Can't find it? here! find it

Wednesday, April 29, 2009

เรือรบยามาโตะ:Yamato battleship(大和)









7 เมษายน พ.ศ. 2488 เรือรบ ยามาโตะ (Yamato) ของญี่ปุ่นจมลงบริเวณทางเหนือของเกาะโอกินาวา เรือยามาโตะเป็นเรือประจัญบานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมาจน ถึงปัจจุบัน มีขนาดยาว 250 เมตร มีปืนขนาด 460 มม. ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยบรรจุไว้ในเรือ ตั้งเรียงรายอยู่รอบลำซึ่งมีเกราะป้องกันตอปิโดหนาถึง 8 นิ้ว มีระวางขับน้ำถึง 69,100 ตัน จนใคร ๆ ต่างก็เชื่อว่าเรือลำนี้ไม่มีทางจมเด็จขาด ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพสหรัฐอเมริกาบุกยึดเกาะโอกินาวาเพื่อเข้ายึดกรุงโตเกียว นักรบญี่ปุ่นได้ยืนหยัดสู้อย่างทรหด เรือยามาโตะก็ได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติการ KIKUSUI 1 ซึ่งแปลว่า ดอกเบญจมาศลอยน้ำ โดยมีภารกิจล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกไปจากน่านน้ำเกาะโอกินาวา เช้าวันที่ 6 เมษายน 2488 เมื่อเรือยามาโตะเดินทางยังไม่ถึงน่านน้ำโอกินาวา ฝ่ายนาวิกโยธินสหรัฐฯ จับสัญญาณได้จึงส่งฝูงบินโจมตี 380 ลำ รุมทิ้งระเบิดเรือยามาโตะเป็นเวลาเกือบ 2 วัน จนในที่สุดเรือยามาโตะได้จมสู่ก้นทะเลพร้อมลูกเรือเกือบ 2,500 คน มีผู้รอดชีวิตเพียง 269 คนเท่านั้น


ประวัติการสร้าง
ยามาโตะ ในระหว่างการก่อสร้าง


















เรือรบชั้นยามาโตะถูกสร้างขึ้นหลังจากจักรวรรดิญี่ปุ่นถอนตัวจากสนธิสัญญานาวีวอชิงตันใน การประชุมที่ลอนดอนครั้งที่สองใน พ.ศ. 2479 (3 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง) สาระสำคัญของสนธิสัญญานี้นั้น เกี่ยวกับเรื่องการจำกัดขนาดการขยายนาวิกานุภาพของแต่ละชาติอันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, จักรวรรดิอังกฤษ, จักรวรรดิญี่ปุ่นและ ราชอาณาจักรอิตาลี

ขั้นตอนการออกแบบเรือรบชั้นยามาโตะนี้ เริ่มมาแต่ พ.ศ. 2477 หรือ 2 ปีก่อนการถอนตัวออกจากสนธิสัญญานาวีวอชิงตันแล้ว และหลังจากได้รับการปรับปรุงการออกแบบหลายต่อหลายครั้ง ระวางขับน้ำขนาด 68,000 ตันก็ได้รับการยอมรับในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2480 (ระวางขับน้ำ คือหน่วยในการวัดขนาดของเรือ โดยใช้หลักว่า เมื่อนำเรือลงน้ำแล้ว ปริมาตราน้ำที่ถูกเรือเข้าไปแทนที่นั้น มีน้ำหนักกี่ตัน) การสร้างเรือรบชั้นยามาโตะนี้ ถูกเก็บเป็นความลับอย่างยิ่งยวด โดยสร้างขึ้นที่อู่ต่อเรือจักรวรรดินาวีคุเระ เริ่มโครงการวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 พิธีปล่อยเรือลงน้ำกระทำในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2483 และเข้าประจำการในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484

ในเบื้องต้น มีการวางแผนว่าจะสร้างเรือรบในชั้นนี้อยู่ 5 ลำ เรือหลวงยามาโตะและเรือหลวงมุซาชิ ถูกสร้างตามที่ได้ออกแบบไว้ แต่ทว่าเรือหลวงชินาโนะ ซึ่งเป็นลำที่สามได้ถูกดัดแปลงให้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน หลังความปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ ลำที่สี่ ยังไม่เคยมีการตั้งชื่อและถูกเรียกว่า "Hull Number 111" ถูกแยกชิ้นส่วนในปี พ.ศ. 2486 โดยแล้วเสร็จไปเพียง 30%เท่านั้น และ"Hull Number 797" ลำสุดท้ายนั้น ไม่เคยมีการก่อสร้าง (Hull Number หมายถึง หมายเลขทะเบียนเรือรบ)

แผนสำหรับการสร้างเรือรบชั้น "ซูเปอร์ ยามาโตะ" อันมีปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้องขนาด 508 มิลลิเมตร (20 นิ้ว) นั้น ถูกเรียกว่า "Hull Number 798" และ "Hull Number 799" แต่โครงการถูกปฏิเสธไปในปี พ.ศ. 2485

เรือในชั้นนี้ถูกออกแบบมาให้เหนือกว่าเรืบรบของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในทุก ๆ ด้าน ปืนหลักขนาด 460 มม ถูกสร้างขึ้นแทนที่ขนาด 406 มม เพราะว่าความกว้างของคลองปานามานั้น ทำให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างปืนที่มีขนาดเดียวกันได้โดยปราศจากข้อจำกัดในการออกแบบ หลายอย่าง หรือมีการวางระบบการป้องกันตัวไม่เพียงพอ เพื่อสร้างความสับสนในหมู่จารชนต่าง ชาติ ปืนหลักนี้ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "40.6 มม พิเศษ" และพลเรือนก็ไม่เคยเข้าใจถึงสมรรถนะจริงของปืนนี้ และวิธีนี้ก็ได้ผลเป็นอย่างดี เพราะแม้แต่จนถึงปีสุดท้ายของสงคราม (พ.ศ. 2488) กองทัพเรือสหรัฐก็ยังเข้าใจผิดว่าเรือหลวงยามาโตมีปืนขนาดเพียง 406 มม และมีระวางขับน้ำเพียง 40,823 ตัน ไล่ ๆ กับเรือรบชั้นไอโอวา การลงทุนในเรือรบชั้นยามาโตะ เกี่ยวพันกับโครงการอีกหลายต่อหลายโครงการ ดังนั้น เงินลงทุนก้อนมหาศาลจึงไม่ได้รับการสังเกตเห็นในทันที

การก่อสร้างในสถานีคุเระนั้น อู่ก่อสร้างได้ถูกวางไว้ในส่วนที่ลึก ๆ ของฐานทัพ ใช้เครนยกที่รับน้ำหนักยกได้ 100 ตัน และมีหลังคาคลุม ป้องกันการสังเกตการณ์ทางอากาศ นักออกแบบชั้นล่างๆ หรือแม้แต่นายทหารอาวุโสหลายนาย ไม่เคยทราบขนาดที่แท้จริงของเรือจนกระทั่งหลังสงครามจบ ในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ไม่มีการกระทำพิธีฉลองใดๆ และไม่มีแม้แต่แตรประโคม

การค้นพบ

ปี ค.ศ.1985 หลังจากล่มไปนานกว่า 40ปี กรรมมาธิการดูแลสุสานสงครามญี่ปุ่น ได้ประกาศการค้นพบสุสานใต้น้ำของเรือยามาโตะ

ปี ค.ศ.1999 ได้มีการดำเนินการออกสำรวจสุสานเรือยามาโตะ อีกครั้ง

น้ำหนักเรือโดยประมาณ 19,453ตัน

ความยาวเรือ 263เมตร

ยามาโตะ ยังเป็นเรือรบลำใหญ่ที่สุดในโลก

ความสูง 28เมตร วัดจากกระดูกงูถึงยอดเสา ซึ่งเทียบความสูงเท่ากับความสูงของตึก18ชั้น

ประวัติ

แผนการติดตั้งปืนใหญ่ขนาดนี้บนเรือรบเป็นแผนที่ครุ่นคิดมานานจากนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หลังสงครามระหว่างญี่ปุ่น - รัสเซีย ในปี ค.ศ. 1904 - 5 ได้ผลลัพธ์ออกมาว่า ปืนเรือขนาดใหญ่ที่มีรัศมีการยิงที่สูงกว่านั้น สามารถกุมชัยชนะในยุทธนาวีได้นั่นเอง ระยะเวลาผ่านมาถึง 17 ปี หลังสงครามครั้งนั้นจักรพรรดินาวี ซึ่งมีแผนที่จะสร้างกองเรือที่ 88 ขึ้นโดยมีเรือประจัญบาน จำนวน 8 ลำ เรือลาดตระเวนหนักอีก จำนวน 8 ลำ เป็นกำลังหลักในการป้องกันประเทศญี่ปุ่นที่มีทะเลล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ในการรักษาอธิปไตยของประเทศไว้ ซึ่งจะเป็นกองเรือด้วยกัน จำนวนถึง 13 - 16 กองเรือ จึงจะเป็นการเพียงพอในการรักษาน่านน้ำของตนไว้ได้

สำหรับกองเรือที่ 16 นั้น จะนำการติดตั้งปืนเรือขนาดใหญ่ ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวนหลายกระบอก โดยให้ชื่อว่า เรือลาดตระเวนประจัญบาน ซึ่งแต่ละลำมีระวางลำละ 47,000 ตัน ซึ่งการออกแบบนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่หลังจากสัญญาลดอาวุธที่กรุงวอชิงตัน ญี่ปุ่นได้สัดส่วนของเรือสงคราม 5 : 5 : 3 หรือ 10 : 10 : 6 นั้น คือ อังกฤษ กับสหรัฐ ฯ ได้ประเทศละ 10 ส่วนญี่ปุ่นนั้นได้เพียง 6 เท่านั้น

ในการนี้ผู้แทนของญี่ปุ่นที่ไปร่วมประชุมนั้นกลับมารายงานจอมพลเรือโตโง เฮฮัจจิโร่ว ว่า เราแพ้เขาเสียแล้ว ท่านจอมพลเรือพูดเรียบ ๆ ว่า "สำหรับการฝึกนั้นไม่มีการจำกัดด้วยใช่ไหม" ดังนั้นที่มีมติของจักรพรรดินาวี มีการฝึกใน 1 สัปดาห์นั้น ถึง 7 วัน ไม่มีวันเสาร์ อาทิตย์ คือ เง็ด, เง็ด, คะ, ซุย, มก, คิน, คิน (จันทร์ - จันทร์ - อังคาร - พุธ - พฤหัสบดี - ศุกร์ - ศุกร์) ตัดวันเสาร์อาทิตย์ออกไป ทั้งลดความสบายสำหรับทหารประจำเรือไปเพิ่มอาวุธทุกชนิดให้มากกว่าเรือของคู่ ต่อสู้ ทั้งมีเพลงร้องเพื่อปลุกใจเหล่าทหารของราชนาวีอีกด้วย ดังนั้นแผนที่จะสร้างกองเรือที่ 88 นั้น ก็กลายเป็นอากาศธาตุไปอย่างไม่มีทางเลือก ในการออกแบบสร้างเรือประจัญบานมาได้นั้น ได้ข้อมูลในการออกแบบไว้ก่อนหน้านี้เป็นรากฐาน มีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นใน เวลาที่ผ่านมาร่วม 20 ปี

การก่อสร้าง

ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2478 กองบัญชาการกองทัพเรือได้ส่งใบสั่งมายังกระทรวงทหารเรือ เพื่อให้ออกแบบในครั้งนี้ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2479 มีการกำหนดเครื่องจักรใหญ่ของเรือเป็นเทอร์ไบน์จำนวน 4 เพลาใบจักร วันที่ 27 ปีเดียวกันนั้น กรมต่อเรือก็ได้ประเมินราคาในการต่อเรือลำนี้ เป็นจำนวนเงิน 137,780,200 เยน (ในตอนนั้นเงิน 1 บาท แลก ได้ 1.50 เยน) ทั้งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2484 นั้นมีงบประมาณใช้จ่ายทั้งปีเพียง 108,000,000 บาท วันที่ 20 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ได้มีการประชุมสำหรับนายทหารช่างต่อเรือชั้นสูง ได้ให้ชื่อหรือรหัสสำหรับเรือลำแรกนี้ว่า 10 - 140 เอฟ และในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2480 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือก็อนุมัติแบบ 10 - 140 เอฟ อย่างเป็นทางการ ซึ่งทางกรมต่อเรือ ได้เริ่มทำการวางกระดูกงูที่อู่แห้งของฐานทัพคุเระ จังหวัดฮิโรชิมาทันที

ความต้องการของกองบัญชาการทหารเรือต่อเรือลำใหญ่ มีดังนี้

* ปืนใหญ่เรือ ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวน 3 กระบอก/ป้อม จำนวน 3 ป้อม ปืนใหญ่เรือ ขนาด 20 เซนติเมตร จำนวน 2 กระบอก/ป้อม จำนวน 5 ป้อม รวม 10 กระบอก
* ความเร็ว 30 นอตขึ้นไป
* เกราะป้องกันเรือ ให้สามารถทนทานอำนาจการยิงของศัตรู จากระยะ 20,000 - 35,000 เมตร ได้เป็นอย่างดี
* รัศมีทำการ ด้วยความเร็ว 18 นอต 8,000 ไมล์

ทางกรมต่อเรือได้ออกแบบกับสมรรถนะของเรือยามาโตะ ไว้ดังนี้

* ปืนใหญ่เรือ ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวน 3 กระบอก/ป้อม จำนวน 3 ป้อม รวม 9 กระบอก
* ปืนกราบขนาด 15.5 เซนติเมตร จำนวน 3 กระบอก/ป้อม จำนวน 4 ป้อม รวม 12 กระบอก
* ความเร็วสูงสุด 27 นอต
* รัศมีทำการ ด้วยอัตราความเร็ว 16 นอต ระยะ 7,200 ไมล์

การที่กรมต่อเรือไม่สามารถออกแบบตามใบสั่งของกองบัญชาการกองทัพเรือได้ เนื่องจากการที่จะออกแบบด้วยความเร็ว 30 นอต นั้น จะทำให้เรือมีขนาดมหึมาไม่คล่องตัวในการรบ ทั้งจะเกิดการไม่สมดุลขึ้น ดังนั้นจึงทำการออกแบบเรือให้มีขนาดเล็กลงมา เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการรบมากยิ่งขึ้น

ด้านหน้าของป้อมปืนอื่นนั้นหุ้มด้วยแผ่นเหล็กที่เป็นเกราะหนาถึงขนาด 650 มิลลิเมตร เพดานป้อมมีเกราะเหล็กหนา ขนาด 270 มิลลิเมตร ด้านหลังป้อมเป็นเกราะเหล็กหนา ขนาด 250 มิลลิเมตร สำหรับคลังกระสุนมีเกราะเหล็กหนา ขนาด 50 มิลลิเมตร ทางด้านหน้าของป้อมหุ้มด้วยเกราะเหล็กหนาถึงขนาด 200 มิลลิเมตร

จุดอ่อนของเรือยามาโตะ คือ กราบที่ติดตั้งอาวุธปืนใหญ่สำหรับต่อสู้อากาศยาน จำนวน 3 กระบอกแฝด ซึ่งปืนใหญ่แบบนี้ย้ายขึ้นมาจากเรือลาดตระเวนหนักโมคามิ ในกรณีที่เครื่องบินทิ้งระเบิดของข้าศึกดำดิ่งลงมาแล้วปล่อยลูกระเบิดถูกฐาน ปืนเหล่านี้เข้า มันจะทะลุลงไปถึงคลังดินดำและจะระเบิดขึ้นมาทำความเสียหายต่อเรืออย่างมาก อาจถึงจมลงได้ จึงได้มีการเสริมความแข็งแรงที่จุดนี้ด้วยการเสริมแท่นเกราะหนา เพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้อุบัติขึ้น แต่ก็ไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้นเลยจนเรือจมในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2488

งบประมาณ

งบประมาณที่ตั้งเป็นราคากลางไว้สมัยนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 ตกลำละ 137,800,000 เยน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยเฮเซอิ ในปี พ.ศ. 2479 จะเป็นจำนวนมากกว่าถึง 1,794 เท่า หรือ 1,262,000,000 เยนทีเดียว สำหรับในตอนนั้นที่สงครามสงบใหม่ ๆ เงิน 1 ดอล ลาร์แลกเงินเยนได้ 365 เยน หรือ 100 เยน เท่ากับเงินไทย 61 บาท แต่ถ้าเงินไทยลดลง เรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันเงิน 1 บาทแลกเงินเยนได้เพียง 2.50 เยนเท่านั้น

เงินงบประมาณที่ขอไป จำนวน 137,802,000 เยน นั้น เมื่อคิดเป็นรายการปลีกย่อยแล้วจะเป็นราคา ดังนี้

* ค่าตัวเรือ เครื่องจักรใหญ่ร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับเรือประจัญบาน ยามาโตะ 121,560,000 เยน
* ป้อมปืนใหญ่ จำนวน 3 ป้อม ขนาด 46 เซนติเมตร จำนวน 9 กระบอก กับเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าเกี่ยวกับเครื่องบินตรวจการณ์ ราคา 932,900 เยน
* ค่าควบคุมต่อเรือ กับการขนส่ง จำนวน 3,470,000 เยน






















รูปแบบพิเศษเฉพาะของเรือชั้นยามาโตะ
ตึกเพนตากอน, 431 เมตร (น้ำเงินอ่อน)
เรือสำราญ ควีน แมรี 2, 345 เมตร (ชมพู)
เรือบรรทุกเครื่องบิน เอนเตอร์ไพรซ์ (CVN-65) กองทัพเรือสหรัฐ, 342 เมตร (เหลือง)
เรือเหาะ LZ 129 ฮิดเดนเบร์ก, 245 เมตร (เขียว)
เรือหลวง ยามาโตะ, 263 เมตร (น้ำเงินเข้ม)
ตึกเอ็มไพร์สเตต, 443 เมตร (เทา)
เรือบรรทุกน็อก นีวิส , 458 m (แดง)

ผู้ออกแบบเรือยามาโตะ คือ เคอิจิ ฟูกูดะ ต่อมา ยูซูรุ ฮิรากะ ผู้สืบทอดของฟูกูดะ ได้ปรับแก้ให้มีความพิเศษเฉพาะ และมีคุณสมบัติอันยอดเยี่ยมสำหรับเรือรบจักรวรรดินาวีญี่ปุ่นมาแต่ทศวรรษที่ 1920 การออกแบบยามาโตะ มีลักษณะเฉพาะหลายประการ อันก่อให้เกิดเป็นลักษณะของเรือที่โดดเด่นสะดุดตา นับจากลักษณะดาดฟ้าเรือที่ไม่เรียบ ต่างออกไปจากเรือที่ถูกออกแบบในช่วงทศวรรษที่ 1920 - ทศวรรษที่ 1930 ลักษณะโค้งของดาดฟ้าเรือนั้น ทำให้ลดน้ำหนักโครงสร้างเรือลงได้ โดยไม่ลดความแข็งแกร่งของตัวเรือ จากการทดสอบในอ่างทดสอบทำ ให้เกิดการยอมรับลักษณะท้ายเรือกึ่งแบน และลักษณะหน้าเรือบริเวณใต้ผิวน้ำที่เป็นปุ่มโค้งยื่นออกมา อันจะทำให้ลดความต้านทานที่ตัวเรือลงได้ถึง 8%

รังปืนใหญ่ที่บรรจุปืนใหญ่เรือขนาด 460 มม จำนวน 9 กระบอก อันเป็นปืนใหญ่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบรรจุลงในเรือรบนั้น นับเป็นความท้าทายในเชิงเทคโนโลยีการก่อสร้างและการปฏิบัติการอย่างยิ่ง ความสำเร็จของโครงการยามาโตะ นับเป็นรากฐานอันยิ่งใหญ่ต่อวงการต่อเรือของญี่ปุ่น ลักษณะของเกราะหลักที่ออกแบบไว้เพื่อรับแรงระเบิดเชิงเอกซ์โพเนนเชียลระดับสูง ช่วยคุ้มกันเรือเล็กที่เก็บเอาไว้ และพื้นที่ปฏิบัติงานสถานีรบที่มิได้มีเกราะคุ้มกันได้ดี ดังนั้น ตำแหน่งปืนต่อต้านอากาศยานทุก ตำแหน่ง แม้แต่จุดที่เล็กที่สุด จะได้รับการคุ้มกันภายใต้เกราะตามที่ได้ออกแบบไว้ ในช่วงท้าย ๆ ของเรือรบชั้นนี้ ระบบอาวุธต่อต้านอากาศยานได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มอาวุธทั้ง ขนาดเล็กและใหญ่ ในพื้นที่เปิด (ไม่ได้รับการคุ้มกัน) ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าพลปืนต่อต้านอากาศยานสามารถหนีเข้าที่กำบังก่อนการยิง ปืนใหญ่หลักได้หรือไม่ และนี่ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่เรือรบยามาโตะทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพในยุทธนาวีออฟซามาร์ ที่เรือโดนกระหน่ำโจมตีจากภาคพื้นอากาศตลอดและเรือก็ไม่ได้ยิงปืนใหญ่หลัก เพื่อป้องกันการเสียชีวิตและบาดเจ็บของพลปืนอากาศยานในพื้นที่เปิด การต่อเติมของเรือนั้นหนาแน่นมากๆ อันเป็นการลดระยะยิงของป้อมปืนและมุมยิงของปืนต่อต้านอากาศยาน

เรือเล็กนั้นจะถูกเก็บเอาไว้ในโรงเก็บใต้ดาดฟ้าเรือ และจะนำออกมาได้โดยการใช้เครนพิเศษ มีช่องทางออกติดตั้งไว้ทั้งสองกราบ (ข้างเรือ) ช่วงบริเวณป้อมปืนที่3 บนดาดฟ้าเรือช่วงท้าย (quarter deck) ฉาบไว้ด้วยคอนกรีต ข้างล่างเป็นโรงเก็บเครื่องบินตรวจการณ์ และมีลิฟต์อยู่ที่ท้ายเรือ โรงเก็บเครื่องบินนี้ สามารถเก็บเครื่องบินได้ 7 ลำ ข้อแตกต่างของเรือหลวงยามาโตะ และเรือหลวงมุซาชิเมื่อ เทียบกับเรือรบลำอื่นของจักรวรรดินาวีญี่ปุ่นคือไม่มีเสาธงทรงเจดีย์ แต่สร้างอาคารสะพานเดินเรือรูปแบบใหม่, ห้องบัญชาการ และศูนย์การยิงขึ้นแทน เสากาฟ (เสาธงหลัก), ปล่องไฟและสะพานเดินเรือ ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในด้านการออกแบบและรูปโฉม มีความแตกต่างอย่างเห็นได้จากทั้งเรือลำอื่นของจักรวรรดินาวีญี่ปุ่น และเรือรบหลักของประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมบางอย่างของเรือรบชั้นยามาโตะ ที่ "คล้ายคลึง" กับเรือรบลาดตระเวณอื่นๆ ที่ออกแบบโดย ยูซูรุ ฮิรากะและฟูจิโมโตะ ในช่วงทศวรรษ 1920 ถึง 30 โดยเฉพาะเรือรบชั้นทาคาโอะ และโมกามิ

โครงท้องเรือของเรือรบชั้นนี้ อาจจะเป็นโครงท้องเรือที่เสถียรที่สุดในบรรดาเรือรบทั้งหมด เรือรบทั้งสองในชั้นนี้ถูกรายงานว่ามีเสถียรภาพการทรงตัวสูงมากแม้ในช่วง คลื่นลมแรง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มส่วนกว้างของเรือนั้นย่อมหมายถึงการสูญเสียเสถียรภาพ ทำให้เรือเอียงมากกว่าเดิมในสถานการณ์ที่น้ำท่วมเรืออย่างหนัก เรือมีหางเสือเดียว ทำให้เรือมีวงเลี้ยวแคบเพียง 640 เมตร ซึ่งนับว่าแคบสำหรับเรือขนาดนั้น เมื่อเทียบกับเรือรบชั้นไอโอวาที่มีวงเลี้ยวมากกว่า 800 เมตร มีการต่อเติมหางเสือช่วย แต่ก็ไม่มีประโยชน์อันใด

ต้นกำลังไอน้ำของเรือให้กำลังต่ำมาก (2.5 เมกกะปาสคาล (25 กิโลกรัมแรง/ตารางเซนติเมตร), 325 °C) ในขณะที่อัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงสูง และนี่คือเหตุผลหลัก ๆ ที่ไม่ได้ใช้เรือนี้ในช่วงการทัพหมู่เกาะโซโลมอน และการทัพอื่นๆ ช่วงกลางสงคราม นอกจากนี้กำลังขับของเรือก็มีเพียง 110,324 กิโลวัตต์ (147,948 แรงม้า) เท่านั้น [1] อันเป็นการจำกัดขีดความสามารถของเรือในการบรรทุกเครื่องบิน

การเชื่อมอาร์คซึ่ง เป็นเทคนิคใหม่มากในช่วงนั้น ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ช่วงล่างของเกราะทางระฆังถูกใช้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของตัวเรือ การออกแบบเรือ ถือเอาการประหยัดน้ำหนักเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งที่ไม่มีข้อจำกัดใดๆ มาเป็นเงื่อนไขบังคับ ทั้งตัวเรือมีชิ้นส่วนกันน้ำ 1,147 ชิ้น (1,065 อยู่ใต้ส่วนที่หุ้มเกราะ)

ลักษณะและสมรรถนะของเรือ
เรือประจัญบานยามาโตะ

ข้อมูลเรือ

* ความยาวตลอดลำ 263 เมตร กว้างสูงสุด 38.9 เมตร ความลึก 18.9 เมตร ความสูง 40.0 เมตร
* ระวางขับน้ำปกติ 64,000 ตัน เต็มที่ 72,800 ตัน ถังน้ำมันเชื้อเพลิงจุ 6,000 ตัน เครื่องจักรกังหันไอน้ำ 4 เครื่อง มีกำลังรวม 150,000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 27.5 นอต
* ระยะปฏิบัติการเมื่อใช้ความเร็ว 16 นอต 7,200 ไมล์
* อาวุธ เมื่อเข้าประจำการ (ยังมิได้ดัดแปลงเพิ่มอาวุธต่อสู้อากาศยาน)
o ปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร 3 ป้อม ป้อมละ 3 กระบอก รวม 9 กระบอก (ที่หัวเรือ 2 ป้อม ท้ายเรือ 1 ป้อม)
o ปืนใหญ่ ขนาด 155 มิลลิเมตร ป้อมละ 3 กระบอก 4 ป้อม รวม 12 กระบอก (ที่หัวเรือ 1 ป้อม ท้ายเรือ 1 ป้อม และที่กลางลำกราบละ 1 ป้อม)
o ปืนใหญ่ ขนาด 127 มิลลิเมตร ป้อมละ 2 กระบอก 6 ป้อม รวม 12 กระบอก (บริเวณกลางลำ กราบละ 3 ป้อม)
o ปืนกลต่อสู้อากาศยาน ขนาด 25 มิลลิเมตร แท่นละ 3 กระบอก 8 แท่น รวม 24 กระบอก
o ปืนกลต่อสู้อากาศยาน ขนาด 13 มิลลิเมตร แท่นคู่ 2 แท่น รวม 4 กระบอก

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยได้ลดปืนขนาด 155 มิลลิเมตรลง และเพิ่มอาวุธต่อสู้อากาศยาน ทั้งขนาด 127 มิลลิเมตร และ 25 มิลลิเมตร จนมีจำนวนถึง 184 กระบอก

ปืนใหญ่

กระสุนปืนใหญ่ของเรือมีขนาด 18.1 นิ้ว หรือ 46 เซนติเมตร น้ำหนักลูกละ 1,460 กิโลกรัม หมอนรองอีกกระบอกละ 55 กิโลกรัม ดินขับอีกกระบอกละ 330 กิโลกรัม เบ็ดเสร็จปืนใหญ่ 1 กระบอก กับกระสุน 1 ลูกนั้น รวมน้ำหนักถึง 1,845 กิโลกรัม หรือประมาณเกือบ 2 ตันทีเดียว สามารถเจาะทะลุเกราะเหล็กหนา 45 เซนติเมตรได้อย่างสบาย

เรือประจัญบานยามาโตะมีกระสุนปืนใหญ่กระบอกละ 100 ลูก จำนวน 9 กระบอก รวมทั้งสิ้น 900 นัด กระสุนปืนจำนวน 40 ลูกนั้น จะแยกอยู่ในคลังกระสุน ส่วนอีก 60 ลูกอยู่ในป้อมปืนแต่ละป้อม

ในการใช้ปืนใหญ่เรือยิงแบบซัลโว พร้อมกันทุกกระบอกถึง 9 กระบอก จำนวน 3 ป้อม จะทำให้พื้นไม้ดาดฟ้าเรือหลุดออกมา ซึ่งราวลูกกรงนั้นจะงอพับด้วยอำนาจแรงดันของการยิงซัลโว แต่ได้มีการป้องกันเพื่อการนี้ไว้อย่างสมบูรณ์ สำหรับเครื่องบินตรวจทะเลประจำเรือกับเรือยนต์ของเรือนั้นได้ออกแบบแตกต่าง กันกับเรือลำอื่น ทั้งออกแบบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่บนดาดฟ้าทุกชั้นให้เรียบง่ายและอยู่บนพื้นดาดฟ้าให้น้อยที่สุด ดังนั้นจะพบว่าดาดฟ้าของเรือยามาโตะนั้น มีอุปกรณ์ต่าง ๆ น้อยกว่าเรืออื่น

เกราะของเรือ

เกราะของเรือยามาโตะมีความหนามากซึ่งสามารถทนทานต่อลูกตอร์ปิโดได้ในระยะ 25 - 30 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังติดเกราะป้องกันกระสุนปืนใหญ่ขนาด 18.1 นิ้วไว้หน้าป้อมปืนหมายเลข 1 เช่น ติดเกราะป้องกันกระสุนปืนกลจากเครื่องบินข้าศึกหนา 5 ซ.ม.

การป้องกันการโจมตีด้วยปืนกลอากาศ

ในการนี้ได้มีการออกแบบด้วยเทคนิคพิเศษ ด้วยเกราะหนาขนาด 410 มิลลิเมตร บริเวณเหนือดาดฟ้าและด้วยเกราะเหล็กหนา ขนาด 35 - 50 มิลลิเมตรเพื่อป้องกันการระดม ยิงด้วยกระสุนปืนกลจากเครื่องบินข้าศึกอีกด้วย

การป้องกันตอร์ปิโด

ด้านล่างทั้งสองกราบของเรือประจัญบานยาโมโต้ ใต้แนวน้ำนั้นหุ้มด้วยเกราะเหล็ก หนา ขนาด 75 - 90 - 200 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งหนามากที่สุดใต้แนวน้ำแล้วค่อยบางลง ไปจนถึงกระดูกงูระหว่างนั้นเป็นช่องสองชั้น สำหรับห้องเครื่องจักรกรุด้วยเกราะหนา200 มิลลิ เมตร จากใต้แนวน้ำลงไปจนถึงด้านล่างของห้องเครื่องจักรใหญ่ ซึ่งแต่ละจุด เปลือกเหล็กหนา 2 ชั้น ป้องกันตอร์ปิโดได้อีกด้วย สำหรับคลังดินดำนั้นมีเกราะเหล็กหนาเป็นพิเศษถึง 3 ชั้น ด้วยกัน

การออกปฏิบัติการยุทธ

เรือประจัญบานยามาโตะออกปฏิบัติการครั้งแรก ในยุทธการที่เกาะมิดเวย์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 ต่อมาในการยุทธที่นอกหมู่เกาะมาเรียนา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 และในยุทธการ "โช" (ชัยชนะ) ที่นอกเกาะ ซามาร์

การออกปฏิบัติการครั้งสุดท้ายเมื่อเป็น "กำลังรบ ผิวน้ำโจมตีพิเศษ" (โตคุเบสสึ โกเงคิ ไตอิ) ออกไปทำลายทัพเรือและทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่ยกพลขึ้นบก ณ เกาะโอคินาวา เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 แต่ถูกโจมตีทางอากาศจนจมลง เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2488 ก่อนที่จะไปถึงบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ

การถูกโจมตี
สงครามในทะเลซิบูยัน 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะถูกโจมตีในทะเลซิบูยัน ได้รับความเสียหายเล็กน้อย

เรือประจัญบานยามาโตะ เคยถูกฝูงบินโจมตีของสหรัฐฯ เข้าโจมตี เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ในระหว่างการเดินทางไปเกาะนิวบริเตน โดยได้บรรทุกทหารบก จำนวน 1,000 นายไปด้วย เพื่อไปส่งที่ฐานทัพราบาวบนเกาะนิวบริเตน ต่อมาเมื่อเดินทางออกจากฐานทัพเรือหน้าวงปะการังตรุกในหมู่เกาะคาโรไลน์ ได้ถูกเรือดำน้ำ สเคท (SS-305) ยิงด้วยตอร์ปิโดถูกที่บริเวณยุ้งโซ่สมอ ทำให้ทหารที่กำลังเรียงโซ่สมอเสียชีวิตไป 6 นาย แต่เรือไม่ได้รับความเสียหาย ยังสามารถทำความเร็วได้ถึง 27 นอต เป็นปกติ นับเป็นครั้งแรกที่ถูกโจมตีจากเรือดำน้ำสหรัฐฯ และในยุทธการ "โช" ขณะเดินทางผ่านทะเลซิบูยันร่วม กับเรือมุซาชิ ในกำลังรบส่วนกลาง ก็ถูกเครื่องบินจากกำลังรบที่ 38 ของสหรัฐ ฯ โจมตีเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 เรือยามาโตะได้รับความเสียหายเล็กน้อย

ผลงานการทำลายเรือรบของสหรัฐฯ

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ในยุทธการ "โช" (ชัยชนะ) ระหว่างการเดินทางไปเพื่อเข้าทำลายเรือลำเลียงและกำลังรบของ สหรัฐ ฯ ที่ยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เต ก็ได้ปะทะกับกำลังรบของสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรร ทุกเครื่องบินคุ้มกัน (TG 77.4) ที่บริเวณนอกเกาะ ซามาร์ และเป็นครั้งแรกที่เรือประจัญบาน ยามาโต้ได้ใช้ปืนใหญ่ ขนาด 460 มิลลิเมตร ทำการยิงเรือพิฆาต โฮเอล (DD-533) ของ สหรัฐ ฯ ในระยะยิง 33,000 เมตร จนจมและทำความเสียหายแก่เรือพิฆาต จอนห์ส์ตัน (DD-557) จนต้องถอนตัวออกจากการรบ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตญี่ปุ่น โจมตีจนจม) นอกจากนี้ยังทำความเสียหายแก่เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน แกมเบียร์ เบย์ (CVE-73) จนไม่ สามารถใช้ดาดฟ้าบินได้ (แล้วถูกเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นยิงจมเช่นกัน)

การออกรบที่เลตี้

หลังจากวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ผ่านไป ญี่ปุ่นสูญเสีย เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือลาดตระเวณ 9 ลำและเรือพิฆาต 8 ลำ รวมทั้งหมด 24 ลำ ส่วนเรือที่รอดมุ่งออกจากเลเตสู่ทะเลฟิลิบปินส์ซึ่งในวันที่ 25 ตุลาคม กำลังหลักที่ออกสู่ทะเลฟิลิปปินส์พบกองกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ซึ่งเป็นหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ในครั้งนี้เรือประจัญบานยามาโตะได้ใช้กระสุนของป้อมปืนใหญ่ ซึ่งมีขนาดน้ำหนักเกือบ 2 ตันซึ่งใช้ยิง 6 กระบอกป้อมละ 3 กระบอกรวม 6 กระบอกยิงใส่เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐจนจม หลังจากสหรัฐยึดครองฟิลิบปินส์เรือประจัญบานยามาโตะเดินทางกลับไปยังญี่ปุ่น เพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย

การออกรบที่โอกินาว่า
วาระสุดท้ายของเรือประจัญบานยามาโตะ

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 กองทัพสหรัฐมีการพิจารณาให้ใช้เรือทั้งหมด 10 ลำเข้าบุกเกาะโอกินาว่า เรือยามาโตะได้รับคำสั่งจากกองทัพญี่ปุ่นให้เข้าปฏิบัติการที่เรียกว่า KIKUSUI โดยมีภารกิจให้ทำการล่อฝูงบินอเมริกันให้ออกจากน่านน้ำโอกินาวา เปิดโอกาสให้ฝูงบินคามิคาเซ่ของญี่ปุ่นบินฝ่าด่านป้องกันของฝูงบินอเมริกา เพื่อเข้าโจมตีกองทัพเรือและปกป้องไม่ให้กองทัพสหรัฐยึดเกาะโอกินาวาได้ แต่ในปฏิบัติการนี้เรือยามาโตะมีน้ำมันเชื้อเพลิงเพียงแค่เที่ยวเดียวเท่า นั้น เรือประจัญบานยามาโตะและเรือลำอื่นถูกตรวจพบในเวลาหลังเริ่มปฏิบัติการ 12.35 นาที จึงถูกเครื่องบินสหรัฐ 3 หน่วยกิจเข้าโจมตีซึ่งแต่ละหน่วยกิจมีเครื่องบินหน่วยละ 360 ลำต่อหน่วย เรือประจัญบานยามาโตะโดนโจมตีทางอากาศอย่างหนักตั้งแต่ 12.35 น. - 14.23 น. จนทำความเสียหายแก่เรือมากดังนั้นเรือจึงเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง จากการตรวจสอบ เรือประจัญบานยามาโตะถูกตอร์ปิโดทั้งหมด 13 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ซึ่งมีขนาด 250กก. - 500กก. ทั้งหมด 6 ลูก ลูกระเบิดขนาดกลางอีกมากกว่า 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดเล็กอีกมากกว่า 120 ลูก

เรือประจัญบานยามาโต้ลำเดียว มีกำลังพลทั้งสิ้น 3,332 นาย ได้รับการช่วยเหลือจากเรือพิฆาตเพียง 276 นาย อีก 3,056 นาย เสียชีวิต และสูญหาย

มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ฟุยุสึกิ ยุคิคาเซะ และ ฮัดสึชิโมะ เพียง 4 ลำเท่านั้น ที่ได้เห็นวาระสุดท้าย ของเรือประจัญบานยามาโต้ และรอดกลับมาได้ทุกลำ มีเรือพิฆาตสึซึสึกิ ได้รับความเสียหายหนัก ถูกลูกระเบิดขนาด 500 กิโลกรัมที่หัวเรือ ทำให้ส่วนหัวเรือ หน้าสะพานเดินเรือขาดหายไป จึงต้องแล่นถอยหลังกลับถึงฐานทัพซาเซโบ้ได้

ปฏิบัติการสุดท้าย

เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2488 เรือประจัญบานยามาโตะ พร้อมด้วยเรือลาดตระเวนเบายะฮะงิ เรือพิฆาตสึซึสึกิ ฟุยุสึกิ อิโซะคาเซะ ยุคิคาเซะ ฮามะคาเซะ อาซะชิโมะ คาซุมิ และฮัดสึชิโมะ รวม 10 ลำ ได้ออกเดินทางจากที่จอดเรือ ฮัดจิราชิมะ ของจังหวัดยามากุจิ ผ่านช่องแคบบังโง เลาะชายฝั่งของแหลมโอซุมิ ของจังหวัดคะโงชิมะ แล้วเดินทางต่อไปทางตะวันตก เพื่อเปลี่ยนเข็มลงใต้เข้าสู่เกาะโอคินาวา ก็ถูกโจมตีจากกำลังทางอากาศของกำลังรบเฉพาะกิจที่ 58 โดยการโจมตีหลักมาจากหมวดเฉพาะกิจที่ 58.1 ซึ่งประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินฮอร์เน็ต ลำที่ 2 (CV-12) วาส์พ ลำที่ 2 (CV-18) เบ็นนิงตัน (CV-20) เรือบรรทุกเครื่องบินเบา เบลลิววูด (CVL-24) ซานฮาซินโต้ (CVL-30) และหมวดเฉพาะกิจที่ 58.3 ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน เอสเซ็ก (CV-9) บังเกอร์ฮิล (CV-17) เรือบรรทุกเครื่องบินเบา คาบอต (CVL-27) และ บาตาอัน (CVL-29) ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินแฮนคอก (CV-19) ส่งเครื่องบิน 53 เครื่อง ขึ้นช้าไป 15 นาที จึงไม่พบเป้าหมาย กำลังหลักในการโจมตีทางอากาศของหมวดเฉพาะกิจทั้งสองนี้มีเครื่องบินขับไล่ F6F (เฮลแคท) 283 เครื่อง เครื่องบินขับไล่โจมตี F4U (คอร์แซร์) 180 เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด SB2C (เฮลไดเวอร์) 72 เครื่อง และเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโด TBM (อเวนเจอร์) 114 เครื่อง เครื่องบินเหล่านี้ ได้เข้าโจมตีกำลังรบโจมตีพิเศษ ที่มีเรือประจัญบานยามาโตะเป็นเรือธง 6 ระลอกด้วยกัน รายละเอียดการถูกโจมตีของเรือประจัญบานยามาโตะมีดังนี้
ระลอกโจมตี เวลา จำนวนเครื่องบิน ความเสียหาย


1 12.35-12.50 260 ถูกตอร์ปิโดที่กราบซ้าย 1 ลูกถูกลูกระเบิด ที่ท้ายเรือทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
2 13.18-13.34 120 ถูกตอร์ปิโดที่กราบซ้าย 3 ลูก พลประจำปืนกลต่อ สู้อากาศยานเสียชีวิตถึง 1 ใน 4 เรือ เอียง 8องศา
3 13.35-13.53 150 ถูกตอร์ปิโดที่กราบขวา 1 ลูกกราบซ้าย 3 ลูก เรือเอียง 15 องศา ความเร็วเหลือ 18 นอต
4 14.07-14.20 150 ถูกตอร์ปิโดที่กราบขวาอีก 4 ลูกถูกลูกระเบิด 15 ลูกความเร็วเหลือ 7 นอต เรือตีวงไปทางซ้าย เรื่อยๆ ไม่หยุด


5-6 14.25 150 ระบบการสื่อสารเสียหายทั้งหมด เครื่องถือท้ายขัดข้อง ต้องใช้แรงคนบังคับหางเสือ ถูกที่กราบซ้ายอีก 1 ลูก ถูกลูกระเบิดอีกนับไม่ถ้วน เรือเอียง 35 องศาเกิดการระเบิดและจมโดยตะแคงทางกราบซ้ายแล้วพลิกคว่ำบริเวณ 200 ไมล์ เหนือเกาะตกกุชิมะ จังหวัดคะโงชิ ระดับน้ำลึก 325 เมตร

จากการโจมตีรวมประมาณ 1,000 เที่ยวบิน ทางฝ่ายสหรัฐ ฯ แจ้งว่าได้ใช้ตอร์ปิโดไป 200 ลูก ลูกระเบิดขนาดใหญ่ (250 - 500 กิโลกรัม) 100 ลูก และลูกระเบิดขนาดกลาง (60 - 100 กิโลกรัม) อีกมากกว่า 200 ลูก[ต้องการแหล่งอ้างอิง] หลังจากที่เรือรบญี่ปุ่นคือ เรือประจัญบานยามาโตะ เรือลาดตระเวนเบายะฮะงิ และเรือพิฆาตอีก 5 ลำ จมไปแล้ว ทหารเรือญี่ปุ่นที่ลอยคออยู่ในน้ำ ได้ถูกเครื่องบินของสหรัฐ ฯ ทำการยิงกราดอย่างโหดร้ายไร้มนุษยธรรม และความเป็นชาวเรือ ส่วนพลเรือโท อิโต้ เซอิจิ ผู้บัญชาการกำลังรบโจมตีพิเศษ และ นาวาเอก อะริกะ โกซักกุ ผู้บังคับการเรือ ประจัญบานยามาโตะ ได้สละชีวิตจมไปกับเรือ

Thursday, April 23, 2009

Vietnam war


























นาวิกฯสหรัฐได้ทำการตรวจค้นบ้านของชาวบ้านที่ต้องสงสัยว่่าให้พักอาศัยแก่ทหารเวียดกง





สงครามเวียดนามนั้นได้มีการทำสงครามที่ประเทศเวียดนาม, ลาวและกัมพูชา เริ่มในปี 1959 จนถึงเดือนเมษายน 30, 1975 สงครามได้เริ่มในเวียดนามเหนือ สนับสนุนโดยประเทศในเครือคอมมิวนิสต์, และเวียดนามใต้, ส่งเสริมโดยกองกำลังสหรัฐอเมริกาและสมาชิกกองกำลังต่อต้านคอมมิวนิสแห่งเอเชียอาคเนย์หรือเรียกว่าSEATO(Southeast Asia Treaty Organization).

เวียดกง, หน่วยทหารอาวุธเบาทำการก่อจลาจลในภาคใต้ของเวียดนาม, ซึ่งมีการต่อสู้นองเลือดอย่างเอาเป็นเอาตายกันในพื้นที่ดังกล่าว. กองกำลังเวียดนามเหนือก็เริ่มโจมตีเวียดนามใต้อย่างเปิดเผย, มีการสู้รบประหัตประหารกันอย่างกว้างขวาง กองกำลังสหรัฐและพันธมิตรได้เตรียมเฮลิคอร์ปเตอร์และยุทโธปกรณ์ทั้งหมดเพื่อเตรียมตอบโต้

กองกำลังสหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังป้องกันตัวเองไปในเวียตนามเพื่อขัดขวางการยึดครองของเวียดนามเหนือ
ที่ปรึกษาในการทำสงครามได้เดินทางมาที่เวียดนามไต้ในปี 1950 การบุกเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นเริ่มขึ้นในต้อนปี 1960 และหน่วยรบพิเศษทั้งหมดได้จัดเตรียมและนำไปในเวียดนามเหนือในปี 1965. การเเข้าช่วยถึงจุดเดือดในปี 1968 การบุกเท็ท. ถึงอย่างไรก็ตามการสร้างสันติภาพได้เกิดขึ้นทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ในเดือนมกราคมปี 1973, การต่อสู่ยังคงดำเนินต่อไปในเดือนเมษายนปี 1975, เวียดนามเหนือยึดไซง่อนได้สำเร็จ. เหนือและไต้ได้รวมตัวเข้าด้วยกันในหลายๆปีถัดมา
ในเดือนมกราคมปี 1950, ประเทศในเครือคอมมิวนิสต์, เริ่มต้นโดยประเทศจีน, ได้ยอมรับว่า สาฐารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามให้เป็นรัฐบาลปกครองเวียดนาม หน่วยต่อต้านคอมมิวนีสได้ยินยอมให้ฝรั่งเศสสนับสนุนหลังให้เวียดนามในไซง่อนโดยให้่จัีกรพรรดิเบาต้าย





















จักพรรดิเบา ต้าย แห่งเวียดนามไต้


ในหลายเดือนให้หลังการประทุของสงครามเกาหลีเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 1950 สนับสนุนดดยผู้วางนโยบายของรัฐหรือองค์กรของวอร์ชิงตันจำนวนมากได้กล่าวว่านั่นคือตัวอย่างสำคัญของการขยายอำนาจของประเทศคอมมิวนิสต์

