โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม เรื่องที่ผมนำเสนอหรือรวบรวมมาและผิดพลาดบ้างก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ Trust in dream,Trust in what seek, And you shall discovers.
Can't find it? here! find it
Tuesday, March 10, 2009
Kamikaze the Suiside Japanese troop
ทุก วันนี้ ในดินแดนที่มีความขัดแย้ง เรามักจะได้ยินข่าว การก่อวินาศกรรม ระเบิดที่โน่น ระเบิดที่นี่ โดยผู้ก่อการยอมสละชีวิตของตนเอง ไปพร้อมกับการระเบิด ทำให้เป็นที่ฮือฮาและหวาดหวั่นของชาวบ้านทั่วไป ที่จริงแล้ว การพลีชีพมิใช่ของใหม่ แต่โด่งดังมาตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นคือเรื่องราวอันเป็นตำนาน ของนักบินเลือดบูชิโด ซึ่งได้รับการขนานนามว่า คามิคาเซ่ (KAMI KAZE)
หลัง จาก ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพสหรัฐฯที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ จนเสียหายยับเยินในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 และเข้ายึดครองหมู่เกาะของฟิลิปปินส์ จนนายพล แม็คอาร์เธอร์ ต้องเตลิดหนีไป แต่ไม่ก่อนที่จะฝากวาจาอมตะไว้ว่า “ข้าจะกลับมา (I SHALL RETURN)”
ครั้นแล้วทัพสหรัฐฯ ก็เริ่มตอบโต้ญี่ปุ่น
การยุทธครั้งสำคัญ ที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ มีขึ้นที่เกาะ มิดเวย์ (MIDWAY) ซึ่งอยู่ห่างจากฮาวาย 1,000 ไมล์ เป็นยุทธภูมิที่แม่ทัพ อิโซโรกู ยามามาโต ของญี่ปุ่น หมายยึดไว้เป็นฐานทัพสำหรับ บุกขึ้นฝั่งแคลิฟอร์เนียของอเมริกันต่อไป ซึ่งสหรัฐฯ ก็ยอมรับไม่ได้เป็นอันขาด และผู้บัญชาการรบ ของฝ่ายสัมพันธมิตรในศึกนี้ก็คือ นายพล เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์
ทั้ง สองฝ่ายทุ่มเทกำลังทั้งทางอากาศ และทางน้ำ เข้าห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด แต่แรกนั้นทางฝ่ายญี่ปุ่นทำท่าว่า จะกำชัยชนะไว้ในมือ หากทว่าโชคช่วยฝ่ายสหรัฐฯ ที่ฝูงบินทิ้งระเบิดสามารถ พบกองเรือบรรทุกเครื่องบินของญี่ปุ่น ในจังหวะที่กำลังเติมน้ำมันให้ฝูงบิน สำหรับออกรบในระลอกสอง สถานการณ์จึงพลิกกลับตรงกันข้าม
และ ศึกมิดเวย์ที่เปิดฉากในวันที่ 4 มิถุนายน 1942 นี้ ก็ยุติลงภายในเวลาแค่สองวัน ญี่ปุ่นสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เครื่องบินรบ 322 ลำ และทหาร 3,500 นาย ซึ่งรวมทั้งนักบินฝีมือดีจำนวนมาก นับเป็นครั้งแรก ในสงครามที่ญี่ปุ่นต้องตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำพ่ายแพ้ และต้องรีบปรับกลยุทธ์ใหม่ทันที เพื่อรับมือกับการบุกของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ต้องถอยร่น และถอนกำลังจากเกาะต่างๆ ที่เคยยึดครอง
ตลอดช่วงปี 1942 และ 1943 ทัพสหรัฐฯ เคลื่อนกำลังเข้าใกล้กรุงโตเกียวขึ้นทุกที
ญี่ปุ่นสู้สุดกำลังแบบสุนัขจนตรอก แม้กระทั่งนำเอาเหล็กจากซากเรือรบ ยามาโต ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็น ที่ภาคภูมิใจ มาใช้สำหรับสร้างเครื่องบินรบ แต่การขาดแคลนเครื่องบินนั้น ไม่ใช่ปัญหาเดียว การผลิตนักบินที่เชี่ยวชาญขึ้นมาแทน ก็ยังไม่อาจทำได้ทันกาลอีกด้วย อีกทั้งประสิทธิภาพของเครื่องบินซีโร ที่มิตซูบิชิสร้าง ซึ่งแต่แรกเคยครอบครองน่านฟ้าไว้ได้นั้น มาถึงบัดนี้ก็ตกเป็นรองเครื่องบินรุ่นใหม่ ของสหรัฐฯ ที่ทั้งบินได้สูงกว่าและเร็วกว่า
เหล่า เสนาธิการทหารของญี่ปุ่น ต้องประชุมเร่งระดม ความคิดในการตั้งรับการบุก ของสัมพันธมิตร และผู้ที่มีความเห็นโดดเด่นกว่าใครอื่น ก็คือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ นายพล ทากิจิโร โอนิชิ
โดย ต่างจากสมัยนี้ที่การยิงจรวด หรือทิ้งระเบิดจะมีอุปกรณ์นำวิถี ที่ช่วยให้ปฏิบัติการได้อย่างแม่นยำ แต่ในครั้งกระโน้น การโจมตีทิ้งระเบิดหรือปล่อยตอร์ปิโด ต้องอาศัยโชคช่วยให้ถูกเป้าหมาย ซึ่งข้อนี้ไม่เป็นปัญหาสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะ มีอาวุธเหลือเฟือ ถล่มแบบปูพรมได้ แต่ญี่ปุ่นต้องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างประหยัด ระเบิดทุกลูกจะต้องถูกเป้าหมายอย่างได้ผล จะใช้การนำวิถีอย่างไรจึงจะแม่นยำถึงปานนั้น
และแล้วก็มีมติออกมาว่า หนึ่งเรือบิน : หนึ่งเรือรบ
ถล่มเรือรบข้าศึกด้วยเครื่องบิน ที่พลขับพลีชีพไปด้วยเสียเลย!!
แต่จะได้ผลจริงหรือไม่ต้องทดสอบดูก่อน
ผู้อาสาทดสอบคือ พลเรือตรี มาซาฟูมิ อาริมา และเป้าหมายได้แก่ เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส แฟรงกลิน เมื่ออาริมาบินจู่โจมตรงรี่เข้ามานั้น บรรดาลูกเรือแฟรงกลินต่างก็จ้องมอง อย่างฉงนใจที่เห็นเครื่องบินข้าศึกใกล้เข้ามา... ใกล้เข้ามา พวกเขาคิดว่านักบินเสียชีวิตและ ไร้ผู้ควบคุมการบินหรือไร จึงดูเหมือนตั้งใจพุ่งเข้ามาหาเรืออย่างนั้น จนกระทั่งอาริมาพุ่งดิ่งโครมลงบนดาดฟ้าและเกิดการระเบิดกัมปนาทกลางลำเรือ แฟรงกลิน
วันนั้นเป็นวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1944 คามิคาเซ่อันเป็นชื่อเทพเจ้า แห่งพายุที่เคยพัดกระหน่ำขับไล่ศัตรูของญี่ปุ่นมาหลายครา บัดนี้ได้ ถือกำเนิดขึ้นใหม่ในรูป ของนักบินผู้สละชีพ และนับจากนี้ไปอีก 10 เดือน พายุคามิคาเซ่นี้ ก็จะกระหน่ำเข้าใส่กองทัพของสหรัฐฯ อย่างไม่หยุดยั้ง สร้างความเสียหาย ให้อย่างเหลือคณานับ
กอง บินคามิคาเซ่หมู่แรกจุติขึ้น ในเดือนตุลาคมนั้นเอง ณ ฐานทัพคลาร์คแอร์เบสบนเกาะ ของฟิลิปปินส์ที่ญี่ปุ่นยังครองอยู่ โอนิชิเรียกระดมอาสาสมัครชุดแรก ที่ยังเป็นโสดไร้ลูกเมีย
“บัด นี้ประเทศญี่ปุ่นของท่านตกอยู่ ในอันตรายใหญ่หลวง ข้าพเจ้าในฐานะตัวแทน ของพี่น้องนับร้อยล้าน ของท่าน ขอให้ท่าน ยอมสละชีพ และอธิษฐานเพื่อความสำเร็จ...”
ทหารที่เข้าประชุมทั้งหมด ล้วนอาสาสมัครในทันที!
ปฏิบัติการฝูงบินคามิคาเซ่หนแรก เริ่มขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม ในการศึก ณ อ่าวเลย์เต สร้างความตกตะลึงพรึงเพริด ให้แก่เหล่านักรบอเมริกันอย่างยิ่ง แรกนั้นพวกเขานึกว่าเครื่องบินข้าศึก เครื่องยนต์ขัดข้อง แต่เมื่อการบินโจมตี อย่างไม่คำนึงถึง ชีวิตเพิ่มขึ้นทุกขณะ พวกเขาจึงเริ่มตระหนักว่า ได้เผชิญกับสิ่งใด
“มันบินใกล้เสียจนผมเห็นหมวก และแว่นของนักบินถนัดตา” ทหารคนหนึ่ง บนเรือรบยูเอสเอสปรินซตันเล่า
เมื่อ นายพลนิมิตซ์ได้รับรายงานถึง อาวุธลับมหาประลัยของญี่ปุ่น ก็ทำเอาเขานิ่งงัน “ผมจะบอกกับแม่และเมียของทหารเรา ที่เฝ้ารอคอยอยู่เบื้องหลังได้อย่างไร ว่าข้าศึกมีอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่ จะทำให้พวกเขาหวาดหวั่น จนนอนไม่หลับหรือ”
แต่ทางฝ่ายครอบครัว ของนักบินคามิคาเซ่นั้น กลับยินดีและชื่นชม ในความตายของทหารหาญ
มารดาคนหนึ่งเขียนถึงลูก ที่สละชีพไปแล้ว “เจ้าเป็นลูกของข้า แต่บัดนี้เจ้าก็มิใช่ลูกข้าอีกต่อไป... เจ้าเป็นลูกของ พระจักรพรรดิ”
ยุทธวิธีในการโจมตี ของฝูงบินคามิคาเซ่มีอยู่ 2 แบบ
แบบแรก บินต่ำเรี่ยคลื่นเพื่อหลบเรดาร์ พอใกล้เรือข้าศึก ก็เชิดหัวโผนขึ้นเพื่อเร่งความเร็ว แล้วพุ่งเข้าชน นี่เป็นยุทธวิธี ที่นายพลโอนิชิเสนอแนะ
แบบสอง เหล่านักบินผู้กล้าคิดขึ้นเอง นั่น คือในยามที่มีเมฆบังเกลื่อนฟ้าพวกเขา จะบินขึ้นในระดับสูงสุด เมื่อมองเห็นกองเรือข้าศึกอยู่ในสายตา ก็จะพลันโฉบลงมาในแนวดิ่ง เป้าหมายที่พวกเขาชอบเล็ง ก็คือยอดปล่องลิฟต์กลางเรือ ซึ่งจะก่อความพินาศได้อย่างมหาศาล
ฝ่าย กองเรือรบของอเมริกันนั้น กว่าจะรู้ตัว เครื่องบินของญี่ปุ่น ก็เกือบถึงเรือแล้ว ได้แต่ ตาลีตาเหลือกรีบยิงต่อต้าน ปืนทุกกระบอกปล่อยกระสุนออกไป อย่างแทบไม่ต้องเล็ง และเนื่องจากดาดฟ้าเรือบรรทุก เครื่องบินของสหรัฐฯ นั้นใช้แผ่นไม้กระดานปู ดังนั้น แม้โดนระเบิดเบาๆ ก็ถล่มทลายทำให้เรือบิน ที่จอดเรียงรายอยู่พลอยพังพินาศไปด้วย
จวบ จนถึงเดือนมกราคม 1945 เรือรบอเมริกัน ราว 100 ลำ ต้องจมหรือเสียหายยับเยิน ซึ่งมีทั้งเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือประจัญบาน ทหารกว่า 4,000 คน ตายหรือบาดเจ็บ ทั้งหมดนี้เกิดจากการโจมตีของฝูงบินคามิคาเซ่ 400 ลำ
ถึง จะต่อสู้แบบยอมตายถวายชีวิต อย่างไร ก็ตาม ในวันที่ 15 สิงหาคม 1945 ก็มีพระราชโอง การจากพระจักรพรรดิให้ยุติการต่อสู้ นายพลโอนิชิ บิดาแห่งฝูงบินคามิคาเซ่กระทำ ฮาราคีรี ตายตามลูกน้องที่สละชีวิตไปล่วงหน้าแล้ว
“การพลีชีพเพื่อปกปักเอกราชของชาติเป็นหน้าที่ อันยิ่งใหญ่ดุจขุนเขาของนักรบผู้กล้า ความตายนั้นเป็นสิ่งเบาบางดุจขนนก” นั่นคือคำตรัสของจักรพรรดิเมยจิในราว ค.ศ. 1880
พวกเขานั้นคือวีรบุรุษโดยแท้
แต่ ผู้ก่อการร้ายทุกวันนี้ ที่พลีชีพไปพร้อมกับระเบิด ได้คร่าชีวิตชาวบ้านและลูกเด็กเล็กแดง ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ไปมากมายอย่างเหี้ยมโหด เราเรียกพวกเขาได้อย่างเดียวว่า ฆาตกร
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment