Can't find it? here! find it

Monday, June 1, 2009

Musketeer, and Arquebusheir+ปืนคาบศิลา

ปืนคาบศิลา


ปืนคาบศิลาและดาบปลายปืน

ปืน คาบศิลา เป็นปืนยาวชนิดหนึ่งและเป็นต้นแบบของปืนไรเฟิลในปัจจุบันด้วย ไม่มีผู้ทราบว่าใครประดิษฐ์ขึ้น แต่ว่าในเอกสารทางการทหารของจีนได้มีการกล่าวถึงอาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า "หั่วหลงจิง (火龙经)" ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในแรกเริ่มปืนคาบศิลาไค้มีการออกแบบให้ใช้กับทหารราบเท่านั้นและได้มีการ ปรับปรุงขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เช่นมีเกลียวในลำกล้อง การมีกล้องเล็ง มีกระสุนปลายแหลมซี่งแต่เดิมนั้นเป็นลูกกลมๆ และในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็มีการประดิษฐ์ปืนชนิดที่บรรจุกระสุนทางพานท้ายปืนซึ่งแต่เดิมนั้นบรรจุ กระสุนทางปากลำกล้องเข้ามาแทนที่

หลักฐานการใช้ปืนคาบศิลาในช่วงแรก

ได้ มีการประดิษฐ์อาวุธดินปืนขึ้นในประเทศจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ปืนคาบศิลาเริ่มปรากฏขึ้นในประเทศสเปน ในทศวรรษที่ 1500 แต่ทหารเจนนิสซารี่ของจักรวรรดิออตโตมานก็ปรากฏว่ามีการใช้ปืนคาบศิลาในช่วง ทศวรรษที่ 1440 แล้ว เทคโนโลยีปืนคาบศิลาได้พัฒนาขึ้นในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และเกิดอาวุธที่มีประสิทธิภาพการทำลายล้างมากกว่าแต่ก่อนทำให้เกิดการแสวงหา วัตถุดิบดินปืนซึ่งทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมขึ้น


ปืนคาบศิลาหั่วหลงจิงของราชวงศ์หมิง

วิวัฒนาการของปืนคาบศิลา

ใน คริสต์ศตวรรษที่15 ทหารราบของยุคกลางได้ มีการใช้อาวุธดินปืนชนิดหนึ่งเรียกว่า "ปืนใหญ่ที่ยิงด้วยมือ" หรือ "ปืนหามแล่น" ถึงอย่างไรก็ดีอาวุธดังกล่าวก็ยุ่งยากในการใช้ซึ่งต้องใช้เวลานานในการบรรจุ กระสุนปืนและไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพในการยิง เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มมีการประดิษฐ์ปืนสั้นขึ้นและในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปืนคาบศิลาก็ได้เข้ามาแทนที่หอกยาวซึ่งเคยเป็นอาวุธหลักของทหารราบในสมัย นั้น ปืนคาบศิลาในสมัยศตวรรษที่ 16 เรียกว่า อาร์กิวบัส (ภาษาอังกฤษ: Arquebus) หรือปืนคาบชุด กลไกของปืนชนิดนี้คือใส่ดินปืนลงบนจานดินปืนแล้วใส่กระสุนกลมๆ และดินปืนทางปากกระบอกปืนแล้วกระทุ้งให้ดินปืนและกระสุนไปอยู่ในรังดินปืน ทางท้ายลำกล้อง เมื่อเหนี่ยวไกก็จะมีเหล็กรูปงูตีที่จานดินปืนจะเป็นการจุดสายชนวนไปที่ท้าย ลำกล้องทำให้ดินปืนระเบิดขึ้น แรงระเบิดจะทำให้กระสุนพุ่งออกไปทางปากลำกล้องอย่างรวดเร็ว


ปืนสั้นแบบลูกล้อ

ใน ช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็มีการพัฒนาปืนคาบชุดเป็น "ปืนสั้นแบบลูกล้อ" (ภาษาอังกฤษ: Wheellock) แต่อย่างไรก็ดีปืนคาบชุดก็มีข้อเสียอยู่มากเช่น บรรจุกระสุนช้า มีความแม่นยำน้อย ไม่สามารถใช้ได้เมื่ออากาศชื้นเพราะจะทำให้จุดชนวนดินปืนไม่ติด แต่อย่างไรก็ตามปืนคาบชุดก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนโฉมหน้าสงครามของยุโรป และทำให้กษัตริย์ยุโรปมีสถานภาพมั่นคงขึ้นเพราะทำให้มีผู้ก่อกบฏยากเนื่อง จากสงครามที่ใช้ปืนไฟจะเสียค่าใข้จ่ายในการรบสูงมาก ปืนคาบชุดสามารถทำให้อาณาจักรที่สำคัญล่มสลายเช่นอินคา เอซเท็คเป็นต้นแต่มันก็สามารถสร้างอาณาจักรให้มีเอกราชได้ เช่นจักรวรรดิรัสเซียสามารใช้ปืนไฟขับไล่มองโกลออกไปได้แล้วสถาปนาราชวงศ์โร มานอฟ(romanov) ขึ้น ต่อมาได้มีการดัดแปลงปืนคาบชุดให้พกพาได้สะดวกขึ้นเป็นปืนสั้นซึ่งเป็นที่ นิยมของทหารม้าในสมัยนั้น


ปืนนกสับของจักรวรรดิอังกฤษในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19



ปืนสั้นในศตวรรษที่ 16

ใน ช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ได้มีการพัฒนาปืนคาบศิลาแบบคาบชุด ให้เป็นปืนนกสับ (ภาษาอังกฤษ: Flintlock อ่านว่าฟรินท์ล็อก) ขึ้น ซึ่งมีกลไกคือใส่หินเหล็กไฟที่แก็ปแล้วบรรจุกระสุนและดินปืนทางปากกระบอก แล้วกระทุ้งจากนั้งก็ปิดฝาแก็ป เมื่อเหนี่ยวไกเหล็กรูปนกสับหินเหล็กไฟทำให้เก็ดประกายไฟลามไปที่รังดินปืน ทางท้ายกระบอกทำให้ดินปืนระเบิดและผลักกระสุนให้พุ่งไปข้างหน้า ต่อมาอาวุธชิ้นนี้ได้กลายเป็นอาวุธหลักของกองทัพยุโรปและอเมริกาเมื่อ ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการประดิษฐ์เกลียวในลำกล้องทำให้กระสุน พุ่งไปข้างหน้าในแนวตรง มีพิสัยไกลกว่าเดิม และมีความแม่นยำมากขึ้น เห็นได้จากสงครามไครเมีย การมีกล้องเล็งซึ่งทำมองเห็นเป้าหมายในระยะที่ใกล้และแม่นยำทำให้เกิดหน่วย ซุ่มยิงขึ้น เห็นได้จากสงครามกลางเมืองอเมริกา

ปืนคาบศิลาในประเทศอื่นๆ

จักรวรรดิออตโตมาน

ใน การระดมยิงกรุงคอนสแตนติโนเบิลเมืองหลวงของอาณาจักรไบเซนไทน์ ทหารชาวเติร์กก็ใช้ปืนใหญ่และ ปืนคาบศิลารุ่นแรกๆ ในการระดมยิงกำแพงเมืองทั้งจากทางบกและทางเรือ ในการรบขยายอาณาจักรของสุลต่านสุไลมานปืนคาบศิลาก็เป็นอาวุธสำคัญในการปิด ล้อมเมืองเห็นได้จากสงครามฮับส์เบิร์ก-ออตโตมาน ทหารปืนคาบศิลาของจักรวรรดิออตโตมานเรียกว่าแจนนิสซารี่ซึ่งส่วนใหญ่จะสืบ เชื้อสายมาจากพลทหารครูเสดที่ถูกจับมาเป็นทาสเชลย และแม่ทัพของอาณาจักรออตโตมานส่วนใหญ่จะครอบครองปืนสั้นเป็นจำนวนมากอีกด้วย ปืนคาบศิลายังคงเป็นอาวุธหลักของจักรวรรดิออตโตมานจนเมื่อจักรวรรดิล่มสลาย ในปี 1919

เปอร์เซีย

จากหลักฐานการบันทึกของพ่อค้าชาวเวนิ สได้ พบว่าปืนคาบศิลาได้แพร่หลายในอาณาจักรเปอร์เซียอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจาก การค้ากับยุโรปและทหารม้าของราชวงศ์ซาร์ฟาวิดของเปอร์เซียจะนิยมพกปืนคาบ ศิลาทุกคน ปืนคาบศิลาของเปอร์เซียจะมีลวดลายประณีตบรรจงมาก ปืนคาบศิลายังคงเป็นอาวุธหลักของเปอร์เซียจนเมื่อราชวงศ์ซาร์ฟาวิดล่มสลาย

อินเดีย

ใน อินเดียสมัยราชวงศ์โมกุลเริ่ม ปรากฏว่ามีการใช้ปืนคาบศิลาในช่วงทศวรรษที่ 1510 ซึ่งในสมัยนี้พระเจ้าบาบูร์และพระเจ้าอัคบาร์ได้ใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธหลัก ของทหารราบในการปราบปรามหัวเมืองฮินดูและ มุสลิมของเจ้าผู้ครองแคว้นทางภาคใต้ เสียงของปืนคาบศิลายังทำให้ช้างหลายเชือกของฝ่ายหัวเมืองทางใต้ตกใจอีกด้วย ทำให้อาณาจักรโมกุลสามารถรวบรวมอินเดียเป็นเอกภาพในสมัยพระเจ้าอัคบาร์ มหาราช ปืนคาบศิลาของโมกุลจะเป็นแบบคาบชุดซึ่งเป็นงานหัถกรรมอย่างหนึ่งมีการตี เหล็กอย่างประณีตไม่ได้มีการใช้เหล็กหล่อเหมือนทางตะวันตก ต่อมาเมืออินเดียตกเป็นอณานิคมของอังกฤษ ทางข้าหลวงชาวอังกฤษได้จัดตั้งทหารซีปอยซึ่งมีการจัดระเบียบแบบอังกฤษมี อาวุธหลักเป็นปืนคาบศิลาแบบฟรินท์ล็อกหรือปืนนกสับจนมีปืนแบบบรรจุกระสุนทาง พานท้ายปืนมาแทนที่

ญี่ปุ่น


ปืนคาบศิลาของญี่ปุ่นในศตวรรษที่16

ญี่ปุ่น ได้เผชิญกับอาวุธปืนครั้งแรกเมื่อจักรพรรดิกุบไลข่านรุกรานญี่ปุ่นในปี 1259 ในซูชิมา ต่อมาในปี 1543 ได้มีเรือโปรตุเกสเข้ามาเทียบท่านำโดยกลาสีเรือชื่อ "เฟอร์เนา เมนเดส ปินโต" ชาวโปรตุเกสได้นำปืนคาบศิลาแบบคาบชุดมาด้วย ไดเมียวโอดะ โนะบุนางะได้ ซื้อปืนคาบชุดของชาวโปรตุเกสมาศึกษากลไกแล้วให้ช่างเหล็กตีเลียนแบบจน กระทั่งสามารถผลิตปืนคาบศิลาได้มากที่สุดในโลกและสามารถสร้างกองทหารที่ เกณฑ์มาจากชาวนาหรือ "อาชิการุ ((あしがる))" ที่ติดอาวุธปืนเหมือนชาวยุโรปได้เป็นจำนวนมาก จนเมื่อปี 1575 โนะบุนางะได้นำทหารอาชิการุที่ติดอาวุธปืนยึดปราสาทนางาชิโนได้ ยุทธวิธีของโอดะคือแบ่งทหารอาชิการุเป็นสองแถวอยู่หลังรั้วไม้ เมื่อแถวแรกยิงทหารม้าของทาเคดะแล้วบรรจุกระสุนใหม่แถวที่สองเข้ามายิงต่อ เมื่อแถวที่สองบรรจุกระสุนแถวแรกจะยิงทำให้ทหารม้าของทาเคดะตายเป็นจำนวนมาก อาวุธของทหารม้าเป็นอาวุธแบบเดิมคือธนู "ยูมิ" และดาบคาตานะ ชัยชนะครั้งนี้ทำให้โอดะได้ตั้งตนเป็นโชกุน เมื่อโนะบุนางะถึงแก่อนิจกรรม โตโยโตมิได้รับตำแหน่งโชกุนแทน ต่อมาเมื่อปี 1592 ญี่ปุ่นรุกรานเกาหลี ญี่ปุ่นได้ใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธหลักในการรบแต่ต่อมาญี่ปุ่นต้องถอยทัพกลับ เพราะโตโยโตมิถึงแก่อนิจกรรมในปี 1598 ต่อมาเมื่อโทกุงาวะ อิเยยะสึดำเนินนโยบายปิดประเทศในปี 1603 ห้ามทำการค้ากับชาวต่างชาติและห้ามนำเข้าและผลิตอาวุธปืนเพราะอาจจะทำให้ สถานภาพของโชกุนไม่มั่นคง ทำให้ปืนคาบศิลาแบบคาบชุดอยู่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเพียงห้าทศวรรษเท่านั้น จนกระทั่งในปี 1854 นายพลแมททิว เปอร์รี่บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ทำการยึดอำนาจของโชกุนโทกุงาวะ โยชิโนบุและจัดตั้งกองทัพสมัยใหม่มีการนำเข้าปืนคาบศิลาแบบฟรินท์ล็อกจาก สหรัฐอเมริกาจำนวน มาก ต่อมาญี่ปุ่นสามารถผลิตเองได้เป็นจำนวนมากและปืนคาบศิลายังคงเป็นอาวุธหลัก ของญี่ปุ่นจนมีปืนแบบบรรจุกระสุนทางพานท้ายปืนมาแทนที่

จีน

จีน เป็นชาติแรกที่ประดิษฐ์อาวุธปืนขึ้น ปืนที่เป็นต้นแบบของปืนคาบศิลาที่จีนประดิษฐ์ขึ้นมีลักษณะคล้ายปืนคาบศิลา แต่มีวิธียิงเหมือนปืนใหญ๋ อาวุธปืนของจีนมักจะไม่ได้รับการพัฒนาเพราะในการรบกับชนเผ่าเร่ร่อนทางภาค เหนือจีนก็มีกำแพงเมืองจีนป้องกันอยู่แล้วและบ้านเมืองช่วงนี้มักจะสงบและใน การรบจีนมักจะตั้งรับมากกว่ารุกราน จีนเผชิญกับอาวุธปืนครั้งแรกในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อ สงครามอิมจินในปี 1592-1598 เกิดขึ้น โชกุนโตโยโตมิรุกรานเกาหลีเพื่อยึดเกาหลีซึ่งเป็นอาณานิคมของจีน จีนได้ส่งกองทัพจำนวนมากไปช่วยเกาหลีและสามารถรบชนะญี่ปุ่นได้หลายครั้ง เพราะปืนคาบศิลาของโปรตุเกสที่ญี่ปุนใช้ในสมัยนั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่ จะสู้กับหน้าไม้กลของจีนได้ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง อาวุธปืนไม่แพร่หลายในจีนมากนักจนเมื่อปี่ 1839 ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง จีนทำสงครามฝิ่นกับ อังกฤษอังกฤษยกพลขี้นบกที่แหลมเกาลูนแล้วใช้ปืนคาบศิลายิงทหารจีนตายเป็น จำนวนมาก จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จีนจึงจัดตั้งกองทัพ "เป่ย์หยาง" และ "หนานหยาง" ขึ้นซึ่งมีการบริหารกองทัพเป็นแบบยุโรปมีปืนคาบศิลาเป็นอาวุธหลัก ในการระดมยิงจากกำแพงกองทัพเป่ย์หยางจะใช้ปืนคาบศิลาขนาดใหญ๋ยิงลงจากกำแพง เรียกว่า"จินกอล" เห็นได้จากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1

เกาหลี

เกาหลี ได้รู้จักกับปืนคาบศิลาครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โชซอนเมื่อ ครั้งญี่ปุ่นรุกรานเกาหลีปี 1592-1598 ถึงแม้ญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้แต่แม่ทัพลีซุนชินก็เสียชีวิตจากกระสุนปืนคาบศิลา เกาหลีตระหนักดีว่าปืนคาบศิลาก่อให้เกิดความได้เปรียบในการรบ จึงจัดตั้งหน่วยปืนคาบศิลาขึ้นต่อมาปี 1627 เผ่าแมนจูจาก จีนรุกรานเกาหลีเป็นครั้งแรกกองกำลังปืนคาบศิลาของเกาหลีสามารถทำลายกองทหาร ม้าของแมนจูซึ่งมีจำนวนมากกว่าจนแตกพ่ายต่อมาจีนมีกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนกับ ร้สเซียในแมนจูเรีย จึงขอกำลังหน่วยปืนคาบศิลา 400 นายของเกาหลีมารบซึ่งกองปืนคาบศิลาของเกาหลีสามารถทำลายทหารม้าคอสแซกของรัส เซียได้อย่างง่ายดายต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นพยายามมีอำนาจเหนือเกาหลีโดยมอบปืนคาบศิลาให้กบฏตงฮักซึ่งพยายามต่อ ต้านชนชั้นยางบานซึ่งเป็นชนชั้นสูงและขุนนางหัวเก่าของเกาหลี กบฏตงฮักต้องการปฏิรูปเกาหลีให้ทันสมัยโดยเอาญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างจึงจับกุม พระเจ้าโกจง แล้วก็ได้ใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธในการบุกพระราชวังด้วย

ไทย

ประเทศ ไทยรู้จักกับปืนคาบศิลาในกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชจากชาวโปรตุเกส "เฟอร์เนา เมนเดส ปินโต" เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่กล่าวไว้ข้างต้นปืนคาบศิลาถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ อาณาจักรล้านนาคิดแข็งเมือง ทางอยุธยาจึงส่งกำลังไปปราบและได้ใช้ปืนคาบศิลาเป็นอาวุธในครั้งนี้ด้วย ต่อมาเกิดสงครามเมืองเชียงกรานกับพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้อยุธยาได้ใช้ปืนคาบ ศิลาในการรบจนชนะอยุธยาได้ใช้ปืนคาบศิลาในการรบเรื่อยมาปืนคาบศิลาที่มีชื่อ เสียงมากที่สุดในสมัยนี้คือพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงซึ่งสมเด็จพระนเรศวร มหาราชทรงยิงปืนคาบศิลาข้ามแม่น้ำสะโตงถูกแม่ทัพสุรกรรมาตาย

No comments: