Can't find it? here! find it

Friday, June 12, 2009

Iwo jima(อิโวจิม่า)+with video

Battle Of Iwojima Hell
สมรภูมินรกอิโวจิม่า

นาวิกโยธินสหรัฐปักธงชาติลงบนยอดเขาซูริบาชิเพื่อประกาศชัยชนะ

เกาะภูเขาไฟขนาดเล็กที่ทำให้นาวิกโยธิน
สหรัฐสูญเสียหนักที่สุดในการรบแปซิฟิก


การรบบนเกาะอิโวจิม่า เป็นการรบระหว่างกองทัพสหรัฐกับกองทัพแห่งมหาจักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1945 ระหว่างการรณรงค์ในแปซิฟิกของสหรัฐ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 การบุกเกาะครั้งนี้ใช้ชื่อว่าปฏิบัติการ ดีแท็กเมนท์( Detachment) มีจุดมุ่งหมายเพื่อยึดสนามบินบนเกาะ

การ รบบนเกาะอิโวเป็นไปอย่างรุนแรงมาก กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีบังเกอร์มากมาย , ปืนใหญ่ที่ทำการซ่อนไว้ และอุโมงค์ที่มีความยาวกว่า 18 กิโลเมตร( 11 ไมล์ ) การรบครั้งนี้เป็นการบุกครั้งแรกของสหรัฐ บนแผ่นดินแม่ญี่ปุ่นทหารญี่ปุ่นจึงป้องกันที่มั่นของตนเองจนกว่าจะตาย ทหารญี่ปุ่นมีจำนวน 22,000 นาย เสียชีวิตไปถึง 20,000 คน มีที่ถูกจับเป็นเชลยเพียง 216 คน เท่านั้น



โจนส์ โรเซนทัลบนเกาะอิโว
(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)

โจนส์ โรเซนทัล( Joe Rosenthal) ช่างถ่ายภาพสงคราม ในสังกัดกองทัพเรือ ซึ่งได้เดินทางไปกับกองพลนาวิกโยธินที่ 5 เป็นผู้ที่สามารถบันทึกภาพ ขณะทหารสหรัฐปักธงลงบนยอดซูริบาชิไว้ได้ ต่อมาภาพถ่ายนี้ได้เป็นกลายเป็นภาพถ่ายที่ลือชื่อ และถูกนำไปสร้างเป็นอนุสาวรีย์สมรภูมิอิโวจิม่าในกรุงวอชิงตัน ของสหรัฐอเมริกา การปักธงในรูปนั้นเป็นการปักธงครั้งที่ 2 แต่ธงที่ปักครั้งแรกมีขนาดเล็กไป จึงมีคำสั่งให้มีการปักธงใหม่ที่ผืนใหญ่กว่า การปักธงทั้งสองครั้งนี้ กระทำในวันที่ 5 ในการรบของการรบทั้งหมด 34 วัน (ภาพการปักธงทั้งสองครั้งถูกถ่ายโดยโจนส์)

ธงผืนแรกที่ถูกปักลงบนยอดซูริบาชิคนที่นั่งคือนายทหาร ชื่อหลุยส์ อาร์ โลวีลี่( Louis R. Lowery)คลิกที่รูปเพื่อขยาย

เกาะอิโวจิม่า

อิโวจิม่า (ในภาษาญี่ปุ่นจิม่าหรือชิม่าแปลว่าเกาะ ) หรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่าเกาะอิโวะ , ไอโว เป็นเกาะภูเขาไฟ ( Volcano Islands ) ที่เกิดจากลาวา และเถ้าถ่าน ของภูเขาไฟ มียอดเขาซูริบาชิ หรือ ซือริบาชิ ( Mt. Suribachi ) สูง 166 เมตร ( 546 ฟุต ) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะ อยู่ทางตอนปลายแหลมสุดของเกาะ อิโวจิม่าเป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะโอกาซาวาระ ( group of Ogasawara Islands) มีความยาวประมาณ 5 ไมล์ มีเนื้อที่เพียง 8 ตารางไมล์ อยู่ห่างจากกรุงโตเกียว ( Tokyo) ไปทางใต้ 670 ไมล์ ( 1,080 กิโลเมตร) ห่างจากเกาะกวม( Guam ) ไปทางเหนือ 700 ไมล์ ( 1,130 กิโลเมตร) และอยู่ใกล้ระหว่างครึ่งทางจากเกาะไซปัน ( Saipan ) ไปกรุงโตเกียวที่ 24.754 องศาเหนือ , 141.290 องศาตะวันออก ( 24.754N, 141.290E) เกาะนี้เป็นอำเภอหนึ่งในโตเกียว และแน่นอนเกาะนี้จะต้องตกเป็นเป้าหมายแรกที่สหรัฐ ต้องการยึดไว้ใช้เป็นฐานทัพ และสนามบิน สำหรับโจมตีแผ่นดินแม่ญี่ปุ่น

การเตรียมการป้องกันของฝ่ายญี่ปุ่น
Japanese defense preparations



การเตรียมการระยะแรก ( Early preparations )

หลังจากการพ่ายแพ้ที่ไซปัน ในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นก็รู้ทันทีว่าเป้าหมายต่อไปของสหรัฐ จะต้องเป็นเกาะอิโวจิม่า จึงทำการระดมพลยกใหญ่ ด้วยการเกณฑ์ทหารเข้าไปประจำการยังเกาะแห่งนี้ ให้เป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอสิ้นเดือนพฤษภาคม พลโท ทาดามิชิ คูริบายาชิ ได้ถูกเรียกเข้าพบ กับนายกรัฐมนตรีและนายพลฮิเดกิ โตโจ ( Prime Minister General Hideki Tojo) เพื่อให้เป็นผู้บัญชาการป้องกันเกาะอิโวจิม่า ที่โตโจเลือกเขาเพราะเห็นว่าเป็นคนที่รอบรู้ และมีความสามารถ คูริบายาชิได้เข้ารับหน้าที่นี้ ในวันที่ 8 มิุถุนายน ค.ศ. 1944 คูริบายาชิมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ที่จะเปลี่ยนเกาะนี้ให้เป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง พอที่จะต่อต้านสหรัฐให้ยาวนาน และยากที่จะตีแตก เพื่อสร้างความเสียหายให้กับกองกำลังสหรัฐให้ได้มากที่สุด เป็นการตัดกำลังก่อนที่สหรัฐจะยกพลขึ้นบกบุกแผ่นดินแม่ญี่ปุ่น



พลโท ทาดามิชิ คูริบายาชิ ( Lieutenant General
Tadamichi Kuribayashi)ผู้บัญชาการกองกำลัง
ป้องกันเกาะอิโวจิม่าของญี่ปุ่น

เมื่อ เขามาถึงเกาะในตอนแรกนั้น อิโวจิม่ามีเครื่องบินขับไล่ประจำการเป็นจำนวนถึง 80 ลำ แต่พอถึงช่วงต้นเดือนกรกฏาคม กองทัพเรือสหรัฐก็เริ่มทำการระดมยิงปืนใหญ่จากเรือรบ ทำให้เครื่องบินขับไล่ของเกาะ เหลือเพียง 4 ลำเท่านั้น กระสุนปืนใหญ่ยังได้ทำลายค่ายต่างๆบนเกาะ รวมทั้งเครื่องบินที่เหลือรอดเป็นจำนวน 4 ลำไปด้วย

เครื่องบินสหรัฐบินผ่านธงชาติบนเรือเรือรบสหรัฐยิงถล่มเกาะอิโวยอดซูริบาชิถูกกระสุนปืนใหญ่เรือรบสหรัฐ

เป็นเรื่องที่น่าแปลกสำหรับฝ่ายป้องกันเกาะ เพราะสหรัฐไม่ได้ยกพลขึ้นบกในช่วงฤดูร้อนของปีค.ศ. 1944 อย่างที่น่าจะเป็น สร้างความน่าฉงนสนเทห์เป็นอย่างมาก ในเวลานั้น เหมือนกับสหรัฐต้องการจะแสดงให้เห็นว่าสามารถเอาชนะได้โดยง่าย จึงจะบังคับให้ยอมแพ้เสีย แต่นายพลคูริบายาชิยังคงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ที่จะให้อิโวจิม่าเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับสหรัฐ เมื่อการบุกใกล้เข้ามาฝ่ายสหรัฐใช้การโจมตีทางอากาศก่อน ด้วยเครื่องบินรบจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ดูเหมือนเกาะอิโว ใกล้จะถึงกาลอวสานเข้ามาทุกขณะ เพราะถูกกำลังทั้งทางเรือและอากาศโจมตีอย่างหนัก โดยไม่สามารถตอบโต้อะไรแก่ฝ่ายสหรัฐได้เลย



บังเกอร์ปืนใหญ่ป้องกันฝั่งบนเกาะ

ใน ขั้นแรกอิโวจิม่าพร้อมที่จะทำการรบอย่างยืดเยื้อ คูริบายาชิได้สั่งให้มีการอพยพพลเรือน( civilians) ทั้งหมดออกจากเกาะ และประสบความสำเร็จในช่วงท้ายเดือนกรกฏาคม ในตอนแรกนั้นการป้องกันเกาะอยู่ในความรับผิดชอบของ พลโทฮิเดโอชิ โอบาตะ( Lieutenant General Hideyoshi Obata ) เป็นนายพลบัญชาการกองทัพที่ 131 ( Thirty-First Army ) ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1944 ซึ่งเขากลับมาจากหมู่เกาะมาเรียน่า ( Marianas) และได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบการป้องกันเกาะในฐานะปลัดของเกาะ เขาสั่งให้ทำการขุดสนามเพลาะและสร้างรังปืนกล ใกล้กับชายหาด แต่นายพลคูริบายาชิซึ่งต่อมา เข้ามารับหน้าที่ผู้บัญชาการป้องกันเกาะแทนที่เขา กลับมีความคิดที่แตกต่างออกไป เขาคิดว่าการเอาทหารมาป้องกันใกล้หาดนั้นหาประโยชน์อะไรไม่ได้เลย เพราะไม่ว่ายังไงก็คงไม่สามารถหยุดการบุกของฝ่ายสหรัฐได้ คูริบายาชิคิดจะใช้ชายหาดของเกาะเป็นที่ปูพรมของอาวุธนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาวุธอัตโนมัติ หรือปืนยาวทหารราบ , ปืนใหญ่ , ปืนครก และจรวด นอกจากนี้ยังทำให้ชายหาดที่ทหารสหรัฐจะยกพลขึ้นบกเป็นพื้นที่ลาดเอียง เพื่อสร้างความลำบากในการเคลื่อนที่ ของนาวิกโยธินสหรัฐและรถถัง ยานเกราะต่างๆ ให้ตกเป็นเหยื่อกระสุนปืนได้ง่ายๆ โดยได้ติดตั้งอาวุธนานาชนิดเหล่านี้ ไว้บนยอดเขาซูริบาชิ ซึ่งเป็นที่สูงของเกาะทำให้ได้เปรียบเป็นอย่างมาก และพี้นที่สูงทางตอนเหนือของสนามบินชิโดริ( Chidori airfield)



เนินทรายลาดเอียงยังคงปรากฏให้เห็นอยู่บนเกาะอิโวจิม่าในปัจจุบัน

ถ้ำและอุโมงค์ ( Caves and tunnels )

เพื่อ การทำสงครามยืดเยื้อ เกาะนี้จึงต้องการระบบอุโมงค์และถ้ำ เพื่อป้องกันทหารญี่ปุ่น จากการถูกโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน และปืนใหญ่ของเรือรบสหรัฐ และหลอกให้ฝ่ายสหรัฐตายใจ คิดว่าไม่มีทหารญี่ปุ่นหลงเหลืออยู่บนเกาะแห่งนี้แล้ว โดยงานนี้ได้ใช้ ผู้เชี่ยวชาญการขุดเหมืองแร่ในญี่ปุ่นมาช่วยทำการขุดอุโมงค์ ในชื่อว่าโครงการสร้างป้อมปราการใต้ดิน( projected underground fortifications ) การขุดอุโมงค์ทำอย่างปราณีต โดยถูกแบ่งเป็นหลายๆชั้น มีระบบระบายอากาศที่ดีและมีรูที่เล็ก รวมทั้งทางเข้าออกที่ป้องกันการถูกปิดทาง จากการทิ้งระเบิดและการระเบิดของกระสุนปืนใหญ่

อุโมงค์ใต้ดินของฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งสามารถกำบังการโจมตีด้วยปืนใหญ่เรือของสหรัฐภายในอุโมงค์

ในเวลาต่อมาเกาะอิโว ก็ได้รับกำลังหนุน จากกองพลทหารราบที่ 109 (109th Infantry Division) คูริบายาชิ ได้ย้ายกองพลน้อยอิสระผสมทหารราบที่สอง ( 2nd Independent Mixed Brigade) ประกอบไปด้วยทหาร เป็นจำนวน 5,000 นาย ภายใต้การบัญชาการของ พลตรีโคโตะ โอซูกะ( Major General Kotau Osuga) จากเกาะชิชิ( Chichi) มายังเกาะอิโว เมื่อเกาะไซปันแตกทหาร 2,700 นาย จากกรมทหารราบที่ 145 (145th Infantry Regiment) ภายใต้การบัญชาการของ พันเอกมาซูโอะ อิเคดะ ( Colonel Masuo Ikeda) ได้ถูกนำมาเพิ่มเติมที่เกาะนี้ กำลังหนุนเหล่่านี้ได้มาถึงเกาะ ในช่วงระหว่างเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม ปี ค.ศ. 1944 ทำให้ในขณะนั้นกองกำลังป้องกันเกาะ มีกำลังที่แข็งแกร่งรวมกันเป็นทหาร จำนวนประมาณ 12,700 นาย ต่อมาก็มีสมาชิกเพิ่มอีก 1,233 นาย จากกองพันทหารเรือก่อสร้างที่ 204 ( 204th Naval Construction Battalion ) พอมาถึงแล้ว พวกเขาก็รีบทำการก่อสร้าง รังปืนกลคอนกรีต ( concrete pillboxes) และป้อมปราการอื่นๆ



ทหารเรือสหรัฐสำรวจหน้าปากถ้ำแห่งหนึ่งบนเกาะอิโวจิม่าหลังการรบสิ้นสุดลง

วันที่ 10 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1944 พลเรือตรี โทชิโนซูเกะ อิชิมารุ ( Rear Admiral Toshinosuke Ichimaru) ได้มาถึงเกาะอิโวพร้อมกับ บุคลากรของกองทัพเรือจำนวนหนึ่ง คือ 2,216 นาย ประกอบไปด้วยนักบินของกองทัพเรือ และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน พลเรือตรีโทชิโนซูเกะเคยเป็นนักบินที่มีชื่อเสียง แต่ต้องพิการเพราะเครื่องบินตกในช่วงกลางทศวรรษที่ 1920 พอสงครามเริ่มขึ้นเขาก็ได้รับยศนี้ และมักแสดงอาการไม่พอใจในยศที่ตนได้อยู่บ่อยๆ



นายพลคูริบายาชิระหว่างสั่งการสร้างแนวป้องกัน
บนเกาะอิโวจิม่า

ปืนใหญ่ ( Artillery )

ทหารเหล่าต่อมาที่มาถึงเกาะอิโว ก็คือหน่วยทหารปืนใหญ่ และ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง จำนวน 5 กองพัน ซึ่งเดินทางมากับเรือลำเลียง ( supply ships ) ที่ได้ทำการขนยุทธสัมภาระ ระหว่าง ฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1944 แต่ต้องจมไปเป็นจำนวนหลายลำ เพราะถูกเรือดำน้ำ และ เครื่องบินสหรัฐ โจมตีระหว่างทางจากเกาะญี่ปุ่น มาถึงเกาะอิโว พอสิ้นปี นายพลคูริบายาชิ ก็มีปืนใหญ่อยู่ในมือ เป็นจำนวน 361 กระบอก ตั้งแต่ขนาด 75 มม. หรือมากกว่านั้น ปืนครกขนาดหนัก 320 มม. (ที่เห็นในหนังเรื่อง letter from iwo jima ประกอบแล้วยิงใส่รถถังสหรัฐ) เป็นจำนวนหนึ่งโหล ปืนครกขนาดกลาง ( 150 มม. ) และเบา ( 81 มม. ) จำนวน 65 กระบอก ปืนเรือขนาด 80 มม.หรือ ใหญ่กว่านั้น 33 กระบอก และปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 75 มม. หรือลำกล้องใหญ่กว่านี้ จำนวน 94 กระบอก นอกจากนี้ยังเพิ่มอาวุธ ให้มีอำนาจการยิงมากขึ้น ด้วยปืนใหญ่ลำกล้องใหญ่ และที่โดดเด่นก็คือมีปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 20 มม.และ 25 มม.เป็นจำนวนมาก ถึงสองร้อยกระบอก และปืนต่อสู้รถถัง ขนาด 37 มม. และ 47 มม. เป็นจำนวนอีก 67 กระบอก อำนาจการยิงของปืนใหญ่ ยังถูกเพิ่มขึ้นด้วยการใช้จรวดแบบแปดนิ้ว ( eight-inch type ) น้ำหนัก 9 กิโลกรัม มีระยะยิง 2-3 กิโลเมตร ส่วนรุ่นยัิกษ์ 250 กิโลกรัม จะมีระยะยิงถึง 7 กิโลเมตร มีจรวด 70 ชุด และพลยิงบนเกาะแห่งนี้



ปืนใหญ่ของญี่ปุ่นที่ทำการฝังเข้าไปในยอดเขาซูริบาชิ

ได้มีคำสั่งเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ของกองกำลังป้องกันบนเกาะ ด้วยการส่งกรมรถถังที่ 26 ( 26th Tank Regiment ) จากสถานีที่ปูซาน ในประเทศเกาหลี( Pusan , Korea )
หลังจากเข้าไปประจำการ ในแมนจูเรีย ( Manchuria ) ก็ได้รับคำสั่งให้ไปป้องกันเกาะอิโวจิม่า นายทหารผู้บัญชาการกรมทหารรถถังแห่งนี้ คือ พันโททหารม้า ทาเคอิชิ นิชิ ( Lieutenant Colonel Baron Takeichi Nishi) ในกรมนี้ประกอบไปด้วยทหาร 600 นาย และรถถัง 28 คัน ถูกส่งมาจากญี่ปุ่น ในช่วงกลางเดือนกรกฏาคม บนเรือชื่อ นิสซู มารู( Nisshu Maru) ใน วันที่ 18 กรกฏาคม ปี ค.ศ. 1944 ขณะที่ขบวนเรือแล่นใกล้จะถึงเกาะชิชิ ( Chichi Jima) เรือก็ถูกตอร์ปิโดจากเรือดำน้ำสหร้ฐชื่อ ยูเอสเอสโคเบีย ( USS Cobia submarine ) สมาชิก 2 คน ของกรมรถถังที่ 26 รวมทั้งรถถังทั้งหมด 28 คัน จมลงใต้ทะเล พอถึงเดือนธันวาคมรถถังก็มาถึงเกาะอิโวได้ในที่สุดเป็นจำนวน 22 คัน



ป้อมปืนต่อสู้อากาศยานขนาด127มม.2ลำกล้องของญี่ปุ่น
ที่ติดตั้งเพื่อป้องกันสนามบิน

ในตอนแรกนั้นพันเอกนิชิ ได้วางแผนไว้ว่า จะใช้รถถังของเขาให้เป็น"กองพลน้อยท่องเที่ยวยิง"(" roving fire brigade") โดยจะทำการจับกลุ่มกันวิ่งไปบนภูมิประเทศที่ขรุขระ แต่ด้วยความที่เขาเป็นพันเอกที่มีสายตาที่เห็นความจริง ว่าไม่สามารถจะชนะรถถังของข้าศึก ด้วยการนำรถถังวิ่งเข้าประจัญบาน เขาจึงนำรถถังเข้าประจำที่ เพื่อพร้อมรบในตำแหน่งสำคัญทางยุทธศาสตร์ ด้วยการขุดร่องฝังรถถังไว้ ให้โผล่ขึ้นมาแต่ป้อมปืนโดยได้จัดวางรถถังไว้ในตำแหน่งที่แข็งแรงเต็มไปด้วย ก้อนหิน ( rocky ground ) ซึ่งเหมาะสมกับสภาพของเกาะ และป้องกันการสังเกตเห็น จากทางอากาศหรือบนพื้นดิน



รถถังไทป์1ชิฮี ทำการฝังไว้ให้โผล่ขึ้นมาแต่ป้อมปืน

การตั้งรับจากใต้ดิน ( Underground defenses )

จาก ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ ในปี ค.ศ. 1944 การก่อสร้างป้อมปราการบนเกาะอิโว คืบหน้าไปมาก ญี่ปุ่นได้พบว่าก้อนหินภูเขาไฟสีดำ ( black volcanic ) ที่มีอยู่มากมายอย่างเหลือล้นบนเกาะนั้น สามารถนำมาทำเป็นคอนกรีตคุณภาพดีได้ เมื่อนำมาผสมกับปูนซีเมนต์( cement) รังปืนกล ที่อยู่ทางตอนเหนือของซูริบาชิ ถูกสร้างด้วยคอนกรีตที่เสริมความแข็งแกร่ง หลายๆแห่งถูกเสริมให้มีความหนากว่า 4 ฟิท ( feet ) ในขณะเดียวกัน ได้มีการวางระบบถ้ำไว้อย่างละเอียด ภายในมีบ้านคอนกรีต( concrete blockhouses) และรังปืนกลที่มั่นคงแข็งแรง สรุปแล้วการโจมตีของอเมริกันทั้งทางอากาศและทางเรือ ในช่วงต้นฤดูร้อนปี ค.ศ. 1944 เป็นปัจจัยที่ทำให้ญี่ปุ่น ต้องขุดอุโมงค์ลึกลงไปใต้ดิน เพื่อให้พ้นอันตรายจากการโจมตีของสหรัฐ



ภาพแสดงอุโมงค์ใต้ดินบนเกาะ(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

เมื่อญี่ปุ่นบน เกาะเปเลลิว( Peleliu Island ) ทางตะวันตกของคาโรลีน ( Western Carolines ) รอการบุกของฝ่ายอเมริกันอยู่นั้น ได้ทำการขุดอุโมงค์เสริม จากถ้ำที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติ ช่วยให้วิทยาการสร้างอุโมงค์ ของญี่ปุ่นก้าวหน้าขึ้น ในการสร้างอุโมงค์บนเกาะอิโว เนื่องจากอุโมงค์ใต้ดินเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ ทหารฝ่ายป้องกัน 25% ของเกาะพาลีลู ได้ทำการสร้างอุโมงค์อย่างละเอียดละออ โดยมีระยะทางและขนาดที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ถ้ำขนาดเล็ก สำหรับทหาร 2-3 คนหรือจำนวนน้อย ไปจนถึงถ้ำที่มีทหารอยู่ได้หลายคน ที่สามารถรองรับทหารได้สูงสุด 300-400 คน ได้มีคำสั่ง ให้ทำการสร้างเครื่องป้องกัน ขัดขวางการบุกของทหารอเมริกัน ด้วยการวางกับดักไว้ และมีการสร้างทางเข้า-ออก ที่ลึกลับหลายๆทาง มีบันไดติดต่อกับทางต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี จัดทหารเฝ้าระวังช่องระบายอากาศ ในถ้ำไว้เป็นพิเศษ ตั้งแต่นั้นมา เกาะที่เต็มไปด้วยไอกำมะถัน ที่พวยพุ่งออกมาก็ถูกติดตั้งระบบอุโมงค์ใต้ดิน เป็นเคราะห์ดีสำหรับญี่ปุ่น ที่หินภูเขาไฟอ่อนนุ่มพอที่ทหารญี่ปุ่น สามารถใช้อุปกรณ์ขุดเจาะด้วยมือต่างๆเจาะเข้าไปได้



อุโมงค์ในยอดเขาซูริบาชิ

นายพลคูริบายาชิ ได้ตั้งศูนย์บัญชาการที่แข็งแกร่ง ไว้ทางตอนเหนือของเกาะ ห่างจากหมู่บ้าน คิตะ ( Kita village ) ไปทางเหนือ 500 เมตร และทางใต้ของแหลมคิตาโนะ ( Kitano Point) โดยอยู่ลึกลงไปใต้ดินถึง 20 เมตร ประกอบไปด้วยถ้ำขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างที่เชื่อมต่อกันเป็นระยะทาง 150 เมตร ผู้บัญชาการเกาะมีห้องบัญชาการรบ ( war room ) อยู่ห้องเดียวในสามห้อง ซึ่งทำด้วยคอนกรีต 2 ห้องที่เหลือ ก็เป็นแบบเดียวกับห้องแรก และล้อมรอบด้วยหลายๆห้อง ไกลออกไปทางใต้เป็นเนิน 382 ( Hill 382 ) ซึ่งเป็นจุดที่สูงบนเกาะจุดที่สอง รองจากยอดเขาซูริบาชิ ญี่ปุ่นได้สร้างสถานีวิทยุและสถานี พยากรณ์อากาศ ( radio and weather station ) ไว้ที่นี่ ใกล้ๆกันนั้นทางใต้ของสถานี มีการสร้างบ้านคอนกรีตขนาดใหญ่ใต้ดิน และเป็นที่ตั้งกองบัญชาการ ( headquarters ) ของพันเอก โชซาคุ ไคโดะ ( Colonel Chosaku Kaido ) ซึ่งเป็นผู้สั่งการปืนใหญ่ทั้งหมด บนเกาะอิโว เนินอื่นๆทางตอนเหนือของเกาะ ได้ถูกขุดอุโมงค์ที่มีทางเข้าออกตามภูมิประเทศ ที่ถูกกระสุนปืนใหญ่หรือลูกระเบิดใส่เป็นหลุม แต่สร้างไว้ให้ยากที่จะทำลายได้ มีการสร้างการป้องกันใต้ดินสำหรับ ศูนย์คมนาคมหลัก ( main communications center ) ทางใต้ของหมู่บ้านคิตะ ด้วยห้องที่มีความกว้างขวางยาว 50 เมตร กว้าง 20 เมตร เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และป้องกันด้วยกำแพงและเพดานที่หนา เชื่อมไปถึง ศูนย์บัญชาการของนายพลคูริบายาชิ



ช่องยิงซึ่งสามารถมองเห็นได้ถึงชายฝั่ง,ทางเข้าอุโมงค์(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

ทางเดินในอุโมงค์ สามารถเชื่อมต่อกับระบบป้องกันต่างๆได้ทั่วทั้งเกาะ คูริบายาชิวางโครงการขุดอุโมงค์ไว้ว่า อุโมงค์ทั้งเกาะนั้น จะต้องมีความยาวรวมกันถึง 17 ไมล์ ( 27 กิโลเมตร ) จากทางเหนือ ไปจนถึงทางใต้ของเกาะ ลาดขึ้นไปสู่ยอดเขาซูริบาชิ ซึ่งมีอุโมงค์หลบภัยหลายพันหลา เมื่อถึงเวลาที่นาวิกโยธินสหรัฐยกพลขึ้นบก ญี่ปุ่นสามารถขุดอุโมงค์แล้วเสร็จไปได้ 11 ไมล์( 18 กิโลเมตร )

สิ่งที่แสดงถึงความมุมานะพยายาม ของทหารช่างญี่ปุ่นที่สุด ก็คือการสร้างทางใต้ดิน บนเกาะอิโว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ตามหลักการ และระยะเวลา เป็นการเอาชนะธรรมชาติอย่างแท้จริง เพราะพวกเขาจะต้องอ่อนแอลง จากอุณหภูมิใต้ดินที่ร้อนถึง 30-50 องศาเซลเซียล ( 90-130 ฟาเรนไฮต์) และ ยังต้องสวมหน้ากากป้องกันแก็สพิษ( gas masks ) จากกลิ่นไอกำมะถัน ที่พวยพุ่งออกมาจากใต้ดิน เมื่อทำงานได้ครบ 5 นาที ก็ต้องรีบออกมา พวกเขาทำงานขุดอุโมงค์ทุกวัน จนกระทั่งอเมริกันโจมตีเกาะในวันที่ 8 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1944 ( ตรงนี้มีให้ดูในหนังเรื่อง Letter from iwo jima ) ทหารช่างส่วนใหญ่ ก็ถูกนำไปช่วยในการซ่อมแซมสนามบิน ที่เสียหายจากการโจมตี

แผนป้องกัน ( Defense planning )



ทหารญี่ปุ่นเล็งปืนไรเฟิลอาริซากะจากช่องยิงในบังเกอร์
(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

เมื่อส่วนใหญ่ของเกาะอิโว ถูกเปลี่ยนเป็นป้อมปราการ ด้วยการสร้างอย่างรวดเร็วแบบไม่น่าเชื่อแล้ว นายพลคูริบายาชิได้กำหนดแผนสุดท้ายของเขาเพื่อป้องกันเกาะ ซึ่งแผนนี้ ได้ตัดยุทธวิธีเดิมที่ญี่ปุ่นเคยใช้ในช่วงต้นสงคราม หรือก่อนหน้านี้ทิ้งไป ซึ่งแผนของเขามีขั้นตอนดังนี้

1. ออกคำสั่งไม่ให้เปิดเผย ตำแหน่งป้องกันแก่ฝ่ายสหรัฐ ปืนใหญ่ของญี่ปุ่น จะไม่ยิงเพื่อไม่เปิดเผยที่ตั้ง ให้กับเรือรบสหรัฐ
2. ไม่มีการสร้างเครื่องกีดขวาง การยกพลขึ้นบกของนาวิกโยธินสหรัฐ หรือทำการยิงขัดขวาง
3. เมื่อนาวิกโยธินสหรัฐ บุกเข้ามาลึก 500 เมตรจากชายฝั่ง ให้ป้อมปืนกลคอนกรีต ทำการยิงอาวุธอัตโนมัติ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับสนามบินโมโตยาม่า ( Motoyama airfield ) รวมทั้งการใช้ปืนใหญ่ยิง ทหารสหรัฐที่ชายหาด จากทางเหนือ ส่วนอาวุธในยอดซูริบาชิ ให้ทำการยิงชายหาดจากทางใต้
4. เมื่อทำให้กองกำลังยกพลขึ้นบก ของสหรัฐสูญเสียอย่างหนักแล้ว ให้ย้ายปืนใหญ่ไปทางเหนือและตั้งตำแหน่งยืงใหม่บนที่สูง ใกล้กับสนามบินชิโดริ



ซากปืนใหญ่ญี่ปุ่นบนเกาะอิโวในปัจจุบัน

คูริบายาชิ ได้เน้นย้ำเป็นอย่างมาก ให้ทหารของเขาปฏิบัติตามแผนการนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถต่อต้าน ได้อย่างยืดเยื้อและยาวนาน มีการกักตุนอาหารแห้งและกระสุนไว้ด้วย คูริบายาชิได้สั่งให้อาหารงวดสุดท้าย มีจำนวนพอที่จะเลี้ยงทหารของเขา ไปได้อีก 2 เดือนครึ่ง แต่ก็มีอาหารจำนวนน้อยกว่าที่ต้องการ ซึ่งสามารถมาถึงเกาะอิโวได้ ในช่วงท้ายปี ค.ศ. 1944 การขนส่งก็ต้องสิ้นสุดลง เมื่อกองกำลังทางทะเลของศัตรู ได้ล้อมเกาะไว้ทุกด้าน



ซากรถเกราะของสหรัฐบนเกาะอิโวในปัจจุบัน


ในเดือนสุดท้าย ของการเตรียมการป้องกันเกาะอิโว นายพลคูริบายาชิ พบว่าการสร้างป้อมปราการ ทำให้กำลังพลไม่มีเวลาพอ สำหรับการฝึกซ้อมรบ เขาจึงมีคำสั่งให้ทหารหยุดทำงาน ทางตอนเหนือของสนามบินไว้ก่อน ทหารจึงได้ทำการฝึกซ้อมในช่วงต้นเดือนธันวาคม ไปจนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1945 รวมแล้วทหารทุกคนใช้เวลาในการฝึกซ้อมไป 70% ส่วนอีก 30% เป็นการทำงานก่อสร้าง



นาวิกโยธินสหรัฐกำลังดูปืนค.ขนาด155มม.
ของญี่ปุ่น


แม้จะถูกขัดขวาง ทั้งจากเรือดำน้ำ และเครื่องบินของข้าศึก แต่กองกำลังญี่ปุ่น ก็สามารถมาถึงเกาะอิโวได้ จนกระทั่งเดือน กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1945 นายพลคูริบายาชิ ก็มีทหารอยู่ในบังคับบัญชาซึ่งเป็นทหาร ทั้งจาก กองทัพบก และ กองทัพเรือ ประมาณ 21,000 ถึง 23,000 นาย



ป้อมปราการแบบ8 ที่ตั้งยิงปืนยาวซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้
(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

แนวป้องกัน (Lines of defense )

นายพลคูริบายาชิ ได้เปลี่ยนแผนตั้งรับพื้นฐานของเขา ในเดือน มกราคม ปี ค.ศ. 1945 เพียงเดือนเดียว ก่อนหน้าที่สหรัฐจะบุก ด้วยการวางอุบายไว้ให้ การโจมตีเป็นการรบแบบ สู้พลางถอยพลาง จะไม่มีการใช้การบุกเข้าหาแบบซึ่งๆหน้า หรือที่เรียกว่า บันไซ ชารจ์ ( banzai charges) ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก การป้องกันที่ยอดเขาซูริบาชินั้นมีลักษณะเป็นพี้นที่มีการปฏิบัติการแบบกึ่ง อิสระ ( semi-independent defense sector ) ในป้อมปราการ ปืนใหญ่ป้องกันฝั่ง และอาวุธอัตโนมัติต่างๆ มีหน้าต่างที่เปิดปิดได้ ( casemated ) แบบในหนังอีกแล้ว คอคอดที่แคบทางเหนือของยอดซูริบาชิ ป้องกันด้วยกำลังทหารราบที่มีจำนวนน้อย ส่วนอื่นๆที่อ่อนแอและไม่คุ้มค่าแก่การป้องกันจะกลายเป็นพื้นที่ยิงของปืน ใหญ่ , จรวดและ ปืนครก ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บนยอดซูริบาชิ และพื้นที่สูงทางตอนเหนือ



ป้อมปราการแบบ15 ที่ตั้งปืนต่อสู้รถถัง(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

แนวป้องกันหลัก ( main line ) นั้นประกอบไปด้วย ที่ตั้งยิงสนับสนุนซึ่งกันและกัน เป็นการตั้งรับแนวลึกจากทาง ตะวันตกเฉียงเหนือ ไปจนถึงทางใต้ ส่วนแนวทั่วไป ( general line) จากหน้าผาไปทางตะวันเฉียงเหนือ ผ่านสนามบินโมโตยาม่า หมายเลข 2 ( Motoyama Airfield No. 2 ) ไปจนถึงหมู่บ้านมินามิ ( Minami village ) จากนั้นไปต่อทางตะวันออก เป็นแนวตัดทางใต้ของแหลมทาชิอิว่า ( Tachiiwa Point ) ทุกๆแนว ป้องกันด้วยรังปืนกล , บังเกอร์และบ้านคอนกรีต พันเอกนิชิได้ฝังรถถัง ไว้เป็นที่ตั้งตายตัว และทำการพรางไว้ ทำให้การป้องกันแข็งแกร่งขึ้น แนวที่ 2 ( second line ) อยู่ที่ 200-300 หลา ทางใต้ของแหลม คิตาโนะ ปลายสุดของเกาะอิโว ผ่านสนามบินหมายเลขสาม ( Airfield No. 3) ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ , หมู่บ้านโมโตยาม่า และพี้นที่ระหว่างแหลม ทาชิอิว่ากับ ท่าเรือทางตะวันออก ( East Boat Basin ) ในแนวที่สองนี้ เป็นป้อมปราการที่สร้างด้วยมือขนาดเล็ก แต่ญี่ปุ่นใช้ประโยชน์ จากถ้ำตามธรรมชาติที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และภูมิประเทศป้องกันตัว



ป้อมปราการแบบ4 บังเกอร์สำหรับป้องกันทหารราบ(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

ได้ มีการเสริมการป้องกัน ที่สนามบินทั้งสองแห่งซึ่งเป้าหมายหลักของฝ่ายสหรัฐ ญี่ปุ่นได้ขุดร่อง ฝังอาวุธต่อสู้รถถังไว้ที่พื้นสนามบิน และวางกับระเบิด ไว้ตามเส้นทางธรรมชาติที่อยู่ใกล้ๆ วันที่ 2 มกราคม เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี- 24 ลิเบอเรเตอร์ ( B-24 Liberator ) ของสหรัฐจำนวนหนึ่งโหล ได้ทิ้งระเบิดสนามบินหมายเลขหนึ่งเสียหายอย่างหนัก คูริบายาชิสั่งให้ทหาร 600 นาย , รถบรรทุก 11 คัน และ รถบูลโดเซอร์ ( bulldozers ) 2 คัน ทำการซ่อมแซมสนามบินทันที หลังจากนั้นอีก 12 ชั่วโมง ทหาร 2,000 นาย ก็ถูกนำมาช่วยกันถมหลุม ที่เกิดจากลูกระเบิด โดยหลุมๆหนึ่งต้องใช้ทหาร 50 คนในการฝังกลบ พอสิ้นปี ค.ศ. 1944 เครื่องบี- 24 จะทำการทิ้งระเบิดเกาะอิโว ทุกคืน

เรือ บรรทุกเครื่องบินและเรือรบสหรัฐเริ่มทำการโจมตี หมู่เกาะโอกาซาวาระ ในวันที่ 8 ธันวาคมปี ค.ศ. 1944 เกาะอิโว ก็ถูกทิ้งระเบิดเป็นขนาดรวมกันแล้ว หนักถึง 800 ตัน แต่ก็แค่ทำให้ทหารญี่ปุ่นที่อยู่ในอุโมงค์ รู้สึกสั่นสะเทือนเหมือนแผ่นดินไหวที่บ้าน และ เกิดความเสียหายน้อยมาก ต่อแนวป้องกัน แต่การทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน ก็ทำให้ทหารญี่ปุ่นนอนหลับไม่ได้



ป้อมปราการแบบ24 บังเกอร์ป้องกันปืนครก(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

ในวันที่ 5 มกราคม ปี ค.ศ. 1945 พลเรือตรี อิชิมารุ แจ้งข่าวให้ทหารเรือ ที่กองบัญชาการของเขาว่า การรบที่อ่าวเลเต ( Battle of Leyte Gulf) สิ้นสุดลงแล้วด้วยความพ่ายแพ้ และสูญเสีย ฟิลิปปินส์ให้กับสหรัฐ เขาเชื่อว่าสหรัฐจะต้องบุกเกาะอิโว ในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้านี้ พลวิทยุสื่อสารของญี่ปุ่น แจ้งให้ผู้บัญชาการบนเกาะอิโวทราบ ถึงสัญญาณจากเครื่องบินสหรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงและแสดงถึงลางร้าย

ใน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ เครื่องบินลาดตะเวน ของกองทัพเรือญี่ปุ่น ก็พบกับเรือของสหรัฐเป็นจำนวนถึง 170 ลำ! กำลังมุ่งหน้ามาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซปัน ทหารญี่ปุ่นทั้งหมดบนหมู่ เกาะโอกาซาวาระ ถูกสั่งให้เตรียมพร้อมรบและเข้าประจำในที่มั่น บนเกาะอิโว การเตรียมการป้องกันก็พร้อมจะรับการบุกของสหรัฐ



ป้อมปราการแบบ52 รังปืนกลสนับสนุน(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)

แผนของฝ่ายสหรัฐ(American planning)


การ รบในแปซิฟิกของฝ่ายสหรัฐนั้น ปฏิบัติการต่างๆถูกควบคุมโดย ผู้บัญชาการเขตแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ( South West Pacific Area (command) ) นำโดยนายพล ดักลาส แม็กอาเธอร์( Douglas MacArthur ) และผู้บัญชาการเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ( Pacific Ocean Areas (command)) นำโดยพลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตซ์ ( Chester Nimitz) ซึ่งทั้งสองท่าน นับว่าเป็นนักการทหารที่มีความสามารถ และเป็นการร่วมปฏิบัติการระหว่าง กองทัพบก และ กองทัพเรือให้มีแนวทางการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน จนกลายเป็นคณะเสนาธิการร่วม ( Joint Chiefs of Staff ) หรือเรียกย่อๆว่า JCS ในกรุงวอชิงตัน ( Washington ) เดือนกันยายนปี ค.ศ. 1944 ภายในคณะเสนาธิการยังมีความเห็นไม่ตรงกัน บ้างก็เห็นว่าควรโจมตีเกาะในแผ่นดินแม่ญี่ปุ่นในปีหน้า ส่วนกองทัพบกต้องการบุกโจมตี เกาะฟอร์โมซา ( ไต้หวันในปัจจุบัน ) นายพล แมกอาเธอร์เป็นผู้ที่มีอำนาจมากในคณะเสนาธิการร่วมนี้ ในที่สุดทางกองทัพเรือก็เห็นว่าควรจะโจมตีเกาะโอกินาว่า( Okinawa ) ซึ่งจะให้ประโยชน์เป็นอย่างมาก ในการบุกเกาะอื่นๆของแผ่นดินญี่ปุ่นอีกต่อไป

ใน วันที่ 29 กันยายน พลเรือ เอกนิมิตซ์ได้แนะนำ พลเรือเอก เออเนส คิงส์ ( Ernest King) ว่าก่อนจะทำการบุกเกาะโอกินาว่า ควรจะยึดเกาะอิโวจิม่าเอาไว้ก่อน ซึ่งเกาะเล็กๆนี้ไม่มีท่าเรือ และไม่สามารถนำมา ทำเป็นท่าซ่อมเรืออะไรได้เลย หรือไม่มีประโยชน์ ต่อกำลังทางเรือ แต่นายพลเฮนรี่ ฮาเลย์ อาโนลด์ ( Henry Harley Arnold ) แห่งกองบินกองทัพบก ( US Army Air Force) เป็นอีกคน ที่ออกมาสนับสนุน ให้ทำการบุกยึดเกาะอิโว ซึ่งเขาให้เหตุผลว่า จะได้ใช้เกาะอิโวเป็นสนามบินลงจอดฉุกเฉิน ของป้อมบินทิ้งระเบิดขนาดยักษ์ บี- 29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส ( B-29 Superfortresses ) เพราะเกาะนี้ อยู่ในเส้นทางบินไปทิ้งระเบิดแผ่นดินแม่ญี่ปุ่น และเขาเองก็เป็น ผู้บัญชาการกองบินทิ้งระเบิดที่ 20 (XX Bomber Command) ( เกาะอิโวยังมีเรดาห์ซึ่งพอ เครื่องทิ้งระเบิดสหรัฐบินผ่าน ก็จะส่งข่าวให้ทางญี่ปุ่น ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นสกัดกั้นได้ทัน)

ความ เห็นของนายพล อาโนลด์ได้รับความเห็นชอบ จากคณะเสนาธิการร่วม รวมทั้งอนุมัติการบุก เกาะฟอร์โมซาและโอกินาว่า ในวันที่ 2 ตุลาคมก่อนการบุกเกาะอิโว พลเรือเอกคิงส์ ได้พูดโอ้อวดกับพลเรือเอก นิมิตซ์ว่า ใช้กองพลนาวิกโยธินแค่สามกองพล ก็สามารถยึดได้ทั้ง อิโวและโอกินาว่า (โม้จริงๆ) ตามกำหนดการเดิมนั้น การบุกจะกระทำในอีก 40 วันข้างหน้า



นายพลฮอลแลนด์ เอ็ม สมิธ ผู้บัญชาการรบ
บุกเกาะอิโวของฝ่ายสหรัฐ(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)

7 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1944 พลเรือเอก นิมิตซ์ ก็เริ่มทำการ วางแผนการรบเบื้องต้น ชื่อว่าปฏิบัติการ ดีแท็กเมนท์ ( Operation Detachment) โดยมีจุดมุ่งหมายให้สหรัฐ สามารถครอบครองแปซิฟิกตะวันตก นับว่าเป็นงานหนักที่ต้องศึกษาว่า ข้าศึกมีความแข็งแกร่งของกำลังทางเรือ , อากาศ และระบบอุตสาหกรรม ที่จะผลิตอาวุธเพิ่มเติมเหลืออยู่แค่ไหน บนแผ่นดินแม่ จึงได้ทำการทำลายกำลังทางเรือ และ อากาศ ที่เกาะโบนิน( Bonin Islands) เป็นการตัดกำลังญี่ปุ่นไว้ก่อน ในที่สุด พลเรือเอกนิมิตซ์ ก็ได้ข้อสรุปว่า เกาะอิโวจะสามารถใช้เป็นฐานบิน ของเครื่องบินขับไล่คุ้มกันเ ครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลได้

พอถึงวันที่ 9 ตุลาคม นายพล ฮอลแลนด์ สมิธ ( Holland Smith) ก็ได้รับคำสั่งจาก พลเรือเอกนิมิตซ์ ให้เป็นผู้บัญชาการ และวางแผนยึดเกาะอิโว โดยมีพลเรือเอก เรย์มอนด์ เอ สพรูซี่ ( Raymond A. Spruance) เป็นผู้บัญชาการกองกำลังเฉพาะกิจที่ 50 (Task Force 50) กองกำลังยกพลขึ้นบก( Amphibious Forces) นำโดยพลเรือเอก ริชมอนด์ เคลี่ ทรูเนอร์ ( Richmond Kelly Turner) พลเรือตรีแฮรี่ ดับเบิ้ลยู ฮิล ( Harry W. Hill) บังคับการกองกำลังเฉพาะกิจที่ 51 ส่วนนายพล ฮอลแลนด์ สมิธ เป็นผู้บังคับบัญชา กองพลเฉพาะกิจที่ 56

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ที่การยกพลขึ้นบกที่อิโวจิม่า จะเป็นการใช้กำลังยกพลขึ้นบกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะได้ถูกกำหนดไว้แล้ว โดยเหล่าผู้บังคับบัญชาการปฏิบัติการครั้งนี้ ดังที่ได้มีผู้บันทึกเหตุการณ์บนเกาะอิโว คนหนึ่งเขียนไว้ว่า " การยกพลขึ้นบกเกาะอิโวครั้งนี้ ได้ใช้ยุทธวิธีที่ยอดเยี่ยมที่สุด ซึ่งเหล่าผู้บัญชาการล้วนแต่มีประสบการณ์ จากการยกพลขึ้นบกที่ เกาะ กัวดัลคาแนล ไปจนถึงเกาะกวม และต่างผ่านการสู้รบในป่า ที่เกาะกัวดัลคาแนล กับโซโลมอน สามารถผ่านการรบอย่างนองเลือด ที่เกาะทาราวา ไปจนถึงภูเขาบนหมู่เกาะมาเรียน่า "

แผนขั้นแรก ( Primary plan )



แผนยกพลขึ้นบก(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)

เหล่าทหารยกพลขึ้นบกที่ 5 แห่งสหรัฐ ( U.S. V Amphibious Corps ) ได้สอนหลักสูตรและฝึกซ้อม การยกพลขึ้นบกตามแผนการ กองพลนาวิกโยธินที่ 4 และ 5( 4th and 5th Marine Divisions ) จะยกพลขึ้นบก โดยเดินเรียงแถวหน้ากระดานไปพร้อมๆกัน ที่ชายหาดด้านตะวันออกของเกาะ กองพลที่ 4 จะอยู่ทางขวา และกองพลที่ 5 อยู่ทางซ้าย โดยจะทำการยึดหัวหาดอย่างรวดเร็ว ส่วนหน่วยอื่นๆ จะตามมายกพลขึ้นบก บนหาดเดียวกัน กองพลที่ 4 จะทำการบุกขึ้นไปทางเหนือ จนสุดเกาะ ส่วนกองพลที่ 5 จะทำการยึดยอดเขาซูริบาชิทางใต้

รายละเอียด เกี่ยวกับการซ้อมยกพลขึ้นบกมีดังนี้ กรมนาวิกโยธินที่ 28 ( 28th Marine Regiment ) ซึ่งอยู่ใน กองพลนาวิกโยธินที่ 5 บังคับบัญชาโดย พันเอก แฮรี่ บี ลิเวอเซ็จ ( Colonel Harry B. Liversedge ) จะยกพลขึ้นบกที่ หาดเขียว 1 (Green 1) ทางด้านขวาเป็น กรมนาวิกโยธินที่ 27 ภายใต้การนำของ พันเอก โทมัส เอ โวนแฮม ( Colonel Thomas A. Wornham ) จะบุกไปจนถึงทางชายหาด ด้านทิศตะวันตก หรือ ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่าแนวโอวัน ( O-1 Line) และทั้งสองกรม จะร่วมกันบุกไปทางใต้เพื่อยึดยอดซูริบาชิ กองพลนาวิกโยธินที่ 4 ประกอบไปด้วย กรมนาวิกโยธินที่ 23 ควบคุมโดย พันเอก วอลเธอร์ ดับเบิ้ลยู เวนท์ซิงเจอร์ ( Colonel Walter W. Wensinger ) จะยกพลขึ้นบกที่หาดเหลือง 1 และ 2 ( Yellow 1 and 2 beache )

เพื่อ ยึด สนามบินโมโตยาม่า หมายเลข หนึ่ง และมุ่งต่อไปทางเหนือ เพื่อยึดสนามบินโมโตยาม่า หมายเลข สอง ซึ่งอยู่ภายในแนวโอวัน กรมนาวิกโยธินที่ 25 ภายใต้การบัญชาการของ พันเอกจอนท์ อาร์ ลานิแกน ( Colonel John R. Lanigan ) จะยกพลขึ้นบกที่ หาดน้ำเงิน 1 ( Blue Beach ) เพื่อทำการช่วยยึด สนามบินหมายเลขหนึ่ง ส่วนการยกพลขึ้นบกที่ หาดน้ำเงิน 2 และ แนวโอวัน จะเป็นหน้าที่ของ กรมนาวิกโยธินที่ 24 นำโดย พันเอก วอลเธอร์ ไอ จอร์แดน ( Colonel Walter I. Jordan ) กองพลนาวิกโยธินที่ 4 ยกพลขึ้นบกเป็นหน่วยแรก กรมทหารราบที่ 26 ควบคุมโดย พันเอก เชสเตอร์ บี เกรย์แฮม ( Colonel Chester B. Graham ) ถูกเตรียมไว้ช่วย กองพลนาวิกโยธินที่ 5

กองพลปืนใหญ่ จะทำการยกพลขึ้นบกตามหลังนาวิกโยธินไป โดยกองพลนาวิกโยธินที่ 4 จะได้รับการสนับสนุนการยิงจาก กรมนาวิกโยธินที่ 14 บัญชาการโดย พันเอก หลุยส์ จี ดีฮาเวนส์( Colonel Louis G. DeHaven ) ส่วนกรมนาวิกโยธินที่ 13 ซึ่งมีพันเอก เจมส์ ดี ไวเลอร์ ( Colonel James D. Wailer's ) เป็นผู้นำจะทำการยิงสนับสนุนให้กับกองพลนาวิกโยธินที่ 5

โดยปฏิบัติการจะเริ่มขึ้น เมื่อถึงชั่วโมงที่ เอช ( H-Hour ) หรือ ช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุด ยานยกพลขึ้นบกชนิดต่างๆ 68 ลำ จะบุกมาเป็นคลื่นระลอกแรก โดยบรรทุก ปืนวิถีโค้ง 75 มม. และปืนกล มาด้วย เมื่อระลอกแรกขึ้นบก เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะตามมาด้วยรถเกราะสายพาน สะเทินน้ำสะเทินบกแบบแอลวีที ( LVTs) และรถถัง จากกองพันที่ 4 และ 5 ( 4th and 5th Tank Battalions ) โดยที่จำเป็นต้องให้ระดับน้ำ สูงกว่าที่ระดับ 30 จึงจะสามารถนำรถถังขึ้นหาดได้

แผนตรงกันข้าม ( Alternate plan )

หากมีเหตุที่ทำให้ ไม่สามารถทำการยกพลขึ้นบก ที่ชายหาดทางทิศตะวันออกได้ ก็จะหันไปใช้แผนอีกแผนหนึ่ง ซึ่งได้มีการเตรียมการไว้ ในวันที่ 8 มกราคม ปี ค.ศ. 1945 ด้วยการยกพลขึ้นบก ที่ชายหาดทางด้านตะวันตกแทน แต่ต้องประสบกับอันตราย จากลมทะเลที่พัดมาจากทาง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แผนนี้ไม่เป็นที่น่าพอใจ และ ไม่มีการนำมาใช้ ในการยกพลขึ้นบกจริงแต่อย่างใด

ดีเดย์(D-Day)



นาวิกโยธินสหรัฐคลานคืบหน้าจากชายหาดภายใต้การ
ระดมยิงอย่างหนักของปืนกลญี่ปุ่น

การยกพลขึ้นบกครั้งแรก ( Initial landings )



นาวิกโยธินสหรัฐตะเกียกตะกายขึ้นจากชายหาด(คลิกทีรูปเพื่อขยาย)

เวลาตี 2 ของวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เรือรบสหรัฐเริ่มยิงปืนใหญ่ ใส่เกาะอิโว เป็นสัญญาณของวัน ดีเดย์ เครื่องบินทิ้งระเบิดกว่า 100 ลำ โจมตีเกาะอิโวผสมโรงกับปืนใหญ่เรือ โดยหารู้ไม่ว่าฝ่ายญี่ปุ่นอยู่ในถ้ำ ที่ป้องกันกระสุนปืนใหญ่ และ ลูกระเบิดได้เป็นอย่างดี พอถึงเวลา 8 นาฬิกา 59 นาที นาวิกโยธิน ซึ่งจะยกพลขึ้นบกเป็นระลอกแรก จำนวน 30,000 นาย จากกองพลที่ 3 , 4 และ 5 ในสังกัดของ เหล่าทหารยกพลขึ้นบกที่ 5 ก็เริ่มยกพลขึ้นบกบนเกาะอิโว โดยในตอนแรกนั้นฝ่ายญี่ปุ่น ยังไม่ทำการยิงสกัดแต่อย่างใด เพราะนายพลคูริบาชิวางแผนไว้ว่า ให้ทำการยิงหลังจากทหารสหรัฐขึ้นบกมากันจนเต็มชายหาด



ปืนใหญ่ป้องกันฝั่งในยอดซูริบาชิ

เมื่อ นาวิกโยธินเคลื่อนพลจากชายหาด ก็ถูกระดมยิงอย่างหนักจากฝ่ายญี่ปุ่น บนยอดเขาซูริบาชิทางตอนใต้ของเกาะ นาวิกโยธินต้องทำการขุดหลุมบุคคล ( foxholes ) ขึ้นเพื่อใช้หลบกระสุนปืนของญี่ปุ่น นาวิกโยธินใช้ปืนกลหนักและปืนใหญ่ที่นำขึ้นมาจากเรือ Lcvp ยิงต่อสู้กับยอดซูริบาชิ ด้วยรถถังที่ขึ้นบก และ อำนาจการยิงของเรือรบ และการ โจมตีจากทางอากาศ ฝ่ายป้องกันยอดซูริบาชิของญี่ปุ่นเริ่มถูกทำลาย ในที่สุดนาวิกโยธินอีก 40,000 นาย ก็ตามมาสมทบ และทำให้การล้อมยอดซูริบาชิประสบความสำเร็จ



นาวิกโยธินยิงปืนกลบราวนิ่งเอ็ม1917(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)

พอ ถึงเวลากลางคืน ทหารญี่ปุ่น ก็เริ่มทำการบุกแบบถึงตัว หรือโจมตีแบบบันไซ ( banzai attack ) ซึ่งเป็นแผนป้องกันพื้นฐานของญี่ปุ่น ในการรบบนหมู่เกาะแปซิฟิก เพื่อผลักดันข้าศึกให้ถอยไป แต่กลับเป็นฝ่ายญี่ปุ่น ที่ถูกยิงอย่างหนักจนต้องถอยกลับ เพราะนาวิกโยธินสหรัฐรู้ดีอยู่แล้วว่าญี่ปุ่น ต้องใช้มุขเดิมที่ชอบบุกตอนกลางคืน เลยตั้งหน้าตั้งตาดักยิง นอน(หมอบ)รอกันเป็นแถวหน้ากระดาน รวมทั้งตั้งปืนกลหนักไว้ด้วย ทหารญี่ปุ่นจึงต้องล้มตายกันเป็นใบไม้ร่วงอย่างกล้าหาญ ในความเป็นจริงแล้ว นายพลคูริบาชิได้กำชับกับผู้บัญชาการทุกคนแล้วว่า ห้ามใช้การบุกแบบฆ่าตัวตาย นี้เด็ดขาด เพราะจะสูญเสียกำลังพลโดยเปล่าประโยชน์ และทำให้ความแข็งแกร่งของฝ่ายป้องกันด้อยลงไปอีก แต่เป็นเพราะความเห็นที่ไม่ตรงกัน ระหว่าง กองทัพบก และ ทัพเรือ รวมทั้งผู้บังคับบัญชาบางคน ที่ไม่ยอมรับคูริบายาชิ และ เป็นพวกไม่ชอบตั้งรับ ชอบบุกแบบซึ่งๆหน้า กับศัตรูมากกว่า ส่งผลให้ทหารของญี่ปุ่นเหลือน้อยลง เป็นการเร่งให้ความพ่ายแพ้มาเยือนฝ่ายญี่ปุ่นเร็วขึ้นโดยแท้



ภาพวาดนาวิกโยธินใช้ระเบิดมือขว้าง
ใส่รังปืนกล(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)


ยึดยอดซูริบาชิ ( Taking Mt. Suribachi )



ส่วนที่เป็นสีน้ำเงินบนเกาะแสดงถึงยอดซูริขาชิ
ถูกล้อมและตัดขาดจากส่วนอื่นๆของเกาะ

พอถึงตอนเช้าของวันใหม่ ยอดเขาซูริบาชิก็ถูกตัดขาด ออกจากทางเหนือของเกาะอิโวตามแผน มาถึงตอนนี้ นาวิกโยธินรู้แล้วว่าญี่ปุ่นได้สร้างแนวป้องกัน
บนยอดซูริบาชิ ด้วยบังเกอร์ และ ช่องยิงปืนกลที่อยู่ในอุโมงค์ฝังเข้าไปในภูเขา การยึดยอดซูริบาชินาวิกโยธินจะต้องเดินขึ้นไปทำการต่อสู้แบบ หลาต่อหลา กับบังเกอร์ของญี่ปุ่นด้วยปืนพ่นไฟ และระเบิดมือ เมื่อเห็นว่าสามารถเคลียร์บังเกอร์บนยอดได้ทุกจุดแล้ว พันเอก ชาดร์เลอร์ จอนห์สัน( Colonel Chandler Johnson ) จึงเรียกนาวิกโยธินหมวดหนึ่ง ให้ขึ้นเขานำธงชาติขนาดเล็ก ไปปักลงบนยอดซูริบาชิ พอนาวิกโยธินกลุ่มแรกขึ้นไปถึงบนยอด และปักธงเรียบร้อย ก็ถูกทหารญี่ปุ่นที่เหลือรอดกลุ่มเล็กๆ ออกมาจากอุโมงค์ในยอดเขา ระดมยิงแต่ก็ไม่สามารถ เอาชีวิตทหารอเมริกันไปด้วยได้แม้คนเดียว กลับกันฝ่ายที่โจมตีทุกคนเสียชีวิตเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของทหารญี่ปุ่น ที่ได้รับคำสั่งป้องกันให้ยอดซูริบาชิจนตัวตาย



พลปืนไฟพ่นไฟยังที่ซ่อนของญี่ปุ่น

นับ เป็นธงชาติสหรัฐผืนแรก ที่ปลิวโบกสะบัดอยู่บนแผ่นดินญี่ปุ่น เลขานุการกองทัพเรือ เจมส์ ฟอร์เรสทอร์ ( Secretary of the Navy James Forrestal) ได้ขึ้นบกที่เกาะอิโวและเดินเท้า มาพบกับ พันเอก จอนห์สัน เจมส์ ต้องการธงที่ปักอยู่บนยอด เพราะเขาเชื่อว่าธงนั้นเป็นของ กรมทหารที่ 2 หน่วย นาวิกโยธินที่ 28 ซึ่งสามารถยึดส่วนนี้ของเกาะได้ เขาจึงสั่งให้ไปปลด เสาธงเก่าออกและส่งสิบเอกไมค์ สแตรงค์ ( Sergeant Mike Strank) ผู้ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่ปรากฏบนรูปปักธงครั้งที่ 2 ไปควบคุมทีมปักธงผืนที่ 2 ซึ่งใหญ่กว่าผืนแรก เนื่องจากเสาธงมีน้ำหนักมาก จึงต้องใช้ทหาร 7 นายช่วยกันยกธง ทำให้บังเกิดเป็นภาพที่มีชื่อเสียงซึ่งโจนส์ โรเซนทอร์ เป็นผู้บันทึกไว้ได้ รูปนี้มีชื่อว่า " ปักธงชาติบนอิโวจิม่า " (" Raising the Flag on Iwo Jima " ) ในที่สุด นาวิกโยธินก็สามารถนำธงชาติ ไปปักบนยอดซูริบาชิได้สำเร็จ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 5 วัน หลังจากยกพลขึ้นบก



ปืนใหญ่ขนาด37มม.ของสหรัฐยิงใส่ถ้ำของญี่ปุ่น
บริเวณใต้ยอดซูริบาชิ(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)



นาวิกโยธินขุดหลุมปืนครกแล้วทำการระดม
ยิงใส่บังเกอร์บนยอดซูริบาชิ

หลังจากยอดซูริบาชิถูกยึด ( After Mount Suribachi )

เมื่อย อดซูริบาชิถูกยึดแล้ว แถมญี่ปุ่นยังเห็นธงชาติสหรัฐปักอยู่บนยอดอย่างน่าเจ็บใจ นายพลคูริบาชิ วางแผนตั้งรับฝ่ายสหรัฐต่อไป ด้วยที่มั่นที่แข็งแกร่ง และใช้กำลังทหารจากกรมทหารราบที่ 8 , กรมรถถัง , ทหารปืนใหญ่ สองกรม และ ทหารปืนครกหนัก สามกรม เพิ่มเติมด้วยพลปืน 5,000 นาย และ ทหารเรือ ทหารทั้งหมดนี้ ได้ยึดเอาที่ราบสูงโมโตยาม่า ( Motoyama Plateau ) เป็นที่มั่นรวมทั้งบริเวณที่สหรัฐเรียกว่า " เทอคี น็อบ " ( " Turkey Knob " ) ซึ่งญี่ปุ่นต่อสู้อยู่ ถึงสามสัปดาห์ ก่อนที่จะทำการถอย ด้วยอุโมงค์ใต้ดินลอดผ่านใต้จุดที่นาวิกโยธินสหรัฐยึดอยู่ (แบบขอมดำดิน)ออกไปยังจุดที่ปลอดภัย



นาวิกโยธินเฝ้าระวังหน้าปากถ้ำ(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)

ทหารญี่ปุ่น ใช้ยุทธวิธีซ่อนตัวในอุโมงค์ แล้วออกมาซุ่มโจมตีนาวิกโยธินสหรัฐ แต่ก็ถูกนาวิกโยธิน ตอบโต้ด้วยวิธีเรียกการยิงจากปืนใหญ่สนาม (ขนขึ้นมาจากเรือ) ยิงถล่มไปยังจุดที่ญี่ปุ่นซุ่มซ่อนอยู่ นาวิกโยธิน ยังใช้ปืนบาซูก้า ทำลาย บังเกอร์ และ ใช้ปืนพ่นไฟ กับ ระเบิดมือ ฆ่าหรือไล่ทหารญี่ปุ่นให้ออกมาจากอุโมงค์ อีกนวัตกรรมหนึ่งแห่งการฆ่าคน คือรถถังขนาดกลาง แบบ เชอร์แมน เอ็ม 4 เอ 3 อาร์ 3 ( Sherman M4A3R3 ) จำนวน 8 คัน ติดปืนพ่นไฟของกองทัพเรือ แบบมารค์วัน ( Mark I flame thrower) เรียกกันว่า รอนสัน หรือ ซิปโพแทงค์ ( " Ronson" or Zippo Tanks ) ถูกนำมาใช้กวาดล้างที่มั่นของญี่ปุ่นด้วยการย่างสดทหารญี่ปุ่น



รถถังเชอร์แมนกำลังพ่นไฟย่างที่ซ่อนของทหารญี่ปุ่น

การสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด ( Close air support ) นั้นเครื่องบินโจมตีถูกขนขึ้นเรือพี่เลี้ยง ( escort carriers ) และเข้าจอดเทียบชายฝั่งในวันที่ 6 มีนาคม เป็นเครื่องบินใน ฝูงบินขับไล่ที่ 15 ใช้เครื่องบินรุ่น พี- 51 มัสแตง ทั้งหมดถูกขนออกจากเรือ นำเข้าประจำบน สนามบิน หมายเลขหนึ่ง ที่ยึดจากญี่ปุ่นใหม่ๆ ( แต่สภาพไม่เรียกว่าใหม่ ทหารสหรัฐต้องปรับปรุงพื้นสนามบินเสียใหม่ ) ในตอนกลางคืน การโจมตีจะอาศัยกระสุนส่องแสง ( flares ) ยิงจากปืนใหญ่เรือรบ หลังจากหน่วยปืนใหญ่ ได้ลงเรือมาแล้ว พลวิทยุชี้เป้า ชาวอินเดียนแดง ที่ใช้ภาษาของพวกเขาเป็นรหัสสื่อสาร ป้องกันการถูกญี่ปุ่นดักฟัง หรือที่เรียกกันว่า นาวาโจ ( Navajo code talkers) ซึ่งหากท่านผู้อ่านได้ดูภาพยนตร์เรื่อง windtalker จะทราบกันดี พวกเขาจะใช้วิทยุสื่อสารแบบ วอกกี้-ทอกล์กี้ ( walkie-talkies) แบบที่เคยเห็นกัน ในหนังสงครามที่มีทหารมะกัน ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และวิทยุแบบกระเป๋าสะพายหลัง รุ่นเอสซีอาร์- 610 ( SCR-610 backpack radio ) ในการขอการสนับสนุนจาก ทั้งปืนใหญ่สนาม , เ รือรบ และ เครื่องบิน



ทหารสหรัฐโพสท่ายึดธงรบของฝ่ายญี่ปุ่นได้หลังซากบังเกอร์ปืนใหญ่
คนกลางนั่งบนกระบอกปืนใหญ่

ทหารญี่ปุ่น เริ่มเข้าตาจน และตกเป็นฝ่ายเพลี้ยงพล้ำอย่างหนัก นายพลคูริบายาชิ จึงออกคำสั่งให้ทหารญี่ปุ่นที่เหลือทั้งหมดทำการบุกแบบถึงตัว หรือ แบบบันไซในเวลากลางคืน ต่อที่มั่นของฝ่ายสหรัฐ นาวิกโยธินได้รับการสนับสนุน จากปืนใหญ่ยิงถล่มหน้าแนวตั้งรับของนาวิกโยธิน การต่อสู้รุนแรงถึงขั้นตะลุมบอน มีการต่อสู้กันด้วยมือเปล่า ในที่สุดญี่ปุ่นก็เป็นฝ่ายถูกผลักดันให้ถอยกลับไป ด้วยการสูญเสียอย่างหนัก

วันสุดท้าย ( Final days )

เมื่อสหรัฐ สามารถยึดหัวหาด รวมทั้ง สนามบินหมายเลข หนึ่ง บนเกาะได้แล้วเป้าหมายต่อไปก็คือ ยึดสนามบินที่เหลือจากฝ่ายญี่ปุ่น ทหารญี่ปุ่น 300 นาย ที่ป้องกันสนามบินหมายเลข 2 ได้ทำการรุกอย่างยอมตาย ในตอนกลางคืนของวันที่ 25 มีนาคม ซึ่งเป็นการรุกครั้งสุดท้ายของการต่อสู้แย่งชิงสนามบิน หมายเลข สอง พอถึงช่วงเช้า นาวิกโยธินก็สามารถยึดสนามบินได้สำเร็จ แต่ต้องแลกด้วยการสูญเสียอย่างหนัก คือมีทหารเสียชีวิตไปประมาณ 100 นาย บาดเจ็บ 200 นาย( แค่นี้พี่กันแกก็เรียกว่าเยอะแล้วฝ่ายญี่ปุ่นตายเยอะกว่านี้อีก) อีกหนึ่งวันต่อมา เกาะอิโวก็ถูกยึดครองโดยฝ่ายสหรัฐอย่างสมบูรณ์



ปืนไฟเป็นอาวุธที่มีความสำคัญมากในการต่อสู้
บนเกาะอิโว

ทหารญี่ปุ่น ที่รอดชีวิตเริ่มออกมาจากที่ซ่อนในอุโมงค์ เพื่อมอบตัวกับทหารสหรัฐ ส่วนนายพล คูริบายาชิ นั้นหลังจากที่สั่งให้ทหารใต้บังคับบัญชา สู้แบบตามมีตามเกิดกับทหารสหรัฐ ทั้งที่มันเป็นวิธีที่เขาไม่ชอบ แต่ไม่มีทางเลือกจึงต้องทำไป นายพลคูริบายาชิจึงต้องทำตามวิถีของซามูไร และนายทหารของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อพ่ายแพ้จะทำเซปูกุ ( seppuku ) บางท่านอาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ? แต่แน่นอนว่า มันไม่ใช่ชื่อของอาหารญี่ปุ่นชนิดหนึ่งแน่ๆ เซปูกุก็คือ การคว้านท้องนั้นเอง คูริบายาชิ นับเป็นนายทหารระดับสูงของญี่ปุ่นคนหนึ่ง ที่ได้กระทำอัตวินิบาตกรรม เช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชาที่ เกาะไซปัน และโอกินาว่า

ประมวลภาพสมรภูมิอิโวจิม่า



ภาพการโจมตีเกาะเป็นเวลากว่า74วัน(สหรัฐยิงถล่มทั่วเกาะจนคิดว่าทหารญี่ปุ่นตายหมดแล้ว)




ปตอ.ประจำเรือก็ถูกนำมายิงปูพรมใส่เกาะไปทั่ว(ภาพที่4,5มุมเดียวกับใน
หนังเรื่องFlags of Our Fathers)ส่วนภาพที่6เป็นปืนกล



ญี่ปุ่นทำการยิงตอบโต้ภาพซ้ายสังเกตน้ำที่กระเด็นขึ้นมาด้านขวาของภาพ
ส่วนภาพขวากระสุนปืนใหญ่ของญี่ปุ่นตกใกล้กับเรือของสหรัฐ




เรือรบสหรัฐยิงจรวดโจมตีเกาะทั้งวันทั้งคืน(ภาพที่1,2,3และ4)รวมทั้งปืนใหญ่เรือ
(ภาพที่5)และปืนกล(ในภาพสุดท้ายจะเห็นวิุถีกระสุนวิ่งเป็นสาย)




เรือยกพลขึ้นบกของสหรัฐ(LCVP)เกาะกลุ่มกันเป็นขบวนมุ่งหน้าสู่เกาะอิโว





ใบหน้าของนาวิกโยธินสหรัฐก่อนขึ้นฝั่ง(ภาพที่1กับ2)เรือสหรัฐมุ่งหน้าเข้าหาเกาะที่เต็มไปด้วยควัน(ภาพที่3)
ภาพแถวล่างนาวิกโยธินกรูกันออกจากเรือขึ้นไปบนเนินทรายลาดเอียง




ฝ่ายญี่ปุ่นเปิดฉากยิงอย่างหนักหน่วงภาพแรกกระสุนปืนใหญ่ญี่ปุ่นกระทบผิวน้ำขณะที่บนหาดกลาดเกลื่อนไปด้วยศพภาพที่2นาวิกโยธิน
สหรัฐไม่สามารถรุกคืบได้ต้องหมอบอยู่กับเนินทราย ภาพที่3ศพนาวิกโยธินอเมริกันจมทราย ภาพที่4นาวิกโยธินเสียชีวิตจากกระสุน
ที่เจาะทะลุหมวกเหล็ก ภาพที่5กับ6การนำผู้บาดเจ็บขนขึ้นเรือกลับไปรักษาบนเรือรบ




เมื่อได้รถถังเชอร์แมน(ภาพที่1กับ2)และแอลวีที4(ภาพที่3)นาวิกโยธินสหรัฐที่หาดเหลือง
ก็ทำการรุกอย่างกล้าหาญท่ามกลางห่ากระสุนที่พุ่งเข้าหารอบทิศ(ภาพแถวล่าง)




ที่หาดเขียวแอลวีที4ไปจอดออกันอยู่ด้านใต้ของยอดซูริบาชิและระดมยิงปืนกลสวนขึ้นไป(ภาพแรก) ภาพที่2นาวิกโยธินต้องคอยๆ
ก้มต่ำและหมอบคลานไปเรื่อยๆ ภาพที่3นาวิกโยธินใช้พลั่วสนามขุดหลุมด้านล่างของยอดซูริบาชิเพื่อใช้เป็นที่หลบกระสุน
ภาพที่4ภายในหลุมที่ขุดมาใหม่ๆนายทหารได้วิทยุขอกำลังสนันสนุนทางอากาศจากเรือบรรทุกเครื่องบิน



เครื่องบินแปรขบวนออกจากฝูงแล้วทำการทิ้งระเบิดลงตามพิกัดที่พลวิทยุแจ้ง
ขอมาใส่บริเวณด้านใต้ของยอดซูริบาชิ



เรือรบสหรัฐจอดเทียบยอดเขาซูริบาชิในระยะใกล้แล้วจ่อยิงปืนใหญ่เข้าใส่อย่างจังๆ



หน่วยปืนครกสหรัฐทำการยิงใส่บังเกอร์ปืนกลของญี่ปุ่นบนยอดซูริบาชิ



หลังจากการรบกันอย่างนองเลือดมา5วันนาวิกโยธินสหรัฐก็สามารถนำธงชาติไปปักลงบนยอดซูริบาชิได้สำเร็จ

สรุปผลการรบ

สมรภูมิอิโวจิม่า
สงครามโลกครั้งที่สองในแปซิฟิก
วันเวลา
19กุมภาพันธ์-26มีนาคมปีค.ศ.1945
สถานที่
อิโวจิม่า,ญี่ปุ่น
ผลการรบ
สหรัฐเป็นฝ่ายชนะ
คู่สงคราม
สหรัฐอเมริกา
จักรวรรดิ์ญี่ปุ่น
ผู้บัญชาการรบ
นายพลฮอลแลนด์ สมิธ

นายพลทาดามิชิ คูริบายาชิ
(เสียชีวิต)

กำลังพล
110,000คน
21,000คน
การสูญเสีย
เสียชีวิต 8,226คน
เสียชีวิต 20,703คน
บาดเจ็บ 19,189คน
ถูกจับเป็นเชลย 216คน
สูญหาย 494คน
รวมทั้งสิ้น 20,919คน
รวมทั้งสิ้น 27,909คน


No comments: