Can't find it? here! find it

Tuesday, June 30, 2009

History of Tattoo

ยันต์ ( Thai Tattoos )

ยันต์
เส้นที่ขีดลากไปมานอกยันต์นั้น หมายถึง "สายรกของพระพุทธเจ้า" ส่วนเส้นที่อยู่ภายในยันต์ เรียกว่า "กระดูกยันต์" ยันต์มีหลายแบบต่างๆ กันไป เช่น
  • ยันต์กลม มีความหมายว่าเป็นพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึงพระพักตร์ของพระพรหม
  • ยันต์สาม เหลี่ยม มีความหมายว่าเป็นพระรัตนตรัย หรือภพทั้งสาม ส่วนทางศาสนาพราหมณ์ให้ความหมายว่าเป็นพระเป็นเจ้าทั้ง 3 ของพราหมณ์ คือ พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์
  • ยันต์สี่เหลี่ยม มีความหมายว่าเป็นทวีปทั้งสี่ หรือธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
  • ยันต์รูปภาพ มีทั้งรูปภาพ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ต่างๆ ส่วนความหมายก็อยู่ในตัวของรูปภาพนั้นๆ
การลงยันต์หรือการเขียนยันต์นั้นจะใช้อักขระขอม ซึ่งเขียนเป็นตัวย่อของพระคาถาแต่ละบท เพราะหากเขียนพระคาถาลงไปในยันต์ทั้งหมดเนื้อที่คงไม่พอ จึงใช้อักขระย่อ ส่วนตัวเลขที่อยู่ในยันต์ก็ย่อมาจากอักขระของพระคาถา ข้อควรระวังในการลากเส้นยันต์นั้นควรลากทีเดียวให้ตลอดไม่ใช่ลากแล้วหยุด หากลากแล้วหยุดถือว่ายันต์นั้นใช้ไม่ได้ ต้องใช้คาถาหรือสูตรในการต่อเส้นยันต์นั้นใหม่ยันต์นั้นจึงจะใช้ได้ และการลงอักขระให้ระวังอย่าลงอักขระทับเส้นยันต์เพราะจะทำให้ยันต์นั้นใช้ไม่ได้ ท่านเรียกว่าเป็นยันต์ตาบอด การลงยันต์หรือการเขียนยันต์หากยันต์นั้นมีคาถาหรือสูตรกำกับไว้ผู้เขียนจะต้องภาวนาคาถานั้นไปด้วยพร้อมกันการลงยันต์ ฉะนั้นจึงต้องใช้สมาธิสูง ส่วนขั้นตอนและวิธีการลงยันต์พร้อมทั้งสูตรต่างๆ ยังมีอีกมากครับ คลิกที่นี่ครับเพื่ออ่านรายละเอียดสูตรและคาถาเวลาเขียนยันต์

คลัง ภาพยันต์


ยันต์รัตนตรัย
ยันต์รัตนตรัย ความหมาย ความเชื่อ ชนะศัตรู เมตตามหานิยม

ยันต์พุทธคุณ
ยันต์พุทธคุณ ความหมาย ความเชื่อ คุ้มกันสารพัดภัย แคล้วคลาดจากอันตราย

ยันต์มหาศิริมงคล
ยันต์มหาศิริมงคล ความหมาย ความเชื่อ เป็นมงคลยิ่งนัก และคุ้มภัยอันตรายทั้งปวง

ยันต์ยอดมงกุฎด้านหน้า ยันต์ยอดมงกุฎด้านหลัง
ยันต์ยอดมงกุุฎ ความหมาย ความเชื่อ แคล้วคลาด จากอันตรายทั้งปวง (ซ้ายยันต์ยอดมงกุฎด้านหน้า ส่วนขวาเป็นด้านหลัง)

ยันต์บารมีพระพุทธเจ้า
ยันต์บารมีพระพุทธเจ้า ความหมาย ความเชื่อ กันภูตผี ปีศาจ ป้องกันอันตรายทั้งปวง

ยันต์มหาสาวัง
ยันต์มหาสาวัง ความหมาย ความเชื่อ กัน และแก้สารพัดโรคภัย อันตราย

ยันต์เมตตามหานิยม
ยันต์เมตตามหานิยม ความหมาย ความเชื่อ เป็นเมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์ทำให้คนรัก

ยันต์มหาอุดด้านหน้า ยันต์มหาอุดด้านหลัง
ยันต์มหาอุด ความหมาย ความเชื่อ คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม (ซ้ายยันต์มหาอุดด้านหน้า ขวาด้านหลัง)

ยันต์ห้ายอด
ยันต์ห้ายอด ความหมาย ความเชื่อ คุ้มกันภัย และอันตรมายทั้งปวง

ยันต์การะเวก
ยันต์กา ระเวก ความหมาย ความเชื่อ ใช้ในทางเมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์วิเศษดียิ่งนัก เวลาเข้าไปหาใครก็ตาม เช่น ไปสมัครงาน นัดสัมภาษณ์ นักร้อง นักแสดง นักเทศน์ วิเศษยิ่งนัก

ยันต์ตะกรุดมหาระงับ
ยันต์ตะกรุดมหาระงับ ความหมาย ความเชื่อ เป็นยันต์นะจังงัง ยิง ฟัน แทงไม่เข้า

ยันต์ตะกรุดโทน
ยันต์ตะกรุดโทน ความหมาย ความเชื่อ กันอันตรายจากอาวุธทุกชนิด

ยันต์อาวุธทั้งสี่
ยันต์อาวุธทั้งสี่ ความหมาย ความเชื่อ กันสารพัดภูตผี ปีศาจ ถอนแก้คุณไสยทุกอย่าง

ยันต์โภคทรัพย์
ยันต์โภคทรัพย์ ความหมาย ความเชื่อ ใส่ไว้ในกระเป๋าเงิน ทำให้เงินพอกพูนเพิ่มขึ้น

ยันต์พญาหงส์ทอง
ยันต์พญาหงส์ทอง ความหมาย ความเชื่อ เมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์ ทำให้ทุกคนรัก

ยันต์พญาราชสีห์
ยันต์พญาราชสีห์ ความหมาย ความเชื่อ คนเกรงขาม เป็นตบะเดชะ มีอำนาจ

ยันต์พญาเสือ
ยันต์พญาเสือ ความหมาย ความเชื่อ คนเกรงขาม เดินป่าป้องกันสัตว์ร้าย

ยันต์พญาหนุมาน
ยันต์พญาหนุมาน ความหมาย ความเชื่อ อยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม

ยันต์ท้าวเวสสุวรรณ
ยันต์ท้าวเวสสุวรรณ ความหมาย ความเชื่อ กันภูตผี ปีศาจทุกชนิด กันและแก้คุณไสย

ยันต์นางกวัก
ยันต์นางกวัก ความหมาย ความเชื่อ สำหรับค้าขายให้มีกำไรดี ร่ำรวยเงินทอง

ยันต์พระเจ้าเปล่งรัศมี
ยันต์พระเจ้าเปล่งรัศมี ความหมาย ความเชื่อ ไปไหนนำติดตัวไปด้วยทำให้คนรักคนหลง

ยันต์พุฒซ้อนหรือยันต์พระเจ้าห้าพระองค์
ยันต์พุฒซ้อน หรือ ยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ความหมาย ความเชื่อ เป็นยันต์ที่โด่งดังมากมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นมหายันต์สูงสุดกว่ายันต์ทั้งปวง อุปเทห์ใช้ได้ สารพัดประโยชน์ โดยเฉพาะยันต์พุฒซ้อนได้นำมาใช้ในการลงนะหน้าทอง เมตตามหานิยม โชคลาภ ทำให้ผู้ใหญ่เมตตา ต้องการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง เป็นมหาเสน่ห์รุนแรง

