Can't find it? here! find it

Saturday, June 20, 2009

History of Grecce

ประวัติศาสตร์และอารยธรรมกรีก
กรีกสมัยคลาสสิก


นครรัฐ


ใน สมัยโฮเมอร์ (ประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ.) วัฒนธรรมกรีกได้เจริญก้าวหน้าทั่วดินแดนรอบ ๆ ทะเลเอเจียน กรีกอยู่ในรูป “นครรัฐ” จำนวนมาก ซึ่งไม่อาจอธิบายได้ว่า การที่แยกกันนั้นเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ประกอบด้วยเกาะแก่ง จำนวนมาก รวมทั้งภูเขาและอ่าวเล็ก ๆ ที่แบ่งกรีกออกเป็นรัฐอิสระ หรือมีเหตุผลอื่นเพราะมีตัวอย่างมากมายที่รัฐอิสระเล็ก ๆ แยกกันโดยไม่มีเครื่องกีดขวางทางภูมิศาสตร์เลย

คำว่า “นครรัฐ” ใช้แทนคำว่า “โปลิส” (Polis) ในภาษากรีก ซึ่งไม่อาจแทนได้โดยสมบูรณ์ เพราะคำว่า โปลิสนั้นไม่ได้เป็นแต่เพียงแคว้นที่มีขนบธรรมเนียม เทพเจ้า ของตนเท่านั้น หากยังเป็นเครื่องหมายของความจงรักภักดีที่มีต่อชาติและศาสนาอย่างลึกซึ้ง โปลิสเป็นประชาคมของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในเมืองตลอดจนมณฑลที่รายรอบเมือง พลเมืองเหล่านี้มีสิทธิทางการเมืองและมีบทบาทในการปกครอง สำหรับชาวกรีกแล้ว การเมืองการปกครองที่ปราศจากโปลิส เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ชาวกรีกได้แสดงออกซึ่งความเป็นปัจเจกชนโดยผ่านโปลิส โปลิสเล็กพอที่บรรดาสมาชิกจะสามารถปฏิบัติตัวในฐานะปัจเจกชนได้มากกว่าใน ฐานะมวลชน คุณธรรมสำคัญที่สุดของการปกครองอยู่ที่การมีส่วนร่วมกัน โปลิสจึงเปรียบเสมือน “เส้นโลหิต” ของการสร้างสรรค์ของกรีกและเป็นแม่พิมพ์ของเจตนารมณ์กรีก

อย่างไรก็ ตามระบบโปลิสที่ต่างก็เป็นอิสระและทำสงครามต่อกัน นับเป็นพื้นฐานที่ขาดประสิทธิภาพยิ่งสำหรับองค์กรทางการเมืองของกรีก ระบบโปลิสที่ก่อตัวขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 9,8 และ 7 ค.ศ. นั้นประสบภัยจากการรุกรานของชาวกรีกด้วยกันเอง บรรดาผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในโปลิสจึงมักสร้างป้อมหรือเนินเขาตรงกลางที่เรียก กันว่าอะโครโปลิส (Acropolis - เมืองสูง) อะโครโปลิสเป็นที่ประชุมตามธรรมชาติของมณฑลยามมีสงคราม และเป็นศูนย์กลางการค้าตามท้องถิ่นที่ก้าวหน้าขึ้น ตลาดหรือ อะกอรามักอยู่ตามเชิงอะโครโปลิส ชาวนาจำนวนมากที่มีทุ่งนาอยู่แถบใกล้ ๆ ก็มักปลูกบ้านอยู่รอบ ๆ ย่านตลาดนั้นเอง เพื่อสะดวกในการพบปะสังสรรค์และความปลอดภัย

ระบบการปกครอง


ใน ระยะแรกที่พัฒนาจากเผ่า จะมีขุนนาง หรือกษัตริย์ปกครองโดยการสืบสกุล ประมาณ ปี 700 ก่อน ค.ศ. ระบบกษัตริย์หมดไป เหลือแต่เพียงการประกอบพิธีทางศาสนา ปล่อยให้พวกขุนนางมีอำนาจเต็มที่และมั่งคั่งขึ้นจากการยึดเอาส่วนสำคัญของ ผืนดินที่บรรดาสมาชิกของครอบครัวและของเผ่าสมัยเดิมเคยเป็นเจ้าของร่วมกัน ขุนนางจึงเป็นกลุ่มที่มีทั้งอำนาจและความมั่งคั่ง

กลุ่มชาวนาเป็นผู้ ที่ครอบครองที่ดินผืนเล็กผืนน้อย ชนกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิทางการเมืองเลย ฐานะทางเศรษฐกิจก็ไม่ดี ขณะที่องุ่นและมะกอก ซึ่งทำรายได้ให้กับขุนนางในเนื้อที่เพาะปลูกใหญ่ การเกษตรในที่ดินผืนน้อยนั้น กลับทำให้ชาวนาจมอยู่กับหนี้สิน ความทุกข์ของชาวนาปรากฎอยู่ในบทกวีเรื่อง “งานและวันเวลา” (Works and Days) ของกวี “เฮซีออด” (Hesiod ประมาณ 700 B.C.) ผู้เป็น ชาวนา

การแผ่อาณานิคม ช่วง 750 – 550 ปี ก่อน ค.ศ.

ปัญหา ที่สำคัญของนครรัฐกรีก คือ การขาดพื้นที่สำหรับทำการเกษตร เมื่อประมาณ 750 ก่อน ค.ศ. ชาวกรีกได้เริ่มออกสู่ทะเลอีกวาระหนึ่งในฐานะที่เป็นโจรสลัด หรือพ่อค้าที่แสวงหาทองแดงและเหล็กขณะที่ออกเดินทางไปทำภารกิจต่าง ๆ นั้น ชาวกรีกได้พบดินแดนอุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะได้ไว้เป็นอาณานิคม นครรัฐต่าง ๆ ส่วนใหญ่ต่างพากันส่งพวกนักอาณานิคมไปตั้งชุมชนใหม่ ครั้นในเวลาต่อมาบรรดาอาณานิคมเหล่านี้บางแห่งก็ส่งนักอาณานิคมของตนไปตั้ง อาณานิคมยังดินแดนอื่นอีกต่อหนึ่ง

ลักษณะของอาณานิคมในสมัยนั้นคือ มีความผูกพันกับเมืองแม่ในความเป็นชนชาติเดียวกัน ในด้านการค้าและความจงรักภักดีต่อชาติร่วมกัน แต่ก็มีเอกราชทางการเมือง

การ ที่อาณานิคมสามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมให้กรีกในสมัยนั้นได้ ภายในระยะเวลาประมาณสองศตวรรษ โปลิสจึงขยายตัวออกจากทะเลเอเจียนสู่ทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลดำ และมีอาณานิคมจำนวนมาก การตั้งหลักแหล่งของกรีกมีอยู่มากในภาคใต้ของอิตาลีและซิซิลี จนกระทั่งบริเวณแถบนั้นมีชื่อว่า แมกนา เกรเซีย ซึ่งแปลว่า กรีซใหญ่ โปลิสที่ได้พัฒนาเป็นเมืองที่สำคัญในเวลาต่อมาก็มีโปลิสแห่งไบแซนติอุม (ซึ่งต่อมาคือ คอนแสตนติโนเปิล) เนโอโปลิสทางภาคใต้ของอิตาลีคือเมืองเนโปลีหรือเนเปิลส์ นีไคอาบนชายฝั่งริเวียรากลายเป็นเมืองนีซ มาสซิเลียกลายเป็นมาร์เซย์ส์ ส่วนซีราคิวส์บนเกาะซิซิลียังดำรงความเป็นเมืองสำคัญจนทุกวันนี้ นอกจากนี้วัฒนธรรมกรีกและตัวอักษรกรีกได้ถ่ายทอดไปยังชาวโรมันโดยผ่านทาง บรรดาโปลิสแห่งแมกนาเกรเซียเหล่านี้

การค้าที่เจริญตามดินแดน อาณานิคม นำความมั่งคั่งกลับมาให้กรีก เมืองแม่เป็นแหล่งผลิตเหล้าองุ่นและน้ำมันมะกอกตลอดจนสินค้าสำเร็จรูปส่งให้ อาณานิคม ความเจริญทางการค้าทำให้โปลิสบางแห่งเปลี่ยนจากสังคมเกษตรมาสู่ศูนย์กลางการ ค้า กลุ่มคนที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมและการค้าได้แก่ ชนชั้นอุตสาหกรรม พ่อค้า รวมทั้งบรรดากุลีขนของตามท่าเรือ กลาสีตามท่าเรือ และช่างฝีมือ ช่างโลหะต่าง ๆ บรรดาหัวกะทิในหมู่พ่อค้าและนักอุตสาหกรรมเหล่านี้เริ่มแข่งขันในด้านความ มั่งคั่งร่ำรวยกับขุนนางเต้าที่ดินเก่า ในช่วงศตวรรษที่ 7 และ 6 ก่อนคริสตกาล บรรดาชนชั้นใหม่ที่ร่ำรวยได้พยายามหาทางเข้าเป็นสมาชิกของสภาที่ปรึกษา รัฐบาลร่วมกับขุนนางในตระกูลเก่า




ทรราชย์


ระหว่าง ปี 650 – 550 ก่อน ค.ศ. ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอันมีผลทางเศรษฐกิจและสังคมคือ การนำเหรียญกษาปณ์จากลิเดียเข้ามาใช้ในด้านการค้า ซึ่งนำไปสู่การเน้นความแตกต่างของสังคมด้วยโภคทรัพย์ ชนชั้นกลางที่มีเงินสามารถซื้อหาอาวุธเกราะที่ทำจากโลหะได้จึงมีกองทัพทหาร ราบของพลเมืองที่เรียกว่า “ฮ๊อบไลท์” (hoplites) บรรดาชนชั้นที่ต่อสู้เพื่อนครรัฐก็เริ่มเรียกร้องการมีสิทธิมีเสียงในกิจการ ของนครรัฐ ในที่สุดการเคลื่อนไหวในการจัดตั้งอาณานิคมเริ่มเสื่อมถอยลง อาณานิคมที่ตั้งอยู่ในจุดที่ดีที่สุดค่อย ๆ ถูกยึดไป ขณะที่อาณาจักรต่าง ๆ เช่น คาร์เธจทางตะวันตก ลิเดีย และเปอร์เซียทางตะวันออกค่อย ๆ มีอำนาจมากขึ้น ก็เป็นการขัดขวางการขยายตัวของอาณานิคม พลังกดดันแต่เดิมอันเกิดจากความไม่พอใจ
ทางเศรษฐกิจและสังคมก็ปรากฏตัวขึ้นพร้อม ๆ กับความรุนแรงที่เกิดขึ้นใหม่

นครรัฐ หลายแห่งเกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงถึงนองเลือด เมื่อชนชั้นกลางและชนชั้นต่ำลุกขึ้นต่อต้านบรรดาผู้ที่มั่งคั่งร่ำรวยและมี อภิสิทธิ์ต่าง ๆ ในหลายกรณีและมีผลล้มล้างการปกครองของขุนนางโดยพวก “ทรราชย์” ซึ่งสำหรับกรีกแล้ว ทรราชย์หมายถึงผู้ปกครองที่ขึ้นสู่อำนาจโดยปราศจากการสืบสกุลหรือการอ้าง สิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย พวกทรราชย์ไม่ได้ทำลายกลไกของการปกครองทั้งหมดแต่คอยควบคุมไว้

พวก นี้เป็นคนใหม่ ๆ ที่ใช้เหรียญเงินแบบใหม่ในการว่าจ้างกองทัพ ด้วยเหตุที่ทรราชย์เป็นหนี้มวลชนในการได้อำนาจ จึงต้องดำรงการสนับสนุนของมวลชนด้วยการยกเลิกหรือลดหนี้สินด้วยการอุปถัมภ์ โครงการสาธารณะประโยชน์ที่น่าเลื่อมใส แจกจ่ายที่ดินของขุนนาง และปฏิรูประบบการเก็บภาษี ระบบทรราชย์เองก็มักจะไม่จีรัง ทรราชย์บางคนถูกล้มล้างโดยอภิสิทธิ์ชนรุ่นเก่าหรือชนชั้นกลางและต่ำ ซึ่งมีความเชื่อมมั่นในตัวเองสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อถึงต้นศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โครงสร้างทางการเมืองของกรีกจึงมีรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ ปกครองโดยชนชั้นสูง กลาง และต่ำ ในบรรดานครรัฐทั้งหลายนั้นที่เด่นที่สุดในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลคือ เอเธนส์กับสปาร์ตา




นครรัฐเอเธนส์


เอ เธนส์ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมและการศึกษาในสมัยโบราณที่มี อิทธิพลกว้างขวางและยังคงมีอิทธิพลสืบมา แม้จะเสื่อมอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารหลายครั้งหลายหน เอเธนส์แม้จะสลายไป แต่ได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมและแนวคิดมากมายให้กับอนุชนรุ่นต่อมา

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์


เอ เธนส์นั้นมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สืบมาตั้งแต่สมัยไมซีเน แต่ไม่ได้มีความสำคัญทางการเมืองและวัฒนธรรม จนกระทั่งราว 700 ปี ก่อนคริสตกาล ระบอบกษัตริย์ในสมัยแรก ๆ ถูกระบอบขุนนางกันออกไปจากอำนาจทางการเมืองและอาณาเขตทั้งหมดของอัตติกะก็ ถูกรวมเป็นรัฐเดียวโดยมีเอเธนส์เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและการพาณิชย์ บรรดาเสรีชนในอัตติกะได้กลายเป็นพลเมืองเอเธนส์มิใช่ทาสและอาณาเขตถูกรวมไว้ ด้วยพันธะแห่งความจงรักภักดีร่วมกัน การเป็นชาวอัตติกะก็คือเป็นชาวเอเธนส์นั่นเอง

การรวมอัตติกะทำให้ดิน แดนของนครรัฐเอเธนส์เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่มีความเดือดร้อนเรืองที่ดินแบบรัฐเพื่อนบ้าน เอเธนส์จึงมิได้ส่งนักแสวงหาอาณานิคมออกไปล่าดินแดน อย่างไรก็ตาม เอเธนส์ซึ่งเป็นเมืองห่างจากชายทะเลเพียง 4 ไมล์ ได้รับอิทธิพลจากการพาณิชย์ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนจากกสิกรรมชนบท เข้าสู่เศรษฐกิจการพาณิชย์ พร้อม ๆ กับการปกครองของเอเธนส์ได้เปลี่ยนไป ในขั้นแรกเพื่อขยายอำนาจทางการเมืองไปสู่เจ้าของที่ดินผืนน้อย ๆ ต่อมาได้ขยายสู่บรรดาพ่อค้าและนักอุตสาหกรรมและในที่สุดเพื่อปรองดองต่อข้อ เรียกร้องของสามัญชนที่ทวีขึ้นเรื่อย ๆ

หากจะกล่าวถึงการปกครองนั้น พัฒนาการของเอเธนส์แต่แรกเริ่มจากระบบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์มาสู่อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) จากอภิชนาธิปไตยมาสู่ทรราชย์ (Tyranny) และจากทรราชย์มาสู่ประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งผ่านการดิ้นรนต่อสู่อย่างมากระหว่างผู้มีอำนาจและ ผู้แสวงหาอำนาจทางการเมือง

ในการต่อสู้แต่ละครั้ง ชาวเอเธนส์ได้ลิ้มรสของสมภาพและภราดรภาพ (comradership) และบางระยะก็เคยได้รับผลิตผลแห่งชีวิตที่ดีภายใต้ระบอบประชาธิปไตย จึงมีปฏิกิริยาต่อต้านการปกครองแบบอัตตาธิปไตย แม้ว่าเอเธนส์จะยังเป็นสังคมที่มีทาสก็ตาม (สังคมเอเธนส์ประกอบด้วยประชากรประมาณ 2 – 4 แสนคน ในจำนวนนี้เป็นอิสรชน (citizen class) ประมาณหนึ่งในสาม ทาส (slave class) จำนวนมากกว่าหนึ่งในสาม นอกจากนั้นเป็นชาวต่างชาติที่มาอาศัย (resident – foreigner group)
บุคคลสำคัญที่มีส่วนในการปูพื้นฐานเอเธนส์สู่ระบอบ ประชาธิปไตย คือ โซลอน (Solon ประมาณ 640 – 560 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งปฏิรูปกฎหมายในราว 590 ปีก่อน ค.ศ. และเริ่มมีการจัดตั้งศาลประชาชนที่มีผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้ง แม้จะมาจากการจับฉลากก็ตาม

การปฏิรูปของโซลอนเปิดทางสู่ข้อเรียก ร้องของชนชั้นต่ำมากขึ้นจนการปกครองเปลี่ยนเป็นระบบทรราชย์ ทรราชย์ที่สำคัญ คือ พิซีสตราตุส (Peisistratus ปกครองช่วงระหว่าง 561 – 527 ก่อน ค.ศ.) ได้ปฏิวัติเกษตรกรรมตั้งศูนย์กลางการค้าของเอเธนส์ อุปถัมภ์ศิลปะ และสนับสนุนโครงการก่อสร้างที่งดงามใหญ่โต สิ่งที่พิซีสตราตุสทำเป็นการนำเอเธนส์ไปสู่จักรวรรดิในเวลาต่อมา หลังจากสมัยของพิซิสตราตุสขุนนางรัฐบุรุษที่ชื่อว่า เคลสธีเนส (Cleisthenes ขึ้นสู่อำนาจ ในราว 507 ก่อน ค.ศ.) ได้ยอมรับการปกครองของประชาชน และมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ในช่วง ทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ในสมัยนี้มีวิธีการปฏิรูประบบเผ่าพันธุ์มาเป็นสภาห้าร้อย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสหมุนเวียนเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารนครรัฐ (สภาห้าร้อยมีขนาดเล็กกว่าสภาพลเมือง) โดย เพอริเคลส (Pericles ? – 429 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งเป็นนายพลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเอเธนส์ในศตวรรษที่ 5 สมัยที่เขามีอำนาจได้ทำให้เอเธนส์ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของเอเธนส์




นครรัฐสปาร์ตา


สปาร์ ตาเป็นนครรัฐที่มีระบบการเมืองแบบผสม ซึ่งมีผลให้การพาณิชย์ การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและความสำราญในชีวิตต้องลดน้อยลงไปเพื่อจะได้มา ซึ่งการมีวินัยอย่างแข็งแกร่งและ ประสิทธิภาพทางการทหาร
ในระหว่างศตวรรษ ที่ 8 – 9 ก่อน ค.ศ. สปาร์ตาประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการเมืองเช่นเดียวกับนครรัฐกรีกอื่น ๆ แต่แทนการออกแสวงหาอาณานิคม สปาร์ตาได้พิชิตดินแดนอุดมสมบูรณ์ใกล้เคียงที่เรียกว่า เมสเซเนีย และนำเอาส่วนใหญ่ของดินแดนที่ตนพิชิตได้มาให้กับพลเมืองของตน และกดชาวเมสเซเนียลงเป็นทาส ชาวเมสเซเนียพยายามต่อสู้ และสปาร์ตาได้ปราบปราม ด้วยเหตุนี้สปาร์ตาซึ่งมีแนวโน้มทางด้านการทหารและอนุรักษ์นิยมนับแต่แรกก็ ได้กลายเป็นรัฐทหาร โดยมี พลเมืองเป็นทหารประจำการ วัฒนธรรมจึงเสื่อมโทรมถึงระดับเป็นโรงทหารและชีวิตที่ดีกลายเป็นชีวิตของการ ฝึกฝนขั้นพื้นฐาน เมื่อพลเมืองสปาร์ตาประมาณ 8,000 คน ต้องรับหน้าที่คอยกดทาสที่ไม่ยอมอ่อนน้อมจำนวน 200,000 คน ให้อยู่ภายใต้การปราบปราม พลเมืองจึงมีชีวิตเพื่อฝึกทหารและรับใช้รัฐ ในขณะที่พวกทาสหรือเฮลอท (helots) จะรับผิดชอบทางเศรษฐกิจด้วยการทำงานในที่ดินและการค้า

การปกครองของสปาร์ตา


สปาร์ ตามีรัฐธรรมนูญที่ลงความเห็นกันว่าได้มาจากนักกฎหมายในตำนานที่ชื่อว่า ไลเคอร์กุส (Lycuegus ประมาณศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ.) แม้จะมีพัฒนาการในเวลาต่อมา แต่รัฐธรรมนูญฉบันนี้ก็ดำเนินไปอย่างคงที่ไม่แปรเปลี่ยน สปาร์ตามีกษัตริย์สองพระองค์ซึ่งถูกจำกัดพระราชอำนาจอย่างเห็นได้ชัดใน ศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. กษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งในสองจะทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในการ รณรงค์ทางการทหารทุกครั้ง ส่วนภายในรัฐนั้นที่มีอำนาจปกครองมี 3 สภา คือ สภาขุนนางผู้อาวุโส สภาบริหารที่ประกอบด้วยเอเฟอร์ (ephors) 5 คนที่ได้รับเลือกมาจากพลเมืองทั้งปวง และสภาพลเมืองซึ่งรวมถึงชาวสปาร์ตาที่มีอายุเกิน 30 ปี วิธีการปกครองแบบสปาร์ตาจึงมีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ แม้จะเป็นประชาธิปไตยที่จำกัดก็ตาม ในสภาพลเมืองมีหน้าที่ให้การเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเกี่ยวกับปัญหาสำคัญของ รัฐ แต่ก็แสดงความเห็นโดยการโห่ร้องมิใช่การลงคะแนนเสียง ทั้งสมาชิกสภาก็ไม่มีสิทธิอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ จึงไม่เป็นที่ขัดแย้งกัน แต่กลับมีลักษณะที่ลงรอยกัน อันมีผลต่อชีวิตของชาวสปาร์ตาทั้งหลาย
ชีวิตพลเมืองสปาร์ตา ถูกนำโดยรัฐตั้งแต่เกิดจนตายเพื่อสร้าง “นายทหารที่เข้มแข็งและมีระเบียบวินัยอย่างสูง”

ทา รกสปาร์ตาที่ไม่แข็งแรงหรือไม่สมประกอบจะถูกทอดทิ้งให้ตาย เด็กผู้ชายเมื่ออายุครบ 7 ปี จะถูกส่งไปให้รัฐดูแลซึ่งใช้เวลา 13 ปี ในการฝึกทักษะทางการทหาร ฝึกหัดทางกายภาพ และความจงรักภักดีต่อรัฐเมื่ออายุ 20 ปี จะเข้าสู่กองทัพพลเมือง และใช้ชีวิตอีก 10 ปีในค่ายทหาร

ชายหนุ่มเหล่านี้ อาจแต่งงานได้ แต่จะออกไปเยี่ยมภรรยาได้ต่อเมื่อสามารถหลบหนีทหารยามออกไปเท่านั้น ชายหนุ่มเหล่านี้จะเป็นพลเมืองเต็มขั้นเมื่ออายุ 30 ปี เขาอาจอยู่บ้านได้แต่ต้องรับประทานอาหารที่โรงสาธารณะของทหาร ซึ่งเขาจะต้องนำผลิตผลจากไร่ที่เขาได้รับมอบหมายมาด้วย สปาร์ตาเป็นสังคมที่ตึงเครียด ศิลปะก็มีลักษณะแข็งเคร่งขรึมน่าเกรงขาม สำหรับชาวกรีกแล้ว วิถีชีวิตของชาวสปาร์ตา ดูจะเป็นชีวิตที่อุทิศให้รัฐจนแทบไม่มีความเป็นอยู่ส่วนบุคคลเลย สปาร์ตาเป็นตัวแทนของการปฏิเสธตนเองอย่างสูงสุด รวมทั้งการมีความผูกพันอยู่กับความคิดที่ถูกต้องต่อหลักเหตุผล ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างทาสกับพลเมืองของสปาร์ตาคือทาสอดทนต่อความยาก ลำบากเพราะถูกบังคับให้อดทน แต่พลเมืองเลือกที่จะอดทนเอง ชาวสปาร์ตาระลึกเสมอว่า เป้าหมายของการทหารคือ การดำรงไว้ซึ่งสถานภาพเดิมไม่ใช่เพื่อจักรวรรดินิยมที่ก้าวร้าว




สงครามเปอร์เชียกับพัฒนาการของกรีก


สง ครามเปอร์เชีย (The Persiam War) เริ่มต้นเมื่อ 490 ก่อน ค.ศ. และสิ้นสุดเมื่อ 479 ก่อน ค.ศ. สาเหตุของสงครามนั้น เนื่องมาจากการขยายอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ยึดครองนครรัฐ ไอโอเนียของกรีก ซึ่งอยู่ชาวฝั่งอนาโตเลีย นครรัฐไอโอเนียเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของโลกเฮลเลนิค และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกรีกกับโลกตะวันออกใกล้โบราณ
นครรัฐ กรีกไอโอเนียถูกมหาอำนาจจากภายนอกคือ ลิเดียเข้าแทรกแซง นับจากปี 560 – 550 ก่อน ค.ศ. และค่อย ๆ ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของลิเดีย นครแล้วนครเล่า

เมื่อลิเดียถูกพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เชียพิชิตเมื่อปี 546 ก่อน ค.ศ. นครเหล่านั้นได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เชีย ในปี 499 ก่อน ค.ศ. ชาวไอโอเนียลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของเปอร์เชียอย่างกว้างขวาง เอเธนส์ได้รับการชักชวนให้ส่งเรือ 20 ลำ ไปช่วยเพื่อนร่วมชาติ แต่ความช่วยเหลือของเอเธนส์ไม่เพียงพอ เปอร์เชียปราบการจลาจลได้ราบคาบทำลายล้างนครไมล์ตุสลงจนสิ้นซาก จากนั้นดาริอุสมหาราชแห่งเปอร์เชียตัดสินพระทัยที่จะแก้แค้นเอเธนส์ เรื่องนี้นักประวัติศาสตร์ชื่อเฮโรโดตัสตั้งข้อสังเกตว่า สงครามเปอร์เชียถูกเร้าให้เกิดขึ้นเพราะการส่งเรือไปช่วยไอโอเนีย 20 ลำ

สงคราม ที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจทำให้ชาวกรีกรวมตัวกันได้ สปาร์ตาอ้างว่าไม่สามารถส่งกองทัพไปช่วยได้ จนกว่าจะได้ฤกษ์พระจันทร์เข้าสู่ราศีที่ดี ส่วนรัฐอื่น ๆ ก็ดูสถานการณ์ ทำให้เอเธนส์ต้องเผชิญหน้ากับสงครามอย่างเกือบจะโดดเดี่ยว กองทัพเอเธนส์สู้รบอย่างทรหดเพื่อป้องกันบ้านเกิดเมืองนอนและสามารถป้องกัน กรีกไว้ได้จากการโจมตีครั้งแรก เปอร์เชียเตรียมทัพมหึมาบุกกรีกครั้งใหม่ภายใต้เซอร์เซสทายาทของดาริอุส โดยมาทั้งทางบกและทางเรือ ครั้งนี้นครรัฐกรีกรวมตัวกันเพื่อต่อสู่กับเปอร์เชียอีก ศักดิ์ศรีของเอเธนส์จะยิ่งเพิ่มขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งองค์กรประสานงานร่วมกันคือสันนิบาตแพน – เฮลเลนิค ส่วนสปาร์ตาได้เป็นตัวหลักในการจัดตั้งสันนิบาตเพลอปปอนเนเชียนมาก่อนแล้ว

ผล ของสงครามคือ นครรัฐแห่งไอโอเนีย สามารถปลดปล่อยตัวเองจากการยึดครองของเปอร์เชียที่ละแห่งสองแห่ง ที่สำคัญควรแก่การพิจารณาคือการดำรงสันนิบาตที่ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันภัยจาก เปอร์เชีย สปาร์ตาได้ถอนตัวออกไป สมาพันธรัฐเพลอปปอนเนเชียนของสปาร์ตาต่างก็พากันถอนตัวออกไปด้วย เอเธนส์รัฐเดียวก็ไม่ไหว ด้วยเหตุนั้นในที่สุดพันธมิตรแบบใหม่ก็ก่อตัวขึ้นภายใต้การนำของ เอเธนส์ คือ สันนิบาตเดเลียน เพราะมีสำนักงานกลางที่เกาะเดลอส นครรัฐที่เป็นสมาชิกมีตั้งแต่ อัตติกะ ถึง ไอโอเนีย เอเธนส์มีความมั่งคั่ง และมีอำนาจเหนือสมาชิกอื่นก็ค่อย ๆ เข้ามามีบทบาทในการควบคุมสมาชิกอื่นจนกลายเป็นจักรวรรดิเอเธนส์ ในราวช่วงศตวรรษ 460 ก่อนคริสตกาล

เรียกได้ว่าในช่วงระยะเวลาครึ่ง ศตวรรษระหว่างเหตุการณ์รบกับเปอร์เชียที่ซาลามิส กับการเริ่มทำสงครามเพลอปปอนเนเชียน (480-431 B.C) นั้นเป็นยุคทองของเอเธนส์ จักรวรรดิเอเธนส์รุ่งเรืองถึงขีดสุด ทรัพย์สมบัติจำนวนมากหลั่งไหลสู่เอเธนส์เพราะในปี 454 ก่อน ค.ศ. ฝ่ายการคลังของสันนิบาตย้ายจากเดลอสไปยังเอเธนส์ เงินทุนต่าง ๆ ถูกจับจ่ายไปในด้านการบำรุงสวัสดิการและการตกแต่งนครเอเธนส์ โดยเอเธนส์อ้างความชอบธรรมว่ากองเรือของตนเฝ้าระวังระไว พร้อมที่จะพิทักษ์สมาชิกจากเปอร์เชียตลอดเวลา สมาชิกบางรัฐต้องการถอนตัวออกจากสันนิบาต แต่แล้วก็พบว่าเอเธนส์พิจารณาว่าการแยกตัวเป็นสิ่งที่ผิดกฎกมายและพร้อมจะ ขู่บังคับบรรดารัฐต่าง ๆ เป็นสมาชิกอยู่ต่อไปด้วยการใช้กำลังทางทหารบังคับ นอกจากนี้แล้วเอเธนส์ยังมีโอกาสและช่องทางดียิ่งในการพาณิชย์ที่เฟื่องฟู อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของเอเธนส์ที่แผ่ขยายไปทั่วทะเลเอเจียน เอเธนส์กลายเป็นนครหลวงทางการค้าของโลกเมดิเตอเรเนียนและเป็นนครรัฐที่มี อำนาจสูงสุดในกรีก สปาร์ตาและพันธมิตรของตนวางเฉยอยู่ แต่ในที่สุดนโยบายขยายตัวของจักรวรรดินิยมเอเธนส์ได้ก่อให้เกิดความหวั่น เกรงแก่ทั้งสปาร์ตาและสมาชิกสันนิบาตเพลอปปอนเนเซียน โดยเฉพาะคอรินซ์ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของจักรวรรดิเอเธนส์จนใน ที่สุดความตึงเครียดได้ปะทุเป็นสงครามเมื่อ 431 ปีก่อน ค.ศ. คือสงครามเพลอปปอนเนเซียน




สงครามเพลอปปอนเนเซียน


สง ครามเพลอปปอนเนเซียน (The Peloponnesian War) เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ 431 – 404 ปี ก่อน ค.ศ. มีผู้เปรียบเทียบสงครามครั้งนี้ว่า เหมือนปลาวาฬต่อสู้กับช้าง คือ ระหว่างเอเธนส์ที่มีกำลัง เข้มแข็งทางทะเลกับสปาร์ตาที่เข้มแข็งทางบก การต่อสู้จึงดำเนินยืดเยื้อ สงครามนี้มิใช่ความชัดแย้งทางอุดมการณ์ แต่เป็นการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจมากกว่า เอเธนส์ใฝ่ฝันที่จะรวมเอาชาวกรีกทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลและอำนาจของ ตน ส่วนสปาร์ตาและพันธมิตรมุ่งจะหยุดยั้งการคุกคามของจักรวรรดินิยมเอเธนส์ ซึ่งในระยะนี้เอเธนส์ได้กลายเป็น “ทรราชย์” ในสายตาของรัฐต่าง ๆ ภายใต้จักรวรรดิ เอเธนส์ ข้อที่น่าสังเกตคือ แม่แบบแห่งประชาธิปไตยถูกผลักดันให้ไปสู่วิธีแบบกดขี่เพื่อธำรงความเป็น จักรวรรดิของตนไว้

ในปี 430 – 429 ก่อน ค.ศ. เอเธนส์ที่เต็มไปด้วยผู้อพยพลี้ภัยได้เกิดกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราวหนึ่งในสี่รวมทั้งตัวเพอริเคลสด้วย การสูญเสียรัฐบุรุษรวมทั้งความหวาดกลัวต่อโรคระบาดได้นำไปสู่ความเสื่อมทราม ในด้านคุณภาพของรัฐบาลเอเธนส์อย่างรวดเร็ว ตำแหน่งผู้นำได้ถูกเปลี่ยนไปอยู่ในมือของพวกหัวรุนแรงและระบอบประชาธิปไตย ก่อให้เกิดลักษณะอันเลวร้ายของ กฎหมู่ ซึ่งเพอริเคลสเองได้ตั้งข้อสังเกตว่า เขาเกรงกลัวข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของเอเธนส์ยิ่งกว่าสปาร์ตาเสียอีก

หลังจากสมัยของเพอริเคลส การรบของเอเธนส์ตกต่ำลง เนื่องจากการวางแผนอย่างหละหลวม ในที่สุดภายใต้การสนับสนุนของเปอร์เชีย กองเรือรบส่วนหนึ่งของกลุ่มสันนิบาตเพลอปปอนเสเชียก็ทำลายส่วนที่เหลือของ กองทัพเอเธนส์โดยสิ้นเชิง ในปี 404 ก่อน ค.ศ. เอเธนส์ยอมจำนน สำหรับ เอเธนส์แล้ว

เมื่อจักรวรรดิสลายตัวลง โครงสร้างทางการเมืองสั่นคลอนอย่างถึงรากถึงโคน เอเธนส์ต้องสูญเสียทั้งทรัพย์สิน จิตใจ แต่อย่างไรก็ตาม เอเธนส์ยังสามารถดำรงความเป็นศูนย์กลางทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของโลกกรี กต่อมาได้เป็นเวลานาน อีกทั้งยังสามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการเมืองขึ้นมาได้บ้าง

สภาพของกรีกหลังสงครามเพลอปปอนเนเชียน


สปาร์ ตาได้เป็นรัฐนำของกรีกแทนเอเธนส์ แต่กองเรือรบของสปาร์ตาซึ่งสร้างด้วยเงินของ เปอร์เชียนั้นทำให้สปาร์ตายอมให้เปอร์เชียยึดครองไอโอเนียอีกครั้งหนึ่ง สปาร์ตาอนุรักษ์นิยมมากเกินกว่าจะเป็นนักจักรวรรดินิยมที่ประสบความสำเร็จ จึงไม่อาจให้เหตุผลและชี้นำพวกกรีกได้ ในเอเธนส์และรัฐกรีกอื่น ๆ จำนวนมากได้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองคือ การปกครองระบบคณาธิปไตยได้ถูกโค่นลง และกรีกได้เข้าสู่ช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีทางการทหารและการ เมือง ธีบส์ขึ้นสู่อำนาจสูงสุด ส่วนเอเธนส์พยายามจัดตั้งสันนิบาตเอเจียนขึ้นใหม่ แต่ถูกระงับไปด้วยการแทรกแซงของเปอร์เชีย ในช่วงศตวรรษที่ 4 อำนาจเปลี่ยนมือกันระหว่างสปาร์ตา ธีบส์และเอเธนส์ ในขณะที่อาณานิคมกรีกที่ซีราคิวส์มีอำนาจเหนือ ซิซิลีและอิตาลีภาคใต้ เปอร์เชียมักส่งทูตมาพร้อมกับเงินจำนวนมาก พยายามสอดส่องมิให้รัฐใดรัฐหนึ่ง มีอำนาจเข้มแข็งจนเกินไป เพราะจะเป็นภัยต่อเปอร์เชีย

ระหว่างที่กรีกมีความวุ่นวายกันนั้น มาซีดอนคือราชอาณาจักรแถบภูเขาซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรีกมาซีดอนนั้นแม้จะ มีเชื้อสายกรีกแต่ก็แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรมเฮลเลนนิคเลย ปี 359 ก่อน ค.ศ. ฟิลิปได้เป็นกษัตริย์แห่งมาซีดอน หลังจากสร้างอาณาจักรของพระองค์จนเป็นปึกแผ่นแล้ว ได้ตีนครรัฐกรีกที่อยู่ในความปั่นป่วนมาเรื่อย ๆ จนได้กรีกทั้งหมดในปี 338 ก่อน ค.ศ.

ฟิลิปผู้ซึ่งชื่นชมวัฒนธรรมกรีกทรงปล่อยให้รัฐกรีกบริหาร กิจการภายในรัฐได้ตามความพอใจ แต่รัฐเหล่านั้นต้องอยู่ภายใต้สันนิบาตที่ทรงควบคุมอยู่ ซึ่งถือกันว่าการยึดครองของฟิลิปทำให้ยุคกรีกคลาสสิคสิ้นสุดลงและจะเปิดทาง ให้กับอารยธรรมแบบกรีก เฮลเลนิสติค ในเวลาอีก 2 ปี ต่อมาเพื่อพระราชโอรสของฟิลิปคือ พระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราชขึ้นครองราชย์ จะเริ่มเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “เฮลเลนิสติค”




ภูมิปัญญาของกรีกตั้งแต่แรกถึงสมัยคลาสสิก


ชา วกรีกเป็นพวกแรกที่ดำเนินการศึกษาค้นคว้ามนุษย์และจักรวาลจากแง่คิดที่มี เหตุผล และลึกซึ้งเกินกว่าเทพนิยายและกวีนิพนธ์ ชาวกรีกมองจักรวาลในแง่ธรรมชาติมากกว่าปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของสาเหตุและผลมากกว่าอ้างเจตนารมณ์ของเทพเจ้า รวมทั้งเป็นชาติแรกที่พยายามจะวางรากฐานทางศีลธรรมและชีวิตที่ดีโดยคำนึงถึง เหตุผลมากกว่าการดลใจจากเทพเจ้า ชาวกรีกจึงเป็นนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ภาคทฤษฏีกลุ่มแรก จริงอยู่ที่ชนชาติโบราณ เช่น บาบิโลเนีย และอียิปต์ได้มีการค้นพบสิ่งเหล่านี้ แต่สำหรับกรีกแล้วได้นำความรู้นั้นไปสู่จุดหมายปลายทางใหม่ คือ ความเข้าใจอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับมนุษย์และจักรวาล ความสำเร็จของชาวกรีกได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นการค้นพบทางสติปัญญา

เป็น ที่น่าสนใจว่านักปรัชญาของกรีกประสบความสำเร็จได้อย่างไร ในเมื่อศาสนาของกรีกเป็นศาสนาที่มีเทพเจ้าและกรีกมีละคร พิธีกรรม ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เนื่องในศาสนา คำตอบคือนักปรัชญาของกรีกประสบความสำเร็จก็เพราะกันเทพเจ้าไว้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งแยกแยะสิ่งที่เป็นธรรมชาติออกจากสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่สำคัญพวกกรีกมีความใจกว้างและความกล้าหาญที่จะค้นหาความจริงจากสิ่งต่าง ๆ ด้วยปัญญา

ความใจกว้างและกล้าเผชิญความจริงนั้นได้รับการส่งเสริม ด้วยบรรยากาศที่เสรีและวุ่นวายของนครรัฐลัทธิเหตุผลนิยมเป็นผลผลิตจากลัทธิ ปัจเจกชนนิยมของกรีกเอง

ความคิดและสำนึกในกรีก


ความ เป็นปัจเจกชนนิยมได้ทำให้เกิด กวีนิพนธ์ประเภทลีริค และก่อให้เกิดความพยายามของมนุษย์ในการเข้าใจธรรมชาติของจักรวาลโดยอาศัย เหตุผล นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ ทฤษฎี ได้เกิดตั้งแต่สมัยไอโอเนีย นอกจากนี้กรีกยังมี สำนักไพธากอเรียน ของไพธากอรัส (Pythagoras) (ประมาณปี 528 – 507 ก่อน ค.ศ.) เป็นสำนักกึ่งวิทยาศาสตร์กึ่งมายาศาสตร์ เมื่อถึง ศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ. ได้มีการยกเอาปัญหาเกี่ยวกับจักรวาลมาพิจารณาอย่างละเอียด และมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลบันทึกประวัติคนไข้ เพื่อศึกษาสาเหตุของการเจ็บป่วย
การรวบรวมและยกย่องข้อเท็จจริงได้มี อิทธิพลต่อนักประวิตศาสตร์กรีกในสมัยนั้นเช่นกัน ประวัติศาสตร์ในสมัยใหม่เริ่มพร้อมกับ เฮโรโดตัส (Herodotus? – 424 ก่อน ค.ศ.) นายพลชาวเอเธนส์ไม่ได้
ปรัชญาประวัติศาสตร์ ของ ธูซิดิส คือ ประวัติศาสตร์เป็นผลสืบเนื่องของกิจกรรมทางการเมืองที่รัฐบุรุษและสภาของ ประชาชนและผู้ที่กระทำนั้น เขาเน้นทางด้านการเมืองและแรงกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมการเมือง

พวก โซฟิสต์ (Sophists) เป็นพวกที่สงสัยไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ คนพวกนี้เป็นกลุ่มครูอาชีพที่เดินทางจากทุกมุมเมืองมาแสวงหาความมั่งคั่งที่ นครเอเธนส์ พวกโซฟิสต์สนใจเรื่องของมนุษย์เป็นสำคัญและสอนศิษย์ให้รู้จักการโต้วาทีและ การทำตนให้ก้าวหน้า ขณะเดียวกันก็ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับลัทธิศาสนา ความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง และการอุทิศตนเพื่อสวัสดิการของชุมชน ด้วยพฤติกรรมดังกล่าวในระยะหลังจึงมีส่วนในการทำลายล้างเจตนารมณ์ของนครรัฐ

นอก จากนี้ยังมีกลุ่มนักคิดที่เด่น ๆ คือ โสกราติส (Socrates ปี 469 – 399 ก่อน ค.ศ.) เปลโต้ (Plato ปี 427 – 347 ก่อน ค.ศ.) เปลโต้เป็นศิษย์ของโสกราติส ความคิดของเปลโต้มีส่วนสำคัญอย่างลึกซึ้งในการส่งเสริมพัฒนาการของวิชาวิทยา ศาสตร์สาขาคณิตศาสตร์ ส่วนในด้านปรัชญานั้นได้มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าต่อมีอีกกว่า 2 พันปี ภายใต้เปลโต้และศิษย์ของเขาคือ อริสโตเติล (Aristotle ปี 384 ก่อน ค.ศ. ) อริสโตเติลเป็นนักวิชาการระดับโลกที่มีงานหลายแขนง ทั้งชีววิทยา การเมือง วรรคดี จริยธรรม และตรรกวิทยา ฟิสิกส์ และเมตาฟิสิกส์ อริสโตเติลเป็นพระอาจารย์ของอเลกซานเดอร์มหาราช เขามีความเกี่ยวพันกับช่วงสุดท้ายของกรีกในสมัยคลาสสิค เปลโต้และอริสโตเติลเป็นตัวแทนของจุดสุดยอดของปรัชญากรีกทั้งสองเป็นคนเคร่ง ศาสนา แต่ทั้งสองท่านก็ได้ อุทิศตนอยู่กับการหาเหตุผลและสามารถสร้างระบบปรัชญาที่ลึกซึ้ง แนวความคิดของทั้งสองทำให้การปฏิวัติภูมิปัญญาของกรีก ขึ้นถึงจุดสุดยอดและสมบูรณ์ซึ่งนำทั้งความรุ่งโรจน์และวุ่นวายมาสู่กรีก

กรีกสมัยเฮลเลนิสติค : อเล็คซานเดอร์มหาราช


กรี กตกอยู่ใต้อำนาจของแมกซีโตเนีย (มาซีดอน) ในสมัยพระเจ้าฟิลิปที่ 2 (Phillip II 359 – 336 ก่อน ค.ศ.) เมื่อ 338 ก่อน ค.ศ. แมกซีโดเนียเป็นรัฐของกรีกทางตอนเหนือ เมื่อ 336 ก่อน ค.ศ. พระเจ้าฟิลิปได้เตรียมการโจมตีจักรวรรดิเปอร์เชียเพื่อเบี่ยงเบนความคุมแค้น ของนครรัฐกรีกที่มีต่อพระองค์ให้เปลี่ยนเป็นการสนับสนุนแต่พระองค์ถูกลอบปลง พระชนม์เสียก่อน

พระเจ้าอเล็คซานเดอร์ (Alexander the Great 356 – 323 B.C.) ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อพระชนม์ได้ 20 พรรษา ทรงเป็นผลผลิตของพระอาจารย์ที่สำคัญ 2 ท่าน คือ อริสโตเติลและกษัตริย์ฟิลิปพระราชบิดา พระเจ้าอเล็คซานเดอร์นอกจากจะสง่างามแล้วก็ยังเก่งทางด้านกรีฑาและมีพระ ปรีชาญาณทรงเป็นแม่ทัพที่มีความสามารถ และทรงสนับสนุนวัฒนธรรมแล้วยังเก่งทางด้านกรีฑาและมีพระราชปรีชาญาณทรงเป็น แม่ทัพที่มีความสามารถ และทรงสนับสนุนวัฒนธรรมกรีกตลอดจนวิธีดำเนินชีวิตของชาวกรีก

หลังจา กอเลกซานเดอร์ทรงปราบกบฏชาวธีบส์แล้ว ทรงฝักใฝ่ในการต่อสู้กับจักรวรรดิ์เปอร์เซียภายหลังชัยชนะครั้งแล้วครั้ง เล่า ชาวกรีกมองพระองค์ในฐานะวีระบุรุษ ปี 334 ก่อน ค.ศ. ทรงนำกองทัพของกรีกและแมกซีโดเนีย จำนวน 40,000 คน ข้ามช่องแคบดาดะแนลสู่เอเชียไมเนอร์ และพิชิตมณฑลซีเรีย และอียิปต์ของจักรวรรดิ์เปอร์เซีย จากนั้นได้พิชิตจักรวรรดิเปอร์เอเชีย ใน ปี 331 ก่อน ค.ศ.

การพิชิตเปอร์เชียของอเลกซานเดอร์นับเป็นการวาง พื้นฐานของยุคใหม่หรือช่วงเวลาที่รู้จักกันในนาม “เฮลเลนิสติค” ซึ่งในช่วงนี้กรีกเป็นเจ้าแห่งโลกโบราณ และภายใต้การปกครองของกรีก วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของหลายชนชาติได้พัฒนาขึ้น โดยคงความเป็นกรีกในแง่ประเพณี แต่มีการกลายสภาพไปตามอิทธิพลของอารยธรรมตะวันออกของแดนที่ตกมาอยู่ในความ ครอบครอง และตามสภาพแวดล้อมใหม่ที่กว้างขวางซึ่งชาวกรีกดำรงอยู่
นโยบาย ของอเลกซานเดอร์ในการจัดตั้งนครในดินแดนที่พระองค์เข้าพิชิตคือ การให้ชาวกรีกเข้าไปตั้งรกรากอยู่ให้เต็ม แม้พระราชประสงค์ใหญ่จะต้องการให้ชุมชนดังกล่าวเป็นฐานทัพและศูนย์การค้าก็ ตาม บรรดานครที่ตั้งขึ้นนี้ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ นครอเลกซานเดรียในอียิปต์ที่อยู่ปากแม่น้ำไนล์ นครนี้ได้เจริญกว่าบรรดานครของกรีกเอง จนกลายเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ของโลกเฮลเลนิสติค และภายในเวลาไม่นานก็ได้พัฒนาชีวิตทางด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจนทำให้เอ เธนส์สมัยเดียวกันได้อาย

พระเจ้าอเลกซานเดอร์ยกทัพไปไกลจนถึงลุ่มน้ำ สินธุของอินเดีย เมื่อกองทัพของพระองค์ปฏิเสธจะเดินทัพต่อ พระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกทัพกลับเปอร์เชีย และได้ประชวรสิ้นพระชนม์ ขณะเมื่อพระชนม์ได้ 32 พรรษา ใน ปี 323 ก่อน ค.ศ.

จักรวรรดิของอเลก ซานเดอร์นับเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เท่าที่เคยมีมาในโลก พระองค์ทรงปรับตัวตามขนบธรรมเนียมประเพณีของดินแดนที่ยึดครอง เช่น ทรงปกครองอียิปต์ประดุจฟาโรห์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ปกครองเปอร์เชียตามตามแบบของ กษัตริย์ตามแบบตะวันออก และทรงมีพระราชประสงค์จะรวมกรีกกับโลกตะวันออกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก่อนที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ ได้ทิ้งความรู้สึกสูญเสียและความสับสนไว้เบื้องหลังในรัฐอันกว้างใหญ่




รัฐเป็นที่ทายาทสืบทอด


จักรวรรดิ ของอเลกซานเดอร์ถูกแบ่งกันในกลุ่มแม่ทัพของพระองค์ คือ โทเลมี (Ptolemy) นายพลผู้สามารถที่สุดคนหนึ่งปกครองอียิปต์ โดยได้สถาปนาราชวงศ์โทเลมี ซึ่งดำรงต่อมาจนถึงปี 30 ปี ก่อน ค.ศ. เมื่อกองทัพโรมันปลดพระองค์สุดท้ายออกจากตำแหน่ง

ทางเหนือของซีเรีย และส่วนใหญ่ของมณฑลในจักรวรรดิเปอร์เซียโบราณตกเป็นของซีลูซุส (Selecus) ผู้สถาปนาราชวงศ์ซิลิซิด ซึ่งมีศูนย์กลางแห่งอำนาจอยู่ที่เมืองแอนติออค ทางเหนือของซีเรียกลุ่มชาวยิวและเปอร์เซียมักก่อการกบฎด้วยความไม่พอใจในแนว คิดทางศาสนาของกรีก ราชอาณาจักรของราชวงศ์นี้จึงวุ่นวาย และไม่เป็นระเบียบเท่ากับราชวงศ์โทเลมี
ส่วนแมกซีโดเนียตกอยู่ใต้คัสซาน เดอร์ (Cassander) และราชวงศ์แอนติโกนิคในเวลาต่อมา ซึ่งมีอำนาจปกครองเหนือนครรัฐทั้งหลายลงมาทางใต้ แต่ก็มีฐานะไม่มั่นคงนัก และมีอำนาจด้อยกว่าราชวงศ์โทเลมีและซิลูซิต

ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์


สภาพ แวดล้อมใหม่ในสมัยอเล็คซานเดอร์เปิดโอกาสอย่างกว้างขวางและกระตุ้นความใจ กว้างที่ไม่ถือชาติภาษา ยุคนี้จึงเป็นยุคแห่งความรุ่งโรจน์และยุคธุรกิจ ตลอดจนความสำเร็จของอาชีพการค้าและการธนาคาร แต่สิ่งเหล่านี้เป็นผลดีกับชนส่วนน้อยเท่านั้น ระบบทาสยังคงมีอยู่และเพิ่มมากขึ้น ชาวนาและสามัญชนยังขัดสน ระบบการเพาะปลูกเป็นการทำไร่นาขนาดใหญ่ที่ใช้แรงงานทาส

ชาวกรีกที่ อยู่ตามนครรัฐนั้น ยังคงมีสิทธิ์มีเสียงทางการเมืองภายในอยู่โดยผ่านสถาบันการเมืองเก่า ๆ แต่เศรษฐกิจของคาบสมุทรกรีกคงที่ จึงมีคนกรีกบางส่วนออกไปจากบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อแสวงหาโอกาส ชาวกรีกเหล่านี้เองพบว่าคนอยู่ในโลกที่สับสนวุ่นวาย โดดเดี่ยว ซึ่งมีแนวโน้มไปสู่ความเป็นปัจเจกชนนิยม ความชำนาญในวิชาชีพที่มีตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนการละครเน้นละครตลก

ศาสนาและจริยธรรม


ความ เป็นปัจจเจกชนนิยมแสดงออกมาทางด้านแนวคิดทางศาสนา และจริยธรรมที่เน้นความสำเร็จส่วนตัวหรือความรอดเฉพาะตัว มากกว่าจะร่วมในความผูกพันกับชุมชนในช่วงนี้ความแตกต่างระหว่างชาวกรีกกับ อารยชนหมดไปแล้ว และมีแนวโน้มที่จะหันเหออกจากเทพเจ้าแห่งเขาโอลิมปัสเดิมของตน และแสวงหาความปลอบประโลมจากแนวคิดทางศาสนาที่ผูกพันเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น และมีอำนาจมากยิ่งขึ้น ศาสนาเฮลเลนิสติคมีลักษณะพิเศษคือ แยกบุคคลออกจากการร่วมกิจกรรมทางสังคมและการแสวงหาที่พักพิงใจในโลกที่ วุ่นวายและไม่แน่นอน

ศาสนาต่าง ๆ ในช่วงนี้จึงมีทั้งพิธีกรรมอันลึกลับและการมุ่งสู่ความอยู่รอด โดยมีการบูชาเทพเจ้าหลายองค์ นอกจากนี้ยังมีการฟื้นตัวของโหราศาสตร์แห่งบาบิโลเนียใหม่ ตลอดจนเรื่องอาถรรพ์ เวทย์มนต์และแม่มดหมอผี
นอกจากนี้ยังมีชาวกรี กอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้หันไปหาศาสนาแบบตะวันออก แต่พยายามปรับแก่นแท้ของขนบธรรมเนียมเฮลเลนิสติคให้เข้ากับสภาพใหม่ ๆ คือ พวกสเค็ปติค ซีนิค สโตอิค และ เอพิคคิวเรียน หรือที่เรียกรวมกันว่าเป็น “ปรัชญาแห่งการปฏิบัติตน”

No comments: