Can't find it? here! find it

Friday, June 19, 2009

Thai Feudal

ศักดินาไทย

ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อ ประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการ ถือครองที่ดิน

ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น สูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น

ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์

ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/4/47/King_Ay09_Trailoknat.jpg/246px-King_Ay09_Trailoknat.jpgสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง

บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยแบ่งออกได้เป็น 9 ระดับคือ

  1. สมเด็จเจ้าพระยา
  2. เจ้าพระยา
  3. พระยาหรือ ออกญา
  4. พระ และ จมื่น
  5. หลวง
  6. ขุน
  7. หมื่น
  8. พัน
  9. นาย

ที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นถึงเจ้าพระยาของสยาม มาลงให้ดูกัน
ตามประวัติบอกสั้นๆว่า เจ้าพระยาอภัยราชา เดิมชื่อโรลิน ยัคมินส์ เคยเป็นเสนาบดีชาวเบลเยี่ยมมาก่อน แล้วมารับราชการเป็นที่ปรึกษาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙
เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มในกระทรวงว่าการต่างประเทศด้วยค่ะ
11425

แต่ที่จริงแล้วชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับตำแหน่ง "เจ้าพระยา" น่าจะเป็น ยามาดา หรือ ออกญาเสนาภิมุข http://benkyoshin.blogspot.com/2009/06/yamada-nakamasa.html
ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ใช่ไหมครับ
หากไม่นับ เจ้าพระยา โชดึกราชเศรษฐีที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน)

พระ ยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) เป็นบุตรจีนจือ เกิดปีจอ อัฐศก จุลศักราช 1188 (พ.ศ. 2369) ภูมิลำเนาเดิมอยู่ในคลองสวนพลู ซึ่งเป็นคลองเล็ก ๆ แยกจากแม่น้ำแควป่าสักตรงหัวแง่วัดพนัญเชิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา อันเป็นถิ่นที่คนจีนอยู่กันมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังจีนเถียนได้สมรสกับท่านสุ่น ชาวบ้านลานตากฟ้า นครชัยศรี เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ 3 แล้วลงมาตั้งทำการค้าขายในกรุงเทพ ฯ ที่บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างวัดบพิตรภิมุข มีโรงสินค้าอยู่สองฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม (เหนือ) ตอนปากคลอง จนมีฐานะมั่งคั่ง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 ได้ถวายตัวอยู่ในกรมสมเด็จพระเทพศิรินนทรามาตย์ ได้ช่วยเหลือราชการแผ่นดินด้วยความจงรักภักดีเป็นอันมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนสมุทรโคจร ในกรมท่าซ้าย และเป็นหลวงภาษีวิเศษเมื่อ พ.ศ. 2402 ตำแหน่งเจ้าภาษีนายอากรอยู่ในกรมท่าซ้าย ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรครั้งแรกเป็นพระพิบูลย์พัฒนากรเมื่อ พ.ศ. 2411 และเป็นพระยานรนาถภัคดีศรีรัชฎากรเมื่อ พ.ศ. 2416 ช่วยราชการคลังในหอรัษฎากรพิพัฒน์ด้านภาษีอากร และเงินรายได้ของแผ่นดิน เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้เป็นจางวางกรมสรรพภาษี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้เป็นองค์มนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์ เป็นผู้มีหน้าที่ในการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ ณ ท้องสนามหลวง และจัดตั้งโรงพยาบาล ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินในการประพาสต่างประเทศด้วย เป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดนรนาถสุนทริการาม และกิจการอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในสำเพ็งเป็นครั้งแรกคือ ได้เป็นผู้ทำน้ำปะปาจำหน่าย โดยสูบน้ำขึ้นถังแล้วต่อท่อไปตามบ้าน ซึ่งทำให้ผู้ใช้น้ำได้รับความสะดวกเป็นอันมาก พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2437 อายุได้ 69 ปี บุตรของท่านคนหนึ่งได้เป็นพระยาธรรมจรรยานุกุลมนตรี (ทองดี) พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) เป็นต้นสกุล โชติกเสถียร

http://www.jotikasthira.com/?articles Cradited

No comments: