ยุทธวิธีการรบในสมรภูมิอิโวจิม่า
(The Tactic in Battle of Iwojima)
ใน สมรภูมิอิโวจิม่า นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในยุทธวิธีการรบของโลก เมื่อนายพลคูริบายาชิ ได้ใช้ยุทธวิธีการรบจากใต้ดินกับสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ฝ่ายสหรัฐต้องสูญเสียอย่างหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในสมรภูมิด้านแปซิฟิก เชื่อว่าหลายๆท่านที่ได้อ่านเรื่อง สมรภูมินรกอิโวจิม่า ไปแล้ว คงจะอ่านไปงงไป เพราะมีแต่ตัวหนังสือ และคิดว่าญี่ปุ่นตั้งรับสหรัฐอย่างไร? ผมจึงได้ตั้งหัวข้อเรื่องนี้แยกออกมาอีก เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพ(ซึ่งก็เป็นภาพจริงๆ)และเข้าใจได้อย่างแจ่ม แจ้งมากขึ้น
เปลี่ยนชายหาดให้กลายเป็นลานประหาร
ที่ ขึ้นหัวเรื่องมาแบบนี้ ก็เพราะว่านายพลคูริบายาชิท่านตั้งใจเช่นนั้นจริงๆครับ ในตอนแรกนั้นนายทหารญี่ปุ่นที่อยู่บนเกาะอิโว ตั้งใจที่จะขุดสนามเพลาะตั้งรับ กันตั้งแต่ที่ชายหาดนั้นเลยทีเดียว เพราะตามหลักการตั้งรับในแปซิฟิกเดิม ของฝ่ายญี่ปุ่นนั้นจะต้องตั้งรับตั้งแต่ชายหาด ไม่ให้ศัตรูยึดหาดได้ แต่พอท่านนายพลคูริบายาชิมาถึง กลับสั่งให้เลิกขุดสนามเพลาะซะงั้น? ( พลทหารที่ขุดเลยเหนื่อยฟรี ) พวกนายทหารญี่ปุ่นโมโหกันใหญ่ ผมคิดว่าท่านนายพลคูริบายาชิคิดถูกครับ เพราะอะไรน่ะเหรอครับ?
นั้นก็เพราะว่าการให้ทหารญี่ปุ่น มาตั้งรับกันที่ชายหาดนั้น ไม่ได้มีความคุ้มค่าเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น
1. สามารถถูกเรือรบของอเมริกัน ยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ให้สูญสิ้นไปได้ในพริบตา
2. ไม่ว่ายังไงก็ไม่สามารถต้านทานการยกพลขึ้นบก ของสหรัฐที่มีกำลังพลจำนวนมหาศาลได้ (มากกว่าฝ่ายญี่ปุ่นหลายเท่านัก) ทำให้เป็นการเสียกำลังพลไปโดยเปล่าประโยชน์
ด้วย เหตุผลข้างต้นก็เพียงพอแล้ว ที่สมควรจะเปลี่ยนยุทธวิธีตั้งรับกันเสียใหม่ นายพลคูริบายาชิจึงเปลี่ยนแผนซะใหม่ ไปเป็นการตั้งรับเชิงลึก นั้นก็คือการที่ปล่อยให้ฝ่ายอเมริกัน ยึดชายหาดได้อย่างง่ายดาย แล้วรอให้ศัตรูเข้ามาลึกเรื่อยๆ ฝ่ายตั้งรับจึงจะเริ่มทำการยิง ผลก็คือทหารสหรัฐที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน และกระจุกกันอยู่ที่ชายหาด ไม่มีทางจะหนีรอดคมกระสุนของทหารแห่งจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นไปไหนได้เลย แผนภาพดังต่อไปนี้จะแสดงการตั้งรับชายหาดบนเกาะอิโวให้ได้ชมกันครับ ( มีภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Flags of Our Fathers และ Letters from Iwo Jima ประกอบอยู่ด้วยครับ)
จาก รูปประกอบจะเห็นว่า ชายหาดบนเกาะอิโวนี้เป็น กับดักหนูเจอรี่สหรัฐโดยแท้ เส้นสีแดงแสดงให้เห็นว่ายิงปืนมาจากจุดไหนบ้าง ส่วนแถบสีส้มๆในภาพนั้นคือจุดที่นาวิกโยธินสหรัฐยกพลขึ้นบกครับ ทั้งปืนใหญ่และรังปืนกล ล้วนถูกฝังเข้าไปในดินอย่างแข็งแรง เป็นการยากที่จะสังเกตเห็นจากเครื่องบินตรวจการณ์ของสหรัฐ บังเกอร์ปืนกลอยู่ใต้ดงหญ้าแห้งๆของเกาะ และมีหน้าต่างเปิดปิด ถึงจะเปิดหน้าต่าง ก็เป็นการยากที่ทหารสหรัฐจะสังเกตเห็นได้ การยกพลขึ้นบกของสหรัฐครั้งนี้ จึงเป็นการมาแบบไม่รู้เลยว่าญี่ปุ่นจะมาไม้นี้ เลยต้องเสียท่า โดนเก็บไปเป็นจำนวนมากบนชายหาดของเกาะนี้
ยอด ซูริบาชิเป็นจุดที่ได้เปรียบที่สุดเพราะเป็นที่สูง สามารถระดมยิงสหรัฐได้ทั่วทั้งเกาะ และยังมีปืนต่อสู้อากาศยาน ไว้ยิงเครื่องบินของสหรัฐที่ทำการสนับสนุนในระดับต่ำให้กับนาวิกโยธินด้วย รวมแล้วนาวิกโยธินบนชายหาด ถูกยิงทั้งจากด้านหน้า ปีกซ้าย และปีกขวา จนไม่รู้จะยิงไปทางไหนดี ได้แต่นอนหมอบหน้าฟุบอยู่กับหาด และพยายามทำตัวให้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ การยิงปืนใส่รังปืนกลญี่ปุ่นก็ไม่ใคร่จะได้ผลนัก เพราะรูเล็กเหลือเกินและยิงรัวกดดันจนแทบจะโงหัวไม่ขึ้น เลยต้องใช้วิธีการใช้ฮีโร่ทหารกล้าเข้าไปใช้ระเบิดยัดเข้าไป ไม่ก็ให้พลปืนพ่นไฟวิ่งเข้าไปทางมุมอับของรังปืนกล แล้วพ่นพระเพลิงย่างสดทหารญี่ปุ่น แบบย่างไก่เทอริยากิ ซึ่งแต่ละวิธีนั้นก็เสี่ยงๆทั้งนั้น
นอก จากปืนใหญ่จะใช้ยิงใส่ชายหาดแล้ว ยังสามารถยิงใส่เรือสหรัฐที่จะยกพลขึ้นบกได้ตั้งแต่ยังอยู่ในทะเลได้อีกด้วย แต่เมื่อญี่ปุ่นทำการยิงอย่างหูดับตับไหม้ก็เป็นการเปิดเผยตำแหน่งของตน เองอย่างชัดเจน ปืนใหญ่เรือสหรัฐเริ่มยิงถล่มบังเกอร์ปืนใหญ่ และปืนกลญี่ปุ่น รวมทั้งปืนใหญ่ที่ขนขึ้นเรือและดวลกับปืนใหญ่ญี่ปุ่นอย่างน่าอันตราย และเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินที่ช่วยกันมาหย่อนระเบิดด้วย
ยุทธวิธียิงจากใต้ดิน
วิธี ที่ว่านี้ก็คือ การขุดดินลงไปเป็นหลุมบุคคลให้ลึกจนมิดหัวทหารญี่ปุ่น แล้วทหารญี่ปุ่นจะลงไปรอข้าศึกอยู่ใต้ดิน โดยมีการปิดฝาไว้อย่างมิดชิด ( พูดหยั่งกับฝาขวดน้ำปลาทิพย์รส ) และทำการพรางด้านบนไว้อย่างดี ด้วยใบไม้ใบหญ้า ไม่ให้ข้าศึกเห็น พอศัตรูมาก็โผล่หัวออกมานิดหน่อย ยิงไปสักนัดแล้วก็เผ่น หากท่านที่เคยชมภาพยนตร์เรื่อง windtalker ( เรื่องนี้อีกละ ) คงจะจำกันได้ที่ทหารญี่ปุ่นโผล่ขึ้นมาจากหลุมที่ว่านี้ โดยที่อยู่ใกล้นิโคลาส เคจ พระเอกในเรื่องพอดิบพอดี ( เรียกว่าเกือบเหยียบ ) ทหารในหลุมเลยโดนนิโคลาส เหยียบปืนยาวไว้แล้วจัดการกระหน่ำปืนกลไปนับไม่ถ้วนดับดิ้นคาหลุมนั้นเอง ในหนังเรื่อง Flags of Our Fathers เราก็ได้เห็นหลุมแบบนี้ด้วย ที่ทหารญี่ปุ่นเปิดฝาแล้วจัดการ ยิงปืนยาวใส่ทหารสหรัฐที่ยืนงงอยู่ดับไปหนึ่งราย วิธีนี้ทหารญี่ปุ่นใช้มานานแล้วครับ ก่อนหน้าสมรภูมิอิโวจิม่าซะอีก
เปรียบเทียบทหารราบของทั้งสองฝ่าย
ใน สมรภูมินี้เกิดการรบกันอย่างนองเลือด มีการเข้าประจัญบานโดยทหารญี่ปุ่นขึ้นอยู่บ่อยๆ ผมจะขอเปรียบเทียบข้อแตกต่าง ของทหารของฝ่ายอเมริกันและญี่ปุ่นเป็นข้อต่างๆดังนี้
เปรียบเทียบอาวุธประจำกาย
1.ปืนยาว ( Rifle )
ใน ข้อนี้ ฝ่ายอเมริกันได้เปรียบฝ่ายญี่ปุ่นอย่างมาก เพราะฝ่ายสหรัฐใช้ปืนยาวแบบกึ่งอัตโนมัติ ( Semi-Automatic-Rifle ) นั้นคือ เอ็ม1 กาแรนด์ นั้นเอง ปืนกระบอกนี้ สามารถทำการยิงได้อย่างต่อเนื่อง เร็วเท่าที่นิ้วจะลั่นไกได้ ในขณะที่ หทารญี่ปุ่นใช้ปืนยาวแบบลูกเลื่อน ( Bolt-Action-Rifle ) คือปืนยาวอาริซากะ แบบ 99 ซึ่งเมื่อทำการยิงไปได้นัดหนึ่งแล้ว ก็ต้องทำการดึงลูกเลื่อนถอยหลัง เพื่อคัดปลอกกระสุนออก และดันลูกเลื่อนกลับเข้าตำแหน่งเดิม ให้ลูกกระสุนใหม่ในแม็กกาซีน ( แบบในตัวปืน ) เข้าสู่ลำกล้อง เสียเวลาไปอย่างน้อยที่สุดก็ประมาณ 3-5 วินาที ( ลูกเลื่อนมันแข็งต้องเข้าใจ ถ้าดึงลูกเลื่อนได้เร็วแบบในเกมส์ก็คงจะดี )
ภาพประกอบการทำงานของปืนลูกเลื่อน
1.คัดปลอกกระสุนเปล่าออกจากลำกล้อง
2.กระสุนในแม็กกาซีนถูกสปริงดันเข้าสู่ลำกล้อง
เมื่อยิงเสร็จก็จะกลับไปทำตามวิธีข้อแรก
เรื่อง จำนวนกระสุนของปืนก็สำคัญ กาแรนด์บรรจุกระสุนได้คลิป ( คลิปแม็กกาซีนปืนนะครับ อย่าคิดเป็นอย่างอื่น ) ละ 8 นัด ในขณะที่อาริซากะบรรจุได้ 5 นัด ท่านๆอาจจะคิดกันว่าแค่กระสุน ปืนสหรัฐมากกว่าไป 3นัดมันดีกว่าตรงไหนกัน? ขอบอกเลยว่าดีกว่าไปหลายขุมเลยครับ เพราะปืนของญี่ปุ่นยิงได้ช้ากว่า และยังยิงได้แค่ 5นัด ในขณะที่ทหารสหรัฐยิงเอาๆได้ถึง 8นัด การเปลี่ยนแม็ก หรือป้อนกระสุนใหม่นั้น ก็ใช้เวลาน้อยกว่าอาริซากะและยังไฮเทคกว่าด้วย นั้นคือ เมื่อยิงกาแรนด์ไปจนหมดคลิปแล้ว คลิปกระสุนจะถูกดีดออกมาจากตัวปืนโดยอัตโนมัติ เสียงดังแช้งๆ แบบที่เห็นในเกมส์และในหนังสงครามโลกกันบ่อยๆ การป้อนกระสุนใหม่ก็แค่ดันคลิปกระเสุนใหม่เข้าไปเท่านั้น ส่วนทหารญี่ปุ่นนั้น จะรู้ตัวว่ากระสุนหมดก็เมื่อกดไกแล้วยิงไม่ออก ( นี่ดังแช้งๆเหมือนกัน เพราะไม่มีกระสุนแล้ว อุตสาห์เสียเวลาดึงลูกเลื่อนแต่ดันยิงไม่ออก )
การป้อนกระสุน (ในภาพเป็นปืนเซกาเซครับ )
ซ้าย คลิปกระสุนของกาแรนด์
ชวา คลิปกระสุนของอาริซากะ
จะ ป้อนกระสุนใหม่ก็ต้องดึงลูกเลื่อนให้ถอยออกมา แล้วก็กดคลิปกระสุน 5 นัด ที่ไม่มีกล่องปิดท้ายกระสุนไว้ให้ถูกสุขอนามัยแบบของกาแรนด์ ทำให้กระสุนสกปรกและเกิดการติดขัดได้ง่าย แถมต้องออกแรงดันให้กระสุนหลุดจากคลิปลงไปอยู่ในลำกล้องอีก เมื่อบรรจุเสร็จก็ต้องดันลูกเลื่อนกลับเข้าไป แล้วก็จัดศูนย์เล็งใหม่ ( ข้อนี้กาแรนด์ก็เป็นเหมือนกัน ) จุดที่เหมือนกันของปืนทั้งสองแบบนี้ก็คือ จะต้องทำการยิงให้กระสุนเกลี้ยงแม็กก่อน ถึงจะทำการบรรจุใหม่ได้ ด้วยความที่เป็นปืนที่บรรจุจากด้านบนทั้งคู่นั้นเอง คือพอยิงไปแล้วปืนจะทำการคัดปลอกกระสุนออก ( กาแรนด์คัดอัตโนมัติ อาริซากะคัดอัตโนมือ ) แล้วกระสุนที่อยู่ในแม็กจะขึ้นมาแทนที่ ทำให้บรรจุกระสุนใหม่ลงไปเพิ่มลงในแม็กไม่ได้นั้นเอง หากอยากให้มีกระสุนเต็มรังเพลิง ก็ต้องเสียเวลามานั่งดึงลูกเลื่อนเพื่อเอากระสุนออกมา แล้วก็บรรจุเข้าไปใหม่จนครบ ยกเว้นปืนบรรจุด้านบนที่มีแม็กกาซีน พวกนี้สามารถใส่กระสุนเพิ่มเข้าไปในแม็กได้ครับ
ภาพสาเหตุที่ปืนบรรจุจากด้านบนเพิ่มกระสุนลงไปในแม็กไม่ได้ เป็นเพราะแม็กกาซีนถอดไม่ได้
ลูกศรชี้ลงคือกระสุนใหม่ที่จะบรรจุลงไป ส่วนลูกศรชี้ขึ้นคือกระสุนในแม็กที่ดันตัวเองขึ้นมาอยู่
ในลำกล้อง ทำให้ใส่กระสุนใหม่เพิ่มเข้าไปไม่ได้ (กรณีปืนกาแรนด์นะครับ )
ส่วน ปืนแบบบรรจุกระสุนจากด้านล่าง ก็คือปืนไรเฟิลจู่โจมที่เราๆท่านพบเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนั้นเอง ก็เหมือนกับปืนบรรจุกระสุนด้านบนที่มีแม็กกาซีน คือเพิ่มกระสุนลงในแม็กกาซีน ข้อพิเศษของปืนพวกนี้คือ สามารถโกงจำนวนกระสุนได้1ลูก คือบรรจุกระสุนเข้าไปในลำกล้อง 1นัด แล้วค่อยใส่แม็กกาซีนที่มีกระสุนเต็มรังเพลิงเข้าไป แต่ก็อาจจะไม่นิยมเพราะกลัวติดลำกล้อง ส่วนเรื่องคุณภาพการผลิต( ไม่ผลิตแบบลวกๆเหมือนญี่ปุ่นที่ต้องรีบผลิต ) ความน่าเชื่อถือ ( ยิงแล้วไม่ขัด ) ผมยกให้กาแรนด์ครับ เรื่องวัสดุที่ใช้ผลิดปืนส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยไม้ทั้งคู่ จึงไม่รู้ว่าแบบไหนดีกว่ากัน ( แต่ถ้าเอาพานท้ายฟาดใส่หน้ามันก็เจ็บกันทั้งคู่นั้นแหละ )
ภาพแสดงปืนแบบบรรจุจากด้านล่าง ที่มีลูกศรชี้ลงขวาคือกระสุนที่มีใน
ลำกล้อง ส่วนลูกศรขึ้นกับเครื่องหมายบวกคือสามารถเพิ่มกระสุนในแม็กได้
รูปภาพเปรียบเทียบจำนวนกระสุนของทหารทั้งสองฝ่าย
(ภาพจากสารคดีของHistory Channel)
ฝ่ายญี่ปุ่น
ฝ่ายสหรัฐอเมริกา
แผนการยึดเกาะอิโวของฮอลแลนด์ สมิธ
ดูแผนของนายพลคูริบายาชิมากันมากแล้วคราวนี้มาดู แผนของนายพล ฮอลแลนด์ สมิธ กันบ้างครับ ซึ่งเด็ดไม่แพ้กัน
เริ่มจากให้กองพลนาวิกโยธินที่5 โอบล้อมยอดซูริบาชิก่อน
(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
จากนั้นกองพลนาวิกโยธินที่4 บุกยึดสนามบินหมายเลข1
(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
กองพลสำรองจะเข้ามาสมทบกับกองพลที่4 ซึ่งยึดสนามบินได้แล้ว
(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
ขั้นสุดท้าย กองพลที่5 ซึ่งยึดยอดซูริบาชิได้แล้ว จะบุกไปทางเหนือ
กวาดชายหาดด้านตะวันตก และบุกไปจนสุดเกาะ
พร้อมกับกองพลที่4(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
บังเกอร์บนเกาะอิโวจิม่า
พลซุ่มยิงญี่ปุ่นอยู่ในบังเกอร์บนยอดซูริบาชิ ที่มองเห็นชายหาดได้ทั่ว
อีกรูปแบบหนึ่งของบังเกอร์ทหารราบของญี่ปุ่น
บังเกอร์ปืนกล
ช่องยิงปืนไรเฟิลบนยอดซูริบาชิ
ข่องยิงของบังเกอร์ทหารราบ
ทหารญี่ปุ่นดักยิงใส่ถังเชื้อเพลิงของพลปืนไฟสหรัฐ
กับดักที่เนิน 362 เอ
กองพลที่5 ถูกฝ่ายญี่ปุ่นระดมยิงถึง 3 ด้าน ( ตามที่ลูกศรชี้ )
No comments:
Post a Comment