Can't find it? here! find it

Monday, May 25, 2009

Hell prison of Thailand

นรกตะรูเตา : ค่ายนรกแบบไทยๆ

โดย webmaster@iseehistory.com

แม้ปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติตะรุเตา (หรือบางทีเรียกว่า "ตะรูเตา") จังหวัดสตูล จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แต่จุดขายอีกประการหนึ่งของสถานที่แห่งนี้คือเรื่องราวในอดีตอันเคยเป็นสถาน ที่คุมขังนักโทษที่ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยมาตลอด เช่น เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2551) มีนักการเมืองท่านหนึ่งเสนอจะให้จับกุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของตนไปกักขัง ที่เกาะแห่งนี้เช่นอดีต เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ Paul Adirex หรือคุณปองพล อดิเรกสาร ก็ได้เขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง "โจรสลัดแห่งตะรุเตา" และย้อนหลังจากนั้นไปอีกจนถึงวันที่ 30 มกราคม 2519 ภาพยนตร์เรื่อง "นรกตะรูเตา" ของรณภพฟิล์มก็ได้ออกฉายต้อนรับตรุษจีนในปีนั้นที่โรงภาพยนตร์เพชรรามาและเพ ชรเอ็มไพร์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์มาจัดจำหน่ายในรูปแบบ DVD โดย ทริปเปิ้ลเอกซ์ฟิล์ม

ลองมาดูความเป็นมาของการใช้เกาะตะรุเตาเป็นที่กักขังนักโทษกันก่อนครับ คำว่า "ตะรุเตา" หรือ "ตะรูเตา" นี้ เพี้ยนมาจากคำในภาษามาเลย์ว่า Pulau Tertua ซึ่งแปลว่า the island of old หรือเกาะอันเก่าแก่โบราณอะไรทำนองนั้น (ในไตเติ้ลภาพยนตร์จะเขียนว่า "ตะรูเตา" แต่ข้อมูลที่ได้ส่วนใหญ่จะเขียนว่า "ตะรุเตา" ครับ) เกาะนี้อยู่ในทะเลอันดามันเขตจังหวัดสตูล พิกัด 6 องศา 35 ลิบดาเหนือและ 99 องศา 39 ลิบดาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ.2479 รัฐบาลได้ให้กรมราชทัณฑ์สำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมสำหรับกักกันและฝึก อาชีพให้นักโทษ ซึ่งทางกรมฯ ก็ได้เลือกเกาะแห่งนี้ ด้วยเหตุว่าเป็นเกาะใหญ่อยู่กลางทะเลลึก มีคลื่นลมมรสุมรุนแรง มีจระเข้และฉลามชุกชุม เป็นปราการทางธรรมชาติที่สามารถป้องกันการหลบหนีของนักโทษได้อย่างดี นักโทษคดีอุกฉกรรจ์ชุดแรกจำนวน 500 คน ถูกส่งลงมายังทัณฑสถาเกาะตะรุเตา ในปี พ.ศ.2481 และส่งทยอยลงมาเรื่อยๆ จนเพิ่มขึ้นสูงถึง 3,000 คน ในปีเดียวกัน ปีถัดมาคือพ.ศ.2482 รัฐบาลก็ส่งนักโทษการเมืองมายังเกาะตะรุเตา อีก 70 คน ส่วนใหญ่เป็นนักโทษคดีกบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ โดยแยกนักโทษการเมืองมากักไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง ส่วนนักโทษอื่นคุมขังที่อ่าวตะโละวาว เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2484 สภาพความแร้นแค้นได้ลุกลามไปทั่ว ขนาดในเมืองบนแผ่นดินใหญ่ยังย่ำแย่ แล้วเกาะตะรุเตาจะขนาดไหน ทั้งความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บได้คร่าชีวิตนักโทษไปกว่า 700 คน ผู้คุมและนักโทษบางส่วนก็ผันตัวเองมาเป็นโจรสลัด ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่แล่นผ่านเพื่อยังชีพ และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดทหารอังกฤษจากมาเลเซียจึงอาสารัฐบาลไทย นำทหารจำนวน 300 นาย ยกพลขึ้นบกที่เกาะตะรุเตา เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2489 เข้าปราบปรามโจรสลัดจนราบคาบ และต่อมาในปีพ.ศ.2491 กรมราชทัณฑ์จึงประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตาไปในที่สุด และได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตะรุเตาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517

ลองมาดูเรื่องราวในภาพยนตร์กันบ้าง


รถบรรทุกที่ขนนักโทษจากสถานีรถไฟไปท่าเรือ ไม่กลัวนักโทษโดดหนีเลยเหรอ?

ภาพยนตร์เริ่มเรื่องด้วยฉากดำมืดพร้อมกับการบรรยายว่า หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 มีการกวาดล้างผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลโดยถือว่ากบฎต่อแผ่นดิน โทษประหารหรือส่งไปตายทั้งเป็น อะไรประมาณนี้ ซึ่งฟังดูไม่ค่อยเป็นธรรมกับคณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองเท่าไหร่นัก แต่เดี๋ยวผมจะกลับมาวิจารณ์ตรงนี้อีกที จากนั้นมามาที่สถานีรถไฟควนเนียง จังหวัดสตูล รถไฟที่ขนนักโทษการเมืองได้เข้าสู่ชานชาลา ผู้คุมขานชื่อเรียกนักโทษลงจากขบวนรถ อันได้แก่ พระยาสราวุฒิวิจารณ์ พันโทหลวงพิษณุรักษ์เสนา ร้อยเอกสกลสมรรถการ ถวัลย์ ศรีวัฒนา เฉลา ตาทิพย์ ขุนราชกิจกลการ หลวงสรรพจนานุกิจ สิบเอกทวี วัฒนา สิบเอกอัคนี วิโรจน์ ฯลฯ ชื่อเหล่านี้ผมต้องเดาตัวสะกดเอาเองทั้งนั้นนะครับ โดยมีเจ้าหน้าที่ 3 คนที่จะเป็นผู้ร้ายสำคัญตลอดทั้งเรื่อง ได้แก่ จ่าเผื่อน แสง และวอน มารับ ผลจากการที่เบียดเสียดยัดเยียดกันมาในตู้โบกี้ท่ามกลางความร้อน ทำให้นักโทษจำนวน 54 คน ตายไป 10 คน ร่อแร่ 5 คน คงเหลือเพียง 39 คน ขณะที่รถไฟกำลังออกจากสถานี นักโทษนามอัคนีเกิดเพ้อคิดถึงภรรยาที่ใกล้คลอดลูกออกวิ่งตามรถไฟไป คุณจ่าเผื่อนก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ผู้ร้ายด้วยการชักปืนยิงอัคนีทิ้งที่ชาน ชลานั้นเอง ร้อยเอกสกลพยายามจะเข้าไปช่วยอัคนีแต่หลวงพิษณุรักษ์หรือพรายห้ามไว้ก่อน จากนั้นจ่าเผื่อนก็นำนักโทษที่เหลือขึ้นรถบรรทุกเพื่อต่อเรือนำไปเกาะตะรู เตา ระหว่างที่ถูกลำเลียงลงเรือ สกลพยายามใช้มีดเจาะท้องเรือ แต่พรายได้ห้ามไว้อีกจนเป็นปากเสียงกันอยู่พักหนึ่ง จากนั้นนักโทษทั้งหมดก็ขึ้นฝั่งเข้าสู่เรือนกักกันที่เกาะตะรูเตา


ปืนกลบนป้อมคำรามอย่างน่ากลัว แต่ไม่ถูกใครเลย...

คืนแรกที่มาถึง จ่าเผื่อนกับพวกก็สั่งให้ลูกน้องนำขุนชัยชิดซึ่งเป็นกะเทยหรือที่สมัยนี้ เรียกว่าตุ๊ดออกจากที่พัก อ้างว่าไม่ตรวจอาการไม่สบาย แต่ที่แท้ก็เอาไปจัดการ "อัดถั่วดำ" นั่นแหละครับ แต่เอ! สมัยนั้นมีศัพท์สะแลงว่า "ถั่วดำ" หรือยังก็ไม่ทราบ แต่ในเรื่องมีการใช้คำนี้จริงๆ เอาเป็นว่าพอเช้าขึ้นมา ขณะที่บรรดานักโทษกำลังกล้ำกลืนกินข้าวกับแกงกาบกล้วยกับเนื้อเค็มที่ต้อง เสียตังค์ซื้อเพิ่มเติม ขุนชัยชิดกินข้าวไม่ลง เดินปลีกตัวไปที่โขดหินชายหาด ผู้คุมหัวโล้นชื่อนายวอนได้เข้าไปหาและพูดจาเยาะเย้ยลวนลามท่านขุนตุ๊ดต่างๆ นานา ท่านขุนทนไม่ไหวจึงชักมีดที่ซ่อนไว้แทงนายวอนเข้าให้ แล้ววิ่งหนีลงน้ำทะเล คราวนี้จึงเกิดการปั่นป่วน โดยเจ้าวอนร้องเรียกให้ผู้คุมคนอื่นมาช่วย บรรดานักโทษก็วิ่งออกจากโรงอาหารอันซอมซ่อออกมาดูเหตุการณ์ ปืนกลบนป้อมก็ยิงสนั่นหวั่นไหวไปหมด (แต่ไม่รู้ตั้งใจยิงสกัดใครหรือแค่ยิงขู่กันแน่) นายกลั่นคนขับรถไฟซึ่งมาจากโคราชเช่นเดียวกับขุนชัยชิดพยายามฝ่ากระสุนปืนกล ว่ายน้ำไปช่วยท่านขุนกลับเข้าฝั่ง และแล้วจ่าเผื่อนก็คว้าปืนยาวมายิงขุนชัยชิดกับนายกลั่น ยิงได้แม่นกว่าปืนกลบนหอคอยเป็นไหนๆ ทั้งสองจะตายทันทีหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆคือต้องกลายเป็นเหยื่อฉลามไปในที่สุด สกลไม่พอใจจนเกิดเรื่องชกต่อยกับเผื่อนแต่สู้เผื่อนไม่ได้ถูกชกสลบไป พอดีผู้บัญชาการโผล่มาห้ามไม่ให้เผื่อนทำร้ายสกลมากกว่านั้น จึงเรียกนักโทษที่เหลือมาประชุมชี้แจง จากนั้น สกลถูกขังเดี่ยวกลางแดดจนค่ำ จึงถูกนำกลับมารวมกับเพื่อนนักโทษในโรงนอน


สองพระเอกคู่กัดถูกมัดกลางน้ำ

ผู้กองสกลทำท่าเหมือนจะหมดฤทธิ์อยู่ครู่หนึ่งก็หาเรื่องเยาะเย้ยถากถาง พรายหรือพันโทหลวงพิษณุรักษ์เสนาต่อจากที่เคยเถียงกันมาก่อนบนเรือ เรื่องมันมีอยู่ว่าในเหตุการณ์กบฎบวรเดชนั้น ผู้กองสกลเป็นผู้บังคับหน่วยปืนกลจากโคราชที่ได้เข้ามาต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล อย่างดุเดือด ส่วนพันโทหลวงพิษณุรักษ์เป็นนายทหารเสนาธิการจากพิษณุโลกที่เดิมจะต้องเข้า มาช่วยทัพจากจังหวัดอื่นเข้ายึดกรุงเทพฯด้วยกัน แต่หลวงพิษณุรักษ์ตัดสินใจถอนกำลังกลับเพราะทหารจากหัวเมืองทางใต้ไม่มาเข้า ร่วม กำลังทางโคราชก็หยุดอยู่แค่ดอนเมือง จึงไม่มีทางชนะแน่ แต่สกลเห็นว่าเป็นการตัดสินใจทิ้งเพื่อนในยามคับขันอย่างคนขี้ขลาด และโยงไปถึงเรื่องที่หลวงพิษณุรักษ์หรือพรายพยายามห้ามปรามสกลไม่ให้ช่วย เพื่อนมาหลายครั้งก็เพราะความขี้ขลาดและกลัวสกลจะเด่นเกินหน้า พูดไปพูดมาจนกระทั่งเกิดการชกต่อยกันอีกจนได้ จ่าเผื่อนเข้ามาจัดการสงบศึกและจับพรายกับสกลใส่กุญแจมือไว้ด้วยกัน แต่สกลก็ฉวยโอกาสทีเผลอลากพรายหนีออกมาด้วยกันได้อย่างเหลือเชื่อ ทั้งสองวิ่งหนีกันไปทะเลาะกันไปในป่าลึกพอสมควร จนในที่สุดก็ถูกจ่าเผื่อนจับได้อีก คราวนี้จ่าเผื่อนจับคนทั้งสองมัดไว้กับเสาต้นหนึ่งกลางน้ำรอเวลาให้จระเข้ เข้ามากิน แล้วเอาพระเครื่องของทั้งสองพระเอกไปให้ท่านขุนอะไรก็ไม่ทราบคนที่เป็นผู้ บัญชาการซึ่งบ้าพระเครื่องเป็นชีวิตจิตใจ แล้วอย่างนี้สองพระเอกคู่กัดของเราจะรอดได้อย่างไร?


สองนางเอกมาพบพระเอกขณะกำลังจะเป็นเหยื่อจระเข้


ป้าเปี๊ยกเราตอนนั้นนอกจากจะยังสาวยังสวยแล้ว ยังมีแรงสู้กับจระเข้ด้วย 555!

ทางหนึ่งบรรดาเพื่อนนักโทษได้ขอให้หมอปรีชา นายแพทย์ประจำเกาะช่วยนำพระเครื่องไปติดสินบนผู้บัญชาการบ้างเพื่อให้หมอ สามารถทำหน้าที่สืบข่าวและช่วยเหลือทั้งสองพระเอก อีกทางหนึ่งพอดีจังหวะที่บุหงาลูกสาวนายหมีชาวบ้านที่ทางการอนุญาตให้อาศัย บนเกาะกับตันหยง หญิงสาวที่นายหมีเลี้ยงต้อยไว้หวังจะทำเมียเข้ามาพบสองพระเอกถูกมัดกลางน้ำ และจระเข้กำลังจะเข้าไปจัดการอยู่พอดี บุหงาซึ่งชาติก่อนจะเป็นไกรทองหรือตะเภาแก้วตะเภาทองก็ไม่ทราบจึงได้ชักมีด ลงไปสู้กับจระเข้อย่างไม่คิดชีวิต ตันหยงเลยต้องพลอยลงไปช่วยแก้มัดสองพระเอกแล้วพากันมารุมสกรัมเจ้าจระเข้ เคราะห์ร้ายแล้วพาบุหงาที่ถูกจระเข้ฟาดหางสลบกลับมายังบ้านของนายหมีผู้เป็น พ่อของบุหงา ทีแรกตันหยงก็แสดงอาการรังเกียจผู้ชายและหึงหวงบุหงาที่เริ่มจะชอบพ่อพราย ออกหน้าออกตา ไปๆมาๆก็สองคู่พระคู่นางก็จับคู่เลิฟซีนกันซะอย่างนั้น ขณะกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม นายหมีก็โผล่เข้ามาขัดขวางซะก่อน แล้วหมอปรีชาก็มาห้ามนายหมีอีกที เฮ้อ! เอาเป็นว่าหมอปรีชาก็สามารถนำสองพระเอกของเรากลับไปอยู่กับเพื่อนนักโทษได้

สภาพเรือนนอนที่พระเอกของเราสู้กันไม่กี่ทีก็แทบจะพังหมด

เพื่อไม่ให้เยิ้นเย้อเกินไป ผมจะขอข้ามประเด็นย่อยๆ มาเล่าเฉพาะเรื่องความพยายามหนีของบรรดานักโทษก็แล้วกันครับ ครั้งแรกพรายได้วางแผนให้พรรคพวกจัดหามะพร้าวแห้งจำนวนประมาณ 40 ลูกต่อคนกับร่างแหที่จะทำเป็นแพสำหรับแต่ละคนใช้เดินทางในทะเล แต่บุหงาซึ่งแอบได้ยินพรายพูดคุยกับเจ้าคุณสราวุฒิแต่แรกแล้วไม่อยากให้ พระเอกของเราจากไป ได้แอบมาขโมยมะพร้าวแห้งและร่างแหไปทิ้งเสีย ผลของการที่แผนล้มเหลวทำให้นักโทษสองคนคือหลวงจักรกับขุนราชกิจหนีเตลิดไป ถูกกับดักของผู้คุมถึงแก่ความตาย เมื่อพรายรู้เข้าก็โกรธบุหงาอย่างมาก ต่อมาเจ้าคุณสราวุฒิได้วางแผนให้หมอปรีชานำเงินไปว่าจ้างนายหมีนำเรือพาหนี ออกไปตอนกลางคืน และแล้วจ่าเผื่อนกับพวกได้กระทำทารุณนักโทษขณะให้ทำงานตัดไม้จนเกิดการ ต่อสู้กัน นักโทษส่วนหนึ่งถูกฆ่าตาย อีกกลุ่มหนึ่งหลบเข้าป่าไปเตรียมตัวหนีออกจากเกาะโดยไม่ทราบว่านายหมีได้แอบ ส่งข่าวให้จ่าเผื่อนแล้ว จ่าเผื่อนให้ลูกน้องไปเอาตัวหมอปรีชามาทรมาน ผู้บัญชาการมาพบเข้าก็ถูกเผื่อนสังหาร จากนั้นก็เกิดการตามล่าและการต่อสู้กันระหว่างนักโทษที่จะหลบหนีจากเกาะกับ บรรดาผู้คุม แม้ว่าจ่าเผื่อนจะต้องเป็นผู้ร้ายตายตอนจบ แต่ฝ่ายพระเอกก็ต้องแลกด้วยชีวิตของหมอปรีชา ตันหยง และร้อยเอกสกลเช่นกัน มีนักโทษขึ้นเรือหนีไปถึงเกาะลังกาวีได้ 5 คน บวกกับบุหงานางเอกของเราที่เกาะแพมะพร้าวที่ลากมากับเรือด้วย


โรงอาหาร


สุขา

ถึงแม้ภาพยนตร์จะกล่าวอ้างตั้งแต่ไตเติ้ลเรื่องว่า "สร้างจากเรื่องจริง" แต่ในทัศนะของผม ควรจัดอยู่ในประเภทภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เท่านั้นครับ แม้ว่าในประวัติศาสตร์จะได้มีการนำนักโทษการเมืองจากคดีกบฎบวรเดช และกบฏนายสิบ ไปกักขังอยู่ ณ เกาะตะรูเตาจริงๆ แต่การสร้างบทภาพยนตร์นั้นเห็นได้ชัดว่าปรุงแต่งขึ้นมาตามความนิยมของหนัง ไทยสมัยก่อนที่ต้องมีเรื่องบู๊ๆ เข้าไว้ จนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปมาก เท่าที่ผมพอจะค้นคว้าได้ มีข้อเท็จจริงบางประการที่ท่านควรทราบไว้ประกอบการชมภาพยนตร์ ได้แก่

  • วันเวลาที่นักโทษการเมืองมาถึงและหลบหนี นักโทษการเมืองได้ถูกเคลื่อนย้ายจากแดน 6 มาถึงเกาะตะรุเตาในวันที่ 16 กันยายน 2482 หลังจากนั้นเพียงเดือนเดียว ในคืนวันที่ 18 ตุลาคม นักโทษจำนวน 5 คน (ดังรายชื่อที่จะกล่าวในตอนต่อไป) ได้หลบหนีออกจากเกาะโดยติดสินบนผู้คุมและจ้างเรือไปขึ้นฝั่งที่เกาะลังกาวี ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมของอังกฤษ ในช่วงเวลาดังกล่าวสงครามมหาเอเชียบูรพายังไม่เกิด จึงเป็นไปไม่ได้ที่บรรดานักโทษจะเห็นฝูงบินญี่ปุ่นบินผ่านเกาะดังในภาพยนตร์

  • ภาพยนตร์กล่าวว่ามีการขนย้ายนักโทษมาโดยรถไฟจำนวน 54 คน ตายไป 10 คน ร่อแร่ 5 คน (ซึ่งคงจะตายด้วยนั่นแหละ) คงเหลือเพียง 39 คน ถูกยิงตายที่สถานี 1 คน เหลือเดินทางไปที่เกาะตะรุเตา 38 คน แต่จากการค้นคว้าของปองพล อดิเรกสาร ระบุว่ามีนักโทษการเมืองบนเกาะ 70 คน แต่หารายชื่อได้เพียง 59 คน

  • นักโทษที่หลบหนีมีทั้งหมด 5 คน คือ พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวนิช) พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค) ขุนอัคนีรถการ (อั๋น ไชยพฤกษ์) นายหลุย คีรีวัต และนายแฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ ผู้มีความรู้ด้านโหราศาสตร์ และสอนวิชานี้ให้กับเพื่อนนักโทษมาตั้งแต่ยังถูกควบคุมตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และเป็นผู้หาฤกษ์ยามสำหรับการหลบหนี ในด้านการดำเนินการนั้น ได้มีการจ้างให้นายหมี ศรีวิโรจน์ ชาวเกาะที่ทางราชการให้อาศัยบนเกาะ กับนายแถว เชาวนาศัย ผู้คุมซึ่งเป็นลูกเขยนายหมีเป็นคนดำเนินการ ด้วยการว่าจ้างเป็นเงิน 5,000 บาท เป็นอันว่านายหมีมีตัวตนจริง แต่ไม่ได้เป็นว่าที่พ่อตานักโทษการเมืองรายใด ไม่ได้เป็นผู้ทรยศต่อคณะผู้หลบหนีจนเกิดการต่อสู้วุ่นวายแต่อย่างใด และไม่ทราบว่าบุตรสาวท่านจะเป็นไกรทองหญิงหรือเปล่า
  • ความโหด ร้ายทารุณต่อบรรดานักโทษ นับตั้งแต่การขนนักโทษแบบเบียดเสียดยัดเยียดกันมาในรถไฟนั้น บทความที่ผมพอหาได้บอกว่าเกิดขึ้นจริง แต่ไม่ได้กล่าวถึงว่ามีการเจ็บป่วยล้มตายหรือไม่ ส่วนการปฏิบัติของบรรดาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่นำโดยจ่าเผื่อนต่อนักโทษที่ ทั้งดุด่านักโทษอย่างหยาบคายและมีการลงโทษอย่างโหดเหี้ยมพร้อมจะยิงทิ้ง ทันทีราวกับผักปลานั้น ก็ไม่สอดคล้องกับข้อความที่ระบุว่า เดิมทีกรมราชทัณฑ์ไม่ได้เข้มงวดกับนักโทษการเมืองมากนัก ค่อนข้างจะให้เกียรติและให้อิสระกับนักโทษการเมืองเหล่านี้ด้วยซ้ำ จนกระทั่งนักโทษทั้ง 5 คนหลบหนีออกไปได้ดังกล่าว จึงเริ่มมาเข้มงวดกับคนที่เหลือมากขึ้น และความโหดร้ายที่จริงนั้น มาจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆและความอดอยากขาดแคลน มากกว่าที่จะมาจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
  • บทพูดบางตอนมีการกล่าวถึงนักโทษกลุ่มอื่นๆ รวมถึงนักโทษหญิงบ้างเล็กน้อย แต่ตลอดทั้งเรื่องมีแต่เรื่องราวของนักโทษการเมืองเท่านั้น

ตัวละครที่มีตัวจริงในประวัติศาสตร์เท่าที่พอนึกออก มีดังนี้

  • พระยาสราวุฒิวิจารณ์ รับบทโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์ ตัวจริงคือ พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวนิช) ประวัติของท่านมีในวิกิภาษาไทยครับ


หมอปรีชา (ซ้าย) มาตรวจอาการของ ไท บุญเปี่ยม (ขวา)

  • ไท บุญเปี่ยม บรรณาธิการและนักเขียนที่เป็น โรคท้องมาร ผมเคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับตะรูเตาในวารสารเก่าเล่มหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดคือ "ฟ้าเมืองไทย" กล่าวว่ามีนักโทษคนหนึ่งเป็นโรคท้องมาร แต่จำชื่อจริงของท่านไม่ได้ จำได้แต่ว่าในบทความดังกล่าวเล่าว่าตอนที่ท่านต้องลงมือเจาะท้องตัวเองให้ หนองมันไหลออกมาเพราะไม่มีหมอมารักษานั้น ท่านใช้ตะปูที่สนิมเขรอะไม่ใช่เหล็กที่ดูเงางามอย่างในหนัง และภายหลังดูเหมือนจะเสียชีวิตด้วยโรคบาดทะยัก ไม่ใช่ถูกผู้คุมยิง

  • โหรเฉลา รับบทโดย สีเทา ตัวจริงคือ โหรแฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ โหรชื่อดังท่านหนึ่งในอดีตดังปรากฏเรื่องราวในศิลปวัฒนธรรมฉบับที่อ้างถึงข้างท้าย


หลวงสรรพจนานุกิจ (คนกลาง) ขณะเขียนปทานุกรม

  • หลวงสรรพจนานุกิจ นักโทษที่มีงานอดิเรกใน การเขียนพจนานุกรม ตัวจริงนั้นมีบรรดาศักดิ์สุดท้ายก่อนลาออกจากราชการ เมื่อพฤศจิกายน 2475 ก่อนเกิดกบฎบวรเดช คือ "หลวงมหาสิทธิโวหาร" หรือในชื่อที่เรายังคงได้ยินชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ ก็คือ "สอ เสถบุตร" นั่นเอง หากยังไม่ทราบประวัติของท่านและความเป็นมาของพจนานุกรมของท่านที่ปัจจุบัน ยังคงมีอยู่กระทั่งในรูปแบบอิเล็คทรอนิคส์ ก็หาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงค์ข้างท้ายครับ


ผู้บัญชาการขณะอบรมนักโทษ

  • ผู้บัญชาการที่ในหนังได้ยินเรียกเพียงว่า "ท่านขุน" นั้น น่าจะเป็นคนเดียวกับ ขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์ ที่คุณปองพล อดิเรกสาร เล่าไว้ในหนังสือเรื่อง "โจรสลัดแห่งตะรุเตา" นั่นเอง แน่นอนว่าท่านไม่ได้ถูกลูกน้องยิงตายอย่างที่ในหนังแต่งเรื่องขึ้นมาเสริมความร้ายกาจของจ่าเผื่อนตามสไตล์หนังไทยยุคนั้น


ไอ้หมี ในเรื่องกับปืนเมาเซอร์คู่ใจ

  • ไอ้หมี รับบทโดย ภิภพ ภู่ภิญโญ ตัวจริงก็คือ นายหมี ศรีวิโรจน์ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะตะรูเตาดังกล่าวข้างต้น

แนวคิดทางประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยจะยุติธรรมกับคณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เท่าไหร่นัก โดยในคำบรรยายเริ่มแรกกล่าวว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีการกวาด ล้างจับกุมผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างขนานใหญ่ คนที่รู้ประวัติศาสตร์ไม่แข็งแรงอาจจะเข้าใจไปว่าคณะราษฎรอยู่ในประเภทเดียว กับพรรคฟาสซิสต์นาซีอะไรประมาณนั้น แม้จะมีการกวาดล้างคล้ายๆ กับที่กล่าวอ้างอยู่จริง แต่การกล่าวอย่างรวบรัดและเหมารวมแบบนั้นดูจะไม่สอดคล้องกับความแตกแยกและ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในคณะราษฎรหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และภาพยนตร์ยังได้สร้างความเลวร้ายผ่านจ่าเผื่อนกับพรรคพวกนั้นก็ราวกับจะ ให้คนเหล่านี้เป็นตัวแทนความเลวร้ายของการปกครองภายหลัง 2475 แต่ในภาพยนตร์เองก็บอกอยู่ว่าบรรดานักโทษการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกจับ เนื่องจากเหตุการณ์กบฎบวรเดช ซึ่งสัจจธรรมของการแย่งชิงอำนาจก็คือ "ชนะเป็นเจ้า แพ้เป็นโจร" ในเมื่อท่านเหล่านั้นอยู่ฝ่ายที่ยึดอำนาจไม่สำเร็จก็ต้องถูกจับเป็นธรรมดา หากเป็นผู้บริสุทธิ์ที่โดนจับแบบเหวี่ยงแหก็ว่าไปอย่าง แถมยังมีบันทึกแย้งด้วยว่าทางการเขาให้เกียรตินักโทษการเมืองเหล่านี้ อย่างน้อยก็ในระยะแรก ไอ้ที่จะถึงขนาดด่าว่าหยาบๆคายๆ เตะถีบและยิงทิ้งเป็นผักปลานั้น น่าจะเว่อเกินไป

น่าสังเกตด้วยว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในตอนต้นปี 2519 คือน่าจะสร้างในปี 2518 อันเป็นช่วงที่การเมืองมีการแบ่งแยกเป็นซ้ายเป็นขวาอย่างรุนแรงจนกลายเป็น เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ไปในที่สุด ด้านผู้เขียนบทคือท่าน ส.อาสนจินดา ศิลปินแห่งชาติ นั้น ผมจำได้ว่าช่วงนั้นท่านก็เป็นหนึ่งในบรรดานักเขียน "ขวาจัด" คนหนึ่งด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงคล้ายจะแฝงนัยยะทางการเมืองในช่วงนั้นที่ฝ่ายขวาจัดมี แนวคิดว่า ฝ่ายซ้ายหรือพวกที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยนั้นก็ไม่ได้ดิบดีอะไร หรือการมีประชาธิปไตยมีเสรีภาพมากเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งดี อะไรปานนั้น ในปัจจุบันแม้จะไม่มีใครพูดอะไรแบบนั้นออกมาตรงๆ แต่ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ก็ยังไม่เคยได้รับการยกย่องอย่างแท้จริงสักที


สองพระเอกกระโดดหนีจากน้ำตกหนีการตามล่าของผู้คุม

โดยรวมแล้ว ผมจึงเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพียงภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจ คาดหวังข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์การควบคุมนักโทษที่เกาะตะรุเตาหรือตะรู เตาได้สักเท่าไหร่ นอกจากการศึกษาแนวคิดทางการเมืองของผู้สร้าง/ผู้เขียนบทที่แฝงอยู่ใน ภาพยนตร์ ถ้าจะดูกันเล่นๆ เพลินๆ ก็ต้องทนกับบทผู้ร้ายเว่อๆ แบบหนังไทยทั่วไปสักนิด และมีฉากวาบหวิวให้ดูกันแว้บๆ ที่ไม่ได้น่าเกลียดอะไรมากนัก แต่ Capture มาให้ดูไม่ได้นะครับ ขอให้หาดูจากในแผ่นกันเอาเอง ภาพธรรมชาติสวยๆ บนเกาะก็มีอยู่ตลอดเรื่อง

คำคมชวนคิด

  • "ผู้รักชาติที่ร้อนแรงน่ะ มีที่อยู่ 2 แห่ง ถ้าไม่ได้เข้าไปนั่งในพระที่นั่งอนันตสมาคม ก็ต้องไปอยู่ในนรก" หลวงสรรพจนานุกิจพูดกับเพื่อนนักโทษบนรถที่จะนำออกจากสถานีรถไฟ เมื่อเผื่อนได้ยินเข้าก็บอกว่าที่ที่จะพาไปนี้ไม่ใช่พระที่นั่งอนันตสมาคม แต่เป็น "ตะรูเตา"
  • "เก็บเอาสังขารที่สมบูรณ์ไปสู้กับความทารุณบนเกาะดีกว่า" และ "ถ้าแกคิดว่าขึ้นบนเกาะนั้นแล้วมันยังเป็นนรกไม่พอ จะกระทืบกันให้ลำเค็ญหนักขึ้นไปอีก ก็ได้" พันโทหลวงพิษณุรักษ์เสนาพูดกับร้อยเอกหลวงสกลสมรรถการขณะอยู่บนเรือที่แล่นไปยังเกาะตะรูเตา
  • "ที่ นี่ไม่มีท่านขุน ไม่มีคุณหลวง,คุณพระ ยศถาบรรดาศักดิ์โยนทิ้งไว้ที่ทะเล ผู้ต้องขังทุกคนมียศเสมอกันคือ นักโทษกบฎ ทางออกที่ถูกต้องมีสองทางคือ ทางเรือเมื่อพ้นโทษ และฝังดินเมื่อเสียชีวิต และขอบอกรายละเอียด สำหรับผู้คิดหนี 9 ไมล์ทะเลถึงเกาะลังกาวี แต่จะถูกส่งกลับมาในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน และ 80 ไมล์ทะเลถึงฝั่งสตูล ถ้าสามารถฝ่าดงฉลามไปได้" ท่านขุนผู้บัญชาการบนเกาะตะรูเตากล่าวกับบรรดานักโทษการเมือง
  • " ประชาธิปไตยมันอัดแน่นอยู่เต็มพุงผมเต็มทีแล้ว เชื่อมั๊ยหมอ มันมาจากกรุงเทพฯ หนีเข้ามาอยู่ในท้องผม ที่กรุงเทพฯมีแต่เผด็จการ ไม่มีประชาธิปไตย" ไท บุญเปี่ยม กล่าวกับหมอปรีชา
  • " ผมเป็นนักการเมือง นักการเมืองไม่สกปรกไม่มี ผมเป็นบาดทะยักดีกว่าบ้านเมืองเป็นบาดทะยัก นักเขียนหนังสือพิมพ์อย่างผม โน่น ไปรับเหรียญเกียรติยศที่เชิงตะกอนโน่น" ไท บุญเปี่ยม กล่าวกับหมอปรีชา หลังจากใช้เหล็กเจาะท้องตัวเองเพื่อเอาหนองออกเพราะหมดหวังกับการรอคอยการรักษาจากแผ่นดินใหญ่
  • "ตายเพราะความรักดีกว่ามีชีวิตอยู่บนความทุกข์" หมอปรีชาบอกให้บุหงาเพื่อให้หนีจากเกาะไปกับคณะนักโทษก่อนที่ตัวเองจะสิ้นใจตาย

ชื่อเรื่องภาษาไทย : นรกตะรูเตา

ชื่อภาษาอังกฤษ : TA RU TAO

เรื่องเดิม : ในไตเติ้ลเรื่องมีข้อความว่า "สุมนทิพย์ สร้างจากเรื่องจริง" ยังไม่ทราบว่า "สุมนทิพย์" เป็นใคร และเขียนเรื่องนี้เป็หนังสือหรืออย่างไร?

ผู้กำกำกับ : รุจน์ รณภพ, จรัล พรหมรังษี (ผู้ช่วยกำกับการแสดง)

ผู้อำนวยการสร้าง : อัญชลี ชอบประดิษฐ์ (ชื่อจริงของ อรัญญา นามวงศ์)

ผู้เขียนบท : ส.อาสนจินดา

ผู้แสดง :

  • สมบัติ เมทะนี - พันโทหลวงพิษณุรักษ์เสนา
  • นาท ภูวนัย - ร้อยเอกสกลสมรรถการ
  • อรัญญา นามวงศ์ - บุหงา
  • ศิริขวัญ นันทศิริ - ตันหยง
  • มานพ อัศวเทพ -หมอปรีชา
  • อดุลย์ ดุลยรัตน์ - พระยาสราวุฒิวิจารณ์
  • ภิภพ ภู่ภิญโญ - นายหมี
  • บุญส่ง ดวงดารา
  • บู๊ วิบูลย์นันท์
  • สีเทา - เฉลา ตาทิพย์
  • ขวัญ สุวรรณะ - หลวงสรรพจนานุกิจ
  • เทอด ดาวไท
  • กฤช เนาวกานต์
  • ม.ล.โกมล ปราโมช
  • สมชาย สามิภักดิ์
  • สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม
  • ถวัลย์ คีรีวัฒน์ - กลั่น
  • พีระพล ปิยะวรรณ
  • เชษฐ์ อนุชิต
  • เมือง มาระตี
  • พิศ พวงเพชร
  • บุญส่ง คงล้อมญาติ
  • ฉกาจ ปุควนิจย์

Thursday, May 21, 2009

German tank:Pzkw VI Ausf B Tiger 2 or KingTiger



คิงไทเกอร์ รุ่นติดป้อมปืนแบบปอร์เช่ ที่ยกเลิกการผลิตไป
Pzkw VI Ausf B Tiger 2 or KingTiger แพนเซอร์ 6 อาส์ฟ บี ไทเกอร์สอง หรือ คิงไทเกอร์
เป็นสุดยอดรถถังที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในยุคนั้น โดยมีย้ำหนักกว่า70ตัน ไทเกอร์2 หรือคิงไทเกอร์ รถถังรุ่นนี้ได้ทำการออกแบบและผลิตในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี1942 หลังจากที่ไทเกอร์1 ออกสู่สมรภูมิได้ไม่นาน เนื่องจากการคาดการณ์ของเสนาธิการฝ่ายเยอรมันว่า โซเวียตกำลังผลิตรถถังที่ทรงอานุภาพมากๆขึ้น รถถังรุ่นนี้ก็ถูกผลิตโดยสองบริษัท เฮนเซล และปอร์เช่ แต่ก็ต่างกันที่ป้อมปืนเท่านั้น ช่วงล่างรถใช้เหมือนกัน แต่ป้อมปืนแบบปอร์เช่ก็ถูกผลิตออกมาเพียง50ป้อมเท่านั้น เพราะว่าส่วนโค้งด้านหน้าป้อมของปอร์เช่นั้นมีความหนา110มิลลิเมตร บางกว่าป้อมของเฮนเซลถึง70มิลลิเมตร และป้อมผ.บ.รถของปอร์เช่ที่ยื่นออกมานั้นมีเกราะที่บางมาก ซึ่งอันตรายมากหากถูกยิง จึงยกเลิกการผลิตป้อมแบบปอร์เช่ไป ให้ผลิตแต่ป้อมแบบเฮนเซลมาแทน
นอกจากเกราะที่หนาแล้ว คิงไทเกอร์ ยังติดปืนขนาด88มม. L71 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนต่อสู้รถถังทุกชนิดในยุคนั้น แต่จุดอ่อนก็คือ เครื่องยนต์ที่คิงไทเกอร์ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับไทเกอร์1 เครื่องรุ่นเดียวกัน แต่รับน้ำหนักมากกว่า จึงมีปัญหาการกินน้ำมันอย่างมาก( โดยกินน้ำมันถึง7ลิตรในการวิ่งระยะทาง1ลิโลเมตร ) และปัญหาการขัดข้องด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์รุ่นนี้ก็ถือว่าทรงอานุภาพที่สุด
ข้อมูลการรบเท่าที่มีการบันทึกไว้ คือข้อมูลของทหารสหรัฐในการรบที่ป่าอาร์เดนส์ ประเทศเบลเยี่ยม หรือที่เรียกว่าการรบแห่งบัลจ์ โดยคิงไทเกอร์ได้สร้างความตกตะลึงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรอย่างมาก เพราะพวกเขาพบว่า ปืนใหญ่แทบทุกชนิดของฝ่ายพันธมิตร ไม่สามารถสร้างความเสียหายใดๆให้แก่คิงไทเกอร์ได้เลย แม้จะโจมตีด้วยเครื่องบินก็ตาม แต่ข้อมูลการรบของฝ่ายเยอรมันนั้นแทบจะไม่มีเลย นั่นก็เพราะมีข้อมูลที่เปิดเผยในช่วงหลังสงครามว่า ในช่วงปลายสงครามและเยอรมันใกล้จะแพ้ ศูนย์ยุทธการบกเยอรมันที่เมืองพอตส์ดัมส์ ได้เผาทำลายเอกสารข้อมูลและรูปถ่ายที่ได้มาระหว่างสงครามไปเกือบหมด รวมทั้งข้อมูลของคิงไทเกอร์ด้วย ซึ่งถ้าพิจารณาทฤษฏีนี้ ก็มีความเป็นไปได้สุงว่า ข้อมูลของคิงไทเกอร์นั้นได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว
ข้อมูล
หนัก--68-70ตัน(บางรุ่นอาจหนักถึง76ตัน)
 
ยาว--10.3เมตร
 
กว้าง---3.8-4.3เมตร
 
สูง--- 3.3เมตร

พลประจำรถ--5นาย
 
เกราะหนา--40-185มิลลิเมตร
 
อาวุธ----ปืนใหญ่ 88มม. L71 1กระบอก อาวุธรอง ปืนกล7.92มม. 3กระบอก(ปืนกลภาคพื้นMg-34จำนวน2กระบอก และปืนกลต่อสู้อากาศยานMG-42 จำนวน1กระบอก)
ความเร็ว---38-42กม./ชม.
พิสัยทำการ--- 170กิโลเมตร

German tank: Pzkw VI Tiger


Pzkw VI Tiger แพนเซอร์ 6 ไทเกอร์
               สุดยอดแห่งตำนานรถถังของนาซีเยอรมันและของโลก ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรถถังที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก ถ้าเทียบเรื่องจำนวนในการสังหารรถถังด้วยกัน
          คำสั่งการออกแบบไทเกอร์ เริ่มในวันที่26พฤษภาคา ปี1941 1เดือนก่อนบุกรัสเซีย โดยมีบริษัทเอกชนสองบริษัทคือ ปอร์เช่ และเฮนเซล เข้าร่วมการแข่งขันออกแบบรถถังไทเกอร์ แต่ว่าป้อมปืนนั้น ถูกแยกไปผลิตและพัฒนาโดยบริษัทกรุ๊ปป์
เมื่อสงครามในรัสเซียอุบัติขึ้น เยอรมันต้องการรถถังหนัก ที่มีความแข็งแกร่งสูง ติดอาวุธทรงอานุภาพเพื่อรับมือกับรถถังรัสเซีย ไทเกอร์ จึงเป็นอาวุธที่มีความจำเป็นยิ่งยวด ทั้งสองบริษัทจึงรีบออกแบบเพื่อให้ชนะการแข่งขันโดยเร็ว
             แต่การออกแบบของสองบริษัทก็ค่อนข้างต่างกัน เช่น รถของเฮนเซล(VK3601) จะออกแบบให้ปืนประจำรถสามารถใช้กระสุนเจาะเกราะทังสเตนได้ แต่ก็จะเลือกว่าจะติดตั้งปืนใดดีระหว่าง ปืน75มม. L70 แบบรถถังแพนเธอร์ และ 88มม. L56 ส่วนรถทดสอบของปอร์เช่(VK3001) จะใช้เครื่องยนต์เบนซิน และติดปืน88มม. L 56 เท่านั้น
            และการทดสอบในปี1942 วันเกิดของฮิตเลอร์ รถทดสอบของเฮนเซลนั้น ประสบปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ ทำความเร็วได้เพียง45กม./ชม. ช้ากว่าปอร์เช่ถึง5กม. แถมเครื่องยนต์ของเฮนเซลก็ยู่ในสภาพร้อนจัดแทบจะระเบิด แต่รถทดสอบของปอร์เช่นั้นก็มีปัญหาเรื่องช่วงล่าง ระบบเกียร์ และระบบบังคับเลี้ยว ถึงแม้จะเร็วกว่ารถของเฮนเซลถึง5กิโลเมตรก็ตามโชคยังเข้าข้างเฮนเซล ที่การทดสอบเน้นที่การขับเคลื่อนในทางวิบากผ่านภูมิประเทศ ซึ่งรถของเฮนเซลนั้นคล่องแคล่วกว่า รถของปอร์เช่วึ่งระบบเลี้ยวมีปัญหาจึงช้าเป็นเต่าคลาน ทำให้รถทดสอบVK3601ของเฮนเซลได้ชัยชนะ และนำไปสร้างเป็นรถถังรุ่นที่6 หรือ ไทเกอร์ ของเยอรมัน และเริ่มผลิตในปลายปี1942
                การออกแบบไทเกอร์นั้น ช่วงล่างและตัวถังผลิตจากเหล็กกล้าแผ่นเรียบขนาดใหญ่ นำมาเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า และยังมีระบบสลักคล้องเหล็กแต่ละชิ้นทำให้มีความคงทนกว่าเดิม และเหล็กชิ้นใหญ่ ทำให้ไทเกอร์ทนต่อการยิงของปืนแทบทุกชนิด
ป้อมปืนนั้นออกแบบเป็นทรงเกือกม้า มีความแข็งแกร่งคงทนสูง ป้อมผ.บ.รถอยู่ทางซ้ายของตัวรถ แต่ป้อมผ.บ.แบบเก่าอยุ่ในวิถียิงของพลปืนรัสเซีย จึงปรับให้เตี้ยลง ตัวถังรถด้านหน้าเป็นที่นั่งของพลวิทยุ ติดปืนกลแบบ เอ็มจี34 ซึ่งเป็นที่หวาดกลัวของทหารพันธมิตรและโซเวียตมาก ปืน88มม. L56 มีระยะยิงต่อสู้รถถังไกลกว่า3,000เมตร โดยจะยิงแม่นยำ100%ที่ระยะ1,500เมตร แม่นยำ80%ที่ระยะ2,000เมตร และ50%(ยิง2นัดถูก1นัด)ที่ระยะ3,000เมตร และระบบกล้องเล็งวัดระยะแบบ3ตา ทำให้ไทเกอร์ ได้เปรียบรถถังข้าศึกตรงจุดนี้ เพราะปืนของไทเกอร์ยิงได้เร็วและแม่นมาก และไทเกอร์ยังมีกระสุนเจาะเกราะแบบพิเศษ นอกเหนือจากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถังและกระสุนเจาะเกราะธรรมดา นั่นคือกระสุนเจาะเกราะหัวรบทังสเตน แบบPzgr 40 ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมากนัก กระสุนรุ่นนี้ผลิตมาจากโลหะผสมทังสเตน มีความเร็วปากลำกล้องสูงและยิงได้ไกลมาก สามารถเจาะเกราะได้ทุกชนิด100% เน้นการใช้งานในการทำลายเป้าหมายที่มีเกราะหนัก เมื่อรวมกับปืน88มม.แล้ว ไทเกอร์จึงยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น แต่กระสุนรุ่นนี้ก็ผลิตออกมาน้อย เพราะช่วงสงครามเยอรมันขาดแคลนแร่ทังสเตนมาก จึงให้เบิกใช้ไม่มากนัก
               ไทเกอร์ ได้ออกรบในสมรภูมิสำคัญทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก แอฟริกาเหนือ และอิตาลี โดยในแอฟริกาเหนือ กองทัพน้อยแอฟริกา ครอล์ฟ ของนายพลรอมเมล ได้ใช้รถถังไทเกอร์จำนวนน้อย เข้าต่อสู้กับกองทัพรถถังจำนวนมหาศาลของกองทัพพันธมิตรอังกฤษ-อเมริกา และทำลายรถถังพันธมิตรได้เป็นจำนวนมาก ในแนวรบด้านตะวันออก ไทเกอร์ก็ได้แสดงพลังฝังรถถังโซเวียตจมดินเป็นจำนวนมาก โดยที่รถถังหนักของโซเวียตแบบKV-1 และ KV-2 ไม่อาจต้านทานได้ แม้ช่วงปี1944 โซเวียตจะผลิตรถถังหนักรุ่นใหม่แบบ โจเซฟ สตาลิน-2 (JS-2) ติดปืนขนาด122มม. ซึ่งใหญ่กว่าไทเกอร์ได้ก็ตาม แต่ก็หาต้านทานไทเกอร์ได้ไม่ โดยข้อมูลการรบในวันที่2มกราคม 1945 กองพันรถถังหนักที่507ของเยอรมันที่มีรถถังไทเกอร์เป็นกำลังหลัก ได้ปะทะกับกองพลยานเกราะของโซเวียตที่มี JS-2 จำนวนมาก ผลคือ รถถังไทเกอร์1 คัน สามารถทำลายรถถังJS-2ได้ถึง22คัน ด้วยปืน88มม. ที่ยิงได้ไกล แม่นยำ และรวดเร็วกว่าโดยที่รถถังของโซเวียตไม่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่รถถัง ไทเกอร์ได้เลย ทำให้กำลังพลโซเวียตต้องถอยกลับไปตั้งหลักใหม่
ในแนวรบตะวันตก นอร์มังดี ปี1944 ร้อยเอก มิคาเอล วิทมานน์ แห่งกองพลยานเกราะ เอส.เอส. ที่1 ลิปสแตนดาร์ต ได้นำรถถังไทเกอร์6คันเข้าทำการต่อสู้กับรถถังพันธมิตร และสามารถสังหารรถถังพันธมิตรได้มหาศาล
                 เนื่องจากประสิทธภาพของไทเกอร์เป็นที่หวาดหวั่น แก่ทหารพันธมิตร ทำให้เกิดอาการทางจิตในช่วงสงครามที่เรียกว่า ไทเกอร์ โฟเบีย หรืออาการหวาดกลัวรถถังไทเกอร์ นั่นคือเมื่อมีคนพูดถึงรถถังไทเกอร์ ผู้มีอาการดังกล่าวจะเกิดอาการสั่นกลัว และเมื่อได้ยินเสียงรถถังไทเกอร์หรือเห็นตัวรถถัง ก็แทบจะเป็นประสาทไปเลย
                  จุดอ่อนอันน่ากลัว ของ ไทเกอร์คือ เครื่องยนต์ที่มีปัญหา(เป็นความผิดพลาดในการออกแบบรถต้นแบบของเฮนเซล) ความเชื่องช้า เพราะน้ำหนักที่มาก โดยในการรบที่เมืองคาห์คอฟ และเคียฟ สภาพถนนเป็นโคลนตม รถถังไทเกอร์ที่มีน้ำหนักมาก ได้ติดหล่ม และเร่งเครื่องจนเครื่องยนต์พังเสียหาย จึงตกเป็นเป้าของปืนรถถังโซเวียต ทำให้เยอรมันต้องเสียไทเกอร์จำนวนมากในการรบครั้งนั้น
ไทเกอร์ ถูกผลิตตั้งแต่ปี 1942-1944 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,350คัน แม้จะมีน้อย แต่ก็สำแดงพลังการรบให้ทหารพันธมิตรเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับการยกย่องจากนักการทหารในรุ่นหลังว่า มันคือสุดยอดเครื่องจักรสังหารอย่างแท้จริง
ข้อมูล
หนัก--57 ตัน (บางรุ่นหนักถึง62ตัน)
ยาว---8.45เมตร
กว้าง---3.8เมตร
สูง--- 3เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--25-120มิลลิเมตร
อาวุธ---ปืนใหญ่ 88มม. L56 1กระบอก อาวุธรอง ปืนกล7.92มม. 2-3กระบอก เครื่องยิงระเบิดควัน90มม. 6ท่อยิง
ความเร็ว---38-45กม./ชม.
พิสัยทำการ---195ก.ม.

German tank: Pzkw V Panther V

Pzkw V Panther แพนเซอร์ 5 สมญานาม แพนเธอร์(เสือดำ)

หนึ่งในตำนานรถถังของนาซีเยอรมัน โดยการออกแบบเริ่มในปี1941 เมื่อเยอรมันบุกรัสเซีย และไปพบกับรถถังแบบ ที-34 ของรัสเซีย ที่มีความเร็วสูง ติดปืนที่ทรงอานุภาพ สายพานกว้างเกาะถนนได้ดี และลักษณะพิเศษคือ มีเกราะที่ลาดเอียง มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความหนาของเกราะโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดเกราะ และยังช่วยลดการปะทะโดยตรงของกระสุนปืน ทำให้ฝ่ายเยอรมันตกใจในอานุภาพที่สูงส่งของที-34มาก เมื่อยึดรถถังรุ่นนี้ได้ในสนามรบ จึงได้นำมาศึกษา และต้องการผลิตรถถังแบบที-34 ให้ได้ แต่ทว่า การผลิตรถถังเลียนแบบที-34นั้น เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ จึงต้องออกแบบรถถังใหม่โดยให้คุณลักษณะแบบที-34

และสิ่งที่ได้จากทดลองผลิตคือ รถถังแบบ แพนเซอร์ 5 หรือแพนเธอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนที-34 แต่สิ่งที่เหนือกว่าคือ ขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เกราะที่หนากว่า และติดตั้งปืนใหญ่75มม. L70 ลำกล้องยาว ซึ่งมีอานุภาพการทำลายล้างที่เหนือจินตนาการอย่างมาก สามารถยิงเจาะเกราะได้ลึกมาก และยิงต่อต้านรถถังได้ไกลกว่า2,000เมตรอย่างแม่นยำ ไกลกว่ารถถังทุกรุ่นของพันธมิตรและโซเวียต

แพนเธอร์เริ่มการผลิตในปี1943 แต่เนื่องจากต้องเร่งรีบผลิตออกสู่สมรภูมิ เพราะโซเวียตเริ่มการตีโต้กองทัพเยอรมัน และกำลังรบรถถังของโซเวียตที่มีจำนวนอันประมาณไม่ได้ ได้ถาโถมเข้าสู่แนวรบของเยอรมันอย่างหนัก เยอรมันจึงต้องรีบผลิตแพนเธอร์ออกสู่สนามรบโดยเร็ว ทำให้มีปัญหาด้านเครื่องยนต์ รถถังบางคันเครื่องยนต์เสียหายทันทีหลังออกสู่สมรภูมิไม่นาน และในการรบที่เมืองเคิร์ซ ปี1943 รถถังแพนเธอร์จำนวนมากเครื่องยนต์ขัดข้อง ทำให้แสดงความสามารถในการรบไม่ดีนัก แต่ปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ก็ถูกแก้ไขในภายหลัง

แต่ในแนวรบด้านตะวันตก แพนเธอร์ กลับมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยรถถังหลักของพันธมิตรไม่อาจต้านทานได้เลย โดยในการรบที่นอร์มังดี้ ฝรั่งเศสในปี1944 รถถังแพนเธอร์ของเยอรมันได้สังหารรถถังเชอร์แมนของสหรัฐไปเป็นจำนวนมากไม่ แพ้รถถังไทเกอร์เลยทีเดียว

แต่เนื่องจากรถถังเป็นรถถังที่ออกแบบดีมาก ทำให้ต้องการช่างเทคนิคที่มีความชำนาญสูง ทำให้ผลิตรถถังแพนเธอร์ได้ไม่มากนัก อีกทั้งช่วงปลายสงคราม กองทัพอากาศพันธมิตรยังได้ทิ้งระเบิดโจมตีโรงงานผลิตอาวุธของเยอรมันอย่าง หนัก ทำให้ผลิตรถถังออกมาได้น้อย แต่เพราะการออกแบบอันยอดเยี่ยมนี่เอง ทำให้แพนเธอร์ เป็นต้นแบบการผลิตรถถังของโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา

ข้อมูล

หนัก--45ตัน

ยาว--6.87เมตร เมื่อรวมปืนยาว8.66เมตร

สูง-- 2.99เมตร

กว้าง--3.42เมตร

พลประจำรถ---5นาย

เกราะหนา--15-120มม.

อาวุธ--- หลัก- ปืนใหญ่ลำกล้องยาว 75มม. L70 อาวุธรอง ปืนกลMG-34 ขนาด7.92มม. 2กระบอก

ความเร็ว--46-55กม./ชม.

พิสัยทำการ-- 250กิโลเมตร

German tank: Panzer 4


Pzkw IV แพนเซอร์ 4
           เป็นรถถังที่เป็นกระดูกสันหลังแห่งกองทัพรถถังของเยอรมันอย่างแท้จริง มีความคล่องตัวสูง มีอานุภาพทำลายสูง
รถรุ่นนี้เริ่มออกแบบในปี1934 เมื่อนายพลเอก ไฮนซ์ กูเดเรียน เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกเยอรมัน ต้องการรถถังหลักที่มีน้ำหนักไม่เกิน24ตัน ความเร็วไม่ต่ำกว่า35กม./ชม. เพื่อใช้ในภารกิจต่อต้านทหารราบและยานยนต์ และติดตั้งปืนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งผลที่ได้ขั้นแรกคือ แพนเซอร์ 3 และแพนเซอร์ 4 ก็ปรากฏตัวออกมาในปี1937 ในรุ่นผลติจำนวนแรกๆ37คัน และก็มีการผลิตเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี1939
                 นอกจากจะใช้ระบบแหนบรองรับตัวถังแบบทอร์ชั่น บาร์ แบบแพนเซอร์ 3 แล้ว แพนเซอร์4 นั้น ได้ติดตั้งปืนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยช่วงแรกได้ติดปืนใหญ่ลำกล้องสั้นขนาด75มม. L24ซึ่งได้ใช้เป็นหัวหอกในการบุกฝรั่งเศสในปี1940 โดยแพนเซอร์ 4 มีอานุภาพสูงกว่ารถถังแบบเรอโนลและโซมัวของฝรั่งเศส และยังมีอำนาจการยิงที่สูงกว่ารถถังแบบ ชาร์ล BI ของฝรั่งเศสและรถถังแบบมาทิลด้าของอังกฤษด้วย แพนเซอร์ 4 รุ่นนี้ก็ยังได้ปฏิบัติการในแอฟริกาเหนือด้วย
ตั้งแต่ปี1941 แพนเซอร์ 4 ได้ติดตั้งปืนใหญ่75มม. L40 ที่มีลำกล้องยาวกว่าเดิมเพื่อเพิ่มระยะยิงและอำนาจการทำลาย แต่หลังจากการบุกรัสเซียในปี1941 เยอรมันได้เผชิญหน้ากับรถถังหนักแบบ เควี-1ซึ่งมีขนาดใหญ่และเกราะหนากว่าแพนเซอร์4 และรถถังกลางแบบ ที-34 ของโซเวียต ซึ่งมีอานุภาพสูงจนน่าตกใจ ฝ่ายเยอรมันจึงได้พัฒนาปืนใหญ่ลำกล้องยาว 75มม. L48 มาใช้งานในแพนเซอร์ 4 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนของรถถังโซเวียต จนกระทั่งเวลาต่อมาเยอรมันได้ผลิตรถถังแบบ แพนเธอร์ มาทดแทนแพนเซอร์4
แพนเซอร์ 4 ถือว่าเป็นรถถังกำลังหลักของเยอรมันอย่างแท้จริง เพราะมีอานุภาพสูง ใช้งานง่าย เครื่องยนต์คงทน ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับรถถังหลักของอเมริกาแบบ M-4 เชอร์แมน และรถถัง ที-34 ของรัสเซีย และถูกผลิตออกมาเรื่อยๆจนจบสงครามเป็นจำนวนกว่า9,000คัน และกองทัพบกซีเรีย ยังได้ใช้รถถังรุ่นนี้ในช่วงหลังสงครามต่อมาด้วย
ข้อมูล
หนัก--24-28ตัน
ยาว--5.89เมตร
กว้าง-- 2.88เมตร
สูง---2.66เมตร
พลประจำรถ--5นาย
เกราะหนา--10-80มม. สามารถเสริมเกราะกระโปรงป้องกันป้อมปืนและสายพานได้
อาวุธ --- หลัก - ปืนใหญ่75มม. ลำกล้องสั้น ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นปืน75มม. ลำกล้องยาว อาวุธรอง ปืนกล MG-34 ขนาด7.92มม. สองกระบอก
พิสัยทำการ--300กิโลเมตร
ความเร็ว --- บนถนน 40กม./ชม. ในภูมิประเทศ 20กม./ชม.

German tank: Panzer mark 1

ระบบ กองทัพเยอรมัน
รายละเอียด :
แพนเซอร์ มาร์ค 1
         รถถังเบาสำหรับสนับสนุนทหารราบของกองทัพนาซี เยอรมัน ที่ได้สร้างหลังจากการถูกจับเซนต์สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมันได้ออกแบบในช่วงทศวรรษที่1930 และได้ทำการผลิตแบบจำนวนมากเมื่อปี1934 และเยอรมันยังได้ส่งแพนเซอร์ 1 ไปรบเพื่อเป็นการทดสอบประสิทธิภาพในสงครามกลางเมืองสเปน และ จีน ยังได้ซื้อไปใช้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นด้วย
          หลังการประเมินผลในการรบในสเปน แพนเซอร์ 1 รบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อสงครามโลกระเบิดขึ้น จึงได้เข้าร่วมสมรภูมิหลายแห่ง แต่ช่วงกลางสงคราม รถถังรุ่นใหม่ๆของกองเยอรมันมีอานุภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ แพนเซอร์ 1 จึงลดบทบาทลง และมีการนำตัวถังรถ มาติดตั้งปืนขนาด75มม. เพื่อเป็นปืนใหญ่อัตตาจรและรถพิฆาติรถถังด้วย
ข้อมูล
หนัก-5.4 ตัน
ยาว--4.02เมตร
สูง--2เมตร
พลประจำรถ--2คน
เกราะ--7-13มิลลิเมตร
อาวุธ---ปืนกลขนาด7.92มม. สองกระบอก หรือปืนต่อสู้อากาศยาน20มม. บรีด้า(สเปน)
ความเร็ว--50กม./ชม. บนถนน 37กม./ชม. ในภูมิประเทศ พิสัยทำการบนนถนน200กม.ภูมิประเทศ 175กม.

Monday, May 18, 2009

1st time of Thailand


1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อ พ.ศ.1826


2. พระราเมศวร เป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงสละราชสมบัติ
เมื่อ พ.ศ.1912
สละราชสมบัติให้พระเจ้าลุงคือพระบรมราชาธิราชที่ 1



3. โปรตุเกส เป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับไทย เมื่อ พ.ศ. 2060 ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 หรือพระไชยราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา

เป็น โปรตุเกส จากมะละกาในแหลมมลายู เข้ามาค้าขายและอาสาเป็นทหารร่วมรบที่เชียงกราน หลังสงครามได้ความชอบ ได้รับอนุญาตให้ตั้งโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นแห่งแรกในไทย

โปรตุเกสทำมาหากินกับไทยเกือบร้อยปี ฮอลันดาจึงแกะรอยตามมา เมื่อปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

แล้วอังกฤษก็มาเป็นชาติที่สาม เมื่อต้นสมัยพระเอกาทศรถ

ฮอลันดากับอังกฤษนับถือคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ แต่โปรตุเกสนับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก


4. หนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย แต่งขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยพระโหราธิบดี ชาวเมืองโอฆบุรี (พิจิตร) กวีและผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ในสมัยนั้น เป็นผู้แต่ง


5. สมัยพระนารายณ์มหาราช ไทยได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้ง



6. สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรก สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2325 สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2337
ดำรงตำแหน่ง อยู่ 12 พรรษา


7. โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2378 บริเวณสำเหร่ ธนบุรี ของหมอบรัดเลย์ โดยซื้อตัวพิมพ์ของ ร.อ.เจมส์ โลว์ จากสิงคโปร์
ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3

และบทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในประเทศไทย คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย ขายให้กับหมอบรัดเลย์


8. หนังสือพิมพ์อังกฤษ ฉบับแรกของไทย คือ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3


9. ตำรวจนครบาล มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4


10. นายจอห์น ลอฟตัส ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้นำรถรางมาใช้เป็นครั้งแรก เปิดใช้บริการเมื่อ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2404 ในสมัยรัชกาลที่ 4



11. นายตัน เล่งซือ ชาวจีน เป็นคนแรกที่ตั้งโรงรับจำนำขึ้น ชื่อโรงรับจำนำไท้หยู และไท้เซ่งเฮง เมื่อ พ.ศ.2416 ในสมัยรัชกาลที่ 5


12. รถลาก นำมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2417 โดยนายฮองเซียง แซ่โง้ว เป็นผู้สั่งเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 5


13. โทรศัพท์ เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2419


14. การไฟฟ้า เริ่มมีครั้งแรกเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2430 โดยใช้ในกิจการของรถราง และจ่ายให้ประชาชนใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5


15. โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2430 ตั้งขึ้นที่ตำบลวังหลัง คือโรงพยาบาลวังหลัง ปีต่อมาพระราชทานชื่อว่า โรงศิริราชพยาบาล


16. โรงแรมโอเรียนเต็ล เป็นโรงแรมแห่งแรก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5


17. เงินบาท สตางค์ และการพิมพ์ธนบัตร เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5




18. ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 โดย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

ทรงตั้งธนาคารพาณิชย์เพื่อทดลอง ดำเนินงานเป็นบางอย่าง ณ ตึกแถวสองชั้นสามคูหา ของกรมพระคลังข้างที่ บริเวณย่านบ้านหม้อ ตั้งชื่อในยุคนั้นว่า "บุคคลัภย์" (Book Club)

การ ทดลองดำเนินกิจการไปได้ผลดี จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งเป็น บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราอาร์มแผ่นดินเป็นตราประจำบริษัท แล้วต่อมาพัฒนาเป็น
ธนาคารไทยพาณิชย์


19. รถไฟไทย มีใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่5 โดยสายแรกเดินระหว่าง กรุงเทพฯ ถึง ปากน้ำ สมุทรปราการ


20. โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรก
ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5


21. โรงเรียนวัดมหรรณพ เป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรก ที่เปิดให้สามัญชนได้เรียนหนังสือ ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5


22. เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ต่อเรือกลไฟขึ้นลำแรก ในสมัยรัชกาลที่5


23. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเป็นพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมารองค์แรก ทรงเป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5





24. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์แรกที่เสด็จออกผนวช ในระหว่างขึ้นครองราชย์



25. นิสิตนักศึกษาคนแรก คือ พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2443
(เมื่อ 106 ปีที่แล้ว)

เมื่อรับประกาศนียบัตร ต่อมาท่านได้เป็นข้าราชการ พ่อเมือง(ผู้ว่าราชการจังหวัด) อุปทูต และปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย


26. สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์แห่งแรก ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 ในสมัยรัชกาลที่ 6


27. วิทยุโทรเลข เปิดให้ประชาชนชาวไทยใช้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ในสมัยรัชกาลที่ 6


28. ธนาคารออมสิน ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปีพ.ศ. 2456 ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัดเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย

จึงได้ทรงจัดตั้ง คลังออมสิน ขึ้น โดยสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ ดำเนินธุรกิจภายใต้ พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456


29. คำว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย เด็กหญิง นำหน้าชื่อ และการใช้นามสกุล มีใช้เป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6





30. พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฏร์ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6


31. ธงชาติไทย มีใช้เป็นครั้งแรกเรียกว่า "ธงช้าง" ในสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนเป็นใช้ ธงไตรรงค์ ดังเช่นทุกวันนี้


32. คำว่าพุทธศักราช (พ.ศ.) ใช้แทนคำว่า รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6

อนึ่ง ผู้ที่ริเริ่มใช้ ร.ศ. คือรัชกาลที่ 5 (โดยร.ศ. 1 ตรงกับปี พ.ศ. 2331)


33. สะพานลอยแห่งแรกของประเทศไทย คือ สะพานกษัตริย์ศึก ที่ยศเส ลอยข้ามทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และความสะดวกของการจราจร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471

อำนวยการสร้างโดย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิมพระองค์เจ้าชาย"บุรฉัตรไชยากร"

พระองค์เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม


34. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย เมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7

ดำรงตำแหน่งระหว่าง 28 มิถุนายน-10 ธันวาคม 2475 แล้วถูกเนรเทศไปอยู่ที่ ปีนัง มาเลเซีย จนถึงแก่อสัญกรรม


35. รถเมล์ขาว เป็นรถโดยสารประจำทางคันแรกของไทย เป็นของนายเลิด หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ์

แรกทีเดียวในปี พ.ศ. 2450 เป็นรถเทียมม้า ต่อมาเป็นรถยนต์สามล้อ
ยี่ห้อฟอร์ด มีที่นั่งยาวเป็นสองแถว กิจการรถเมล์เจริญขึ้นเป็นลำดับ
จึงกลายเป็นรถโดยสารและขยายเส้นทางออกไปทั่วกรุงเทพ
ในปี พ.ศ. 2476


36. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7


37. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7



38. นางสาวกันยา เทียนสว่าง เป็นนางสาวไทยคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477 สมัยนั้นใช้ชื่อว่า นางสาวสยาม จัดประกวดในงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ในสมัยรัชกาลที่ 8

และเปลี่ยนไปใช้ชื่อนางสาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2482

(อ้างอิงจากข้อ19) ภาพรถไฟไทยในอดีต และ
นางสาวสยาม ปี พ.ศ.2480

นางสาวมยุรี วิชัยวัฒนะ(มยุรี เจริญศิลป์) นางสาวสยาม ปี พ.ศ.2480 ถ่ายโดยช่างภาพกรมรถไฟ เมื่อ 13 ธันวาคม 2480

รถไฟ ขบวนนี้เป็นรถจากกรุงเทพ - อยุธยา ภาพนี้ปรากฏในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันที่ 13 ธันวาคม 2480 เนื่องจากคุณมยุรี วิชัยวัฒนะ ประกวดในนามตัวแทนจากกรุงเก่า (อยุธยา) ตามที่ท่านข้าหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่งเข้าประกวด พอได้รับการประกาศผลเป็นนางสาวสยามในคืนวันที่ 12 ต่อคืนวันที่ 13 ธันวาคม ก็รีบเดินทางไปอยุธยาตอนตี 3 ที่ต้องเสียเวลาก็เพราะต้องฝ่าฝูงมหาชนที่ยืนรอชมเธอ ตั้งแต่วังสราญรมย์ ถึงสถานีหัวลำโพง พอถึงสถานีรถไฟอยุธยา มีขบวนแห่นางสาวสยามล่องเรือไปรอบเกาะเมือง และจัดแพรับรองหน้าจวนข้าหลวงจังหวัด แล้วมีการสัมภาษณ์บริเวณแพรับรอง


39. พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) เป็นผู้ตั้งโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทย คือ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ ผลิตเบียร์ตราสิงห์ออกสู่ตลาดครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2477
ในสมัยรัชกาลที่ 8


40. โรงเรียนสอนคนตาบอด ตั้งขึ้นโดย มิสเจนีวิฟ คอลฟิลด์ ชาวอเมริกัน เมื่อ พ.ศ. 2482 ในสมัยรัชกาลที่ 8


41. ประเทศไทยมีการพิมพ์แสตมป์ ใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐนมตรี ในสมัยรัชกาลที่ 8



จอมพล ป. พิบูลสงคราม


42. โรงเรียนสอนคนหูหนวก เปิดสอนครั้งแรกที่โรงเรียนเทศบาลโสมนัส เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ในสมัยรัชกาลที่ 9


43. นางอรพินท์ ไชยกาล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย จากจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2494


44. สถานีไทยโทรทัศน์ หรือทีวีช่อง 4 เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498


45. โผน กิ่งเพชร หรือนายมานะ ศรีดอกบวบ เป็นแชมป์โลกคนแรกของไทย ด้านมวยสากล เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503

เป็นการชกชิงตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท จาก ปาสคาล เปเรซ นักชกชาวอาเยนตินา ณ เวทีลุมพินี ต่อหน้าพระที่นั่งด้วย

นับเป็นเกียรติประวัติแก่ชาติไทย ด้วยเหตุนี้สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย จึงกำหนดให้วันที่ 16 เมษายน ของทุกปี
เป็นวันนักกีฬายอดเยี่ยม

แม้ว่าต่อมาโผน กิ่งเพชรจะเสียตำแหน่งไป แต่ก็สามารถชิงกลับมาได้อีกถึงสามครั้ง จนประกาศแขวนนวมเมื่อปี พ.ศ.2509


46. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรก ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2504-2509 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐนมตรี


47. นางสาวอาภัสรา หงสกุล เป็นมิสยูนิเวอร์สคนแรกของไทย จากการตัดสิน ณ ไมอามี บีช ฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2508





48. คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง เป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ ในปี พ.ศ. 2514 สาขาบริการชุมชน

คุณ นิลวรรณเป็นบรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร นานถึง 48 ปี เป็นกำลังสำคัญก่อตั้งสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และมีผลงานเขียนร้อยแก้ว ทั้งบทความ และสารคดีจำนวนมากมาย


49. นางสมทรง สุวพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านหญิงคนแรกของไทย ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2525


50. นายสมรักษ์ คำสิงห์ เป็นคนไทยคนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิคเหรียญแรกให้ไทย โดยชนะการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท ณ เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2539.

Saturday, May 16, 2009

Abandoned places:Soviet intelligent stronghold

Bangkok

กรุงเทพ ประเทศไทย:ที่นี่คือสถานฑูตรัสเซียในอดีต, รวมทั้งโรงแรมหลวงสาธร, และถูกทิ้งร้างมานานมากๆแล้วเคยใช้เป็นสถานกรองข่าวแห่งสหภาพโซเวียต

Abandoned Heavy Equipment

Abandoned Unused and Unfinished Buildings

Unfinished Russian Structures Under Construction

Abandoned (Never Used) Buildings: In most countries, abandonments remain in the wake of long-deserted structures that once saw heavy use. In Russia, some industrial, medical and administrative abandonments are merely the remnants of failed projects that were nearly completed but never put to use. In a way, these tell a unique kind of history – a history of corrupt and confused leadership, a history absent of the normal metaphorical ghosts that haunt the halls of once-used structures. In short: a history of could-have-beens.

Abandoned Missile Silo Complex

Abandoned Russian Nuclear Missile Silo

Abandoned Missile Silo Complex: Of course, the breakup of the Soviet Union was followed by a significant nuclear disarmament leaving deserted silos scattered about the Russian countryside. The particular complex shown in the image above is located in Latvia and contains four silos as well as a central command and technical support bunker. Now decommissioned, some such silos are open for public tourist visitation.

Abandoned Waterfront Military Bunker

Abandoned Russian Military Fortress Structures

Abandoned Oceanside Fortress: Water fortifications were deemed necessary on the east coast of the Soviet Union to protect against possible attacks from Japan. In the southeast of Russia, Vladivostok is the largest port city on the Pacific Ocean. The fort and miles of tunnels featured in the photographs above have since fallen in disarray, but were once a highly prized (and extravagantly expensive) Russian defense construction project. Today it is a destination for Russian and other visitors complete with antiquated bombs and guided tours.

Abandoned Massive Heavy Equipment

Abandoned Communications and Mining Equipment

Abandoned Heavy Equipment: It is somewhat hard to imagine how incredibly costly and complex industrial and communications machines could ever be worth abandoning, yet in Russia one finds giant mining contraptions and satellite arrays left largely to succumb to the elements. The giant communications dish above is the size of a soccer field yet sits essentially idle today.

สถานที่ที่ถูกลืมในยุโรป

Seven Abandoned Wonders of the European Union

โรงพยาบาลทหารเยอรมัน

Berlin Germany Historical Abandoned Military Hospital

Berlin Germany Hospital Abandonment Urban Exploration

เยอรมัน

กลายเป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ยุโรปที่น่าเคารพ, มันเป็นสถานที่เก่ามากๆก่อนที่ Germany จะถูกตัดออกเป็นสองส่วนกลายเป็นตะวันออกและตะวันตก ตั้งอยู่ที่ Beelitz (อยู่แถวนอกๆชานเมือง Berlin) ย้อนกลับไปในศัีตวรรดิที่ 19 ที่นี่ถูกใช้เป็นโรงพยาบาลรักษาทหารนาซีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกทิ้งร้างไปในปี 1990.

During its years of operation, famous (or infamous) patients included Adolf Hitler and former East German leader Erich Honecker.

Belgian Beautiful Castle and Cathedral

Belgium Historical Abandoned Castle Photographs

Belgium Abandoned Castle Urban Exploration

Mesen, Belgium ที่นี่เป็นเมืองที่มีคนอยูู่่น้อยที่สุด มีประชากรที่มีน้อยกว่า 1000 คนเสียอีก. อย่างไรก็ตามนี่คือหนึ่งในปราสาทที่มีความสวยงามมากที่สุดในบรรดาสถานที่ๆถูกลืม สร้าง ซ่อม และปรับปรุงตลอดเวลาจนมีเนื้อที่มากกว่า 1500 ตารางกิโลเมตร. ที่นี่เคยเป็นฐานป้องกันกองกำลังๆหลายๆประเทศและกลายเป็นโรงเรียนสอนหนังสือิได้ไม่นานก็ถูกทิ้งร้างไปตอนกลางศัตรวรรตที่ 20

โรงงานแช่ปลา

Denmark Abandoned Refrigeration Factory Building

Copenhagen Denmark Factory Building Infiltration Images

Copenhagen, Denmark ใช้เป็นแหล่งทดลองแห่งหนึ่ง.ใช้ในการทดลองยารักษาโรคหลายๆชนิด, ทิ้งร้างมาสามสี่ปี แต่ก็เจ๊งอยู่เรื่อยไป แต่ก็ยังมีคนเข้าไปใช้บริการอยู่เรื่อยไปเช่นกัน

โรงงานปั๊มน้ำใช้ร้าง

England Abandoned Victorian Factory Building

England Abandoned Structure Urban Exploration

Ryhope, England ที่นี่ถูกทิ้งร้างเป็นอนุสรณ์แด่ผู้ที่ทำกิจการรุ่งเรืองในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม ในสมัยกลางศัตวรรดิที่ 19 มันเป็นยุคที่ปฏิวัติการกรองน้ำใช้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในมนุึษยชาติเครื่องจักรยังคงทำงานได้ดีมากๆเดหมือนๆในสมัยนั้น

โรงงานผลิตสารเคมีร้างในโปแลนด์

Warsaw Poland Urban Abandonments Photography

Warsaw, Poland has had a long and trying history of war and strife. It is perhaps no wonder that even in the heart of a relatively prosperous Polish city one can still find a vast abandoned factory complex. This series of deserted structures began as an electric lamp production facility in the 1920s before being converted to construct radios for submarines by the Germans during World War II. It reverted to its old function after the war but was poorly managed and eventually abandoned altogether, with remnant containers of chemicals and other assorted scientific equipment left behind as a testament to its earlier uses.

French Abandoned Metro Station and Lines

Abandoned Paris Metro Subway Stations

Paris, France is notorious of late-running Metro trains due to frequent worker strikes - but perhaps less well known for its numerous abandoned Metro stations. Urban explorers manage to find their ways into some of these abandoned subway tunnels while others have been converted to new uses including (appropriately enough) official homeless shelters. Some of the tunnels can even be visited privately late at night in groups led by sanctioned rail-expert tour guides.