ยันต์กันสะกด
ยันต์กันสะกด ความหมาย ความเชื่อ กันอันตรายจากโจร ผู้ร้าย

ยันต์เสริมดวงหรือยันต์ห้าแถว
ยันต์ หนุนดวง หรือ ยันต์โภค ทรัพย์ 5 แถว ความหมาย ความเชื่อ เป็นอักขระขอมโบราณ 5 แถว ความยาว 7 นิ้ว กว้าง 2 นิ้วครึ่ง โดยแถวแรกเป็นคาถาเมตตามหานิยม แถวที่ 2 เป็นคาถาหนุนดวงชะตา แถวที่ 3 เป็นคาถาแห่งความสำเร็จ แถวที่ 4 เป็นคาถาราศีประจำตัว และแถวที่ 5 เป็นคาถามหาเสน่ห์ และแต่ละแถวจะมีพระปิดตา ช่วยเปิดช่องทางในการทำธุรกิจ คอยหนุนเรื่องการค้าให้ก้าวหน้า มั่นคงยิ่งขึ้น ถ้าคนดวงไม่ดี การสักต้องสักเป็นยันต์หนุนดวง หรือ ยันต์โภคทรัพย์ 5 แถว เพราะถือว่าเป็นยันต์คุณพระ ที่มีพลังอานุภาพครอบคลุมทุกด้าน และสามารถที่จะเกื้อหนุนดวงที่ตกต่ำให้โดดเด่นขึ้นมาได้

ยันต์เก้ายอด
ยันต์เก้ายอด ความหมาย ความเชื่อ ของยันต์หมายถึงคุณวิเศษของพระพุทธเจ้าทั้ง 9 ประการ ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปของยอดแหลมทั้ง 9 ยอด ลายสักยันต์นี้ดีในการป้องกันศาสตราวุธทั้งหลาย

ยันต์หนุมานตัวเก้า
ยันต์หนุมานตัวเก้า ความหมาย ความเชื่อ เหมาะสำหรับอาชีพ ราชการ ตำรวจ หรือองครักษ์เพื่อส่งเสริมให้การงานเจริญก้าวหน้า

ยันต์ชูชก
ยันต์ชู ชก ความหมาย ความเชื่อ ชายแก่ที่แบกถุงเงินบนบ่า ชื่อเขาคือชูชก เริ่มแรกเขาเป็นขอทาน ต่อมาเขากลายเป็นเศรษฐี ลายสักนี้ดีต่อการค้าและทุกท่านที่ต้องการความร่ำรวย

ยันต์แปดทิศ
ยันต์แปดทิศ ความหมาย ความเชื่อ ความเชื่อ ยันต์แปดทิศ มีสรรพคุณ ทางด้านเมตตา อยู่ยงคงกะพัน คุ้มคองทิศทั้งแปด

ยันต์พญากาน้ำ
ยันต์พญากาน้ำ ความหมาย ความเชื่อ มีไว้ค้าขายทางน้ำ

Japanese infantry 19th century:Meiji period

http://www.allthekingsmen.biz/thumbs/BG115A.JPG


“Lieutenant Commander Yamanaka, Chief Gunner of Our Ship 'Fuji', Fights Fiercely in the Naval Battle at the Entrance to Port Arthur” by Migita Toshihide, February 1904 [2000_75a-c] Museum of Fine Arts, Boston


“In the Battle of Nanshan Our Troops Took Advantage of a Violent Thunderstorm and Charged the Enemy Fortress” by Kobayashi Kiyochika, 1904 [2000_239] Sharf Collection, Museum of Fine Arts, Boston

“In the Battle of Nanshan Our Troops Took Advantage of a Violent Thunderstorm and Charged the Enemy Fortress” by Kobayashi Kiyochika, 1904[2000_077] Sharf Collection, Museum of Fine Arts, Boston

“Anju Occupied by the Japanese” by Toyohara Chikanobu, March 1904 [2000_089] Sharf Collection, Museum of Fine Arts, Boston

“In the Battle of the Sha River, a Company of Our Forces Drives a Strong Enemy Force to the Left Bank of the Taizi River” by Yoshikuni, 1904-1905 [2000_472] Sharf Collection, Museum of Fine Arts, Boston

“News of Russo-Japanese Battles: Superior Private Ôhashi Keikichi of the Imperial Guard Infantry” by Migita Toshihide, 1904 [2000_059] Sharf Collection, Museum of Fine Arts, Boston

“The Battle of Japan and Russia at Port Arthur—Hurrah for Great Japan and Its Great Victory,” Artist unknown, 1905 [2000_356] Sharf Collection, Museum of Fine Arts, Boston

http://www.rmtbristol.org.uk/russo-japanese_war.jpg


http://www.japanfocus.org/data/Russo-Japanese%20War.jpg

“Japanese Suicide Squads Fight Bravely in a Naval Battle at Port Arthur during the Russo-Japanese War”artist unidentified, 190 [2000_085] Museum of Fine Arts, Boston

“Japanese Forces Occupying Yizhou. Russian Soldiers Fleeing to the North Bank of the Yalu” by Yonehide, April 1904 [2000_467] Museum of Fine Arts, Boston

Cradited by
http://ocw.mit.edu/ans7870/21f/21f.027/throwing_off_asia_01/2000_380_14_l.html

Sunday, June 21, 2009

อีทรัสคัน (Etruscans)

อีทรัสคัน (Etruscans)

Hat 1/72 Etruscan Army (8134)

พวก อีทรัสคันเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยคาบสมุทรนี้ โดยอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์เป็นพวกนักรบ มีอารยธรรมของตนเอง ยึดครองดินแดนฝ่ายเหนือของคาบสมุทรอิตาลีบริเวณลุ่มน้ำโปเมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาลอารยธรรมของทรัสคันนั้นแม้จะขุดพบหลักฐานเป็นจำนวนมากแต่ก็ ยังไม่มีผู้ใดอ่านภาษาของพวกเขาได้ ภาษาเขียนเหมือนอักษรกรีกแต่ไม่สามารถจัดเข้าพวกใดๆได้เลยชีวิตสังคมเป็นชาว นา ทำเหมืองแร่ มีพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ มีการทำนายอนาคตจากการสังเกตธรรมชาติ เช่น การบินของนก การตรวจลำไส้ของสัตว์ซึ่งถูกฆ่าบูชายัญ มีลักษณะการตกแต่ง มีหลุมศพแบบชาวอียิปต์ มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้างแบบทรงรูปโค้ง วิธีเก็บกักและระบายน้ำ การก่อสร้างโดยใช้หิน การเดินทัพแบบหน้ากระดาน ต่อสู้แบบใช้เครื่องมือหลากชนิด เรียกว่าGladiatorial Combat คือ คู่ต่อสู้ได้ฝึกฝนการใช้อาวุธอย่างชำนาญแล้วต่อสู้ให้ตายกันไปข้างหนึ่ง อาวุธมีทุกอย่าง เช่น หอก แหลน หลาว ดาบ ไม้ สนับมือ ร่างแห สุดแล้วแต่จะใช้ในสถานการณ์อารยธรรมดังกล่าว ชาวโรมันนำมาใช้ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้แบบGladiatorial นั้นได้รับความนิยมชื่นชอบมาก จนมีการสร้าง โครอสเซี่ยม (Coloseum)ขึ้นมาเพื่อให้เป็นสนามต่อสู้และปรากฏให้เห็นจนทุกวันนี้แหลม อิตาลีในยุคนี้ประกอบด้วยการปกครองของกลุ่มอำนาจ 3ฝ่ายคือ

1.ฝ่ายเหนือของอีทรัสคันในบริเวณแม่น้ำโป

2.กลุ่มละติอุมในแถบลุ่มแม่น้ำไทเบอร์และเนินต่างๆอยู่ตอนกลาง

3.ตอนใต้เป็นส่วนอาณานิคมในอำนาจของกรีก

มี ศูนย์กลางที่เกาะซิซิลี่ที่ต้องการยึดครองภาคตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เร เนี่ยนเพื่อป้องกันการขยายอำนาจของฟนิเซียนที่กรุงคาร์เธจในอัฟริกาเหนือต่อ มาในปี 800 ก่อน คริสตกาล พวกอีทรัสคันได้ขยายอำนาจและอิทธิพลเข้ามาปกครองเขตละติอุมทางตอนใต้และ ปกครองแบบกดขี่เป็นเวลายาวนาน

ชนชาติซึ้งมีอารยธรรมรุ่งเรืองที่สุดในคาบสมุทรอิตาลีก่อนเกิดอารยธรรมโรมันพวกอินทรัสคันมั่งคั่งและทรงอิทธิพลจากการค้าขายกับชาวกรีกและการผลิตข้าวของเครื่องใช้โดยเฉพาะเครื่องโลหะชนชาตินี้เคยมีกองทัพเรือที่กรียงไกรที่สุดในทะเลเมคิเตอร์เรเนียนชาวอีทรัสคันในช่วงที่มีแสนยานุภาพสูงสุดในศวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาลได้ส่งทอดอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมแก่พวกโรมันยุคแรก

Saturday, June 20, 2009

History of Japan

ยุคโบราณ

ยุคหิน

จากการค้นคว้าทางโบราณคดีพบว่ามีผู้อาศัยอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่นกว่า 100,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย คนโบราณที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นในยุคหินได้ หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บของป่ามาเป็นอาหาร อีกทั้งเมื่อประมาณ 30,000 กว่าปีก่อนได้มีวัฒนธรรมการทำหินเป็นมีดและการประดิษฐ์อาวุธเช่นหอกเข้ามา จากภาคพื้นทวีปมาสู่ดินแดนญี่ปุ่น ยุคนี้ยังคงดำรงเรื่อยมากระทั่งสิ้นสุดยุคน้ำแข็งสุดท้ายที่ ได้สิ้นสุดลงในช่วงประมาณ 12,000 - 11,000 ปี ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ดินแดนญี่ปุ่นเว้นแต่หมู่เกาะทางตะวันตกเฉียงใต้จึงสิ้นสุดยุคหินข้าสู่ยุค โจมง

ยุคโจมง

ต่อมาในยุคโจมง (縄文時代, โจมงจิได) ในช่วงประมาณ 10,000 ปีที่แล้วก็ได้มีการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินด้วยความประณีต มีการพัฒนาวิธีการล่าสัตว์โดยใช้คันธนูและลูกธนู ตลอดจนมีการผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาใส่อาหารและเก็บรักษาอาหาร ยุคประมาณ 14,000 ปี ถึง 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราชเรียกว่า สมัยโจมง ตามรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาโจมงที่มีลวดลายเป็นเชือก

ยุคยะโยอิ

กระจกสัมฤทธิ์ หนึ่งในวัตถุโบราณของยุคยะโยอิ

ต่อมาเมื่อประมาณ 500 ถึง 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคยะโยอิ (弥生時代, ยะโยะอิจิได) คำว่ายะโยอินั้นได้มาจากแขวงหนึ่งในเขตบุงเกียว กรุงโตเกียว ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ค้นพบร่องรอยเกี่ยวกับยุคนี้

ช่วงต้นของยุคยะโยอิปรากฏให้เห็นถึงการที่ได้เรียนรู้ถึงการเกษตร เช่นการปลูกข้าว การทำเครื่องใช้โลหะ และการเคารพบูชาภูติผีปีศาจซึ่งเป็นัวฒนธรรมที่เข้ามาทางเกาหลีและแผ่นดิน ใหญ่ [1] ชาวญี่ปุ่นใช้เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยเหล็กที่ใช้ในการเพาะปลูกในชีวิต ประจำวัน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และใช้ดาบที่ทำด้วยทองแดงและกระจกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การจัดแบ่งงานทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ปกครองดินแดนและผู้อยู่ใต้การปกครอง กว้างขึ้น ในช่วงนี้รัฐเล็กๆ จำนวนมากจึงได้ก่อตัวขึ้นทั่วประเทศ

การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น โฮ่วฮั่นชู (จีนตัวเต็ม: 後漢書; จีนตัวย่อ: 后汉书) ในปี 57 ก่อนคริสตกาล [2] บันทึกได้กล่าวถึงชาววะ (倭) ที่ข้ามทะเลมาส่งบรรดาการนั้นประกอบไปด้วย 100 กว่าเผ่า หนังสือเว่ย (魏書/魏书) ที่เขียนขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ยังได้กล่าวอีกว่าประเทศดังกล่าวเป็นการรวมตัวของรัฐเล็กๆ กว่า 30 รัฐ ที่มีผู้ปกครองเป็นสตรีชื่อว่าฮิมิโกะแห่งยะมะไทโคะกุ (邪馬台国の卑弥呼)

แหล่งโยะชิโนะงะริ (吉野ヶ里遺跡) เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ของยุคยะโยอิที่ตั้งอยู่บนเกาะคิวชู การขุดค้นปรากฏให้เห็นถึงส่วนที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกสร้างขึ้นในช่วง 400 ปีก่อน ค.ศ. วัตถุส่วนมากที่ขุดค้นพบนั้นเป็นวัตถุที่ทำจากโลหะสัมฤทธิ์ รวมทั้งสิ่งที่นำเข้ามาจากจีนเลว

ยุคกลาง

ยุคโคะฟุง

ราวปี พ.ศ. 793 (ค.ศ. 250) เรื่อยมาจนถึงการเข้ามาของศาสนาพุทธ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 7 เรียกว่ายุคโคะฟุง (古墳時代, โคะฮุงจิได) ตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวทั่วประเทศ รัฐเล็กๆ เหล่านั้นค่อยๆ รวมตัวกัน และต่อมาไม่นาน ก็มีชาวจีนจำนวนหนึ่งย้ายมาตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่น และนำอารยธรรมแบบจีนมาเผยแผ่ญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นอารยธรรมญี่ปุ่นยังไม่เจริญนัก ทำให้อารยธรรมญี่ปุ่นส่วนมากมีอิทธิพลมาจากจีน และจนถึงปัจจุบันอารยธรรมญี่ปุ่นก็ยังคล้ายคลึงกับจีนอยู่ไม่มากก็น้อย

ในศตวรรษที่ 4 กลุ่มผู้มีความเข้มแข็งทางการเมืองซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ที่ราบยะมะโตะ (ใกล้จังหวัดนาราในปัจจุบัน) ได้มีอำนาจปกครองประเทศตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 จนถึงศตวรรษที่ 6 มีการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมขนานใหญ่ และวัฒนธรรมจีนรวมทั้งลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศ ญี่ปุ่นผ่านทางเกาหลี ถึงปลายศตวรรษที่ 4 ได้มีการติดต่อระหว่างญี่ปุ่นกับอาณาจักรบนคาบสมุทรเกาหลี ศิลป อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การทอผ้า งานโลหะ การฟอกหนัง และการต่อเรือ

ญี่ปุ่นได้รับเอาตัวอักษรแบบจีนซึ่งมีรากฐานมาจากอักษรภาพมาใช้ และโดยผ่านทางสื่อตัวอักษรนี้เอง ชาวญี่ปุ่นได้เรียนความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ การใช้ปฏิทินและดาราศาสตร์ ตลอดจนปรัชญาของลัทธิขงจื๊อ

ยุคอะซึกะ

จิตรกรรมฝาผนังบนสุสานทะกะมะสึซึกะ จังหวัดนะระ เขียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ยุคอะซึกะ

ยุคอะซึกะ (飛鳥時代, อะซึกะจิได) คือยุคที่ศูนย์กลางของระบอบกษัตริย์ยะมะโตะตั้งอยู่ในอะซึกะ จังหวัดนะระ ดำรงอยู่ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึง 8 ในปี ค.ศ. 538 เมื่อศาสนาพุทธได้เข้ามาในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกจากประเทศอินเดียโดยผ่านทาง จีนและเกาหลี ผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นได้ถือระบบการปกครองของจีนเป็นแนวทางในการสร้างระบบ การปกครองของตน

ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ราชวงศ์สุยของจีนได้ทำการรวมประเทศใหม่อีกครั้งในรอบ 400 ปี เจ้าชายโชโตะกุ ผู้สำเร็จราชกาลแทนจักรพรรดินีซุยโกะจึงทรงส่งคณะราชทูต "เคนซุยชิ" ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน แล้วด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมใหม่ๆ จากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังทรงตรากฎหมาย 17 มาตรา ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการจัดระบบของการเมืองการปกครอง และความสงบสุขในบ้านเมืองอีกด้วย และเพื่อให้พุทธศาสนาเฟื่องฟูในญี่ปุ่น พระองค์ยังทรงมีพระดำริให้สร้าง วัดโฮริว วัดไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

ยุคนะระ

หลวงพ่อโตวัดโทได สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ของจักรพรรดิโชมุ

ญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่ยุคนะระในปี พ.ศ. 1253 (ค.ศ. 710) เมื่อเมืองหลวงถาวรแห่งแรกของญี่ปุ่น เฮโจเกียวได้รับการสถาปนาขึ้นโดยสร้างตามแบบเมืองฉางอาน (เมืองซีอานใน ปัจจุบัน) เมืองหลวงของจีนในขณะนั้น มีราชวงศ์ของญี่ปุ่นเป็นผู้ปกครอง ราชวงศ์ญี่ปุ่นประทับอยู่ที่เมืองนะระโดยตลอดและขยายอำนาจไปทั่วประเทศทีละ น้อยจนรวมประเทศเป็นปึกแผ่นได้ (ยกเว้นโอะกินะวะ และฮอกไกโด) หากแต่ว่าระบอบการปกครองในยุคนี้ใช้ตามแนวคิดแบบจีน ซึ่งเมื่อมาใช้กับญี่ปุ่นแล้ว ไม่เหมาะสมนัก และเกิดผลกระทบจากความไม่เหมาะสมนั้น และเกิดเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ ผลสุดท้ายคือ ต้องขึ้นภาษีประชาชนอย่างหนัก ทำให้เฮโจเกียวเป็นเมืองหลวงได้ไม่นานนัก และเพื่อหนีอิทธิพลของพระในศาสนาพุทธที่มีอำนาจมาก เมืองหลวงเฮโจวเกียวจึงถูกย้ายไปยังนะงะโอะกะเกียวในปี พ.ศ. 1327 (ค.ศ. 784) และต่อมาที่เฮอังเกียวในปี พ.ศ. 1337 (ค.ศ. 794)

ทางด้านวัฒนธรรม การแต่งตัว สถาปัตยกรรม ฯลฯ ยังปรากฏให้เห็นวัฒนธรรมที่ยังคงแบบจีนอยู่ อาจจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยในรายระเอียดย่อยๆ เช่นบันทึกที่เขียนเป็นตัวอักษรจีนแต่อ่านเป็นภาษาญี่ปุ่น โคะจิกิ (古事記, บันทึกทางประวัติศาสตร์) นิฮงโชะกิ (日本書紀, บันทึกทางประวัติศาสตร์) มังโยชู (万葉集, บันทึกเกี่ยวกับวรรณกรรม) ฟูโดะกิ (風土記, บันทึกเกี่ยวกับภูมิอากาศ) อิทธิพลดังกล่าวน่าจะมากจากการที่ราชสำนักญี่ปุ่นได้ส่งคณะราชทูตสู่ราชวงศ์ถังของจีน "เคนโตชิ" (遣唐使) ไปสู่แผ่นดินใหญ่เป็นจำนวนมากเพื่อรับวัฒนธรรม และสิ่งของต่างๆ จากเส้นทางสายไหม เช่นถ้วยแก้วจากยุโรปตะวันออกกลับ มาสู่ญี่ปุ่นอีกด้วย ตามบันทึกของวรรณคดีประวัติศาสตร์ทั้ง 2 ฉบับนั้น ได้กล่าวถึงการสถานปนาประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า ประเทศญี่ปุ่นได้ถูกสถาปนาขึ้นในปี 660 ปีก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิจิมมุ ผู้เป็นเชื้อสายโดยตรงของเทพเจ้าอะมาเตระสุ เรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ไม่มีใครทราบแน่นอน แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าบางส่วนของบันทึกดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่จักรพรรดิที่มีพระองค์จริงพระองค์แรกคือจักรพรรดิโอจิง จักรพรรดิลำดับที่ 15 และพระราชสันตติวงศ์ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และหลังจากยุคนะระเป็นต้นมา อำนาจในการบริหารประเทศโดยตรงได้เริ่มออกห่างออกจากราชสำนักญี่ปุ่น มาสู่ขุนนางในราชสำนัก โชกุน ทหาร และนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันในที่สุด

ยุคเฮอัง

วัดเบียวโดอิง
มุระซะกิ ชิกิบุ สาวใช้ชาววัง ผู้เขียน เรื่องเล่าเกนจิ วรรณคดีที่แสดงถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ในยุคเฮอังได้อย่างชัดเจน

ญี่ปุ่นได้สร้างอารยธรรมใหม่ขึ้นพร้อมๆ กับการล่มสลายของนะระ โดยยุคถัดมาคือ ยุคเฮอัง (平安時代, เฮอังจิได) เมื่อเมืองหลวงใหม่ซึ่งเลียนแบบเมืองหลวงของประเทศจีน "เฮอังเกียว" ได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 1337 (ค.ศ. 794) การย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเฮอังเกียว นับเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยเฮอันซึ่งดำรงอยู่ยาวนาน รุ่งเรือง และยิ่งใหญ่ที่สุดสมัยหนึ่งของการพัฒนาการในประเทศญี่ปุ่น การติดต่อกับประเทศจีนหยุดชะงักลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 และอารยธรรมญี่ปุ่นเริ่มที่จะมีลักษณะและรูปแบบเป็นของตนเอง

สิ่งเหล่านี้นับเป็นกระบวนการของการผสมกลมกลืนและการปรับเปลี่ยน โดยที่สิ่งต่างๆ ซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากภายนอกค่อยๆ กลายเป็นรูปแบบของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย ตัวอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปของกระบวนการนี้ คือการพัฒนาของตัวอักษรญี่ปุ่นในสมัยเฮอัน ความซับซ้อนของการเขียนของจีนทำให้นักเขียนและพระคิดค้นรูปพยางค์ขึ้นสอง ระบบโดยยึดรูปแบบอย่างของจีน ภายในกลางสมัยเฮอัน ได้มีการปรับปรุงพยัญชนะที่เรียกกันว่า ฮิระงะนะ และคะตะคะนะ และนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่นการนำมาเขียนในวรรณคดีเรื่องนิทานเกนจิ (源氏物語) นับเป็นการเปิดทางให้แก่งานเขียนที่มีรูปแบบเป็นของญี่ปุ่นอย่างแท้จริง และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแทนถ้อยคำสำนวนที่ยืมมาจากภาษาจีน

ชีวิตในเมืองหลวงเป็นชีวิตที่หรูหราและสะดวกสบาย ขณะที่ราชสำนักใช้เวลาทั้งหมดไปกับศิลปะและความสุขทางสังคม อำนาจที่เคยมีเหนือกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการทหารในหัวเมืองต่างๆจึงเริ่มจะ คลอนแคลน อำนาจในการควบคุมอาณาจักรอย่างมีประสิทธิภาพได้หลุดมือไป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 อำนาจการปกครองบ้านเมืองได้หลุดไปอยู่ในมือของตระกูลฟุจิวะระ และได้กลายเป็นสิ่งล่อใจสำหรับตระกูลนักรบที่เป็นปรปักษ์ต่อกันในช่วงปลาย ยุค ได้แก่ ตระกูลมินะโมะโตะ และไทระ ซึ่งเป็นตระกูลที่สืบทอดเชื้อสายมาจากจักรพรรดิองค์ก่อนๆ ทั้งสองตระกูล ตระกูลมินะโมะโตะและไทระได้ต่อสู้ในการรบที่โด่งดังที่สุด และมีความรุนแรงมากในยุคกลางอันวุ่นวายสับสนของญี่ปุ่น ในที่สุดตระกูลมินะโมะโตะเป็นฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ทำลายล้างตระกูลไทระจนพินาศในศึกดันโนะอุระ (Battle of Dannoura) อันเกริกก้องและเลื่องลือในปี พ.ศ. 1728 (ค.ศ. 1185) ซึ่งเป็นจุดจบของยุคเฮอัง

เมืองหลวงเฮอังเกียว หรือเกียวโตะยังคงมีฐานะเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นมาอีกกว่า 600 ปี กระทั่งสิ้นสุดยุคเอะโดะในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) และย้ายเมืองหลวงมาที่โตเกียวในอีก 2 ปีต่อมา

ยุคคะมะกุระ

ชัยชนะของตระกูลมินะโมะโตะแสดงถึงความเสื่อมของบัลลังก์อำนาจทางการเมือง ของจักรพรรดิอย่างแท้จริง และเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองโดยระบอบศักดินา ยุคกลางของญี่ปุ่น ภายใต้การปกครองของโชกุน หรือผู้ปกครองทางการทหารที่สืบต่อกันมาอีก 700 ปี

ถัดจากยุคเฮอัง คือ ยุคคะมะกุระ (鎌倉時代, คะมะกุระจิได) เริ่มต้นในปี พ.ศ. 1728 (ค.ศ. 1185) ต่อมาในปี พ.ศ. 1735 (ค.ศ. 1192) โยะริโตะโมะ หัวหน้าตระกูลมินะโมะโตะที่เป็นผู้ชนะสงครามได้สถาปนาระบบโชกุน หรือรัฐบาลทหารขึ้น ที่เมืองคะมะกุระใกล้กับนครหลวงโตเกียวในปัจจุบัน และยึดอำนาจบริหารบางประการที่เคยเป็นอำนาจของจักรพรรดิในกรุงเกียวโตะ เพื่อต้านสิ่งที่ถือว่าเป็นความเสื่อมของเกียวโตะที่ได้ฝักใฝ่ในสันติภาพ โชกุนที่เมืองคะมะกุระได้สนับสนุนความมัธยัสถ์อดออมและศิลปะการต่อสู้ ป้องกันตัว ตลอดจนความมีระเบียบวินัยซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะฟื้นฟูอำนาจการควบคุมทั่ว ทั้งแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพกลับคืนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการทหารในจังหวัดที่อยู่ไกล ออกไป สมัยคะมะกุระ ซึ่งเป็นชื่อเรียกยุคของระบบโชกุนของโยริโตะโมะเป็นยุคที่มีแนวคิดในเรื่อง ของความกล้าหาญและรักเกียรติยศ (bushido) ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของซามูไร

ในปี พ.ศ. 1761 (ค.ศ. 1213) อำนาจที่แท้จริงได้เปลี่ยนมือจากตระกูลมินาโมะโตะไปยังตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นตระกูลทางภรรยาของโยะริโมะโตะโดยเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน ตระกูลโฮโจค้ำจุนรัฐบาลที่เมืองคะมะกุระไว้ได้จนถึง พ.ศ. 1876 (ค.ศ. 1333) ในระหว่างนั้นกองทัพมองโกลได้บุกตอนเหนือของเกาะคิวชูถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 1817 (ค.ศ. 1274) และ พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) ถึงแม้ว่าจะมีอาวุธที่ด้อยกว่าแต่นักรบญี่ปุ่นก็สามารถรักษาพื้นที่ไว้ได้ และป้องกันไม่ให้ผู้รุกรานบุกลึกเข้าไปตอนในของประเทศ หลังจากที่กองทัพเรือส่วนใหญ่ของชนเผ่ามองโกลประสบความเสียหายอย่างหนักจาก พายุไต้ฝุ่นที่ญี่ปุ่นเรียกว่า "คะมิคะเซ่" ในการบุกญี่ปุ่นทั้งสองครั้ง กองทัพมองโกลจึงได้ถอยทัพไปจากญี่ปุ่น และอำนาจของค่ายทหารคะมะกุระก็หมดลงในปีเดียวกันนั้นเอง

ยุคมุโระมะจิ

ถัดจากยุคคะมะกุระ ก็เข้าสู่ยุคการฟื้นฟูอำนาจการปกครองโดยจักรพรรดิในช่วงสั้นๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 1876 จนถึง พ.ศ. 1879 แล้วต่อมาก็เข้าสู่ ยุคมุโระมะจิ (室町時代, มุโระมะจิจิได) ตระกูลอะชิคะงะได้ขึ้นเป็นตระกูลโชกุน โดยมีโชกุนพระองค์แรกคืออะชิคะงะ ทะกะอุจิ มี บะกุฮุ (幕府) หรือค่ายทหารอยู่ที่มุโระมะจิในกรุงเกียวโต ยุคนี้มีการพัฒนาระบบชลประทาน การเพาะปลูก และเกิดการเติบโตของกิจการค้าขายและบริการ ในยุคนี้ระเบียบวินัยที่เคร่งครัดของลัทธิบุชิโดแสดง ให้ปรากฏทั้งในด้านความงามทางศิลปะและศาสนา และมีอิทธิพลลึกล้ำต่อศิลปะของประเทศ ลักษณะเด่นซึ่งคงอยู่แม้ในปัจจุบันนี้คือลักษณะของความอดกลั้น และความเรียบง่าย ยุคนี้ยังเป็นยุคแรกที่ชาวตะวันตกกลุ่มแรก ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาสู่ญี่ปุ่นในปี

แต่ในปี พ.ศ. 1984 (ค.ศ. 1441) เกิดการลอบสังหารโชกุนขึ้น ทำให้การปกครองระบอบโชกุนเสื่อมถอยลง และเกิดเป็นสงครามกลางเมื่องขึ้นในปี พ.ศ. 2019 (ค.ศ. 1476) สงครามดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี จนญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคย่อยๆ เรียกว่ายุคเซงโงะกุที่มีความหมายว่ายุคสงครามกลางเมือง ในปี พ.ศ. 2111 โนะบุนะงะ โอะดะ ซึ่งอยู่ในสถานะเจ้าเมืองได้เป็นใหญ่ในบริเวณตอนกลางของเกาะฮอนชูและ ต้องการรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น ในปีเดียวกันนั้นเขาจึงเริ่มกำจัดอิทธิพลอำนาจของมุโระมะจิ และสร้างอารยธรรมอะซุจิโมโมะยะมะขึ้นมาแทน ในขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นคงแก่ตนด้วย ในปี พ.ศ. 2116 อารยธรรมมุโระมะจิหายไป อารยธรรมอะซุจิโมโมะยะมะขึ้นมาแทนที่ ดังนั้นช่วง พ.ศ. 2111 - 2116 จึงเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงอารยธรรมในปฏิทินเหตุการณ์ญี่ปุ่น พ.ศ. 2086 (ค.ศ. 1543)

ยุคอะซุจิโมโมะยะมะ

ญี่ปุ่นเข้าสู่ ยุคอะซุจิโมโมะยะมะ (安土桃山時代, อะซุจิโมะโมะยะมะจิได) ในปี พ.ศ. 2116 (ค.ศ. 1573) เป็นยุคสั้นๆ ที่มีผู้สถาปนาคือ โอะดะ โนะบุนะงะ เขามีเจตนารมณ์ที่จะรวมประเทศญี่ปุ่นที่ยังไม่เป็นปึกแผ่นให้อยู่ในผู้นำ เพียงคนเดียว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่วัดฮนโนในปี พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) โนะบุนะงะเสียชีวิต โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ นายพลนายหนึ่งของเขาจึงได้เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมา และสามารถรวบรวบประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2133 (ค.ศ. 1590) [3]

ยุคนี้เป็นยุคที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เซรามิก ภาพวาด เครื่องเงิน อุปกรณ์เกี่ยวกับชา ฯลฯ ซึ่งทำให้นับได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่หรูหราที่สุดยุคหนึ่งของญี่ปุ่น วัฒนธรรมใหม่ๆ จากตะวันตก เช่นการใช้ปืนคาบศิลา การสอนคริสต์ศาสนาก็ได้เจริญรุ่งเรืองในยุคนี้ด้วย

แต่ได้ไม่นาน สุขภาพที่ไม่ดี และอำนาจต่างๆ ในตัวฮิเดะโยะชิได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการยกทัพบุกเกาหลีที่ ไม่ประสบความสำเร็จ และปัญหารอบตัวที่รอบล้อมตัวเขาอยู่ เจ้าเมือง 5 เมืองจึงตั้งตนเป็นใหญ่และสงครามแย่งชิงอำนาจกันอีกครั้ง การรบสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) โดยเจ้าเมือง โทะกุงะวะ อิเอะยะสึ

ยุคเอะโดะ

อิเอะยะสึตั้งตนเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นทั้งประเทศที่มีอำนาจอย่างแท้จริง โดยขึ้นดำรงตำแหน่งโชกุนที่เมืองเอโดะ ล้มล้างอารยธรรมโมโมะยะมะ และสร้างอารยธรรมใหม่ขึ้น ทำให้ยุคอะซุจิโมโมะยะมะจบลงใน ค.ศ. 1603 และปีเดียวกันนั้นก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคเอะโดะ (江戸時代, เอะโดะจิได) ซึ่งเป็นจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โชกุนอิเอะยะสึได้สร้างแบบแผนแทบจะทุกแง่มุมของวิถีชีวิตของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางการเมืองและสังคมให้เป็นแบบอย่างต่อมาอีก 265 ปี

การที่โชกุนโทะกุงะวะดำเนินการปิดประเทศจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) นับเป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาเสถียรภาพของโครงสร้างทางสังคมและการเมืองที่อิ เอะยะสึได้ก่อตั้งขึ้น ชาวตะวันตกกลุ่มแรกได้เดินทางมาถึงชายฝั่งญี่ปุ่นในศตวรรษก่อนคือในสมัยมุโร มาจิ พ่อค้าชาวโปรตุเกสขึ้นบกที่เกาะเล็กๆ เกาะหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2086 (ค.ศ. 1543) โดยได้นำอาวุธปืนเข้าในประเทศญี่ปุ่น อีกไม่กี่ปีต่อมาคณะผู้สอนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกนำโดยนักบุญ ฟรานซิสโก ซาเวียร์ ตลอดจนชาวสเปนอีกหลายกลุ่มได้เดินทางเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น กลุ่มพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ และอังกฤษก็ได้เข้ามาตั้งรกรากในแผ่นดินญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

การหลั่งไหลเข้ามาของชาวยุโรปมีผลกระทบต่อญี่ปุ่นอย่างมาก คณะผู้สอนศาสนาทำให้ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนศาสนากันมาก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น โชกุนตระหนักดีว่าศาสนาคริสต์อาจจะมีอานุภาพในการทำลายทัดเทียมกับอาวุธปืน ที่เข้ามาในญี่ปุ่น ในที่สุดได้มีการสั่งห้ามเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น และโชกุนโทะกุงะวะได้ออกคำสั่งห้ามชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศญี่ปุ่น ยกเว้นกลุ่มพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่ถูกจำกัดบริเวณอยู่ที่เกาะเดะจิมะที่อ่าวนะงะซะกิ ตลอดจนชาวจีนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่นะงะซะกิ และทูตจากราชวงศ์ลีของ ประเทศเกาหลีที่เดินทางมาญี่ปุ่นเป็นครั้งคราว เป็นเวลา 250 ปีที่ญี่ปุ่นได้ติดต่อกับโลกภายนอกผ่านกลุ่มคนเหล่านี้เท่านั้น นักวิชาการญี่ปุ่นได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์ตะวันตกและวิทยา ศาสตร์แขนงอื่นๆ โดยผ่านทางกลุ่มพ่อค้าที่เมืองเดะจิมะในระหว่างระยะเวลาแห่งการแยกตัวอยู่ อย่างโดดเดี่ยวอันยาวนานของประเทศ

หนังสือเกี่ยวกับกายวิภาคเล่มแรกๆ ของญี่ปุ่น แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774)
การศึกษาในเทะระโกะยะ

ประชากรทั้งหมดแบ่งออกเป็น 4 ระดับ เรียกกันว่า "มิบุงเซ" (身分制) ประกอบด้วย:

  1. นักรบ (武士, บุชิ) หรือ ซามูไร (ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด)
  2. ชาวไร่ชาวนา (農民 , โนมิง, ประมาณร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด)
  3. ช่างฝีมือ (職人, โชะกุนิง)
  4. พ่อค้า (商人, โชนิง)

สำหรับช่างฝีมือและพ่อค้านั้นบางครั้งจะเรียกรวมกันว่า ชาวเมือง (町人, โจนิง) และอยู่ใต้การปกครองของเหล่านักรบ มีเพียงชาวนาเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในชนบท ที่เหลืออีกสามชนชั้นจะอาศัยอยู่ในเมืองซึ่งสร้างอยู่รายรอบปราสาทของไดเมียวในแต่ละท้องถิ่น

ความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่าง เช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ใหม่ๆ ขึ้นมาไปเป็นทางของตนเอง มีการแสดงคะบุกิเกิด ขึ้นตามเมืองใหญ่ต่างๆ ทั่วประเทศ มีการวาดภาพอุกิโยะที่แสดงถึงชีวิตประจำวันของชาวเมืองและชาวนา ซึ่งแตกต่างจากภาพที่ชนชั้นปกครองเขียนอย่างชัดเจน พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้เกิดความนิยมในการเรียนวิทยาการใหม่ๆ เช่น แพทยศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ชาวนาเองที่มีหน้าที่ทำนายังต้องมาศึกษาวิทยาการเหล่านี้เพื่อคิดคำนวณผล กำไรที่ตนเองได้ การศึกษาที่เสมือนกับการเรียนพิเศษที่เรียกว่า เทระโกะยะ (寺子屋) จึงได้รับความนิยมอย่างมาก

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้ความกดดันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เปิดประเทศสู่โลกภายนอก อีกทั้งโครงสร้างทางสังคมและการเมืองอันเข้มงวดที่อิเอะยะสึเป็นผู้กำหนด ขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น ก็เริ่มที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดอันเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) พลเรือจัตวา แมทธิว ซี เพอร์รี แห่งสหรัฐอเมริกา นำกองเรือ 4 ลำเข้ามาในอ่าวโตเกียว พลเรือจัตวาแมทธิวกลับมาอีกครั้งในปีถัดมา และประสบความสำเร็จในการชักจูงให้ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง ญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาทำนองเดียวกันกับประเทศรัสเซีย อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นจึงเป็นการเปิดประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง สี่ปีต่อมาสนธิสัญญาเหล่านี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสนธิสัญญาทางการค้า และญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาทำนองเดียวกันนี้กับประเทศฝรั่งเศสด้วย

ผลกระทบจากเหตุการณ์เหล่านี้ เพิ่มความกดดันแห่งกระแสทางสังคมและการเมือง ซึ่งกัดกร่อนรากฐานของโครงสร้างระบบศักดินาทีละน้อย ความวุ่นวายครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นกินเวลาประมาณทศวรรษ จนกระทั่งระบบศักดินาของโชกุนโตกุงาวะได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) และได้ถวายอำนาจอธิปไตยทั้งมวลคืนพระจักรพรรดิในการปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration) ในปีต่อมา

ยุคใหม่

ยุคเมจิ

การปฏิรูปเมจิ ทำให้ยุคเอะโดะสิ้นสุดใน พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) และปีเดียวกันนั้นนับเป็นการเริ่มต้นของยุคเมจิ เป็นสมัยที่เด่นที่สุดสมัยหนึ่งในบรรดาประวัติศาสตร์ของประเทศ ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ญี่ปุ่นได้บรรลุความสำเร็จในการพัฒนาประเทศโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ กล่าวคือการสร้างสรรค์ประเทศให้เข้าสู่ยุคใหม่ด้วยอุตสาหกรรม พัฒนาสถาบันทางการเมืองและรูปแบบของสังคมแบบใหม่ ทั้งที่ประเทศตะวันตกต้องใช้เวลาพัฒนานานนับศตวรรษ

ในช่วงปีแรกๆ ของการครองราชย์ สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทางย้ายเมืองหลวงจากกรุงเกียวโตไปอยู่ที่เมืองเอโดะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลระบบศักดินาที่ผ่านมา และได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเป็นโตเกียว ซึ่งแปลว่า "เมืองหลวงตะวันออก" มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ตลอดจนตั้งคณะรัฐมนตรี และสถาบันนิติบัญญัติระบบสองสภา ยกเลิกการแบ่งชนชั้นแบบเก่าของสมัยศักดินา ญี่ปุ่นทั้งประเทศทุ่มเทพลังงานและความกระตือรือร้นในการศึกษาและรับ อารยธรรมตะวันตกมาใช้

การปฏิรูปเมจิเหมือนกับการทลายของเขื่อนที่กอปรด้วยพลังและแรงผลักดัน สะสมมานับศตวรรษ ต่างชาติเองรู้สึกถึงความรุนแรงและความตื่นตัวที่เกิดจากการปลดปล่อยพลัง เหล่านี้ออกมาในฉับพลัน ก่อนจะสิ้นศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี ค.ศ. 1894-95 ซึ่งลงเอยด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น ผลของสงครามคือญี่ปุ่นได้ไต้หวันมาจากจีน สิบปีต่อมาญี่ปุ่นประสบชัยชนะอีกครั้งหนึ่งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ระหว่างปี ค.ศ. 1904-05 และยึดได้ซัคคาลินตอนใต้ ซึ่งยกให้รัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 1875 เพื่อแลกกับเกาะคูริล และทำให้ชาวโลกรับรู้ว่าญี่ปุ่นมีความสนใจในดินแดนแมนจูเรียเป็นพิเศษ หลังจากที่ได้กำจัดอำนาจอื่นๆ ที่จะมามีอิทธิพลเหนือเกาหลีแล้ว ในตอนแรกญี่ปุ่นได้จัดการให้เกาหลีเป็นดินแดนในอารักขา และผนวกเกาหลีในเวลาต่อมาคือในปี ค.ศ. 1910

สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงปกครองประเทศด้วยความเข้าใจถ่องแท้และสร้าง สรรค์ ซึ่งการปกครองของพระองค์ช่วยนำประเทศให้ผ่านพ้นช่วงทศวรรษแห่งการเปลี่ยน แปลง พระองค์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1912 ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อสงครามโลกครั้งนี้สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลก เพราะญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกเนื่องจากได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับประเทศ อังกฤษไว้เมื่อปี ค.ศ. 1902 และสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ใน ค.ศ. 1912 ทำให้ปี 1912 นับเป็นปีสิ้นสุดของยุคเมจิ และเป็นจุดเริ่มต้นของ ยุคไทโช และจักรพรรดิไทโชเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1926 และสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต ครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช ซึ่งทำให้ปี 1926 เป็นจุดสิ้นสุดสมัยไทโช และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคโชวะ

ยุคไทโช และโชวะ

สมัยโชวะได้เริ่มต้นด้วยบรรยากาศแห่งความหวัง อุตสาหกรรมของประเทศยังคงเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง และดูเหมือนว่าการเมืองของญี่ปุ่นหยั่งรากลึกด้วยการปกครองระบบสภา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเริ่มที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายสับสน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่มั่นคง ความเชื่อมั่นในพรรคการเมืองของประชาชนได้ลดน้อยลงหลังจากมีการเปิดโปง เรื่องอื้อฉาวหลายเรื่อง พวกหัวรุนแรงใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ในช่วงนี้ และกลุ่มทหารฉวยโอกาสที่เปิดให้พวกตนในช่วงเวลาอันสับสนวุ่นวาย อิทธิพลของพรรคการเมืองค่อยๆ ลดน้อยลง หลังจากเหตุการณ์ลูกั๋วเฉียว (Lugouqiao Incident) ซึ่งก่อให้เกิดสงครามกับจีน พรรคการเมืองเหล่านี้ถูกบีบให้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อความร่วมมือใน ยามสงคราม และในที่สุดได้มีการยุบพรรคการเมืองทั้งหมด และตั้งพรรคการเมืองแห่งชาติขึ้นมาแทน เนื่องจากสภาไดเอ็ตถูกลดบทบาทจนไม่ต่างจากตรายางเท่าใดนัก ทำให้ไม่มีการคัดค้านจากทางสภานิติบัญญัติเกี่ยวกับกระแสเหตุการณ์ทั้งหลาย ที่นำไปสู่การเกิดสงครามแปซิฟิกในปี ค.ศ. 1941

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นซึ่งเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้าจากลงครามโลกครั้งที่สอง ได้ยอมรับข้อตกลงยอมแพ้สงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร และประชาชนได้วางอาวุธตามพระราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิ เป็นเวลานานกว่า 6 ปี หลังจากแพ้สงคราม ญี่ปุ่นตกอยู่ใต้การควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนใหญ่ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้อำนาจของฝ่ายยึดครองซึ่งนำโดย พลเอกดักลาส แม็คอาเธอร์

  1. ห้ามมีกองกำลังป้องกันประเทศและคณะปฏิวัติ เว้นแต่กองกำลังความมั่นคงภายในประเทศ
  2. ญี่ปุ่นต้องชาติแห่งประชาธิปไตยเท่านั้นถ้าไม่พอใจผู้นำคนใด ใช้ประชาธิปไตยในการตัดสิน และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  3. สหประชาชาติและรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุนญี่ปุ่น ในด้านการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ของญี่ปุ่นและชาติอื่นๆ ยูเนสโก และรัฐบาลญี่ปุ่นต้องสนับสนุน ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ การสร้างสรรค์และพัฒนาเปลี่ยนในทางที่ดีให้กับญี่ปุ่นให้รวดเร็วทันต่อโลกา ภิวัฒน์ และสนับสนุนอาริยะ
  4. ห้ามชนชาติหรือปถุชนองค์กรใดๆ มาทำการแยกประเทศหรือถือกรรมสิทธิ์ใดๆในญี่ปุ่นเด็ดขาด เว้นแต่ ทางธุรกิจและข้อตกลงในกฎหมายเท่านั้น
  5. ข้าราชการทุกๆกระทรวงในญี่ปุ่นนอกจากได้รับเงินเดือนแล้วยังได้รับ เงินพิเศษ ค่าคอมมิชชั่น และทำธุรกิจอื่นๆได้ ผสานด้วยกฎหมายญี่ป่น

แต่ห้าม สร้างผลกระทบทางด้าน เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยีนวัตกรรมต่างๆ การสร้างสรรค์และพัฒนา ต่อญี่ปุ่นเด็ดขาด

  1. สหประชาชาติต้องคุ้มครองการรุกรานต่างๆให้กับญี่ปุ่น
  2. ขอให้สหประชาชาติจงเป็นพยานให้กับสนธิสัญญาสันติภาพ ซานฟรานซิสโก ณ ครั้งนี้ ให้คงธำรงไว้ตลอด

ในปี ค.ศ. 1951 ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ ซานฟรานซิสโก ซึ่งแสดงว่าญี่ปุ่นได้กลับคืนสู่ประชาคมนานาชาติในฐานะที่เป็นรัฐปฏิรูป จากการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ญี่ปุ่นได้สิทธิในการบริหารกิจการต่างประเทศคืนมาหลังจากที่ได้ถูกตัดสิทธิ ไประหว่างการถูกยึดครอง

งานเร่งด่วนที่สุดประการหนึ่งที่จะต้องดำเนินการหลังสงครามโลก ได้แก่ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ ด้วยความสนับสนุนและเห็นอกเห็นใจจากสหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆ ญี่ปุ่นได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการค้าเสรีหลายฝ่ายระหว่างประเทศ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่เข้มแข็งทางเศรษฐกิจเพียงพอที่จะแข่งขันในตลาดเสรี ของโลกได้เป็นอย่างดี

พร้อมๆ กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ญี่ปุ่นใช้ความพยายามในการปรับปรุงสถานะทางการทูตระหว่างประเทศ เริ่มต้นด้วยเมื่อญี่ปุ่นได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติใน ค.ศ. 1956 ญี่ปุ่นได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมอภิปรายระหว่างประเทศทางด้าน การเมืองตลอดจนเศรษฐกิจและสังคม ในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการทบทวนสนธิสัญญาทางด้านความมั่นคงที่ทำไว้กับสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 เพื่อจะได้อำนวยประโยชน์ต่อกันและกันยิ่งขึ้น ญี่ปุ่นได้ชำระเงินค่าปฏิกรรมสงครามจนครบภายในกลางทศวรรษที่ 1960 หลังจากการเจรจาหลายครั้งที่ยืดเยื้อ ญี่ปุ่นได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสาธารรณรัฐเกาหลีในปี ค.ศ. 1965 เพียง 20 ปีหลังจากแพ้สงคราม ญี่ปุ่นก็ฟื้นตัวจากความพินาศอันเกิดจากสงครามได้เกือบจะสมบูรณ์ มหกรรมกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี ค.ศ. 1964 ที่โตเกียว เป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นใหม่ของชาวญี่ปุ่น และบทบาทของประเทศก็เพิ่มขึ้นในหมู่ประชาคมระหว่างประเทศ

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นมีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอย่างเห็นได้ชัด พรรคอนุรักษ์นิยมมีเสียงข้างมากในสภาไดเอ็ตเป็นนิจ ยกเว้นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ญี่ปุ่นมีรัฐบาลสังคมนิยมในปี ค.ศ. 1947 และ 1948

หลังจากช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ญี่ปุ่นเริ่มประสบปัญหาใหม่ๆ หลายประเภททั้งภายในและภายนอก เมื่อมีความพอใจในปัจจัยจำเป็นในชีวิตแล้ว ประชาชนเริ่มจะแสวงหาเป้าหมายอื่นๆ โดยเฉพาะการปรับปรุงคุณภาพชีวิต นักเรียนนิสิตนักศึกษาแสดงความไม่พอใจต่อโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ประชาชนหลายกลุ่มเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และปัญหามลพิษซึ่งเกิดจากการที่ประเทศมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่ ประชาชนให้ความสนใจเพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีอัตราการเติบโตต่ำ ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ทรุดหนักลงเรื่อยๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของชาวญี่ปุ่น โดยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด และการดำเนินชีวิต ชาวญี่ปุ่นมีค่านิยมที่ต่างกันไปมากขึ้น และชาวญี่ปุ่นจำนวนมากให้ความสำคัญกับการแสดงออกและการแสวงหาเป้าหมายส่วน บุคคล การที่สหรัฐอเมริกาคืนโอกินาวา (เกาะริวกิว และเกาะไดโตะ) ให้ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1972 และการฟื้นสัมพันธไมตรีกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีเดียวกัน จัดว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์ในช่วงทศวรรษที่ 1970 สำหรับบทบาทของญี่ปุ่นในเศรษฐกิจโลก ญี่ปุ่นดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อเปิดตลาดการค้าของตน ในฐานะที่เป็นสมาชิกสำคัญของความตกลงทั่วไปเกี่ยวกับอัตราภาษีศุลกากรและการ ค้า (General Agreement on Tariffs and Trade) และองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development) ซึ่งมุ่งที่จะรักษาการค้าเสรี ทำให้ในปัจจุบันญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญในด้านการค้า การเงิน และความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของการประชุมสุดยอดประจำปีระหว่าง 7 ประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้เคยจัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ในปี ค.ศ. 1979 และ 1986

เมื่อพิจารณาถึงกำลังของประเทศ และความคาดหวังของประเทศอื่นๆ ต่อบทบาทระหว่างประเทศของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นนี้ ดังนั้นจากช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีท่าทีที่แน่ชัดในการขยายความช่วยเหลือแก่ประชาคมโลก

ใน ค.ศ. 1989 จักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จสวรรคต จักรพรรดิอะกิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์ต่อ ทำให้ปี 1989 นี้ เป็นปีสิ้นสุดของยุคโชวะ และเป็นจุดเริ่มต้นของเฮเซ และญี่ปุ่นก็คงอยู่ในเฮเซจนถึงปัจจุบัน