เรือหลวง ยามาโตะ, 263 เมตร (น้ำเงินเข้ม)
ตึกเอ็มไพร์สเตต, 443 เมตร (เทา)
เรือบรรทุกน็อก นีวิส , 458 m (แดง)
ผู้ออกแบบเรือยามาโตะ คือ เคอิจิ ฟูกูดะ ต่อมา ยูซูรุ ฮิรากะ ผู้สืบทอดของฟูกูดะ ได้ปรับแก้ให้มีความพิเศษเฉพาะ และมีคุณสมบัติอันยอดเยี่ยมสำหรับเรือรบจักรวรรดินาวีญี่ปุ่นมาแต่ทศวรรษที่ 1920 การออกแบบยามาโตะ มีลักษณะเฉพาะหลายประการ อันก่อให้เกิดเป็นลักษณะของเรือที่โดดเด่นสะดุดตา นับจากลักษณะดาดฟ้าเรือที่ไม่เรียบ ต่างออกไปจากเรือที่ถูกออกแบบในช่วงทศวรรษที่ 1920 - ทศวรรษที่ 1930 ลักษณะโค้งของดาดฟ้าเรือนั้น ทำให้ลดน้ำหนักโครงสร้างเรือลงได้ โดยไม่ลดความแข็งแกร่งของตัวเรือ จากการทดสอบในอ่างทดสอบทำ ให้เกิดการยอมรับลักษณะท้ายเรือกึ่งแบน และลักษณะหน้าเรือบริเวณใต้ผิวน้ำที่เป็นปุ่มโค้งยื่นออกมา อันจะทำให้ลดความต้านทานที่ตัวเรือลงได้ถึง 8%
รังปืนใหญ่ที่บรรจุปืนใหญ่เรือขนาด 460 มม จำนวน 9 กระบอก อันเป็นปืนใหญ่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบรรจุลงในเรือรบนั้น นับเป็นความท้าทายในเชิงเทคโนโลยีการก่อสร้างและการปฏิบัติการอย่างยิ่ง ความสำเร็จของโครงการยามาโตะ นับเป็นรากฐานอันยิ่งใหญ่ต่อวงการต่อเรือของญี่ปุ่น ลักษณะของเกราะหลักที่ออกแบบไว้เพื่อรับแรงระเบิดเชิงเอกซ์โพเนนเชียลระดับสูง ช่วยคุ้มกันเรือเล็กที่เก็บเอาไว้ และพื้นที่ปฏิบัติงานสถานีรบที่มิได้มีเกราะคุ้มกันได้ดี ดังนั้น ตำแหน่งปืนต่อต้านอากาศยานทุก ตำแหน่ง แม้แต่จุดที่เล็กที่สุด จะได้รับการคุ้มกันภายใต้เกราะตามที่ได้ออกแบบไว้ ในช่วงท้าย ๆ ของเรือรบชั้นนี้ ระบบอาวุธต่อต้านอากาศยานได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มอาวุธทั้ง ขนาดเล็กและใหญ่ ในพื้นที่เปิด (ไม่ได้รับการคุ้มกัน) ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าพลปืนต่อต้านอากาศยานสามารถหนีเข้าที่กำบังก่อนการยิง ปืนใหญ่หลักได้หรือไม่ และนี่ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่เรือรบยามาโตะทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพในยุทธนาวีออฟซามาร์ ที่เรือโดนกระหน่ำโจมตีจากภาคพื้นอากาศตลอดและเรือก็ไม่ได้ยิงปืนใหญ่หลัก เพื่อป้องกันการเสียชีวิตและบาดเจ็บของพลปืนอากาศยานในพื้นที่เปิด การต่อเติมของเรือนั้นหนาแน่นมากๆ อันเป็นการลดระยะยิงของป้อมปืนและมุมยิงของปืนต่อต้านอากาศยาน
เรือเล็กนั้นจะถูกเก็บเอาไว้ในโรงเก็บใต้ดาดฟ้าเรือ และจะนำออกมาได้โดยการใช้เครนพิเศษ มีช่องทางออกติดตั้งไว้ทั้งสองกราบ (ข้างเรือ) ช่วงบริเวณป้อมปืนที่3 บนดาดฟ้าเรือช่วงท้าย (quarter deck) ฉาบไว้ด้วยคอนกรีต ข้างล่างเป็นโรงเก็บเครื่องบินตรวจการณ์ และมีลิฟต์อยู่ที่ท้ายเรือ โรงเก็บเครื่องบินนี้ สามารถเก็บเครื่องบินได้ 7 ลำ ข้อแตกต่างของเรือหลวงยามาโตะ และเรือหลวงมุซาชิเมื่อ เทียบกับเรือรบลำอื่นของจักรวรรดินาวีญี่ปุ่นคือไม่มีเสาธงทรงเจดีย์ แต่สร้างอาคารสะพานเดินเรือรูปแบบใหม่, ห้องบัญชาการ และศูนย์การยิงขึ้นแทน เสากาฟ (เสาธงหลัก), ปล่องไฟและสะพานเดินเรือ ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในด้านการออกแบบและรูปโฉม มีความแตกต่างอย่างเห็นได้จากทั้งเรือลำอื่นของจักรวรรดินาวีญี่ปุ่น และเรือรบหลักของประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมบางอย่างของเรือรบชั้นยามาโตะ ที่ "คล้ายคลึง" กับเรือรบลาดตระเวณอื่นๆ ที่ออกแบบโดย ยูซูรุ ฮิรากะและฟูจิโมโตะ ในช่วงทศวรรษ 1920 ถึง 30 โดยเฉพาะเรือรบชั้นทาคาโอะ และโมกามิ
โครงท้องเรือของเรือรบชั้นนี้ อาจจะเป็นโครงท้องเรือที่เสถียรที่สุดในบรรดาเรือรบทั้งหมด เรือรบทั้งสองในชั้นนี้ถูกรายงานว่ามีเสถียรภาพการทรงตัวสูงมากแม้ในช่วง คลื่นลมแรง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มส่วนกว้างของเรือนั้นย่อมหมายถึงการสูญเสียเสถียรภาพ ทำให้เรือเอียงมากกว่าเดิมในสถานการณ์ที่น้ำท่วมเรืออย่างหนัก เรือมีหางเสือเดียว ทำให้เรือมีวงเลี้ยวแคบเพียง 640 เมตร ซึ่งนับว่าแคบสำหรับเรือขนาดนั้น เมื่อเทียบกับเรือรบชั้นไอโอวาที่มีวงเลี้ยวมากกว่า 800 เมตร มีการต่อเติมหางเสือช่วย แต่ก็ไม่มีประโยชน์อันใด
ต้นกำลังไอน้ำของเรือให้กำลังต่ำมาก (2.5 เมกกะปาสคาล (25 กิโลกรัมแรง/ตารางเซนติเมตร), 325 °C) ในขณะที่อัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงสูง และนี่คือเหตุผลหลัก ๆ ที่ไม่ได้ใช้เรือนี้ในช่วงการทัพหมู่เกาะโซโลมอน และการทัพอื่นๆ ช่วงกลางสงคราม นอกจากนี้กำลังขับของเรือก็มีเพียง 110,324 กิโลวัตต์ (147,948 แรงม้า) เท่านั้น [1] อันเป็นการจำกัดขีดความสามารถของเรือในการบรรทุกเครื่องบิน
การเชื่อมอาร์คซึ่ง เป็นเทคนิคใหม่มากในช่วงนั้น ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ช่วงล่างของเกราะทางระฆังถูกใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของตัวเรือ การออกแบบเรือ ถือเอาการประหยัดน้ำหนักเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งที่ไม่มีข้อจำกัดใดๆ มาเป็นเงื่อนไขบังคับ ทั้งตัวเรือมีชิ้นส่วนกันน้ำ 1,147 ชิ้น (1,065 อยู่ใต้ส่วนที่หุ้มเกราะ)
ลักษณะและสมรรถนะของเรือ
เรือประจัญบานยามาโตะ
ข้อมูลเรือ
* ความยาวตลอดลำ 263 เมตร กว้างสูงสุด 38.9 เมตร ความลึก 18.9 เมตร ความสูง 40.0 เมตร
* ระวางขับน้ำปกติ 64,000 ตัน เต็มที่ 72,800 ตัน ถังน้ำมันเชื้อเพลิงจุ 6,000 ตัน เครื่องจักรกังหันไอน้ำ 4 เครื่อง มีกำลังรวม 150,000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 27.5 นอต
* ระยะปฏิบัติการเมื่อใช้ความเร็ว 16 นอต 7,200 ไมล์
* อาวุธ เมื่อเข้าประจำการ (ยังมิได้ดัดแปลงเพิ่มอาวุธต่อสู้อากาศยาน)
o ปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร 3 ป้อม ป้อมละ 3 กระบอก รวม 9 กระบอก (ที่หัวเรือ 2 ป้อม ท้ายเรือ 1 ป้อม)
o ปืนใหญ่ ขนาด 155 มิลลิเมตร ป้อมละ 3 กระบอก 4 ป้อม รวม 12 กระบอก (ที่หัวเรือ 1 ป้อม ท้ายเรือ 1 ป้อม และที่กลางลำกราบละ 1 ป้อม)
o ปืนใหญ่ ขนาด 127 มิลลิเมตร ป้อมละ 2 กระบอก 6 ป้อม รวม 12 กระบอก (บริเวณกลางลำ กราบละ 3 ป้อม)
o ปืนกลต่อสู้อากาศยาน ขนาด 25 มิลลิเมตร แท่นละ 3 กระบอก 8 แท่น รวม 24 กระบอก
o ปืนกลต่อสู้อากาศยาน ขนาด 13 มิลลิเมตร แท่นคู่ 2 แท่น รวม 4 กระบอก
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยได้ลดปืนขนาด 155 มิลลิเมตรลง และเพิ่มอาวุธต่อสู้อากาศยาน ทั้งขนาด 127 มิลลิเมตร และ 25 มิลลิเมตร จนมีจำนวนถึง 184 กระบอก
ปืนใหญ่
กระสุนปืนใหญ่ของเรือมีขนาด 18.1 นิ้ว หรือ 46 เซนติเมตร น้ำหนักลูกละ 1,460 กิโลกรัม หมอนรองอีกกระบอกละ 55 กิโลกรัม ดินขับอีกกระบอกละ 330 กิโลกรัม เบ็ดเสร็จปืนใหญ่ 1 กระบอก กับกระสุน 1 ลูกนั้น รวมน้ำหนักถึง 1,845 กิโลกรัม หรือประมาณเกือบ 2 ตันทีเดียว สามารถเจาะทะลุเกราะเหล็กหนา 45 เซนติเมตรได้อย่างสบาย
เรือประจัญบานยามาโตะมีกระสุนปืนใหญ่กระบอกละ 100 ลูก จำนวน 9 กระบอก รวมทั้งสิ้น 900 นัด กระสุนปืนจำนวน 40 ลูกนั้น จะแยกอยู่ในคลังกระสุน ส่วนอีก 60 ลูกอยู่ในป้อมปืนแต่ละป้อม
ในการใช้ปืนใหญ่เรือยิงแบบซัลโว พร้อมกันทุกกระบอกถึง 9 กระบอก จำนวน 3 ป้อม จะทำให้พื้นไม้ดาดฟ้าเรือหลุดออกมา ซึ่งราวลูกกรงนั้นจะงอพับด้วยอำนาจแรงดันของการยิงซัลโว แต่ได้มีการป้องกันเพื่อการนี้ไว้อย่างสมบูรณ์ สำหรับเครื่องบินตรวจทะเลประจำเรือกับเรือยนต์ของเรือนั้นได้ออกแบบแตกต่าง กันกับเรือลำอื่น ทั้งออกแบบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่บนดาดฟ้าทุกชั้นให้เรียบง่ายและอยู่บนพื้นดาดฟ้าให้น้อยที่สุด ดังนั้นจะพบว่าดาดฟ้าของเรือยามาโตะนั้น มีอุปกรณ์ต่าง ๆ น้อยกว่าเรืออื่น
เกราะของเรือ
เกราะของเรือยามาโตะมีความหนามากซึ่งสามารถทนทานต่อลูกตอร์ปิโดได้ในระยะ 25 - 30 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังติดเกราะป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาด 18.1 นิ้วไว้หน้าป้อมปืนหมายเลข 1 เช่น ติดเกราะป้องกันกระสุนปืนกลจากเครื่องบินข้าศึกหนา 5 ซ.ม.
การป้องกันการโจมตีด้วยปืนกลอากาศ
ในการนี้ได้มีการออกแบบด้วยเทคนิคพิเศษ ด้วยเกราะหนาขนาด 410 มิลลิเมตร บริเวณเหนือดาดฟ้าและด้วยเกราะเหล็กหนา ขนาด 35 - 50 มิลลิเมตรเพื่อป้องกันการระดม ยิงด้วยกระสุนปืนกลจากเครื่องบินข้าศึกอีกด้วย
การป้องกันตอร์ปิโด
ด้านล่างทั้งสองกราบของเรือประจัญบานยาโมโต้ ใต้แนวน้ำนั้นหุ้มด้วยเกราะเหล็ก หนา ขนาด 75 - 90 - 200 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งหนามากที่สุดใต้แนวน้ำแล้วค่อยบางลง ไปจนถึงกระดูกงูระหว่างนั้นเป็นช่องสองชั้น สำหรับห้องเครื่องจักรกรุด้วยเกราะหนา200 มิลลิ เมตร จากใต้แนวน้ำลงไปจนถึงด้านล่างของห้องเครื่องจักรใหญ่ ซึ่งแต่ละจุด เปลือกเหล็กหนา 2 ชั้น ป้องกันตอร์ปิโดได้อีกด้วย สำหรับคลังดินดำนั้นมีเกราะเหล็กหนาเป็นพิเศษถึง 3 ชั้น ด้วยกัน
การออกปฏิบัติการยุทธ
เรือประจัญบานยามาโตะออกปฏิบัติการครั้งแรก ในยุทธการที่เกาะมิดเวย์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 ต่อมาในการยุทธที่นอกหมู่เกาะมาเรียนา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 และในยุทธการ "โช" (ชัยชนะ) ที่นอกเกาะ ซามาร์
การออกปฏิบัติการครั้งสุดท้ายเมื่อเป็น "กำลังรบ ผิวน้ำโจมตีพิเศษ" (โตคุเบสสึ โกเงคิ ไตอิ) ออกไปทำลายทัพเรือและทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่ยกพลขึ้นบก ณ เกาะโอคินาวา เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 แต่ถูกโจมตีทางอากาศจนจมลง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2488 ก่อนที่จะไปถึงบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ
การถูกโจมตี
สงครามในทะเลซิบูยัน 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะถูกโจมตีในทะเลซิบูยัน ได้รับความเสียหายเล็กน้อย
เรือประจัญบานยามาโตะ เคยถูกฝูงบินโจมตีของสหรัฐฯ เข้าโจมตี เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ในระหว่างการเดินทางไปเกาะนิวบริเตน โดยได้บรรทุกทหารบก จำนวน 1,000 นายไปด้วย เพื่อไปส่งที่ฐานทัพราบาวบนเกาะนิวบริเตน ต่อมาเมื่อเดินทางออกจากฐานทัพเรือหน้าวงปะการังตรุกในหมู่เกาะคาโรไลน์ ได้ถูกเรือดำน้ำ สเคท (SS-305) ยิงด้วยตอร์ปิโดถูกที่บริเวณยุ้งโซ่สมอ ทำให้ทหารที่กำลังเรียงโซ่สมอเสียชีวิตไป 6 นาย แต่เรือไม่ได้รับความเสียหาย ยังสามารถทำความเร็วได้ถึง 27 นอต เป็นปกติ นับเป็นครั้งแรกที่ถูกโจมตีจากเรือดำน้ำสหรัฐฯ และในยุทธการ "โช" ขณะเดินทางผ่านทะเลซิบูยันร่วม กับเรือมุซาชิ ในกำลังรบส่วนกลาง ก็ถูกเครื่องบินจากกำลังรบที่ 38 ของสหรัฐ ฯ โจมตีเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะได้รับความเสียหายเล็กน้อย
ผลงานการทำลายเรือรบของสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ในยุทธการ "โช" (ชัยชนะ) ระหว่างการเดินทางไปเพื่อเข้าทำลายเรือลำเลียงและกำลังรบของ สหรัฐ ฯ ที่ยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต ก็ได้ปะทะกับกำลังรบของสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรร ทุกเครื่องบินคุ้มกัน (TG 77.4) ที่บริเวณนอกเกาะ ซามาร์ และเป็นครั้งแรกที่เรือประจัญบาน ยามาโต้ได้ใช้ปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ทำการยิงเรือพิฆาต โฮเอล (DD-533) ของ สหรัฐ ฯ ในระยะยิง 33,000 เมตร จนจมและทำความเสียหายแก่เรือพิฆาต จอนห์ส์ตัน (DD-557) จนต้องถอนตัวออกจากการรบ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตญี่ปุ่น โจมตีจนจม) นอกจากนี้ยังทำความเสียหายแก่เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน แกมเบียร์ เบย์ (CVE-73) จนไม่ สามารถใช้ดาดฟ้าบินได้ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นยิงจมเช่นกัน)
การออกรบที่เลตี้
หลังจากวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ผ่านไป ญี่ปุ่นสูญเสีย เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือลาดตระเวณ 9 ลำและเรือพิฆาต 8 ลำ รวมทั้งหมด 24 ลำ ส่วนเรือที่รอดมุ่งออกจากเลเตสู่ทะเลฟิลิบปินส์ซึ่งในวันที่ 25 ตุลาคม กำลังหลักที่ออกสู่ทะเลฟิลิปปินส์พบกองกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ในครั้งนี้เรือประจัญบานยามาโตะได้ใช้กระสุนของป้อมปืนใหญ่ ซึ่งมีขนาดน้ำหนักเกือบ 2 ตันซึ่งใช้ยิง 6 กระบอกป้อมละ 3 กระบอกรวม 6 กระบอกยิงใส่เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐจนจม หลังจากสหรัฐยึดครองฟิลิบปินส์เรือประจัญบานยามาโตะเดินทางกลับไปยังญี่ปุ่น เพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย
การออกรบที่โอกินาว่า
วาระสุดท้ายของเรือประจัญบานยามาโตะ
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 กองทัพสหรัฐมีการพิจารณาให้ใช้เรือทั้งหมด 10 ลำเข้าบุกเกาะโอกินาว่า เรือยามาโตะได้รับคำสั่งจากกองทัพญี่ปุ่นให้เข้าปฏิบัติการที่เรียกว่า KIKUSUI โดยมีภารกิจให้ทำการล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกจากน่านน้ำโอกินาวา เปิดโอกาสให้ฝูงบินคามิคาเซ่ของญี่ปุ่นบินฝ่าด่านป้องกันของฝูงบินอเมริกา เพื่อเข้าโจมตีกองทัพเรือและปกป้องไม่ให้กองทัพสหรัฐยึดเกาะโอกินาวาได้ แต่ในปฏิบัติการนี้เรือยามาโตะมีน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงแค่เที่ยวเดียวเท่า นั้น เรือประจัญบานยามาโตะและเรือลำอื่นถูกตรวจพบในเวลาหลังเริ่มปฏิบัติการ 12.35 นาที จึงถูกเครื่องบินสหรัฐ 3 หน่วยกิจเข้าโจมตีซึ่งแต่ละหน่วยกิจมีเครื่องบินหน่วยละ 360 ลำต่อหน่วย เรือประจัญบานยามาโตะโดนโจมตีทางอากาศอย่างหนักตั้งแต่ 12.35 น. - 14.23 น. จนทำความเสียหายแก่เรือมากดังนั้นเรือจึงเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง จากการตรวจสอบ เรือประจัญบานยามาโตะถูกตอร์ปิโดทั้งหมด 13 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ซึ่งมีขนาด 250กก. - 500กก. ทั้งหมด 6 ลูก ลูกระเบิดขนาดกลางอีกมากกว่า 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดเล็กอีกมากกว่า 120 ลูก
เรือประจัญบานยามาโต้ลำเดียว มีกำลังพลทั้งสิ้น 3,332 นาย ได้รับการช่วยเหลือจากเรือพิฆาตเพียง 276 นาย อีก 3,056 นาย เสียชีวิต และสูญหาย
มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ฟุยุสึกิ ยุคิคาเซะ และ ฮัดสึชิโมะ เพียง 4 ลำเท่านั้น ที่ได้เห็นวาระสุดท้าย ของเรือประจัญบานยามาโต้ และรอดกลับมาได้ทุกลำ มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ได้รับความเสียหายหนัก ถูกลูกระเบิดขนาด 500 กิโลกรัมที่หัวเรือ ทำให้ส่วนหัวเรือ หน้าสะพานเดินเรือขาดหายไป จึงต้องแล่นถอยหลังกลับถึงฐานทัพซาเซโบ้ได้
ปฏิบัติการสุดท้าย
เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2488 เรือประจัญบานยามาโตะ พร้อมด้วยเรือลาดตระเวนเบายะฮะงิ เรือพิฆาตสึซึสึกิ ฟุยุสึกิ อิโซะคาเซะ ยุคิคาเซะ ฮามะคาเซะ อาซะชิโมะ คาซุมิ และฮัดสึชิโมะ รวม 10 ลำ ได้ออกเดินทางจากที่จอดเรือ ฮัดจิราชิมะ ของจังหวัดยามากุจิ ผ่านช่องแคบบังโง เลาะชายฝั่งของแหลมโอซุมิ ของจังหวัดคะโงชิมะ แล้วเดินทางต่อไปทางตะวันตก เพื่อเปลี่ยนเข็มลงใต้เข้าสู่เกาะโอคินาวา ก็ถูกโจมตีจากกำลังทางอากาศของกำลังรบเฉพาะกิจที่ 58 โดยการโจมตีหลักมาจากหมวดเฉพาะกิจที่ 58.1 ซึ่งประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินฮอร์เน็ต ลำที่ 2 (CV-12) วาส์พ ลำที่ 2 (CV-18) เบ็นนิงตัน (CV-20) เรือบรรทุกเครื่องบินเบา เบลลิววูด (CVL-24) ซานฮาซินโต้ (CVL-30) และหมวดเฉพาะกิจที่ 58.3 ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน เอสเซ็ก (CV-9) บังเกอร์ฮิล (CV-17) เรือบรรทุกเครื่องบินเบา คาบอต (CVL-27) และ บาตาอัน (CVL-29) ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินแฮนคอก (CV-19) ส่งเครื่องบิน 53 เครื่อง ขึ้นช้าไป 15 นาที จึงไม่พบเป้าหมาย กำลังหลักในการโจมตีทางอากาศของหมวดเฉพาะกิจทั้งสองนี้มีเครื่องบินขับไล่ F6F (เฮลแคท) 283 เครื่อง เครื่องบินขับไล่โจมตี F4U (คอร์แซร์) 180 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด SB2C (เฮลไดเวอร์) 72 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด TBM (อเวนเจอร์) 114 เครื่อง เครื่องบินเหล่านี้ ได้เข้าโจมตีกำลังรบโจมตีพิเศษ ที่มีเรือประจัญบานยามาโตะเป็นเรือธง 6 ระลอกด้วยกัน รายละเอียดการถูกโจมตีของเรือประจัญบานยามาโตะมีดังนี้
ระลอกโจมตี เวลา จำนวนเครื่องบิน ความเสียหาย
1 12.35-12.50 260 ถูกตอร์ปิโดที่กราบซ้าย 1 ลูกถูกลูกระเบิด ที่ท้ายเรือทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
2 13.18-13.34 120 ถูกตอร์ปิโดที่กราบซ้าย 3 ลูก พลประจำปืนกลต่อ สู้อากาศยานเสียชีวิตถึง 1 ใน 4 เรือ เอียง 8องศา
3 13.35-13.53 150 ถูกตอร์ปิโดที่กราบขวา 1 ลูกกราบซ้าย 3 ลูก เรือเอียง 15 องศา ความเร็วเหลือ 18 นอต
4 14.07-14.20 150 ถูกตอร์ปิโดที่กราบขวาอีก 4 ลูกถูกลูกระเบิด 15 ลูกความเร็วเหลือ 7 นอต เรือตีวงไปทางซ้าย เรื่อยๆ ไม่หยุด
5-6 14.25 150 ระบบการสื่อสารเสียหายทั้งหมด เครื่องถือท้ายขัดข้อง ต้องใช้แรงคนบังคับหางเสือ ถูกที่กราบซ้ายอีก 1 ลูก ถูกลูกระเบิดอีกนับไม่ถ้วน เรือเอียง 35 องศาเกิดการระเบิดและจมโดยตะแคงทางกราบซ้ายแล้วพลิกคว่ำบริเวณ 200 ไมล์ เหนือเกาะตกกุชิมะ จังหวัดคะโงชิ ระดับน้ำลึก 325 เมตร
จากการโจมตีรวมประมาณ 1,000 เที่ยวบิน ทางฝ่ายสหรัฐ ฯ แจ้งว่าได้ใช้ตอร์ปิโดไป 200 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ (250 - 500 กิโลกรัม) 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดกลาง (60 - 100 กิโลกรัม) อีกมากกว่า 200 ลูก[ต้องการแหล่งอ้างอิง] หลังจากที่เรือรบญี่ปุ่นคือ เรือประจัญบานยามาโตะ เรือลาดตระเวนเบายะฮะงิ และเรือพิฆาตอีก 5 ลำ จมไปแล้ว ทหารเรือญี่ปุ่นที่ลอยคออยู่ในน้ำ ได้ถูกเครื่องบินของสหรัฐ ฯ ทำการยิงกราดอย่างโหดร้ายไร้มนุษยธรรม และความเป็นชาวเรือ ส่วนพลเรือโท อิโต้ เซอิจิ ผู้บัญชาการกำลังรบโจมตีพิเศษ และ นาวาเอก อะริกะ โกซักกุ ผู้บังคับการเรือ ประจัญบานยามาโตะ ได้สละชีวิตจมไปกับเรือ
Labels:
Japan,
japan civil war,
japan history,
japanese,
japanese infantry
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
Very brilliant works, Guy!
I believe you will have a good life in your future
Post a Comment