ที่ปรึกษาในการทำศึกของ PRC(สาธารณะประชาชนจีน) ได้เริ่มทำการส่งเสริม Viet Minh ในเดือนกรกฏาคมปี 1950.ไม่ว่าอาวุธ, ทักษะความรู้,และ กรรมกร ซึ่งต้องการจะเปลี่ยนกองกำลัง Viet Minh จากกำลังเสื้อขาด รองเท้าปากแตก ลิ้นห้อย ฯลฯ เอาเป็นว่าไม่มีเครื่องแบบครบ 32 ว่างั้น........เฮ้อเรียขกสั้นๆก็ได้ว่าทหารกองโจร ให้เป็นกองทัพมีเครื่องแบบเป็นฝั่งเป็นฝาว่างั้นเหอะ
ในเดือนตุลาคม, อเมริกาได้สร้างกองทัพสำหรับให้การปรึกษานานาชนิดแก่เวียดนามใต้ (MAAG) เพื่อทำตามฝรั่งเศสที่ร้องขอการส่งเสริมอุปกรณ์, แนะแนวการรบและฝึกหน่วยรบกระทั่งปี 1954, อเิริกาได้ลงทุนลงแรงไปกับทหารนาวิก 300,000 นาย และลงทุนเงินไป 1000,000,000$ ในการส่งเสริมร่วมกับฝรั่งเศส แต่อเมริกาต้องแบกภาระจ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ของการลงทุนทั้งหมด
Viet Minh ได้รับการสนับสนุนอย่างดีเยี่ยมจาก USSR และ PRC. PRC(หรือจีน) สนับสนุนได้จากตะเข็บชายแดนในปี 1950 เข้าไปในเวียดนามได้อย่างเผิดเผย. จนกระทั่งถึงการสู้รบ, หน่วยข่าวกรองสหรัฐได้รายงานให้อเมริกาทำให้อเมริกาสงสัยในเรื่องโอกาสที่จะเอาชนะเวียดนามของฝรั่งเศส
สมรภูมิ Dien Bien Phu คือเอกสารที่ชี้ชัดว่าฝรั่งเศสหมดสิทธ์และเริ่มไร้เขี้ยวเล็บในการปกครองและดูแลอินโดจีนเสียแล้ว. Viet Minh และหัวหน้ามือขวาของเขา Vo Nguyen Giap ได้ถล่มและอัดฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่องจนแพ้. ฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเสนอของอเมริกาที่ว่าให้ใช้นิวเคลียร์ทำลายวงล้อม และในวันที่ 7 เดือนพฤษภาคม ปี 1954, กองกำลังทหารฝรั่งเ้ศสได้ยอมแพ้ ณ Geneva การประชุมว่าฝรั่งเศสได้เจรจาต่อรองว่าจะไม่รุกรานต่อกันกับ Viet Minh. เอกราชได้ถูกประกาศให้แก่กัมพูชา ลาว และเวียดนาม

ยุทการณ์รุกฆาตเต็ด(Tet)
กองกำลังของWestmorelandได้บุกเข้าไปในอาณาเขตของเวียดนามเหนือเข้า Khe Sanh ในหมู่บ้าน Quang Tri ในเดือนมกราคมปี 1968, หน่วย PVA และหน่วย NLF ได้แหกกฏปการสงบศึกซึ่งเป็นประเพณีตั้งแต่เก่าก่อนเรียกว่าเทศกาล Tết (การขึ้นปีใหม่ของประจันทร์) ได้อาศัยจังหวะนี้ในการบุกเข้าโจมตี เมืองนับ100ถูกโจมตีโดยไร้ซึ่งการป้องกันของฐานทัพ Westmorelandและสถานฑูตอเมริกาประจำไซง่อน
กองกำลัง U.S. และกองกำลัง เวียดนามใต้ได้ถูกตีคืนด้วยการโจมตีเต็มกำลัง ได้มีการมอบบำเหน็จบำนานแด่ NLF.และเมืองหลวง Huế, การรวมกลุ่มของทหารของ NLF และ NVAได้ทำการยึดป้อมปราการและเมืองหลายๆส่วน

วันที่10 พฤษภาคมปี 1968, ชัยชนะที่ลิบหลี่ความพ่ายแพ้แลพกดดันเริ่มดังก้องขึ้นทุกทีอเมริกจึงทำหนังสือยอมแพ้ส่งเรื่องไปยังเวียดนามเหนือ. การเจรจายืดเยื้อไป 5 เดือน จนกระทั่งจอห์นสันไดเ้หยุดทิ้งระเบิด. การเจรจาจึงแล้วเสร็จ, ประฐานาธิบดี Hubert Humphrey, ได้ทำการโต้วาทีกับพรรประชาธิปัต(อเมริกานะ) ซึ่งมี ประฐานาธิบดีในสมัยนั้นRichard Nixon. ซึ่งนิซอนได้เสนอแนะ
เขาในเรื่องไฟฟ้า และประกันว่าจะให้ข้อเสนอที่ดีและเยอะกว่าไฟฟ้า แต่ก็ไม่ได้ทำเพราะหมดวาระเสียก่อน

สงครามนี้ได้สร้างความสูญเสียให้กับทั้งฝ่ายนั้นมากอย่างใหญ่หลวง เวียดนารมเหนือและใต้รวมกันประมาณ 3ถึง4 ล้าน, ลาวและเขมรประมาณ 1.5-2 ล้าน และอเมริกาสูญเสียนาวิกโยธิน 58,159



รายการบาดเจ็บและสูญเสีย





เวียดนามใต้ 220,357 เสียชีวิต 1,170,000 บาดเจ็บ




สหรัฐอเมริกา 58,159 เสียชีวิต 2,000 หายสาปสูญ; 303,635 บาดเจ็บ





เกาหลีใต้ 4,960 เสียชีวิต; 10,962 บาดเจ็บ





ประเทศไทย 1,351 เสียชีวิต




ออสเตรเลีย 520 เสียชีวิต 2,400 บาดเจ็บ




นิวซีแลนด์ 37 เสียชีวิต; 187 บาดเจ็บ

เสียชีวิตทั้งหมด: 285,831
บาดเจ็บทั้งหมด: ~1,490,000





เวียดนามเหนือและกองกำลังเวียดกง 1,176,000 เสียชีวิต/หายสาปสูญ 600,000+ บาดเจ็บ





ีจีน 1,446 เสียชีวิต; 4,200 บาดเจ็บ




Soviet Union 16 dead

เสียชีวิตทั้งหมด: ~1,177,446
บาดเจ็บทั้งหมด: ~604,000+








Vietnam war propaganda of US side

Monday, April 20, 2009

Benito mussolin





วันนี้ขอไม่พูดเรื่องทัพญี่ปุ่นชั่วคราวขอเปลี่ยนเป็นอิตาลี่บ้าง
Benito Amilcare Andrea Mussolini,
เกิดวันที่ี 29กรกฎาคม 1883 ณ เพลดัปโป, ฟอร์รี่, อิตาลี่ – ตายวันที่ 28 เมษายน 1945 ณ กูริโน่ เดเมสเซกา์ร์, อิตาลี่


Forlì, Italy สถานที่เกิดของมหาบุรุษ








เป็นนักการเมืองที่ใช้การปกครองระบอบชาตินิยมหรือฟาสซิส และเป็นผู้กุมกุญแจแห่งอำนาจนั้นแต่เพียงผู้เดียว. เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี -1922 หลังจากปี 1936, ในหน้าที่การงานของเขาได้่รับคำชมาว่า "ความเก่งกาจของมุสโสลินี, หัวหน้ารัฐบาล, เจ้าแห้งระบอบฟาสซิส, และัเป็นผู้ค้นพบจักวรรดิืยุคใหม่. มุสโสลินีได้ทำการสร้างหน่วยรบทางทหารที่สุดยอดที่สุดและเขาได้เป็นหัวหน้าบัญชาการรบทั้งหมดของเขา และได้ตำแหน่งผู้แทนฯผู้บังคับบัญชาหน่วยรบพร้อมกับพระราชาวิกเตอร์ เอ็มมานูเอล ที่ ๓ แห่งอิตาลี่,
ซึ่งมีพระราชทานอำนาจส่วนพระองคให้เขามีอำนาจในการควบคุมทุกๆเหล่าทัพของอิตาลี่ เขามีอำนาจจนกระทั่งเขาโดนคนอื่นบัญชาการรบแทนในปี 1943ในฃช่วงเวลาอันสั้นหลังจากเขามีอำนาจและจนกระทัะ่งเขาตายจากไป เขาได้เป็นหัวหน้าหน่วยสหพันธรัฐแห่งอิืตาลี่

(ขวา)มุสโสลินีและคณะฟาสซิส


มุสโสลินีเป็นหนึ่งในผู้ที่คิดค้นระบบฟาสซิส ซึ่งประกอบด้วย การรักชาติ, สามัคคี, พัฒนา, แพร่กระจาย, สถานะทางสังคมและ การป้องกันระบอบคอมมิวนิส และมีการเขียนโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการปลุกระดมด้วย
ในปีเดียวกันเขาได้คิดวิธีสร้างระบบทางสังคมของฟาสซิสให้ระบบของMussolini มีอิทธิพล , และทำให้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางให้วงกว้างของฝูงชนอิตาลี่


หนังสือประจำตัวทหารหรือจะเรียกว่าพาสปอตทหารก็ได้


Italian empire 1943












ช่วงเวลาที่เขาทำอยู่กับที่ทำงานเรื่อยมาจนปี 1924–1939: อาชีพการงานที่ดีขึ้น,การเดินทางด้วยรถยนต์ก็สะดวกขึ้น และเขาได้ทำให้การค้าขายมีความอิสระเสรีและคล่องตัวยิ่งขึ้น

ขณะที่เยอรมันบุกฝรั่งเศสในปี 1930 ทำให้มุสโสลินีประทับใจมาก, มุสโสลินีได้กลายเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในกองกำลังอักษะในวันที่,10 มิถุนายน 1940 มุสโสลินีได้นำอิตาลีสู่สงครามในฐานะฝ่ายอักษะ. 3 ปีให้หลัง, เขาถูกไล่ออกจากอำนาจ ซ้ำยังถูกกองกำลังพันธมิตรรุกรานอีก
และถูกพันธมิตรส่งไปประหาร, มุสดสลินีก็โชคดีสวรรค์เป็นใจที่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยรบพิเศษของเยอรมัน


ในขณะเดียวกัน มุสโสลินีได้ควบคุมหน่วยทหารของอิตาลี่ส่วนที่เหลือที่ยังไม่ถูกพันธมิตรยึดครอง.ในเดือนสิงหาคมปี 1945, ด้วยความพ่ายที่กำลังจะคืบคลานเข้ามา,มุสโสลินีพยายามหนีไปสวิสเซอร์แลนด์ แต่โชคร้ายที่เขาถูกกลุ่มสหายคอมมิวนิสหัวรุนแรงจับได้ ณ ทะเลสาป Como
ดูเพิ่มเติมที่
http://anejung.multiply.com/photos/album/16/16
และถูกส่งตัวไปที่มิลานและแขวนคอประจานต่อหน้าสาฐารณชนให้ทุกคนได้เห็นว่าเขาถูกประหารเรียบร้อยแล้ว























ปฏิบัตหน้าที่ในสงครามโลกครั้งที่ I






เขาได้สมัครเข้าร่วมกับกองกำลังพันธมิตรเขาได้เข้าร่วมกัีบองกรณ์ลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืนกับ Cesare Battisti,และชื่มชมเขาและเข้าร่วมสงครามร่วมกัน การร่วมสงครามไม่ราบรื่นนักจนกระทั่ง..........ตัวเขาถูกสะเก็ดระเบิด(แค่สะเก็ดไม่ใช่จังๆ)และก็ถูกตัวเข้าโรงพยาบาล






Casare Battisti

















พระราชาวิกเตอร์เอมมมานูเอลผู้ทรงพระทัยในความปรีชาสามารถของมุสโสลินีมาก
แต่ในตอนท้ายที่มุสโสลินีกลับพาประเทศเข้าฝ่ายอักษะทำให้พระองค์ทรงพระพิโรธต่อมุึสโสลินีมากและมีราชกฤษฎีฏาให้ถอดมุสโสลินีออกจากอำนาจ





หลุมศพ.......ที่คือสัญญลักษณ์สถานที่ที่เขายืนและตาย



















กองกำลังทหารอิตาลี่

Tuesday, April 14, 2009

Biography of Ghengkis khan


เมื่อ เจ็งกีสข่านตายนั้น จักรวรรดิมองโกลกว้างใหญ่มาก จนกล่าวกันว่าถ้าควบม้าจากชายแดนด้านหนึ่งไปสุดอีกด้านหนึ่งต้องใช้เวลาถึง หนึ่งปีดินแดนเหล่านี้ลูกชายทั้งสี่ของ

เจ็งกีสข่านคือโจจิ ซาเฮอไถ วอเคอไต และเซลุย ได้แบ่งกันครอบครองต่อมา
โจจิและสายสกุล * โจจิเป็นลูกชายคนโตของเจ็งกีสข่าน (แต่ตามความจริงแล้วเป็นลูกของพวกเมอร์คิทที่ติดท้องผู่เอ๋อร์เถี่ยมา) ก่อนที่เจ็งกีสข่านจะยกทัพใหญ่ไปปราบดินแดนวาซือจือมอ มีผู้เสนอให้เจ็งกีสข่านตั้งทายาทสืบตำแหน่งไว้ โจจิกับซาเฮอไถทะเลาะกันเพราะเรื่องแย่งชิงตำแหน่งนี้ เซลุยเสนอชื่อพี่ชายคนที่สาม ในที่สุเจ็งกีสข่านแต่งตั้งวอเคอไตเป็นรัชทายาท เมื่อบิดาตายวอเคอไตจึงได้ตำแหน่งมหาข่านเป็นประมุขของชาวมองโกลและดินแดน ที่อยู่ใต้อำนาจมองโกลทั้งหมดแต่แบ่งเขตแดนให้พี่น้องไปเป็นข่านปกครองต่อ มา.-
เขตปกครองจองโจจิเรียกว่าอาณาจักรซินชาข่าน ปัจจุบันอยู่ในสหภาพโซเวียตแถบทะเลสาบ Aral เรื่อยมาไปจนถึงลุ่มแม่น้ำวอลก้าของรัสเซียในยุโรป โจจิเป็นข่านอยู่ไม่นานก็ตายเมื่ออายุเพียง 49 ปี มีลูกสิบกว่าคนลูกชายคนรองชื่อ ป๋าตู สืบนำแหน่งต่อมา ได้ขยายอาณาจักร ชินชาข่านออกไปอีกมาก จนชาวยุโรปรู้จักดีในนามอาณาจักรกระโจมทอง


ปี พ.ศ. 1780 เมืองขึ้นของจักรวรรดิมองโกลแถยโซเวียตรุสเซียหลายเมืองเป็นกบฏ วอเคตอไตมหาข่านบัญชาให้หลานคนโตจของเจ็งกีสข่านทั้งสี่สายสกุลยกทัพร่วมกัน ไปปราบ ป๋าตูได้เป็นแม่ทัพใหญ่ มองโกลปราบกบฏได้อย่างรวดเร็ว บุกยึดได้กรุงมอสโคว์ แล้วป๋าตูแบ่งทัพออกเป็นสามสายแยกกันไปตียุโรป ยึดยุโรปตะวันออกได้ทั้งหมด ตีทัพผสมของเยอรมันกับโปแลนด์และทัพฝรั่งเศสกับพันธมิตรพินาศย่อยยับพวก มองโกลตัดหูเชลยศึกร้อยเป็นพวง สร้างความหวาดผวาให้แก่ชาวยุโรปมาก ทัพมองโกลทั้งสามสายบรรจบฉลองชัยชนะกันที่แม่น้ำดานูบ แล้วบุกเข้าประชิดเมืองเวนิสของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holly Roman Empire) เผอิญวอเคอไตมหาข่านตาย ทัพมองโกลจึงยกกลับรวมเวลาบุกยุโรปอยู่ 6 ปี
ถ้าวอเคอไตไม่ตายยุโรปทั้งทวีปอาจตกอยู่ใต้อำนาจมองโกลก็ได้เพราะการรบครั้ง นั้นมองโกลเอาดินปืนของจีนไปประดิษฐ์เป็นปืนไฟอย่างหยาบๆทำให้ทหารยุโรปตื่น กลัว ปืนไฟในครั้งนั้น เป็นแรงดุงดูดให้ชาวตะวันตกอย่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ส่งฑูตมาดูงานทหารของมองโกลถึงกรุงคาราโครัมในระยะต่อมา
หลังบุกยุโรปครั้งนี้แล้ว อาณาจักรชินชาข่านขยายออกไปอีกมากประมุขมองโกลของอาณาจักรนี้ได้ยึดครองดิน แดนของโซเวียตรุสเซียต่อมาอีกช้านาน จนถึงสมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช รุสเซียจึงตีชิงแว่นแคว้นเหล่านี้ไปได้ ดินแดนแถบชายฝั่งทะเลดำนั้นมองโกลสามารถปกครองมาได้จนถึง พ.ศ. 2316
ซาเฮอไถและสายสกุล * ซา เฮอไถเป็นคนอารมณ์ร้ายมุทะละแต่เข้มแข็งเด็ดขาด แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง ตัดสินปัญหาได้เที่ยงตรงยุติธรรม จึงได้เป็นที่ปรึกษาแก้ปัญหาสำคัญให้วอเคอไตน้องชายผู้เป็นมหาข่านอยู่เสมอ
ซาเฮอไถได้ปกครองดินแดนแถบซินเกียง อัฟกานิสถานและบางส่วนของโซเวียตรุสเซียในปัจจุบัน เรียกรวมกันว่าอาณาจักรซาเฮอไถข่าน ลูกชายคตนโตของซาเฮอไถ ชื่อ มู่ถูเกินเป็นหลานที่เจ็งกีสข่านรักที่สุดแต่ไปตายเสียคราวจีเมืองสะมาระกัน เป็นเหตุให้เจ็งกีสข่านแค้นมากเมื่อตีเมืองนี้ได้จึงสั่งฆ่าคนหมดเมือง ลูกชายของมูถูเกินชื่อปู้หลี่ ภายหลังถูกป๋าตูฆ่าตาย


วอเคอไตและสายสกุล* วอเคอไตได้เป็นมหาข่านเพราะการสนับสนุนของเซลุย – และซาเฮอไถ ภายหลังได้รับชื่อตามประเพณีว่าหงวนไท้จง (หยวนไท่จง) ฮ่องเต้ วอเคอไตเป็นคนสุขุม ฉลาดรอบคอบมนุษย์สัมพันธ์ดี ซื่อสัตย์ยุติธรรม ดินแดนปกครองที่แท้จริงของวอเคอไต คือจีนภาคเหนือและบางส่วนของโซเวียตรุสเซีย อันแป็นปริมณฑลรอบๆดินแดนมองโกลแท้ เรียกรวมกันว่า อาณาจักรวอเคอไตข่าน แต่ประมุขของอาณาจักรนี้มีฐานะเป็นมหาข่านของจักรวรรดิมองโกลทั้งหมด ในรัชกาลนี้ทัพมองโกลบุกตีโซเวียตรุสเซียและยุโรปตะวันออกได้ทั้งหมดดัง กล่าวแล้วข้างต้น
เมื่อ วอเคอไตตายที่ประชุมเลือกลูกชายคนโตของวอเคอไตชื่อกุ้ยหยิวเป็นมหาข่านสืบ ต่อมา แต่อยู่ในตำแหน่งเพียงสามปีก็ตาย จากนั้นตำแหน่งประมุขรวมของจักร์วรรดิ์มองโกลตกแก่สายสกุลยองเซลุยลูกชายคน ที่สีของเจงกีสข่านไปตลอด
เซลุยและสายสกุล *กิมย้งกล่าวถึงเซลุยไว้ในเรื่องมังกรหยกว่าสาบานเป็นพี่น้องกันกับก๋วยเจ๋งหนีรอดจากการจับกุมตัวของเจ็งกีสข่าน


เซลุยเป็นลูกชายคนที่เจ็งกีสข่านรักมากที่สุด เรียกว่า ‘ลูกเคียงกาย’ ได้รับใช้ใกล้ชิดพ่ออยู่ตลอดเวลาอีกทั้งเป็นคนฉลาดหลักแหลม บริหารงานเก่ง จึงเป็นที่รักเคารพของแม่ทัพนายกองทั้งหมด เมื่อเจ็งกีสข่านตายเซลุยได้รับกองทหารที่แกร่งกล้าเจนศึกที่สุดของพ่อ และเป็นลูกคนเดียวที่รักษาการอยู่ในดินแดนมองโกลแท้จึงเป็นคนกุมอำนาจที่แท้ จริง
ตามประเพณีของมองโกลประมุขต้องมาจากการเลือกตั้ง แม้ วอเคอกไตจะเป็นรัชทายาทอยู่ แต่ตัวเองและที่ประชุมกลับเลือกเซลุยเป็นประมุขต่อจากเจ็งกีสข่าน ทว่าเซลุยเป็นคนกตัญญูและเห็นการณ์ไกลจึงยืนยันขอทำตามคำสั่งบิดา ให้วอเคอไตเป็นมหาข่านที่ประชุมอนุมัติ ตัวเซลุยเองได้ปกครองดินแดนมองโกลแท้ ยังคงมีอำนาจจริงอยู่ในมืออย่างเต็มที่วอเคอไตเกรงใจมาก กิจการสำคัญของบ้านเมืองล้วนมอบให้เซลุยเป็คนตัดสินใจ และยกย่องให้เป็น ผู้กำกับราชการแผ่นดิน
แต่เซลุยเป็นคนกตัญญูอย่างแท้จริงคนหนึ่งเมื่อมองโกลพิชิตไต้กิมก๊กตีได้ กรุงปักกิ่งเมืองหลวงของพวกกมแล้ว วอเคอไตป่วยหนัก พูดไม่ได้พ่อมดประจำเผ่าทำนายว่าเพราะทัพมองโกลฆ่าชายแมนจูมากเทพยาดาฟ้าดิน จึงลงโทษ ต้องให้ญาติสนิทของมหาข่านคนหนึ่งรับโทษแทน เซลุยพูดกับพ่อมดว่า “ ข้ารับปากพ่อว่าจะช่วยพี่วอเคอไตเต็มความสามารถฉะนั้นข้ายินดีตาย แทนพี่ ท่านทำพิธีเถอะ” พ่อมดจึงทำพิธีพลีกรรมแล้วเอาน้ำมนต์ให้เซลุยกิน เซลุยฝากฝังลูกเมียกับวอเคอไตได้ไม่นานก็ตาย และอาการป่วยของวอเคอไตก็หายจริงๆ กิมย้งวิจารณ์ว่านี่อาจจะเป็นแผนของวอเคอไต แต่พระราชพงศาวดารราชวงศ์หยวนสรรเสริญเซลุยมาก
เซลุยเป็นดั่งเทพเจ้าของชาวมองโกล วอเคอไตก็ซาบซึ้งน้ำใจมากสั่งการไว้ว่าถ้าตนตายแล้ว ขอมอบนำแหน่งมหาข่านให้แก่ลูกชายคนโตของเซลุย แต่พอถึงเวลาจริงที่ประชุมกลับมอบตำแหน่งให้กุ้ยหยิวซึ่งอยู่ในตำแหน่งเพียง สามปีก็ตาย
ชนชั้นหัวหน้าของมองโกลได้ประชุมเลือกประมุขกันในอาณาจักรชินชาข่าน ลงมติให้เชิญป๋าตู ลูกชายของโจจิเป็นมหาข่านคนต่อไปเพราะ มีอาวุโสสูงสุดและแกล้วกล้าสามารถในการศึกษาสงครามมากเคยนำทัพลุยยุโรปมา แล้วแต่ป๋าตูเป็นคนฉลาด รู้ดีว่าพวกสายชาเฮอไถและวอเคอไตไม่ยอมรับตนอย่างจริงใจ จึงหนุนให้เหมิงเกอลูกชายคนโตของเซลุยรับตำแหน่งแทนตน ที่ประชุมยอมรับ เมียของกุยหยิวค้านว่า การประชุมเลือกประมุขตามประเพณีต้องทำในดินแดนมองโกลแท้ ป๋าตูจึงให้เปิดประชุมใหม่ในปีถัดไปที่แดนมองโกลแท้ทางภาคตะวันออก แต่ได้ให้น้องชายยกทัพไปคุมเชิงอยู่ ตัวเองคุมทัพอีกกองหนึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่อาณาจักรชินชาข่าน กองทัพของสายสกุลโจจิ และสายสกุลเซลุยเข้มแข็งที่สุด ป๋าตูและเหมิงเกอสนิทสนมกันมากตั้งแต่ครั้งไปตียุโรป พวกสายวอเคอไตและชาเฮอไถเห็นว่าไม่มีทางคานอำนาจได้ต้องยอมรับ เหมิงเกอเป็นมหาข่านในการปรชุมครั้งที่สองอีก
เหมิงเกอได้ชื่อกษัตริย์ตามประเพณีจีนว่าหวงนเหียนจง (หยวนเสวียนจง) ฮ่องเต้เป็นประมุขที่มีปรีชาสามารถมากคนหนึ่งของมองโกลชั่วเวลาเก้าปีที่ เป็นมหาข่านอยู่ตีได้ทิเบต น่านเจ้า เกาหลี อินเดียตอนเหนือ อิหร่าน อิรัค และตะวันออกกลางทั้งหมด แต่มาได้รับบาดเจ็บคราวตีเมืองจุงกิง (ฉงซิ่ง) ในมณฑลเสฉวน จนถึงแก่ความตาย
พอเหมิงเกอข่านตาย กุบไลลูกชายคนที่ 4 ของเซลุยและอาลีปุ๊เกอลูกชายคนที่ 7 ของเซลุยแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดต้องยอมแพ้พี่ กุบไลข่านเป็นข่านได้ยี่สิบปีจึงพิชิตราชวงศ์ซ้อง ยึดครองจีนได้ทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 1822 เฉลิมพระนามตามประเพณีจีนว่าหงวนสีโจ๊ว (หยวนสื้อจู่) ฮ่องเต้และถวายพระนามแบบจีนให้กษัตริย์มองโกลตั้งแต่เจ็งกีสข่านลงมาทุก พระองค์








กุบไลข่านเป็นกษัตริย์มองโกลที่มีพระปรีชาสามารถมากที่สุด ขยายอาณาเขตออกไปอีกอย่างกว้างขวาง ตีได้ ญวน จามปา พุกามและยกทัพใหญ่ไปตีญี่ปุ่น มีไพร่พลถึงสองแสนคน แต่ชาวมองโกลไม่ชำนาญเรื่องทะเล ยกทัพผิดฤดูกาล กองทัพจึงถูกลมไต้ฝุ่นตายหมด เป็นการพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่เพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของมองโกหลตั้ง แต่ยุคเจ็งกีสข่านไปจนถึงกุบไลข่านแต่แพ้ภัยธรรมชาติไม่ใช่แพ้ฝีมือศัตรู กิมย้งวิจารณ์ว่าถ้ากุบไลข่านรอเวลาให้พ้นฤดูไต้ฝุ่นอีกเพียงสองเดือนก็จะ ยึดครองญี่ปุ่นได้อย่างแน่นอนกุบไลข่านอายุยืน ตายเมื่ออายุ 80 ปี

ลูกชายคนที่หกของเซลุยชื่อสี้เลี่ยววู่ เป็นผู้นำทัพมองโกลบุกตะวันตกเป็นครั้งที่สาม ครั้งแรกเจ็งกีสข่านเป็นผู้นำตีได้ซินเกียงและรัสเซียบางส่วน ครั้งที่สองป๋าตูเป็นคนนำ ตีรัสเซียได้ทั้งหมดถึงกรุงมอสโคว์และยุโรปตะวันออก
การบุกตะวันตกครั้งที่สามเกิดจากพวกอิสลามนิกาย Assassin เป็นต้นเหตุ พวกนี้ส่งมือสังหารมาก่อการร้ายในจักรวรรด์มองโกลแถบอัฟกานิสถาน และรอบๆทะเลสาบแคสเปี้ยนอยู่เสมอๆ เหมิงเกอข่านจึงส่งสี้เลี่ยววู่น้องชายคนที่หกยกทัพไปปราบ

Assasin sample picture

พวกอิสลามเป็นนักรบชั้นเยี่ยมพวกหนึ่ง สถาปนาจักรวรรดิมุสลิมขึ้นได้ในช่วงที่ราชวงศ์ถังปกครองจีนเข้ายึดครองกรุง เยรูซาเล็ม จนเกิดสงครามครูเสดถึงร้อยกว่าปี กษัตริย์ในยุโรปยกทัพผสมของพวกคริสต์มาตีกรุงเยรูซาเล็มคืนถึงแปดครั้งก็ไม่ สำเร็จ แต่สี้เลี้ยววู่ นำทัพมองโกลออกปราบเพียงครั้งเดียว ก็ทำลายศูนย์กลางของพวกมุสลิมนิกาย Assassin ย่อยยับและบุกตีต่อได้กรุงแบกแดดอันเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ์มุสลิมกาหลิบ แห่งเมืองแบกแดดถูกจับได้พร้อมทรัพย์สินมากมาย สี่เลี้ยววู่ สั่งให้กาหลิบกินทรัพย์สมบัติเหล่านั้นต่างข้าวจนอดตายไปเจ็ดวันต่อมา ทัพมองโกลตีได้อิรัก ซีเรีย ตุรกี และเอเชียตะวันตกทั้งหมด พวกมุสลิมหนีไปรวมกันที่อียิปต์ ทำให้อียิปต์เป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามต่อมา ทัพมองโกลกำลังจะบุกต่อ พอดีมีข่าวแจ้งมาว่าเหมิงเกอข่านตายการบุกอียิปต์จึงยุติลง ส่วนด้านยุโรปนั้นทัพมองโกลบุกยึดได้ถึงเกาะไซปรัส

สี้เลี่ยววู่รวบรวมดินแดนแถบตะวันออกกลางและเอเชียตะวันตกทั้งหมด ตั้งแต่อิหร่านไปจนถึงตุรกีสถาปนาเป็นอาณาจักร์อีเอ๋อร์ข่านโดยตนเองเป็นผู้ ปกครองเป็นอิสระจากจักรวรรดิ์มองโกล – จีนของกุบไลข่านและส่งทูตไปขอราชธิดาของจักรพรรดิแห่งโรมันตะวันออก จักรพรรดิโรมันตะวันออกไม่กล้าปฏิเสธ แต่ส่งธิดาซึ่งเกิดกับสามัญชนชื่อมาเรียมาให้เมื่อมาถึงสี้เลี้ยววู่ตายแล้ว อาปาเธอลูกชายจึงได้นางแทนพ่อ เจ้าหญิงมาเรียเป็นผู้นำคริสต์ศาสนามาเผยแพร่ในอาณาจักรอีเอ๋อร์ข่านและเป็น สะพานเชื่อมสัมพันธไมตรีของอาณาจักรนี้กับอาณาจักรต่างๆในยุโรปถึงขั้นส่ง ทูตไปมาถึงกันอยู่ตลอดเวลา
ลูกสาวของเจ็งกีสข่าน* เจ็ง กีสข่านมีลูกสาวหลายคน คนหนึ่งชื่ออาหลาไห่เบี๋ยจี๋ เป็นหญิงสาวที่ปรีชาสามารถมาก ทุกครั้งที่เจ็งกีสข่านออกสงครามใหญ่ เช่นคราวปราบ วาซือจือมอ ลูกชายทั้งสี่ตามไปในกองทัพหมด จึงมอบหมายให้ลูกสาวคนนี้เป็น “ผู้สำเร็จราชการ” เธอก็บริหารราชการแผ่นดินได้อย่างเรียบร้อยแม้งานฝ่ายทหารขุนพลมูวาลี ผู้อยู่ป้องกันรักษาดินแดนมองโกลมีปัญหาใดก็จะขอคำแนะนำจากเจ้าหญิงองค์นี้ เสมอลูกสาวเจ็งกีสข่านอีกคนหนึ่งชื่อ ปู่อี้เซ่เคอ บิดายกให้หัวหน้ามองโกลกลุ่มหนึ่ง หัวหน้าคนนั้นเห็นว่านางรูปร่างไม่สวยจึงไม่ยอมรับ เจ็งกีสข่านโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตหัวหน้าคนนั้นทันที กิมย้งอาจเอาเรื่องเจ้าหญิงสององค์นี้มาดัดแปลงแต่งเป็นตัววาเจนกงจู้ขึ้นก็ ได้

japanese infantry MIA found: Coporal Shoichi yokoi


Shoichi yokoi โชอิชิ โยโค

ขณะที่เจเซ่ส ดิวเอนัส และมานุเอล เดอกราเซีย พี่เขย-น้องเมีย ชาวกวม ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านแถบภาคใต้ของเกาะพากันเดินบุกป่าหญ้าสูงเกือบท่วมหัวลัด เลาะลำธารสายหนึ่งของแม่นำพาโลโฟโฟเพื่อหาที่เหมาะๆวางลอบดักกุ้งและปลาไหล ในลำธารดังที่เคยทำมาทุกวัน ขณะนั้นดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ความมืดกำลังปกคลุมทั่วอาณาบริเวณป่าเขาและหุบห้วย ดิวเอนัสแบกปืนยาวมาด้วยเผื่อเจอหมูป่า กวางหรืออะไรก็ตามที่เข้ามาในรัศมีวิถีกระสุนก็จะได้นำกลับไปเป็นอาหารส่วน น้องเมียคือ เอกราเซียแบกลอบดักกุ้ง



ขณะที่เดินไปปรึกษากันไปว่าจะ วางลอบที่จุดใดบ้าง ทันใดนั้นทั้งสองก็สังเกตเห็นป่าหญ้าข้างหน้าห่างออกไปประมาณ 6-7 ฟุต ไหวยวบยาบเพราะมีอะไรบางอย่างกำลังเคลื่อนไหวแต่จะเป็นเพราะอะไรนั้นยังมอง ไม่เห็น ดิวเอนัสนคิดว่าคงจะเป็นวัวหลงฝูงแต่เมื่อดูลักษณะการไหวของต้นหญ้าแล้วมิ ใช่วัววแน่ คงจะเป็นคน และถ้าเป็นคนคงจะต้องเป็นเด็ก เด็กคนไหนมาทำอะไรที่นี่ในเวลาโพล้เพล้เช่นน่ ถ้าเป็นเด็กจากหมู่บ้านเขาต้องพากลับไปส่งแน่



ทั้งคู่ยืนนิ่งงัน พงหญ้าถูกแหวกตัวเคลื่อนเข้ามาใกล้ทุกทีๆ และแล้ว “ผี” ในความรู้สึกของเดอกราเซียก็ปรากฏขึ้นต่อหน้าคนทั้งสอง ดิวเอนัสร้องบอกน้องเมียดังลั่น
“ทหารญี่ปุ่น!”
พร้อมกับเล็งปืนไปที่สิ่งนั้น
ผู้ ที่ปรากฏกายขึ้นจากป่าหญ้าเมือต้องเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้าโดยมิได้คาดหมายมา ก่อนก็ตกตะลึง สีหน้าบอกความตกใจกลัว มือไม้สั่น ลอบดักกุ้งที่ถืออยู่หล่นจากมือ แต่สัญชาติญาณการป้องกันตัว ผี ตัวนั้นก็ยกมือทั้งสองตั้งการ์ดในท่าต่อยมวยและกระโจนเข้าแย่งปืน จาก ดิวเอนัส
เกิดการต่อสู้กันเล็กน้อยก่อนที่ทั้งสองจะจับ ผี ตัวนั้นไว้ได้และนำกลับไปบ้านหาอาหารให้กิน แล้วนำส่งต่อทางการของเกาะกวม






ภาพวาดแผนผังที่ซ่อนตัว





“ผี” ที่ว่านี้ที่แท้คือทหารญี่ปุ่นจริงๆ ตามที่ดิวเอนัสคิด เป็นทหารญี่ปุ่นที่หลบซ่อนตัวอยู่บนเกาะแห่งนี้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
เหตุการณ์ ที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ.2515 หรือ 15 ปีล่วงมาแล้ว ส่วนทหารญี่ปุ่นหลบซ่อนตัวบนเกาะแห่งนี้มาตั้งแต่ทหารอเมริกันยกพลขึ้นบก เพื่อชิงเกาะกวมคืนจากการยึดครองของกองทัพญี่ปุ่น เมือ 21 กรกฎาคม 2487 เรื่อยมาจนถึงวันที่จับตัวได้เป็นเวลา 28 ปี เขาชื่อสิบเอก โชอิชิ โยโคอี (Shoichi Yokoi) อายุ 58 ปี สังกัดหน่วยส่งกำลังบำรุงค่าย ทาโลโฟโฟ.



กอง ทัพอดเมริกัน เริ่มตีโต้เพื่อยึดดินแดนต่างๆคืนจาก ญี่ปุ่น และโจมตีเกาะกวมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2487 พยายามยกพลขึ้นบกแนวชายหาดนิมิตซ์ด้านตะวันตกเฉียงใต้ และที่อ่าวอกานาซึ่งอยู่ด้านตะวันตก แยกเป็นสองจุด กองทหารที่สิบเอกโยโคอี สังกัดนั้นตั้งอยู่บริเวณสนามกลอฟ์วินด์เวิร์ดเดี๋ยวนี้ ซึ่งอยู่ค่อนมาทางตอนกลางด้านใต้ของเกาะเหนือแม่น้ำทาโลโฟโฟ เมื่อกองทัพญี่ปุ่นบนเกาะแห่งนี้แตก ทหารญี่ปุ่นที่ไม่ยอมตกเป็นเชลยต่างหนีกระจัดกระจายไปทั่วเกาะ เป็นกลุ่มบ้าง เดี่ยวบ้างกลางคืนออกทำสงครามกองโจร ก่อวินาศกรรมต่อกองทัพอเมริกัน โยโคอิถอยร่นเจ้าสู่แนวป่าเขาด้านใต้แม่น้ำทาโลโฟโฟกับพรรคพวก 10 คน แต่ตอนหลังการอยู่รวมกลุ่มหลายคนขาดความคล่องตัว และมีปัญหาด้านเสบียงอาหารจึงแยกกันออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มของโยโคอี มี 3 คน

ภาพวาดแผนผังที่ซ่อนตัว







อเมริกัน ได้ชัยชนะเด็ดขาดบนเกาะกวม เมื่อ 10 สิงหาคม 2487 ต่อจากนั้นก็ค้นหาทหารญี่ปุ่นที่หลบซ่อนตัวทุกวิถีทาง มีการโปรยใบปลิวลงหนังสือพิมพ์ประกาศทางเครื่องขยายเสียงจากเครื่องบิน แม้กระทั่งออกค้นหาอย่างจริงจัง แต่เนื่องจากทหารอเมริกันรุกมุ่งหน้าไปทางเหนือของเกาะเพื่อบุกเกาะโอกินาวา อิโวจิม่า และญี่ปุ่นซึ่งอยู่ทางทิศเหนือต่อไป ประกอบกับการค้นหาทหารญี่ปุ่นที่หลบซ่อนตัวบนเกาะแห่งนี้ ในตอนต่อมาค่อยๆเพลามือลง และในที่สุดก็เลิกราไป โยโคอิกับเพื่อนอีก 2 คน จึงรอดพ้นไปได้ แต่ทั้งสามคนมิไดอยู่ด้วยกัน โยคิอิ แยกตัวอยู่คนเดียว ส่วนอีกสองคนนั้นอยู่ด้วยกันและอยู่ห่างจากที่อยู่ของโยคิอิใช้เวลาเดิน ประมาณ 10 นาทีถึง ทั้งสามคนไปมาเยี่ยมเยียนกันเป็นบางครั้งในระยะ 15 ปี แรก ภายหลังจากเพื่อน 2 คนหายจากไป (เข้าใจว่ากินอาหารที่มีพิษ) โยคิอิต้องอยู่โดดเดี่ยวต่อมาอีก 8 ปี ก่อนจะถูกจับตัว

เกาะกวม (Guam) เป็นเกาะเล็กๆที่มี่ธรรมชาติสวยงามเหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื้อที่ 209 ตารางไมล์อยู่ในหมู่เกาะมารีอานาส์ (Marianas) ใน มหาสมุทร แปซิฟิกตะวันตก ห่างจากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเกาะเวค เกือบเท่าๆกัน แมกเจลเลนเป็นผู้พบหมู่เกาะแห่งนี้ และประกาศเป็นของสเปนเมื่อปี พ.ศ.2061 ต่อมาในปี พ.ศ.2441 เกาะกวมจึงตกเป็นของสหรัฐอันเนื่องมาจากสเปนแพ้สงครามสเปนเช-อเมริกัน จากนั้นญี่ปุ่นก็ข้ายึดครองเมื่อ 9 ธันวาคม 2484 สหรัฐยึดกลับคืนได้ในปี 2487



กวม เป็นเกาะที่มี่พลเมืองมากที่สุดของสหรัฐและสหรัฐได้ใช้เกาะแห่งนี้เป็น ปราการป้องกันประเทศด้านตะวันตกสุด มีทั้งฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศ และได้ใช้ฐานทัพอากาศแอนเดอร์สันบนเกาะแห่งนี้ เป็นฐานบินของเครื่องบินทิ้งระเบิด บี 52 ในการถล่มเวียดนาม พลเมืองกวมถือสัญชาติเมริกัน แม้เกาะแห่งนี้จะถูกไต้ฝุ่นกระหน่ำหนักยับเยินในปี 2505 ก็ตามแต่ปัจจุบันเศรษฐกิจของกวมเจริญรุดหน้าไปมาก นักธุรกิจญี่ปุ่นได้เข้าไปลงทุนในกิจการหลายๆอย่างในหมู่เกาะแห่งนี้ ตั้งแต่สงครามสงบก็ว่าได้
สภาพ บ้านเมืองของเกาะกวม หลังสงครามได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนเพิ่มขึ้น มีถนนหนทางทั่วเกาะมีโรงพยาบาลทันสมัย มีโรงแรมหรูหราต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าไป การปศุสัตว์ และทำฟาร์มมีอยู่ทั่วไป ห่างจากที่หลบซ่อนของโยโคอี ออกไปประมาณ 4 ไมล์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ วัว และปศุสัตว์อื่นเที่ยวและเล็มหญ้าเกือบจะกล่าวได้ว่าเฉียดๆที่อยู่ของเขา ทิ้งมูลไว้ประปราย มีรั้วเหล็กโดยรอบบริเวณ ถังเก็บน้ำสีขาวและตึกอาคารสีขาวสูงๆพอจะมองเห็นจากที่อยู่ของเขาได้แต่ไม่ มีใครค้นพบที่อยู่ของเขาเลย และเขาก็ไม่ยอมออกมามอบตัวแต่โดยดี จากสภาพสิ่งแวดล้อมดังกล่าวที่เปลี่ยนไป และกาลเวลาที่ผ่านไปเกือบสามทศวรรษ และก็ใช่ว่า โยโคอี จะไม่ทราบว่าสงครามได้ยุติลงแล้วก็หาไม่เพราะจากการประกาศด้วยเครื่องขยาย เสียงจากเครื่องบินให้ทราบถึงการสิ้นสุดของสงคราม การประกาศให้ออกมามอบตัวโดยจะไม่มีอันตรายใดๆเกิดขึ้น จากหนังสือพิมพ์และใบปลิวที่เขาเก็บมาอ่าน เขาทราบรายละเอียดกระทั่งจีนถูกปกครองโดยระบอบใหม่ จีนชาติต้องอพยพเข้ามาอยู่เกาะไต้หวัน เขาทราบถึงแถลงการณ์ปอตสดัม (Pot Sdam Declaration) ซึ่งแม้แต่คนรุ่นเราในปัจจุบันก็ไม่อาจจะไม่ทราบ แต่เขาก็ไม่ยอมออกมามอบตัว ยังคง หลบๆซ่อนๆ ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากต่อไป


เหตุที่เขาไม่ยอมออกมาเป็นเพราะ
ประการแรก ทหารญี่ปุ่นในยุคโตโจนั้น ขึ้นชื่อในเรื่องระเบียบวินัย ความกล้าหาญ การเสียสละ ยอมสละชีพเพื่อชาติ เพื่อพระจักรพรรดิ์ ทหารลูกพระอาทิตย์ทุกคนได้รับการอบรมสั่งสอนให้ยอมตายในสนามรบ การยอมแพ้ถูกจับเป็นเชลย ยอมมอบตัวนั้นเสื่อมเสียเกียรติยศของชายชาติทหาร เป็นสิ่งที่ควรดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อพูดถึงเรื่องเขาจะได้กลับสู่ญี่ปุ่น แล้วเขาถึงกับต้องคิดหนักในเรื่องนี้ เขารู้สึกละอายใจที่รอดกลับมา
บันไซ





ประการที่สอง คือความกลัว ทหารญี่ปุ่นเคยใช้ซามูไรจัดการกับปฏิปักษ์จนชึ้นชื่อลือชาในความทารุณ โหดร้าย หากยอมมอบตัวก็กลัวว่า “ดาบนั้นคืนสนอง” เข้า บ้าง แม้จะรู้ว่าสงครามยุติ แต่ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐเขาเชื่อแน่ว่าไม่มีทางจะกลับ เป็นมิตรกันได้ไม่ว่าโดยกรณีใดๆ ซึ่งในภายหลังเขาบอกกับพยาบาลที่ดูแลเขาว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาเข้าใจพวกอเมริกันผิดถนัด” ไม่นึกว่าคนอเมริกันจะเป็นผู้ที่มีความเมตตาปราณี และเป็นมิตรกับคนญี่ปุ่นได้
แต่ถึง กระนั้นเขาก็มีความหวังว่าสักวันหนึ่งเขาคงมีโอกาสได้กลับสูมาตุภูมิ ทางเดียวจะกลับไปได้ก็โดยทางเครื่องบินเท่านั้น 10 ปี ผ่านไป 20 ปีผ่านไป แต่เมื่อไม่มีเครื่องบินที่มีสัญลักษณ์สีแดงกลมๆของญี่ปุ่นผ่านมาแม้แต่ เครื่องเดียวก็ได้แต้นั่งปลงว่าชาตินี้คงต้องทิ้งกระดูกไว้ที่เกาะกวมเป็น แน่แท้
ชาวญี่ปุ่นและชาวโลกที่ได้ทราบข่าวการพบตัว โยโคอิ ต่างก็อยากรู้ว่า
“ทำไมเขาไม่ออกมามอบตัว”
และ
“เขาอยู่ได้อย่างไร?”
บางคนรู้สึกทึ่ง บางคนถึงกับอิจฉา อิจฉาในการทำ
“สถิติ”
ซ่อนตัวที่นานที่สุดของเขา
เขาดำรงชีพอย่างโดดเดี่ยวภายใต้ปัจจัยที่ขาดแคลนได้อย่างไร?
หลังจากแยก กับเพื่อน 2 คน คนหนึ่งเป็นทหารยศสิบโท และอีกคนหนึ่งเป็นพลเรือน ชื่อฉิชิ และ นากาฮาตง แล้ว เขาสร้างกระท่อมเล็กๆอยู่ในป่าลึก ดำรงชีพอยู่ด้วยนเครื่องกระป๋องที่ทหารอเมริกันทิ้งลงมาจากอากาศแต่กระนั้น ก็มีปัญหาเรื่องอาหาร มีด และไฟ เขาใช้เลนซ์ไฟฉายรับแสงอาทิตย์จุดไฟ แต่เมื่อเห็นว่าการอยู่ในกระท่อมบนพื้นดินไม่ปลอดภัย จึงหาที่อยู่ใหม่ หลังจากเดินสำรวจชัยภูมิแล้วก็เลือกได้ที่เหมาะแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นป่าไผ่ใกล้ๆลำธารของแม่น้ำทาโลโฟโฟ
ใน เวลากลางคืน เขาใช้เสียมที่ทำจากปลอกกระสุนปืนใหญ่ขุดดิน เป็นหลุมกว้างประมาณ 2 ฟุตใช้มือกอบดินที่ได้ออกไปโปรยหว่านไกลๆเพื่อพรางตา ขุดเป็นปากปล่องลึกลงไปประมาณ 8 ฟุต ต่อจากนั้นก็ขุดถ้ำในแนวนอนเป็นโพรงสี่เหลี่ยมยาว 9 ฟุต กว่าง (ส่วนสูง) ประมาณ 39 นิ้ว ใช้เวลาขุดประมาณหนึ่งเดือน ถ้ำ (บ้าน) ของเขาก็เสร็จเรียบร้อยที่ก้นถ้ำเขาขุดขึ้นมาหาผิวดินข้างบน เป็นรูเล็กๆ แล้วนำไม้ไผ่ที่กระทุ้งข้อออกตลอดลำ เสียบตามรูนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นช่วงระบายอากาศส่วนด้านปากปล่องที่ใช้ขึ้นลง เขาขุดทะลุไปถึงฝั่งลำธารที่นี่ใช้เป็นส้วมและระบายน้ำฝนที่ไหลลงมาตามปล่อง ขึ้นลงหากเกิดฝนตกหนักก็จะไหลออกสู่ลำธารได้


“บ้าน”
ของ เขาจะได้ไม่ถูกน้ำท่วม ปล่องขึ้นลงนำไม้ไผ่มาทำเป็นขั้นบันได ปลายบนมัดไว้กับรากไผ่ เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านก็ทำด้วยไม้ไผ่ มีชั้นสำหรับวางของและทำฝ้าเพดานป้องกันดินร่วงหล่นลงมา แค่นี้บ้านก็เรียบร้อยสมบูรณ์อยู่ได้อ้อ! ปาก ปล่องจะทิ้งไว้ว่างเปล่าไม่ได้ เขานำไม้ไผ่มาสานเหมือนมู่ลี่ ขนาดกว้างกว่าปากปล่องเล็กน้อย ปิดไว้แล้วทับด้วยใบไผ่แห้งเพื่อพรางตา
บ้านหลังนี้ให้ความปลอดภัย แก่เขาตลอดเวลากว่าทศวรรษ กลางวันเขาอยู่ในบ้าน หาอะไรทำไปตามเรื่อง เช่น ถักทอผ้าเพื่อเย็บเป็นเสื้อ กางเกง รองเท้า เข็มขัด แม้กระทั่งถุงถักสำหรับใส่เสบียงอาหาร ทำลอบดักกุ้ง และปลาไหล ทำกับดักหนู ทำน้ำมันจากเนื้อมะพร้าวไว้สำหรับปรุงอาหาร และจุดให้แสงสว่าง เสื้อผ้าที่ใช้เขานำเอาเปลือกต้นปาโก้ปาล์มมาลอกเอาใย นำใยที่ได้มาสานทอเป็นผ้า ทำเข็มเย็บผ้าขึ้นใช้เอง ใช้ใยของปาล์มที่ได้เป็นเส้นด้ายเย็บเสื้อผ้า ทำเข็มเย็บผ้าขึ้นใช้เอง ใช้ใยของปาล์มที่เป็นเส้นด้ายเย็บเสื้อผ้า เนื่องจากที่หมู่บ้าน โตมิตา จังหวัด อาอิชิ ซึ่งอยู่ใกล้เมืองนาโกยา อันเป็นบ้านเกิดของเขานั้น เขามีอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อผ้าสไตล์สากลมาก่อนเพราะฉะนั้นการหาหรือทำ เครื่องนุ่งห่มจึงไม่เป็นปัญหาสำหรับเขาเลย ตลอดเวลาที่หลบซ่อนตัว เขาตัดเสื้อ กางเกงไว้ใช้ถึง 3 ชุด จากใยปาโก้ดังกล่าว กระดุมทำด้วยปลาสติกจากกระบอกไฟฉาย หัวเข็มขัดทำด้วยลวด รองเท้าจากใยปกาโก้ ตะเกียงเป็นถ้วยเล็กๆ ไส้ตะเกียงทำด้วยใยเปลือกไม้ นำมาขวั้นเป็นเกลียวเชือก ยึดด้วยขดลวดตั้งตรงกลางถ้วยน้ำมันมะพร้าว ไฟได้จากการใช้ท่อนไม้ขัดสีกันจุดด้วยใยไม้ และต่อไว้ด้วยใยที่ขวั้นเป็นเชือกจากกาบมะพร้าวไว้ใช้นานๆ จากการที่เขาต้องง่วนอยู่กับงานทั้งวันนี้เอง ทำให้สุขภาพจิตของเขาเข้มแข็งและสามารถดำรงชีพอยู่ได้
ค่ำๆ โพล้เพล้เขาจะไต่ขึ้นจากปล่องออกมาวางลอบดักกุ้ง ปลาไหล วางกับดักหนูตามลำธารใกล้บ้านและหาปัจจัยยังชีพอื่นๆเช่น เปลือกปาโก้ ลูกมะพร้าวแล้วก็กลับเข้าไปหลับนอนในบ้าน เขากินอาหารวันละ 2 มื้อดื่มน้ำต้มสุกจากน้ำลำธำรและอาบน้ำที่นี่ อาหารเป็นพวกกุ้ง ปลาไหล กบ หอยทาก (ส่วนงูเขาไม่กิน) มะพร้าว ลูกปาล์ม และสาเกทำให้สุกโดยปิ้ง ย่าง หรือทอด ด้วยน้ำมันมะพร้าวจากกระทะที่ทำเองจากกระติกน้ำมาผ่าซีก ตลอด 28 ปีเขาไม่เคยพบเกลือเลย เกลือและน้ำตาลไม่เคยได้กิน เขามีเตาไฟอยู่ในถ้ำ ตั้งอยู่ใต้ปล่องระบายอากาศนั่นเอง แต่เพื่อมิให้ควันไฟพวยพุ่งออกมาเหนือพื้นดินเวลาเขาติดไฟเขาทำเครื่องดูด ควัน โดยนำเอาใยมะพร้าวมาแขวนไว้ใต้ปากปล่องระบายอากาศดักควันไฟไว้ ตลอดเวลาอันยาวนานเขาเจ็บป่วย 3 ครั้ง และหายเองโดยไม่ต้องกินยาใดๆ เขาเคยเป็นบิดถ่ายออกเป็นเลือด อันเนื่องมาจากกินหมูป่าที่เขาขุดหลุมดักได้มา
เครื่อง มือเครื่องใช้อย่างอื่นในบ้านของเขานอกจากที่กล่าวแล้ว มีปืนยาวอาวุธประจำตัวที่พระจักรพรรดิมอบให้ตั้งแต่เขาเข้าไปเป็นทหาร และถูกส่งไปอยู่แมนจูเรีย 3 ปี ก่อนถูกย้ายมาประจำเกาะกวม ปืนนี้ไม้พานท้ายปืนผุหมดแล้ว เหลือแต่โครงเหล็ก เขาตั้งใจไว้ว่าจะนำกลับไปถวายคืนพระจักรพรรดิ หากมีโอกาสเข้าเฝ้า นอกนั้นมีกรรไกร กาต้มน้ำที่เขาซ่อมแซมอุดรอยรั่วได้ย่างดียิ่งกว่าช่างอาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างเขาประดิษฐ์ขึ้นจากเศษวัสดุที่เขาเจอเจอะ ในการไปค้นถ้ำของเขาทางการกวมเก็บ ทรัพย์สินส่วนตัว ของเขามาได้ถึง 45 รายการรวม 90 ชิ้น แล้วนำมาแบ่งกับทางการญี่ปุ่นเพื่อนำไปเก็บไว้สำหรับศึกษาประวัติศาสตร์ทาง การทหารต่อไป
โย โคอิมีความสุขไหม หลายคนอาจจะสงสัย แน่นอนเขาไม่มีความสุขใดๆเลย เขาได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในภายหลังที่เกาะกวมว่า เขาได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสจนไม่อาจหาคำพูดใดๆมาอธิบายให้เข้าใจได้


แม้เขาจะอยู่โดดเดี่ยวเป็น เวลานาน สภาพร่างกายผอมเกร็งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก หัวเข่า ข้อศอก และข้อนิ้วมือมีกระดูกโตๆ โผล่ให้เห็นเด่นชัด และตัดผมโกนหนวดเพียงครั้งเดียวในรอบ 28 ปี จากชายหนุ่มอายุ 27 ปี ก่อนออกขากบ้านเป็นคนแก่อายุ 58 ปี ในปี พ.ศ.2515 แต่สภาพจิตใจของเขายังนับว่าอยู่ในขั้นเยี่ยม ความจำของเขาดีมากไม่ว่าจะเกี่ยวกับวันเวลาที่ผ่านไป ซึ่งเขานับคำนวนจากดวงจันทร์ เขาจำเหตุการณ์ต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็นวันเดือนปีเกิดของเขา ปีถูกส่งไปแมนจูเรีย ย้ายมเกาะกวม วันอเมริกันยกพลขึ้นบก จำรูปภาพ จำชื่อเพื่อนๆในเยาว์วัย จำผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และญาติพี่น้องได้เกือบหมด เขาอ่านและเขียนภาษาญี่ปุ่นออกแม้จะไม่เคยพูดและไม่เคยใช้ภาษามาตลอด 28 ปีก็ตาม ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่คนสมัยนี้ไม่เคยคิดถึงหรือลืมไปแล้วก็คือ ความรู้สึกที่เขาเคยได้รับการอบรมสั่งสอนมาเกี่ยวกับประเทศชาติ ศักดิ์ศรีของทหาร และคนญี่ปุ่น รวมถึงความรู้สึกของเขาที่มีต่อพระจักรพรรดิยังคงเดิม เมื่อมีผู้นำพระฉายาลักษณ์พระจักรพรรดมาให้เขาดูเพื่อทดสอบเขาจำได้ แต่เขารู้สึกเสียใจ และผิดหวังที่ “พระจักรพรรดิ (ซึ่งเป็นเทพเจ้า) ไม่น่าจะทรงฉลองพระองค์แบบตะวันตก”












21 กรกฎาคม 2487 อเมริกันยกพลขึ้นบกเพื่อชิงเกาะกวมคืนจากญี่ปุ่น การสู้รบบนเกาะยุติลงเมื่อ 10 สิงหาคม วันที่ 30 กันยายน ปีเดียวกัน ทางการญี่ปุ่นประกาศเลื่อนยศจากสิบโท เป็นสิบเอก โชอิชิ โยโคอี เป็นบำเหน็จความดีความชอบตามธรรมเนียมทหารในสมัยนั้น ที่สู้ศึกจนตัวตาย และส่งข่าวการเสียชีวิตไปถึงครอบครัว ทางครอบครัวของโยโคอิได้สร้างหลักหินจารึกชื่อผู้ตายไว้ที่วัดกยุนจิ ในหมู่บ้าน โตมิตา ว่าเป็นที่ระลึก และอนุสรณ์สถาน กือบปี ให้หลัง คือวันที่ 15 ส.ค.2488 สงครามยุติ ซึ่งโยโคอิก็ทราบ ปี 2493 พบทหารญี่ปุ่นที่หลบซ่อนตัวที่เกาะอนาตาฮาน ปี 2503 พบตัว มินากาวา และอิโต ทหารญี่ปุ่นที่หลบซ่อนตัวอีกเหมือนกันที่เกาะกวมและในปี 2515 จึงพบตัวสิบเอกโชอิชิ โยโคอิ เป็นคนล่าสุดหลังจากเหลบซ่อนอยู่ถึง 28 ปี และจากบ้านเกิดเมืองนอนถึง 31 ปีกว่าจะได้กลับคืนอีกครั้งหนึ่งเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2515


หลุมศพของ ชิโยอิชิ ปี พ.ศ. ๒๔๘๗
Shoichi's Tome 1945
Japanese
infantry


















 บทความที่เีกี่่ยวข้อง
อิชิโนะสุเกะ อูวาโนะ
เทรุโอะ นากายามะ
โอบะ ซาคาเอะ

ฮิรุ โอโนดะ 

History of Rubic




รูบิกหรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิก เป็นของเล่นลับสมองประดิษฐ์ขึ้นในปี 2517 โดย เออร์โน รูบิก ซึ่งเป็นประติมากร และศาสตราจารย์ในสาขาสถาปนิกชาวฮังการี ผู้สนใจเรขาคณิต และรูปทรงสามมิติ

เออร์โนจดสิทธิบัตรในชื่อ ลูกบาศก์มหัศจรรย์ (Magic Cube) ในปี 2518 ที่ฮังการี แต่ไม่ได้จดสิทธิบัตรนานาชาติ จากนั้นมีการผลิตชุดแรกเพื่อสำรวจตลาดในปลายปี 2520 โดยจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดา เปสต์

หลังจากนั้นเริ่มได้รับความนิยมไปทั่วทั้งฮังการี โดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตกจึงเริ่มให้ความสนใจ

เดือนก.ย. ปี 2522 บริษัท ไอดีล ทอยส์ (Ideal Toys) ที่ได้ข้อตกลงจำหน่ายทั่วโลก นำของเล่นนี้ไปเปิดตัวที่งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน อังกฤษ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมืองนูเรมเบิร์ก เยอรมนี และกรุงปารีส ฝรั่งเศส จนแพร่หลาย

ต้นปี 2523 บริษัท ไอดีล ทอยส์ เปลี่ยนชื่อของเล่นนี้เป็นลูกบาศก์ของรูบิก (Rubik"s Cube)

อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งว่าใครคือบุคคลที่คิดค้นของเล่นชนิดนี้คน แรก โดยอีกผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าประดิษฐ์ลูกบิดขึ้นมาเล่นก่อนนายรูบิก คือนายลาร์รี นิโคลส์ เพียงแต่ว่าของเล่นของลาร์รีมีขนาด 2ด2ด2 ไม่ใช่ 3ด3ด3

โดยลาร์รีตั้งชื่อว่า "Puzzle with Pieces Rota table in Group" และตัวยึดลูกบิดเข้าไว้ด้วยกันคือแม่เหล็ก ทำให้เป็นของเล่นที่มีราคาแพงและไม่แพร่หลาย ส่วนของรูบิกคือพลาสติกราคาถูก

ขณะเดียวกันชาวญี่ปุ่นชื่อ อิชิกิ เทรุโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ขอจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบเหมือนลูกบาศก์ของรูบิก ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาระหว่างที่สิทธิบัตรที่รูบิกขอนั้นกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ นายอิชิกิจึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบ

โดยทั่วไปรูบิกทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่บิดหมุนไปรอบๆ ได้ แต่ละด้านประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย มีสีทั้งหมด 6 สี จุดประสงค์ของการเล่นคือ จัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้านนั้นมีสีเดียวกัน

ปัจจุบันนี้รูบิกพัฒนาปรับเปลี่ยนจนมีหลากหลาย มีทั้งแบบ 2ด2ด2, 4ด4ด4, 5ด5ด5, 8ด8ด8 หรือมากกว่านั้น มีแบบที่เป็นวงกลม สามเหลี่ยม หรือรูปดาว แต่แบบที่คลาสสิคที่สุดยังคงเป็นแบบ 3ด3ด3 และต้องเป็นสีน้ำเงิน สีขาว สีเหลือง สีส้ม สีเขียว และสีแดง ถึงจะเรียกว่าคลาสสิคจริง

มีการพูดกันว่ารูบิกเป็นของเล่นที่ขายดีที่สุดในโลก ขายไปแล้วกว่า 300 ล้านอันทั่วโลก

สหพันธ์ลูกบาศก์โลก (World Cube Association) รับผิดชอบจัดแข่งขันเพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกได้เร็วที่ สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ วันที่ 5 มิ.ย. 2525 ผู้ชนะเลิศครั้งนั้นคือ มินห์ ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจากนครลอสแองเจลิส ใช้เวลา 22.95 วินาที จากนั้นการแข่งขันครั้งต่อมาก็มีผู้ทำลายสถิติได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ


สถิติโลกที่ดีที่สุดอยู่ในการแข่งขันเช็ก โอเพ่น ที่สาธารณรัฐเช็กปี 2551 โดย นายเอริก อัคเคอร์สดิจค์ เวลา 7.08 วินาที

Saturday, April 11, 2009

Samurai armor:Hamaki


ฮามากิ




เกราะฮามากิเป็นเกราะชุดแรกๆตั้งแต่สมัยศัตวรรษ 13
, คุณภาพที่ต่ำลงมาจากทหารเดินเท้า. เหมือนกันโยโรอิและโดมารู
    . เกราัะฮามากินั้นทำจากชิ้นส่วนหนังสัตว์จำนวนมาก และัทับเป็นตับๆ
ด้วยแผ่นเหล็กอีกทีซึ่งแผ่นจะใหญ่กว่าเกราะโดมารูและเกราะโยโรอิ    
      ซึ่งใช้เวลาน้อยและ ราคาถูกกว่าเกราะโยโรอิและโดมารูเยอะ
     และทุกๆแผ่นถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่าางเป็นระเีบียบ. น้ำหนักบนหัวไหล่จะเยอะมากพอๆกับโดมารู 
 บางคนก็ต้องรับน้ำหนักที่แผ่นป้องกันสะโพก
      น้ำหนักเยอะกว่าโยโรอิ และ เล็กบางกว่าโดมารูมาก. ซึ่งความแตกต่างนั้นทำให้เกราะโดมารูและเกราะฮามากิไกล้เคียงกันมากๆ, วิธีดูที่ง่ายที่สุดคือวิธีเปิดเกราะ. ถ้าเปิดจากเอวขวาก็คือโดมารูแน่นอน
       

วลีสั้นๆว่า


"...หากท่านตายในสนามรบ, ท่านควรแก้ปัญหาโดยการยกศพของท่านประจันหน้ากับศัตรู."
ยามาโมโตะ โยเนโทโมะ

Friday, April 10, 2009

Japanese armor:Domaru



เกราะโดมะรุ (Domaru (ドマル)) คือชุดเกราะสำหรับ ซามูไร เดินเท้า สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 5 และ 6 เช่นเดียวกับ
เกราะโยะโรอิ จากแผ่นเหล็กกล้าชิ้นบางๆ นับร้อยชิ้น ร้อยเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นแผ่นใหญ่ด้วยเส้นไหมหรือเชือก ซ้อนทับกันหลายชั้น เกราะโดะมะรุ จะแตกต่างกับ เกราะโยะโรย เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่า สวมใส่พอดีตัวและไม่มีแผงกำบังไหล่ ผู้สวมใส่เกราะโดะมะรุจะไม่ต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะ ในบริเวณส่วนหัวไหล่เช่นเดียวกับเกราะโยะโรย ทำให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวได้มากกว่า เกราะชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับซามูไรเดินเท้า ที่มีความปราดเปรียวคล่องแคล่วว่องไวในการต่อสู้ เพื่อที่จะสามารถคุ้มกัน ไดเมียว หรือแม่ทัพที่อยู่บนหลัง ม้า พร้อมกับอาวุธ ซึ่งจะสวมเกราะโยะโรย ที่มีน้ำหนักมากกว่า และเป็นอุปสรรคเวลาเคลื่อนไหวหรือกวัดแกว่งอาวุธ เกราะโดะมะรุ มีสีสันที่ไม่ฉูดฉาด สะดุดตาเช่นเดียวกับเกราะโยะโรย ที่นิยมสีสันที่ฉูดฉาดเพื่อเป็นการบ่งบอกสถานะของตนเอง สีของเกราะโดะมะรุนั้นค่อนข้างทึบและเรียบง่าย เหมาะสำหรับการแฝงตัวในความมืดเวลาออกศึก สงคราม ในเวลากลางคืน เกราะโดะมะรุถูกออกแบบขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับเกราะโยะโรย คือเพื่อใช้ในการทำศึก สงคราม สำหรับเกราะโดะมะรุนั้น เส้นไหมหรือเชือกที่สำหรับใช้ร้อยแผ่นเหล็กกล้าจำนวนมากเข้าด้วยกัน จะใช้สีที่อ่อนกว่าเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้สำหรับร้อยเกราะโยะโรย เช่นสีเทา สีน้ำเงิน ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่เช่นเดียวกัน ไดเมียว แม่ทัพหรือซามูไรที่สามารถซื้อเกราะได้ จะซื้อเกราะโดะมะรุให้แก่ ทหาร ภายในสังกัดของตนเอง ซึ่งจะสวมเกราะที่เรียบๆ ติด ดิน มากที่สุด และสำหรับทหารที่มีความสำคัญภายในกองทัพ อาจจะมีชุดเกราะอื่นๆ ที่ประดับตกแต่งหรูหรา ไว้สำหรับงานพิธีโดยเฉพาะ หมวกเกราะของเกราะโดะมะรุ เป็นลักษณะหมวกธรรมดาที่ไม่นิยมให้มีการตกแต่งประดับประดามากมาย เช่นเดียวกับหมวกเกราะของเกราะโยะโรย อาจจะประดับบ้างเพียงเล็กน้อยสำหรับหัวหน้านายกอง เพื่อเป็นการบ่งบอกฐานะของตนเองในสมรภูมิ นิยมสีเดียวกันกับชุดเกราะเพื่อให้มีความกลมกลืนซึ่งกันและกัน และจะประดับด้วย มอน หรือ ตราประจำตระกูล ของไดเมียว หรือซามูไรที่สังกัด เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะของซามูไรเดินเท้า เช่นเดียวกันกับ มอน ของไดเมียวหรือพวกแม่ทัพและเป็นการป้องกันตนเองจากการต่อสู้ในสมรภูมิอีก ด้วย เพราะระหว่างศึกสงคราม ซามูไรเดินเท้าจะสวมเกราะโดะมะรุที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู ทำให้การแบ่งแยกสังกัดทำได้อย่างยากลำบาก มอน จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงสังกัดของซามูไรเดินเท้า

Japanese samurai armor:Yoroi

เกราะญี่ปุ่น หรือ โยะโรอิ (yoroi (鎧)) สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 5 และ 6 เพื่อใช้ในการศึกสงครามของเหล่าไดเมียว ซามูไร และกองกำลังทหาร นำวิธีการสร้างมาจาก ประเทศจีน โดยนำแผ่น เหล็ก กล้าขนาดบาง เป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น ต่อร้อยเชื่อมติดเข้าด้วยกันด้วยเส้น ไหม หรือเส้นหรือเชือกหนังให้เป็นแผ่นใหญ่ ก่อนจะเคลือบอีกชั้นด้วย แลคเกอร์ เพื่อป้องกัน น้ำ หลังจากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชุด โดยให้เส้นไหมที่ใช้เชื่อมยืดติดกันนั้นเกยกันระหว่างแผ่นเหล็ก ชุดเกราะไสตล์ ญี่ปุ่น โบราณมีชื่อเรียกว่า "โยะโรย" ในสมัยโบราณชุดเกราะโยะโรย ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการขี่ม้าเวลาซามูไรออกศึก สงคราม เนื่องจากชุดเกราะโยะโรย ถูกสร้างจากแผ่นเหล็กจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณน้ำหนักค่อนมากและเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วน้ำหนักของชุดเกราะประมาณ 30 - 40 กิโลกรัม ซึ่งสร้างประสิทธิภาพในการต่อสู้แก่ซามูไรเป็นอย่างมาก ในการสวมใส่ชุดเกราะโยะโรอิ
ผู้สวมจะต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะในบริเวณส่วนไหล่ ซึ่งเป็นข้อเสียของชุดเกราะชนิดนี้ เพราจะะทำให้การเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด เมื่อยามที่ต้องต่อสู้หรือกวัดแกว่งดาบ คะตะนะ เข้าใส่ศัตรู ในระหว่างยุคสมัยสงครามโอนิน ชุดเกราะโยะโรยสำหรับนักรบซามูไรขี่ม้า เริ่มที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำหนักของชุดเกราะถ่ายเทไปยังส่วนร่างกายของผู้สวมใส่มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยในการให้นักรบซามูไรใช้ดาบ คะตะนะ เพราะการเคลื่อนไหวในบริเวณช่วงไหล่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทนฝืนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะที่สวมใส่ และน้ำหนักของดาบคู่สองเล่ม คือดาบยาว คะตะนะ และ ดาบสั้น วาคิซาชิ แต่การที่ใช้เส้นไหมหรือเชือกเชื่อมร้อยชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดเกราะชนิดนี้ยังคงอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการผลิตและในการดูแลชุดเกราะชนิดวันต่อวัน เพื่อให้ชุดเกราะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณที่พื้นที่ที่เต็มไปด้วยทุ่งนา การใช้ชุดเกราะโยะโรยที่ยึดด้วยเส้นไหมหรือเชือกร้อยดูจะเป็นเรื่องแปลก สำหรับบุคคลทั่วไป เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กนั้นสามารถดูดซับน้ำได้ง่าย จึงทำให้ชุดเกราะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และในสภาวะที่มีอากาศหนาวเย็น เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยจะแข็งตัวได้ง่าย อย่างไรก็ดี เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ เข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ชุดเกราะมีความยืดหยุ่นในตัว สามารถสวมใส่ได้ง่ายและเมื่อเกราะเกิดชำรุดก็สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วย การใช้สีของเส้นไหมหรือเชือกร้อยเช่นสีแดง สีดำ สีเหลือง เป็นการบ่งบอกสถานะของแม่ทัพในศึกสงคราม ทำให้สามารถระบุสถานะของกองทัพ แม่ทัพ และขุนพลทหารแต่ละคนว่า สังกัดตระกูลไหน ยามอยู่ในสนามรบ ในการต่อสู้ที่แสนสับสนวุ่นวาย การที่จะทุกคนในสนามรบจะสามารถแยกแยะว่าใครคือมิตรหรือศัตรู สามารถที่จะรู้ได้โดยสีของเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยชุดเกราะอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญของชุดเกราะ และเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กจำนวนมากเข้าด้วยกันนี้เอง ทำให้เกราะโยะโรยของญี่ปุ่น สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ ดูมีสีสันฉูดฉาด สะดุดตาและดึงดูดสายตาจากคนยุคใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซามูไรผู้สวมเกราะโยะโรยนั้น ค่อนข้างจะพิถีพิถันและช่างเลือกเกราะของพวกเขา และไม่ได้ยอมรับชุดเกราะที่มีสีสันสดใสแต่เพียงเพราะมันแลดูงดงามเสมอไป ที่สำคัญที่สุดก็คือ สีย้อมเส้นไหมหรือเชือกบางสี จะทำให้เส้นไหมมีความเปราะมากขึ้น และอาจทำให้เชือกร้อยยุ่ยหลุดหลุ่ยออกจากกัน ซึ่งจะทำให้มันไม่สามารถเชื่อมยึดแผ่นเกราะเข้าด้วยกันได้ และเป็นอุปสรรคสำคัญในระหว่างการทำศึกสงคราม อย่างไรก็ดี ในภายหลัง แฟชั่น ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากปี ค.ศ. 1570 สีย้อมเส้นไหมสีดำเป็นเงาเริ่มมีให้ใช้และเข้ามามีบทบาทกับชุดเกราะ ชุดเกราะที่มีเส้นไหมหรือเชือกร้อยสีดำก็ได้รับความนิยมในหมู่ซามูไร อย่างกว้างขวาง สิ่งสำคัญที่สุดคือชุดเกราะนั้นเปรียบเสมือน “เครื่องมือทำมาหากิน” สำหรับซามูไร ที่สามารถช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ อันตรายอย่างยิ่งยวดของสนามรบ เกราะโยะโรย สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ จะมีหมวกเกราะที่มีขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ หมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย อาจจะติดเขากวาง เขาสัตว์ ขนนกขนาดใหญ่หรือหงอนขนาดใหญ่ รูปแฉกแสงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ ที่ทำให้ผู้ที่สวมเกราะโยะโรยนั้นดูน่าเกรงขามและประทับใจในคราวเดียวกัน มอน หรือ ตราประจำตระกูล ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหมวกเกราะที่นิยมประดับลงบนหมวกเกราะ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะและตระกูลของผู้สวมใส่เกราะญี่ปุ่น หรือ โยะโรย (yoroi (鎧)) สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 5 และ 6 เพื่อใช้ในการศึกสงครามของเหล่าไดเมียว ซามูไร และกองกำลังทหาร นำวิธีการสร้างมาจาก ประเทศจีน โดยนำแผ่น เหล็ก กล้าขนาดบาง เป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น ต่อร้อยเชื่อมติดเข้าด้วยกันด้วยเส้น ไหม หรือเส้นหรือเชือกหนังให้เป็นแผ่นใหญ่ ก่อนจะเคลือบอีกชั้นด้วย แลคเกอร์ เพื่อป้องกัน น้ำ หลังจากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชุด โดยให้เส้นไหมที่ใช้เชื่อมยืดติดกันนั้นเกยกันระหว่างแผ่นเหล็ก
ชุดเกราะไสตล์ ญี่ปุ่น โบราณมีชื่อเรียกว่า "โยะโรย" ในสมัยโบราณชุดเกราะโยะโรยอิ ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการขี่ม้าเวลาซามูไรออกศึก สงคราม เนื่องจากชุดเกราะโยะโรย ถูกสร้างจากแผ่นเหล็กจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณน้ำหนักค่อนมากและเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วน้ำหนักของชุดเกราะประมาณ 30 - 40 กิโลกรัม ซึ่งสร้างประสิทธิภาพในการต่อสู้แก่ซามูไรเป็นอย่างมาก ในการสวมใส่ชุดเกราะโยะโรย ผู้สวมจะต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะในบริเวณส่วนไหล่ ซึ่งเป็นข้อเสียของชุดเกราะชนิดนี้ เพราจะะทำให้การเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด เมื่อยามที่ต้องต่อสู้หรือกวัดแกว่งดาบ คะตะนะ เข้าใส่ศัตรู ในระหว่างยุคสมัยสงครามโอนิน ชุดเกราะโยะโรยสำหรับนักรบซามูไรขี่ม้า เริ่มที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำหนักของชุดเกราะถ่ายเทไปยังส่วนร่างกายของผู้สวมใส่มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยในการให้นักรบซามูไรใช้ดาบ คะตะนะ เพราะการเคลื่อนไหวในบริเวณช่วงไหล่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทนฝืนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะที่สวมใส่ และน้ำหนักของดาบคู่สองเล่ม คือดาบยาว คะตะนะ และ ดาบสั้น วาคิซาชิ แต่การที่ใช้เส้นไหมหรือเชือกเชื่อมร้อยชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดเกราะชนิดนี้ยังคงอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการผลิตและในการดูแลชุดเกราะชนิดวันต่อวัน เพื่อให้ชุดเกราะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณที่พื้นที่ที่เต็มไปด้วยทุ่งนา การใช้ชุดเกราะโยะโรยที่ยึดด้วยเส้นไหมหรือเชือกร้อยดูจะเป็นเรื่องแปลก สำหรับบุคคลทั่วไป เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กนั้นสามารถดูดซับน้ำได้ง่าย จึงทำให้ชุดเกราะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และในสภาวะที่มีอากาศหนาวเย็น เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยจะแข็งตัวได้ง่าย อย่างไรก็ดี เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ เข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ชุดเกราะมีความยืดหยุ่นในตัว สามารถสวมใส่ได้ง่ายและเมื่อเกราะเกิดชำรุดก็สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วย การใช้สีของเส้นไหมหรือเชือกร้อยเช่นสีแดง สีดำ สีเหลือง เป็นการบ่งบอกสถานะของแม่ทัพในศึกสงคราม ทำให้สามารถระบุสถานะของกองทัพ แม่ทัพ และขุนพลทหารแต่ละคนว่า สังกัดตระกูลไหน ยามอยู่ในสนามรบ ในการต่อสู้ที่แสนสับสนวุ่นวาย การที่จะทุกคนในสนามรบจะสามารถแยกแยะว่าใครคือมิตรหรือศัตรู สามารถที่จะรู้ได้โดยสีของเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยชุดเกราะอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญของชุดเกราะ และเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กจำนวนมากเข้าด้วยกันนี้เอง ทำให้เกราะโยะโรยของญี่ปุ่น สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ ดูมีสีสันฉูดฉาด สะดุดตาและดึงดูดสายตาจากคนยุคใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซามูไรผู้สวมเกราะโยะโรยนั้น ค่อนข้างจะพิถีพิถันและช่างเลือกเกราะของพวกเขา และไม่ได้ยอมรับชุดเกราะที่มีสีสันสดใสแต่เพียงเพราะมันแลดูงดงามเสมอไป ที่สำคัญที่สุดก็คือ สีย้อมเส้นไหมหรือเชือกบางสี จะทำให้เส้นไหมมีความเปราะมากขึ้น และอาจทำให้เชือกร้อยยุ่ยหลุดหลุ่ยออกจากกัน ซึ่งจะทำให้มันไม่สามารถเชื่อมยึดแผ่นเกราะเข้าด้วยกันได้ และเป็นอุปสรรคสำคัญในระหว่างการทำศึกสงคราม อย่างไรก็ดี ในภายหลัง แฟชั่น ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากปี ค.ศ. 1570 สีย้อมเส้นไหมสีดำเป็นเงาเริ่มมีให้ใช้และเข้ามามีบทบาทกับชุดเกราะ ชุดเกราะที่มีเส้นไหมหรือเชือกร้อยสีดำก็ได้รับความนิยมในหมู่ซามูไร อย่างกว้างขวาง สิ่งสำคัญที่สุดคือชุดเกราะนั้นเปรียบเสมือน “เครื่องมือทำมาหากิน” สำหรับซามูไร ที่สามารถช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ อันตรายอย่างยิ่งยวดของสนามรบ เกราะโยะโรย สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ จะมีหมวกเกราะที่มีขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ หมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย อาจจะติดเขากวาง เขาสัตว์ ขนนกขนาดใหญ่หรือหงอนขนาดใหญ่ รูปแฉกแสงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ ที่ทำให้ผู้ที่สวมเกราะโยะโรยนั้นดูน่าเกรงขามและประทับใจในคราวเดียวกัน มอน หรือ ตราประจำตระกูล ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหมวกเกราะที่นิยมประดับลงบนหมวกเกราะ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะและตระกูลของผู้สวมใส่